มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย(AIP Foundation)และองค์การช่วยเหลือเด็ก(Save the Children) เตรียมเข้าพบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในวันพุธที่ 6 พ.ค.นี้ เวลา 15.00 น. เพื่อนำรายชื่อนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป จำนวน15,000 รายชื่อ ที่ต้องการเห็นโรงเรียนมีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมให้เด็กสวมหมวกนิรภัย ขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
อีกทั้งเตรียมเสนอโครงการนำร่อง ที่มุ่งเน้นการให้การศึกษาเพื่อปรับพฤติกรรมของเด็ก รวมทั้งการอบรมครู และผู้ปกครอง โดยมีโรงเรียน กทม. เป็นศูนย์
กลาง ในการขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในชุมชนอย่างแท้จริง
นางรัตนวดี เหมนิธิ วินเธอร์ ประธานกรรมการมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย (AIP Foundation)ประเทศไทย กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำงานกว่า 15 ปีของ เอไอพี ในการดำเนินโครงการด้านความปลอดภัยบนท้องถนนในภูมิภาคเอเชีย พบว่า เส้นทางที่เด็กใช้บ่อยที่สุด คือ จากบ้านไปโรงเรียน และเส้นทางดังกล่าว ก็เป็นเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุกับเด็กๆ มากที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย เราจึงร่วมกับองค์การช่วยเหลือเด็ก(Save the Children)เพื่อออกแบบวางแผนโครงการนำร่องที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยมีโรงเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมี กทม. เป็นหน่วยงานแรก
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยในแต่ละปี มีเด็กกว่า 2,600 คน เสียชีวิต หรือมากกว่า 7 คนต่อวัน และอีกเกือบ 200 คน ต่อวันได้รับบาดเจ็บหรือพิการ หรือกว่า 72,000 คนต่อปี
มีเด็กในวัยเรียน ทุกๆวันราว 1.3 ล้านคน ที่เดินทางโดยการซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ แต่กลับมีเพียง 7% เท่านั้น ที่สวมหมวกนิรภัย จึงเป็นที่มาของชื่อโครงการ “เด็กไทยซ้อนท้ายใส่หมวก –The 7% Project”ซึ่งริเริ่มโดยทั้งสององค์กรเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
น.ส.อรุณรัตน์ วัฒนผลิน ผู้ประสานงานโครงการจากองค์การช่วยเหลือเด็ก(Save the Children)ประจำประเทศไทย กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่มีผู้ร่วมสนับสนุนเป็นจำนวนมาก ผ่านกิจกรรมทุกครั้งที่จัดรวมทั้งการลงชื่อผ่านทางเว็บไซต์ www.7-percent.org และ change.org
ทั้งนี้ ถ้าหากกรุงเทพมหานครพร้อมร่วมสนับสนุน ทางเราก็พร้อมดำเนินโครงการนำร่องในโรงเรียนกทม.ได้ทันที โดยกิจกรรมยื่นรายชื่อในวันพุธที่ 6 พ.ค.นี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัยทางถนน ภายใต้กรอบสหประชาชาติ ที่ต้องการเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ กับเรื่องความปลอดภัยทางถนน โดยปีนี้ได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนของเด็ก www.savekidslives2015.org
อีกทั้งเตรียมเสนอโครงการนำร่อง ที่มุ่งเน้นการให้การศึกษาเพื่อปรับพฤติกรรมของเด็ก รวมทั้งการอบรมครู และผู้ปกครอง โดยมีโรงเรียน กทม. เป็นศูนย์
กลาง ในการขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในชุมชนอย่างแท้จริง
นางรัตนวดี เหมนิธิ วินเธอร์ ประธานกรรมการมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย (AIP Foundation)ประเทศไทย กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำงานกว่า 15 ปีของ เอไอพี ในการดำเนินโครงการด้านความปลอดภัยบนท้องถนนในภูมิภาคเอเชีย พบว่า เส้นทางที่เด็กใช้บ่อยที่สุด คือ จากบ้านไปโรงเรียน และเส้นทางดังกล่าว ก็เป็นเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุกับเด็กๆ มากที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย เราจึงร่วมกับองค์การช่วยเหลือเด็ก(Save the Children)เพื่อออกแบบวางแผนโครงการนำร่องที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยมีโรงเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมี กทม. เป็นหน่วยงานแรก
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยในแต่ละปี มีเด็กกว่า 2,600 คน เสียชีวิต หรือมากกว่า 7 คนต่อวัน และอีกเกือบ 200 คน ต่อวันได้รับบาดเจ็บหรือพิการ หรือกว่า 72,000 คนต่อปี
มีเด็กในวัยเรียน ทุกๆวันราว 1.3 ล้านคน ที่เดินทางโดยการซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ แต่กลับมีเพียง 7% เท่านั้น ที่สวมหมวกนิรภัย จึงเป็นที่มาของชื่อโครงการ “เด็กไทยซ้อนท้ายใส่หมวก –The 7% Project”ซึ่งริเริ่มโดยทั้งสององค์กรเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
น.ส.อรุณรัตน์ วัฒนผลิน ผู้ประสานงานโครงการจากองค์การช่วยเหลือเด็ก(Save the Children)ประจำประเทศไทย กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่มีผู้ร่วมสนับสนุนเป็นจำนวนมาก ผ่านกิจกรรมทุกครั้งที่จัดรวมทั้งการลงชื่อผ่านทางเว็บไซต์ www.7-percent.org และ change.org
ทั้งนี้ ถ้าหากกรุงเทพมหานครพร้อมร่วมสนับสนุน ทางเราก็พร้อมดำเนินโครงการนำร่องในโรงเรียนกทม.ได้ทันที โดยกิจกรรมยื่นรายชื่อในวันพุธที่ 6 พ.ค.นี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัยทางถนน ภายใต้กรอบสหประชาชาติ ที่ต้องการเรียกร้องให้ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ กับเรื่องความปลอดภัยทางถนน โดยปีนี้ได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนของเด็ก www.savekidslives2015.org