ในช่วงสงกรานต์ซึ่งเป็นวันปีใหม่ของไทย ลูกหลานลูกศิษย์ต่างมาเยี่ยมเยือนรดน้ำขอพรจากผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อยู่เย็นเห็นโลกมานาน ศิษย์คนหนึ่งถามว่า... “ให้อะไรประเสริฐสุด เพราะอะไร” ท่านผู้เฒ่าตอบว่า... “ให้ปัญญาประเสริฐสุด เพราะผู้มีปัญญารู้ทันสมมติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ รู้ทันโลกิยะ โลกุตตระผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน ผู้มีปัญญา พึงเห็นสิ่งทั้งมวลล้วนเป็นธรรม” แล้วท่านผู้เฒ่าก็ถามบ้าง... “เป็นนักศึกษาเนี่ย ชอบวิชาอะไรมากที่สุด และทำไมจึงชอบ” นักศึกษาอีกคนตอบว่า... “ชอบวิชาประวัติศาสตร์ เพราะทำให้รู้จักตัวเอง รู้เทือกเถาเหล่ากอของตน รักตัวเอง รักสังคม กระบวนการเรียนรู้ ตื่นเต้น และสนุกดี” ท่านผู้เฒ่าชอบใจเอ่ยว่า...ตอบดีจัง ปรบมือให้กำลังใจหน่อย ซวดๆๆ
ประวัติศาสตร์
“ประวัติศาสตร์” เป็นศัพท์บัญญัติที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มใช้ในความหมายของศัพท์ภาษาอังกฤษที่เรียกว่า History ซึ่งมีรากศัพท์จากคำในภาษาละตินว่า Historia คำในภาษากรีกว่า Histori หรือ Historiai ผู้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นใช้เป็นคนแรกคือ เฮโรโดตัส (Herodotus, 484-425 ปีก่อนคริสตกาล) ปราชญ์ชาวกรีกโบราณท่านนี้ได้ริเริ่มทำการสืบสวนค้นคว้าและรวบรวมสิ่งที่เรียกว่า ประวัติศาสตร์ขึ้น ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์”
ความหมายของวิชาประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ (Historian) ได้ให้คำจำกัดความ และแสดงแนวคิดไว้เป็นหลากหลายทัศนะ ดังเช่น...
Aristotle : ประวัติศาสตร์เป็นการบอกกล่าวอย่างมีระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับเรื่องราวปรากฏการณ์ธรรมชาติ
E.H. Carr : ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวอันต่อเนื่องของการโต้ตอบกันระหว่างประวัติศาสตร์กับหลักฐานข้อเท็จจริงเป็นเรื่องถกเถียงระหว่างปัจจุบันกับอดีตที่ไม่มีที่สิ้นสุด
Arnold J. Toybee : ประวัติศาสตร์คือภาพของการที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างโลก และมนุษย์ภาพนี้จะเคลื่อนไปเรื่อยๆ จากจุดกำเนิดคือพระผู้เป็นเจ้าไปสู่จุดหมายปลายทาง คือพระผู้เป็นเจ้าอีก
George Trevelyan : ประวัติศาสตร์เป็นเสมือนซีเมนต์ ซึ่งทำให้การศึกษาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และความสัมฤทธิ์ของมนุษย์เชื่อมติดต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว
James Harvey Robinson : ประวัติศาสตร์เป็นทุกสิ่ง ซึ่งเรารู้เกี่ยวกับทุกสิ่งที่มนุษย์ได้ทำ ได้คิด ได้หวัง หรือได้รู้สึก
Donald Schneider : ประวัติศาสตร์คือมารดาของวิชาสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นผลแห่งความพยายามของนักประวัติศาสตร์ ในการที่จะได้ค้นหาหลักฐาน และความจริงที่ปรากฏขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดเวลา
Henry Johnson : ประวัติศาสตร์คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลก เช่น ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น
ดร.วิจิตร สินสิริ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตเกี่ยวด้วยเรื่องเหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ปรัชญาที่มนุษย์ได้คิด ได้สร้างไว้ ถือเป็นความเจริญรุ่งเรืองและเป็นรากฐานของความเจริญสมัยต่อๆ มา ดังนั้นเราจึงมีประวัติศาสตร์หลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์อวกาศ ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ฯลฯ
ดร.สืบแสง พรหมบุญ : ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของประวัติศาสตร์อย่างกว้างๆ เป็น 2 ประการคือ
1. ประสบการณ์ทั้งมวลในอดีตของมนุษย์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
2. การสร้างประสบการณ์ในอดีตที่เห็นว่ามีคุณค่าขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยหลักฐานต่างๆ ประกอบกับความคิด และการตีความของนักประวัติศาสตร์
นิยามของประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์ ขอหยุดไว้เพียงเท่านี้ เวลาสอนศิษย์ผมมักให้ศิษย์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิยามของประวัติศาสตร์เสมอ รวมทั้งผมก็แสดงด้วย
ในฐานะคนสนใจประวัติศาสตร์บ้าง แต่ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ผมขอให้นิยามหรือความหมายของประวัติศาสตร์ไว้ให้ท่านทั้งหลายพิจารณา ดังนี้...
“ประวัติศาสตร์ คือวิชชาว่าด้วยเรื่องราวความเป็นมาของสรรพสิ่ง” (วิชชา แปลว่า วิชา, ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา 8 ประการ)
“ประวัติศาสตร์ คือปัจจุบันอันเข้าใจและเข้าถึงสรรพสิ่งตามที่เป็นจริง”
ประวัติศาสตร์มีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร?
ท่านเนห์รู ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของชาวอินเดีย ได้กล่าวถึงคุณค่าและความสำคัญของประวัติศาสตร์ไว้ดังนี้...
“ศึกษาอดีตเพื่อรู้ปัจจุบัน
เข้าใจปัจจุบันเพื่อหยั่งการณ์อนาคต”
ฉลาดเรียนรู้
คำว่า “ฉลาด” หมายถึงมีไหวพริบดี มีปัญญาดี ตรงกับคำ “โกศล” และ “อกุศล”
โกศล คือความฉลาด ความเชี่ยวชาญมี 3 อย่าง
1. อายโกศล คือความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ
2. อปายโกศล คือความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อม และเหตุของความเสื่อม
3. อุปายโกศล คือความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์ และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
กุศลมูล คือรากเหง้าของกุศล ต้นตอของความดีมี 3 อย่าง
1. อโลภะ คือความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ
2. อโทสะ คือความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา
3. อโมหะ คือความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา
คนที่ฉลาดจึงมีโอกาสเรียนรู้ ด้วยความเบิกบานยินดี มีสติปัญญานำหน้า ไม่ผิดฝาผิดตัว
ถ้าผิดฝาผิดตัวก็จะกลายเป็น “ฉลาดแกมโกง” คือเอาคนฉลาดไปปนกับคนโกงเหมือนเอาข้าวไปผสมปนกับขี้ คนที่ไหนเขาจะกิน นอกจากหมากลางถนนเท่านั้น หรือคนฉลาด เขาจะไปแกมกับคนโกง นอกจากฉลาดเทียม ฉลาดเก๊ จึงจะเป็นเบ๊เปปนเพื่อหวังผลอะไรบางอย่าง
คนที่ฉลาดเรียนรู้ ย่อมเปิดประตูหน้าต่างให้ลมมีเสรีภาพพัดผ่านได้สะดวก แล้วเจ้าของห้องก็อยู่สุขสบาย อากาศบริสุทธิ์ มีข้อมูลหลักฐานให้พินิจพิจารณามากมาย ทั้งชั่วดีเหนือชั่วเหนือดี ทั้งปลอมทั้งแท้แห่แหนกันมาให้ผู้ฉลาดเลือกสรร เพื่อสรรค์สร้าง
เรื่องสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์เนี่ย ลองฟังมิติลึกซึ้งจากปราชญ์ชั้นกูรูหน่อย สายลมเย็นจะได้อบอวลหอมหวนของมวลดอกไม้...
“ความรอบรู้เป็นเพียงเกมทางจิต มันจึงไม่มีความสร้างสรรค์ ความรอบรู้เป็นแค่ความเพ้อฝัน มันไม่มีความสร้างสรรค์แต่อย่างใด
ท่านลองเข้าไปดูในมหาวิทยาลัย แล้วท่านจะเห็นกิจกรรมอันแสนจะสร้างสรรค์ของผู้รอบรู้ดำเนินอยู่ บทความนับพันถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก แต่ไม่มีใครเคยรู้ว่า วิทยานิพนธ์เหล่านั้นถูกทิ้งเป็นกองขยะอยู่ในห้องสมุด ไม่มีใครเคยอ่านมัน ไม่มีใครเคยได้แรงบันดาลใจจากมัน มีไม่กี่คนหรอกที่อ่านมัน แน่นอนคนที่ต้องอ่านมาก ก็คือคนที่จะเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเหมือนกัน
แต่มหาวิทยาลัยไม่ได้สร้างคนอย่างเชกสเปียร์ ดอสโตเยฟสกี ตอลสตอย รพินทรนาถ คาลิล ยิบราน ฯลฯ มหาวิทยาลัยสร้างแต่ขยะไร้ประโยชน์ ถึงกระนั้นกิจกรรมของผู้รอบรู้ ก็ยังดำเนินต่อไป
สติปัญญาสร้างคนอย่างปิกัสโซ แวนโกะ โมซาร์ท เบโธเฟน ฯลฯ สติปัญญามีมิติที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง เพราะสติปัญญาไม่ใช่เรื่องของหัวคิด แต่เป็นเรื่องของหัวใจ ความรอบรู้เป็นเรื่องของหัวคิด ในขณะที่สติปัญญาคือสภาวะที่หัวใจรู้สึกตัวตื่น เมื่อหัวใจของท่านรู้สึกตัวตื่น เมื่อหัวใจของท่านเต้นด้วยความสำนึกขอบคุณอย่างสุดซึ้ง เมื่อหัวใจของท่านสอดผสานกลมกลืนกับโลกแห่งการดำรงอยู่ ความสร้างสรรค์ก็คือผลจากความกลมกลืนนั่นเอง”
อย่างนี้ๆๆ...คือ ฉลาดเรียนรู้
ทุกสิ่งเป็นครู
เพื่อนไลน์มาชวนไปเที่ยวทะเลวันอาทิตย์ ตอบไปว่า... “ไปไม่ได้วันอาทิตย์ เข้าห้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์กับครูสนธิ ลิ้มทองกุล เรื่อง มองโลก มองเรา ช่องนิวส์วัน เวลา 10.00-12.00 น. จ้า” เพื่อนสวนกลับมาว่า “แก่วัยแย้มฝาโลงป่านนี้ ยังเรียนอยู่หรอ บ้าหรือเปล่า คิดผิดคิดใหม่ได้นะ เพื่อนเลิฟ” แล้วค่อยๆ กดผิดกดถูก บอกเพื่อนไปด้วยความรักและคิดถึงว่า ... “การเรียนรู้หรือการศึกษา อกาลิโก พุทโธๆๆ เพื่อนเอ๋ย”
“สิ่งทั้งมวล ล้วนเป็นครู ถ้ารู้คิด พินิจธรรม” มอตโตเก้าพยางค์ ทางอยู่เป็น เช่นนั้นเอง มันเลื่อนไหลออกมาจากส่วนลึกของหัวใจเหมือนดอกฝนร่วงหล่นสู่สกนธ์กาย ปัจจุบันขณะที่นี่ และเดี๋ยวนี้
พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลาย ท่านพูดท่านสอนตรงกันว่า... “ถ้ามีปัญญา ก็เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ” ฉันใด ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ต่างก็มีความเห็นตรงกันว่า... “ถ้ามีปัญญา ก็เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นครู” ฉันนั้น
เมื่อพูดถึงครู ทั้งผู้เป็นครูโดยอาชีพ และผู้เป็นครูโดยธรรมชาติ จะหลงลืมมิได้เป็นอันขาด นั่นคือ “บรมครู” ของเรา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบรมครูของโลก พระองค์ทรงมีพระคุณต่อโลกอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า... “พุทธคุณ 9” ได้แก่ อรหํ-เป็นพระอรหันต์, สมฺมา สมฺพุทฺโธ-เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง, วิชฺชา จรณสมฺปนฺโน-เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ เป็นต้น
นอกจากพุทธคุณ 9 แล้ว ก็ยังมีธรรมคุณ 6 และสังฆคุณ 9 รวมเป็น 24 ข้อ ใครปฏิบัติได้มากเท่าไหร่ ก็เจริญอยู่เย็นเป็นสุขมากเท่านั้น
ถ้าปฏิบัติไม่ได้จริงๆ อย่างน้อยที่สุด ขอสักข้อก็ยังดี คือ “วิชฺชา จรณสมฺปนฺโน-พึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ”
ข้อนี้หากเข้าใจ เข้าถึง ก็จะเป็นที่พึ่งของตนและคนอื่น สังคมส่วนรวมได้ตลอดไป
ในฐานะที่พระพุทธองค์ทรงเป็นบรมครู พระองค์มีวิธีการสอนย่อๆ สั้นๆ ดังนี้...
“ชี้ให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ เร้าให้กล้า ปลุกให้ร่าเริง” หรือ “แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง”
ลีลาการสอนของพระองค์ไม่เคยล้าสมัยใช้ได้จนทุกวันนี้ และคงใช้ได้ตลอดไป เพราะใช้แล้วมีความสุข เบิกบาน ทั้งผู้สอนและผู้เรียน
นิยามของครูโดยทั่วไป คือผู้สั่งสอนศิษย์ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้
ก่อนที่จะไปสอนใคร หรือถ่ายทอดอะไรให้ใคร ต้องรู้สิ่งนั้นก่อน สอนตนเองได้ก่อน ความเป็นครูจึงจะสมจริง มีศักดิ์ศรี และมีรัศมี ผู้รับฟังจึงจะเกิดศรัทธา น่านับถือ
ครูคือพหูสูต หมายความว่า เป็นผู้ได้ยิน ได้ฟังมามาก หรือเป็นนักปราชญ์ ผู้รู้ทั่วนั่นเอง
ผู้ที่เป็นนักปราชญ์ จะมีคาถาประจำใจว่า สุ. จิ. ปุ. ลิ. คือฟัง คิด ถาม เขียน ย่อมาจากสุตะ จิตตะ ปุจฉา ลิขิต
ครูคือบัณฑิต หมายความว่า เป็นผู้มีสติปัญญา หรือเป็นผู้ทรงความรู้ หรือเป็นนักปราชญ์นั่นเอง
นักปราชญ์หรือบัณฑิต เมื่อได้สุขหรือทุกข์กระทบ ก็ไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้เขียนโคลงสี่สุภาพได้อย่างลึกซึ้งถึงใจว่า...
วิสัยบัณฑิตผู้ทรงธรรม์
ไป่เปลี่ยนไป่แปรผันไป่ค้อม
ไป่ขึ้นไป่ลงหันกลับกลอก
กายจิตวาทะพร้อมเพรียบด้วยสัตยา
การเรียรู้หรือการศึกษาเป็นสิ่งเดียวกัน การศึกษาคือความเจริญงอกงาม บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชชาประเสริฐสุด
การศึกษา ตรงกับภาษาบาลีว่า สิกฺขา หมายถึงข้อที่จะต้องศึกษา หรือปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือ พระนิพพานได้แก่...ศีล สมาธิ ปัญญา (มรรคมีองค์แปด)
ครูคือผู้ศึกษา หรือผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต บางทีก็เป็นศิษย์ บางทีก็พูด บางทีก็ไม่พูด บางทีก็ทำ บางทีก็ไม่ทำ บางทีก็คิด บางทีก็หยุดคิด ฯลฯ มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะยังมีลมหายใจจึงทำให้มีชีวิตชีวา สดชื่น แจ่มใส ไยต้องแบกทุกข์เล่า?
ตื่นรู้ว่างวาง
Stephan Bodian : มีคำต่างๆ มากมายที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้อธิบายสิ่งนี้ (ตื่นรู้) เช่นคำว่า จิตใจ วิญญาณ ชีวิตที่แท้ ธรรมชาติแห่งพุทธะ พระเจ้าที่อยู่ภายใจซึ่งล้วนแล้วไม่แตกต่างอะไรกับหมุดที่ปักลงไปในจักรวาลอันว่างเปล่า ความบริสุทธิ์ไม่อาจปักหมุดลงไปได้ เพราะมันไม่มีคุณลักษณะใดๆ ในตัวของมันเอง หรือในอีกทางหนึ่ง มันก็คือทุกคุณลักษณะนั้นรวมกัน เพราะมันเป็นจักรวาลกว้างใหญ่ที่ปล่อยให้ทุกๆ ประสบการณ์เข้ามา-แล้วก็จากไป หากแต่ตัวมันไม่เคยเปลี่ยน มันยังคงเป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่งที่ไร้ขีดจำกัด
นิโรธ จิตวิสุทธิ์ : จิตหรือความคิดตื่นรู้ และก้าวพ้นจากอวิชชา หรือพ้นจากความมืดบอดทางปัญญา หมายถึงจิตตื่นรู้ และเห็นพุทธภาวะว่า สรรพสิ่งปราศจากตัวตน ปราศจากบุคคล ปราศจากสัตว์ และปราศจากชีวิต เป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ คือสมมติว่า เป็นคน เป็นตัวตน เป็นสัตว์ และเป็นชีวิตเท่านั้น นี่คือภาวะที่จิตพลิกสู่ “สุญญตา” หรือ “พุทธธรรม” ก็จะปรากฏขึ้นอย่างฉับพลัน
Osho : ทุกชั่วขณะแห่งการดำรงอยู่ เป็นเสมือนผู้ที่คอยย้ำเตือนเราตลอดเวลาว่า เราต้องไวต่อความรู้สึกและตื่นรู้ที่จะรับสารอันก่อให้เกิดปัญญา...จงใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ มีชีวิตอย่างเข้มข้น เพื่อให้แต่ละชั่วขณะเป็นช่วงเวลานาทีทอง และชีวิตทั้งหมดของท่าน ก็จะเป็นเวลานาทีทองที่สืบเนื่องกันต่อไปเรื่อยๆ
Sunyata Balamun : ชีวิตคือสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน ด้านหนึ่งคือหลับยืน อีกด้านหนึ่งคือตื่นรู้ ด้านหนึ่งสังขตธรรม อีกด้านหนึ่งอสังขตธรรม ด้านหนึ่งยึดสุด ด้านหนึ่งหลุดพ้น ฯลฯ
เมื่อจิตหายจากหลับใหล หรือหลับยืน จิตก็จะตื่นรู้ เมื่อจิตตื่นรู้ จิตก็จะว่าง และวางอย่างเป็นธรรมชาติธรรมดา
เฉกเช่นเมื่อความมืดหายไป ความสว่างก็จะเกิดขึ้น ความสว่างเกิดขึ้น ณ ที่ใด ความมืดก็หายไป ณ ที่นั้น เป็นเรื่องธรรมดา ตถตา เช่นนั้นเอง
“ประวัติศาสตร์
ฉลาดเรียนรู้
ทุกสิ่งเป็นครู
ตื่นรู้ว่างวาง”
ขึ้นต้นเป็นประวัติศาสตร์ ไงจบลงด้วยพุทธธรรม?
ก็ประวัติศาสตร์ คือวิชชา ว่าด้วยเรื่องราวความเป็นมาของสรรพสิ่งทั้งมวล ไงล่ะโยม!
ประวัติศาสตร์ จึงมีหลายมิติ ทั้งเก่า กลาง ใหม่ หรืออื่นๆ
ลองดูมิติเก่าๆ ที่เล่าเรียนกันมาก็ได้...
...ประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่เรารู้จัก ล้วนเป็นเรื่องของฆาตกร หากเราเป็นฆาตกร เราก็จะมีชื่อเสียงอย่างง่ายดาย เราอาจกลายเป็นนายกรัฐมนตรี เราอาจกลายเป็นประธานาธิบดี แต่ภายใต้หน้ากากของนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี เราจะพบคนโหดร้ายแสยะยิ้มมีเลศนัย เราจะพบจักรพรรดิเจงกิสข่าน จักรพรรดินโปเลียน จักรพรรดิชาห์นาเดอร์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
หากเราต้องการมีชื่อเสียง ก็ไม่ต้องพูดถึงความสร้างสรรค์ มิได้เจาะจงคนมีความสร้างสรรค์จะไม่มีชื่อเสียง แต่น้อยคนนักที่จะมีชื่อเสียง มันเหมือนเหตุบังเอิญที่นานๆ จะเกิดขึ้นสักที กว่าเขาจะมีชื่อเสียงเวลาก็ล่วงเลยไปนานจนเขาลาโลกนี้ไปแล้ว...
ประวัติศาสตร์ บอกให้รู้ว่า ใครเป็นฆาตกร ใครเป็นผู้สร้างสรรค์ ใครเป็นผู้นำที่ดี ใครเป็นผู้นำที่เลว ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้ แต่ต้องไม่ซ้ำรอยชั่ว ต้องซ้ำรอยดี นี่คือเพชรเม็ดงามของประวัติศาสตร์
เมื่อประวัติศาสตร์มีคุณค่าและสำคัญยิ่งยวด กว้างไกลไพศาลครอบจักรวาลเช่นนี้ ยังจะมองข้ามไม่สนใจให้คนในชาติได้ศึกษาเรียนรู้อยู่อีกหรือ?
ท่านผู้นำที่มีอำนาจปกครองบ้านเมือง (ทุกระดับ) ทั้งหลาย รู้จักสร้างสรรค์สิ่งดีงามถูกต้อง และเรืองปัญญา ฝากไว้ในแผ่นดินให้คนในชาติและลูกหลานได้ชื่นชม ระลึกถึงบ้างนะ จะได้อยู่เย็นเป็นสุข และนอนตาหลับ
ศาลเจ้าพ่อศรีนครเตา ณ บ้านเมืองเตา อีกหนึ่งเมืองโบราณอีสาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
วันหยุดศิษย์ ครู ผู้รู้ชาวบ้านสืบเสาะเลาะหาหลักฐานประวัติศาสตร์ (หมู่บ้านแห่งหนึ่ง อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น)
วันหยุดศิษย์พากันหาใจ ณ สถานอบรมวิปัสสนากรรมฐานตามวัดต่างๆ
ประวัติศาสตร์
“ประวัติศาสตร์” เป็นศัพท์บัญญัติที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มใช้ในความหมายของศัพท์ภาษาอังกฤษที่เรียกว่า History ซึ่งมีรากศัพท์จากคำในภาษาละตินว่า Historia คำในภาษากรีกว่า Histori หรือ Historiai ผู้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นใช้เป็นคนแรกคือ เฮโรโดตัส (Herodotus, 484-425 ปีก่อนคริสตกาล) ปราชญ์ชาวกรีกโบราณท่านนี้ได้ริเริ่มทำการสืบสวนค้นคว้าและรวบรวมสิ่งที่เรียกว่า ประวัติศาสตร์ขึ้น ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์”
ความหมายของวิชาประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ (Historian) ได้ให้คำจำกัดความ และแสดงแนวคิดไว้เป็นหลากหลายทัศนะ ดังเช่น...
Aristotle : ประวัติศาสตร์เป็นการบอกกล่าวอย่างมีระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับเรื่องราวปรากฏการณ์ธรรมชาติ
E.H. Carr : ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวอันต่อเนื่องของการโต้ตอบกันระหว่างประวัติศาสตร์กับหลักฐานข้อเท็จจริงเป็นเรื่องถกเถียงระหว่างปัจจุบันกับอดีตที่ไม่มีที่สิ้นสุด
Arnold J. Toybee : ประวัติศาสตร์คือภาพของการที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างโลก และมนุษย์ภาพนี้จะเคลื่อนไปเรื่อยๆ จากจุดกำเนิดคือพระผู้เป็นเจ้าไปสู่จุดหมายปลายทาง คือพระผู้เป็นเจ้าอีก
George Trevelyan : ประวัติศาสตร์เป็นเสมือนซีเมนต์ ซึ่งทำให้การศึกษาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และความสัมฤทธิ์ของมนุษย์เชื่อมติดต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว
James Harvey Robinson : ประวัติศาสตร์เป็นทุกสิ่ง ซึ่งเรารู้เกี่ยวกับทุกสิ่งที่มนุษย์ได้ทำ ได้คิด ได้หวัง หรือได้รู้สึก
Donald Schneider : ประวัติศาสตร์คือมารดาของวิชาสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นผลแห่งความพยายามของนักประวัติศาสตร์ ในการที่จะได้ค้นหาหลักฐาน และความจริงที่ปรากฏขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดเวลา
Henry Johnson : ประวัติศาสตร์คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลก เช่น ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น
ดร.วิจิตร สินสิริ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตเกี่ยวด้วยเรื่องเหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ปรัชญาที่มนุษย์ได้คิด ได้สร้างไว้ ถือเป็นความเจริญรุ่งเรืองและเป็นรากฐานของความเจริญสมัยต่อๆ มา ดังนั้นเราจึงมีประวัติศาสตร์หลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์อวกาศ ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ฯลฯ
ดร.สืบแสง พรหมบุญ : ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของประวัติศาสตร์อย่างกว้างๆ เป็น 2 ประการคือ
1. ประสบการณ์ทั้งมวลในอดีตของมนุษย์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
2. การสร้างประสบการณ์ในอดีตที่เห็นว่ามีคุณค่าขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยหลักฐานต่างๆ ประกอบกับความคิด และการตีความของนักประวัติศาสตร์
นิยามของประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์ ขอหยุดไว้เพียงเท่านี้ เวลาสอนศิษย์ผมมักให้ศิษย์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิยามของประวัติศาสตร์เสมอ รวมทั้งผมก็แสดงด้วย
ในฐานะคนสนใจประวัติศาสตร์บ้าง แต่ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ผมขอให้นิยามหรือความหมายของประวัติศาสตร์ไว้ให้ท่านทั้งหลายพิจารณา ดังนี้...
“ประวัติศาสตร์ คือวิชชาว่าด้วยเรื่องราวความเป็นมาของสรรพสิ่ง” (วิชชา แปลว่า วิชา, ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา 8 ประการ)
“ประวัติศาสตร์ คือปัจจุบันอันเข้าใจและเข้าถึงสรรพสิ่งตามที่เป็นจริง”
ประวัติศาสตร์มีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร?
ท่านเนห์รู ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของชาวอินเดีย ได้กล่าวถึงคุณค่าและความสำคัญของประวัติศาสตร์ไว้ดังนี้...
“ศึกษาอดีตเพื่อรู้ปัจจุบัน
เข้าใจปัจจุบันเพื่อหยั่งการณ์อนาคต”
ฉลาดเรียนรู้
คำว่า “ฉลาด” หมายถึงมีไหวพริบดี มีปัญญาดี ตรงกับคำ “โกศล” และ “อกุศล”
โกศล คือความฉลาด ความเชี่ยวชาญมี 3 อย่าง
1. อายโกศล คือความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ
2. อปายโกศล คือความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อม และเหตุของความเสื่อม
3. อุปายโกศล คือความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์ และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
กุศลมูล คือรากเหง้าของกุศล ต้นตอของความดีมี 3 อย่าง
1. อโลภะ คือความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ
2. อโทสะ คือความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา
3. อโมหะ คือความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา
คนที่ฉลาดจึงมีโอกาสเรียนรู้ ด้วยความเบิกบานยินดี มีสติปัญญานำหน้า ไม่ผิดฝาผิดตัว
ถ้าผิดฝาผิดตัวก็จะกลายเป็น “ฉลาดแกมโกง” คือเอาคนฉลาดไปปนกับคนโกงเหมือนเอาข้าวไปผสมปนกับขี้ คนที่ไหนเขาจะกิน นอกจากหมากลางถนนเท่านั้น หรือคนฉลาด เขาจะไปแกมกับคนโกง นอกจากฉลาดเทียม ฉลาดเก๊ จึงจะเป็นเบ๊เปปนเพื่อหวังผลอะไรบางอย่าง
คนที่ฉลาดเรียนรู้ ย่อมเปิดประตูหน้าต่างให้ลมมีเสรีภาพพัดผ่านได้สะดวก แล้วเจ้าของห้องก็อยู่สุขสบาย อากาศบริสุทธิ์ มีข้อมูลหลักฐานให้พินิจพิจารณามากมาย ทั้งชั่วดีเหนือชั่วเหนือดี ทั้งปลอมทั้งแท้แห่แหนกันมาให้ผู้ฉลาดเลือกสรร เพื่อสรรค์สร้าง
เรื่องสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์เนี่ย ลองฟังมิติลึกซึ้งจากปราชญ์ชั้นกูรูหน่อย สายลมเย็นจะได้อบอวลหอมหวนของมวลดอกไม้...
“ความรอบรู้เป็นเพียงเกมทางจิต มันจึงไม่มีความสร้างสรรค์ ความรอบรู้เป็นแค่ความเพ้อฝัน มันไม่มีความสร้างสรรค์แต่อย่างใด
ท่านลองเข้าไปดูในมหาวิทยาลัย แล้วท่านจะเห็นกิจกรรมอันแสนจะสร้างสรรค์ของผู้รอบรู้ดำเนินอยู่ บทความนับพันถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก แต่ไม่มีใครเคยรู้ว่า วิทยานิพนธ์เหล่านั้นถูกทิ้งเป็นกองขยะอยู่ในห้องสมุด ไม่มีใครเคยอ่านมัน ไม่มีใครเคยได้แรงบันดาลใจจากมัน มีไม่กี่คนหรอกที่อ่านมัน แน่นอนคนที่ต้องอ่านมาก ก็คือคนที่จะเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเหมือนกัน
แต่มหาวิทยาลัยไม่ได้สร้างคนอย่างเชกสเปียร์ ดอสโตเยฟสกี ตอลสตอย รพินทรนาถ คาลิล ยิบราน ฯลฯ มหาวิทยาลัยสร้างแต่ขยะไร้ประโยชน์ ถึงกระนั้นกิจกรรมของผู้รอบรู้ ก็ยังดำเนินต่อไป
สติปัญญาสร้างคนอย่างปิกัสโซ แวนโกะ โมซาร์ท เบโธเฟน ฯลฯ สติปัญญามีมิติที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง เพราะสติปัญญาไม่ใช่เรื่องของหัวคิด แต่เป็นเรื่องของหัวใจ ความรอบรู้เป็นเรื่องของหัวคิด ในขณะที่สติปัญญาคือสภาวะที่หัวใจรู้สึกตัวตื่น เมื่อหัวใจของท่านรู้สึกตัวตื่น เมื่อหัวใจของท่านเต้นด้วยความสำนึกขอบคุณอย่างสุดซึ้ง เมื่อหัวใจของท่านสอดผสานกลมกลืนกับโลกแห่งการดำรงอยู่ ความสร้างสรรค์ก็คือผลจากความกลมกลืนนั่นเอง”
อย่างนี้ๆๆ...คือ ฉลาดเรียนรู้
ทุกสิ่งเป็นครู
เพื่อนไลน์มาชวนไปเที่ยวทะเลวันอาทิตย์ ตอบไปว่า... “ไปไม่ได้วันอาทิตย์ เข้าห้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์กับครูสนธิ ลิ้มทองกุล เรื่อง มองโลก มองเรา ช่องนิวส์วัน เวลา 10.00-12.00 น. จ้า” เพื่อนสวนกลับมาว่า “แก่วัยแย้มฝาโลงป่านนี้ ยังเรียนอยู่หรอ บ้าหรือเปล่า คิดผิดคิดใหม่ได้นะ เพื่อนเลิฟ” แล้วค่อยๆ กดผิดกดถูก บอกเพื่อนไปด้วยความรักและคิดถึงว่า ... “การเรียนรู้หรือการศึกษา อกาลิโก พุทโธๆๆ เพื่อนเอ๋ย”
“สิ่งทั้งมวล ล้วนเป็นครู ถ้ารู้คิด พินิจธรรม” มอตโตเก้าพยางค์ ทางอยู่เป็น เช่นนั้นเอง มันเลื่อนไหลออกมาจากส่วนลึกของหัวใจเหมือนดอกฝนร่วงหล่นสู่สกนธ์กาย ปัจจุบันขณะที่นี่ และเดี๋ยวนี้
พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลาย ท่านพูดท่านสอนตรงกันว่า... “ถ้ามีปัญญา ก็เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ” ฉันใด ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ต่างก็มีความเห็นตรงกันว่า... “ถ้ามีปัญญา ก็เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นครู” ฉันนั้น
เมื่อพูดถึงครู ทั้งผู้เป็นครูโดยอาชีพ และผู้เป็นครูโดยธรรมชาติ จะหลงลืมมิได้เป็นอันขาด นั่นคือ “บรมครู” ของเรา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบรมครูของโลก พระองค์ทรงมีพระคุณต่อโลกอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า... “พุทธคุณ 9” ได้แก่ อรหํ-เป็นพระอรหันต์, สมฺมา สมฺพุทฺโธ-เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง, วิชฺชา จรณสมฺปนฺโน-เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ เป็นต้น
นอกจากพุทธคุณ 9 แล้ว ก็ยังมีธรรมคุณ 6 และสังฆคุณ 9 รวมเป็น 24 ข้อ ใครปฏิบัติได้มากเท่าไหร่ ก็เจริญอยู่เย็นเป็นสุขมากเท่านั้น
ถ้าปฏิบัติไม่ได้จริงๆ อย่างน้อยที่สุด ขอสักข้อก็ยังดี คือ “วิชฺชา จรณสมฺปนฺโน-พึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ”
ข้อนี้หากเข้าใจ เข้าถึง ก็จะเป็นที่พึ่งของตนและคนอื่น สังคมส่วนรวมได้ตลอดไป
ในฐานะที่พระพุทธองค์ทรงเป็นบรมครู พระองค์มีวิธีการสอนย่อๆ สั้นๆ ดังนี้...
“ชี้ให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ เร้าให้กล้า ปลุกให้ร่าเริง” หรือ “แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง”
ลีลาการสอนของพระองค์ไม่เคยล้าสมัยใช้ได้จนทุกวันนี้ และคงใช้ได้ตลอดไป เพราะใช้แล้วมีความสุข เบิกบาน ทั้งผู้สอนและผู้เรียน
นิยามของครูโดยทั่วไป คือผู้สั่งสอนศิษย์ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้
ก่อนที่จะไปสอนใคร หรือถ่ายทอดอะไรให้ใคร ต้องรู้สิ่งนั้นก่อน สอนตนเองได้ก่อน ความเป็นครูจึงจะสมจริง มีศักดิ์ศรี และมีรัศมี ผู้รับฟังจึงจะเกิดศรัทธา น่านับถือ
ครูคือพหูสูต หมายความว่า เป็นผู้ได้ยิน ได้ฟังมามาก หรือเป็นนักปราชญ์ ผู้รู้ทั่วนั่นเอง
ผู้ที่เป็นนักปราชญ์ จะมีคาถาประจำใจว่า สุ. จิ. ปุ. ลิ. คือฟัง คิด ถาม เขียน ย่อมาจากสุตะ จิตตะ ปุจฉา ลิขิต
ครูคือบัณฑิต หมายความว่า เป็นผู้มีสติปัญญา หรือเป็นผู้ทรงความรู้ หรือเป็นนักปราชญ์นั่นเอง
นักปราชญ์หรือบัณฑิต เมื่อได้สุขหรือทุกข์กระทบ ก็ไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้เขียนโคลงสี่สุภาพได้อย่างลึกซึ้งถึงใจว่า...
วิสัยบัณฑิตผู้ทรงธรรม์
ไป่เปลี่ยนไป่แปรผันไป่ค้อม
ไป่ขึ้นไป่ลงหันกลับกลอก
กายจิตวาทะพร้อมเพรียบด้วยสัตยา
การเรียรู้หรือการศึกษาเป็นสิ่งเดียวกัน การศึกษาคือความเจริญงอกงาม บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชชาประเสริฐสุด
การศึกษา ตรงกับภาษาบาลีว่า สิกฺขา หมายถึงข้อที่จะต้องศึกษา หรือปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือ พระนิพพานได้แก่...ศีล สมาธิ ปัญญา (มรรคมีองค์แปด)
ครูคือผู้ศึกษา หรือผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต บางทีก็เป็นศิษย์ บางทีก็พูด บางทีก็ไม่พูด บางทีก็ทำ บางทีก็ไม่ทำ บางทีก็คิด บางทีก็หยุดคิด ฯลฯ มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะยังมีลมหายใจจึงทำให้มีชีวิตชีวา สดชื่น แจ่มใส ไยต้องแบกทุกข์เล่า?
ตื่นรู้ว่างวาง
Stephan Bodian : มีคำต่างๆ มากมายที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้อธิบายสิ่งนี้ (ตื่นรู้) เช่นคำว่า จิตใจ วิญญาณ ชีวิตที่แท้ ธรรมชาติแห่งพุทธะ พระเจ้าที่อยู่ภายใจซึ่งล้วนแล้วไม่แตกต่างอะไรกับหมุดที่ปักลงไปในจักรวาลอันว่างเปล่า ความบริสุทธิ์ไม่อาจปักหมุดลงไปได้ เพราะมันไม่มีคุณลักษณะใดๆ ในตัวของมันเอง หรือในอีกทางหนึ่ง มันก็คือทุกคุณลักษณะนั้นรวมกัน เพราะมันเป็นจักรวาลกว้างใหญ่ที่ปล่อยให้ทุกๆ ประสบการณ์เข้ามา-แล้วก็จากไป หากแต่ตัวมันไม่เคยเปลี่ยน มันยังคงเป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่งที่ไร้ขีดจำกัด
นิโรธ จิตวิสุทธิ์ : จิตหรือความคิดตื่นรู้ และก้าวพ้นจากอวิชชา หรือพ้นจากความมืดบอดทางปัญญา หมายถึงจิตตื่นรู้ และเห็นพุทธภาวะว่า สรรพสิ่งปราศจากตัวตน ปราศจากบุคคล ปราศจากสัตว์ และปราศจากชีวิต เป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ คือสมมติว่า เป็นคน เป็นตัวตน เป็นสัตว์ และเป็นชีวิตเท่านั้น นี่คือภาวะที่จิตพลิกสู่ “สุญญตา” หรือ “พุทธธรรม” ก็จะปรากฏขึ้นอย่างฉับพลัน
Osho : ทุกชั่วขณะแห่งการดำรงอยู่ เป็นเสมือนผู้ที่คอยย้ำเตือนเราตลอดเวลาว่า เราต้องไวต่อความรู้สึกและตื่นรู้ที่จะรับสารอันก่อให้เกิดปัญญา...จงใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ มีชีวิตอย่างเข้มข้น เพื่อให้แต่ละชั่วขณะเป็นช่วงเวลานาทีทอง และชีวิตทั้งหมดของท่าน ก็จะเป็นเวลานาทีทองที่สืบเนื่องกันต่อไปเรื่อยๆ
Sunyata Balamun : ชีวิตคือสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน ด้านหนึ่งคือหลับยืน อีกด้านหนึ่งคือตื่นรู้ ด้านหนึ่งสังขตธรรม อีกด้านหนึ่งอสังขตธรรม ด้านหนึ่งยึดสุด ด้านหนึ่งหลุดพ้น ฯลฯ
เมื่อจิตหายจากหลับใหล หรือหลับยืน จิตก็จะตื่นรู้ เมื่อจิตตื่นรู้ จิตก็จะว่าง และวางอย่างเป็นธรรมชาติธรรมดา
เฉกเช่นเมื่อความมืดหายไป ความสว่างก็จะเกิดขึ้น ความสว่างเกิดขึ้น ณ ที่ใด ความมืดก็หายไป ณ ที่นั้น เป็นเรื่องธรรมดา ตถตา เช่นนั้นเอง
“ประวัติศาสตร์
ฉลาดเรียนรู้
ทุกสิ่งเป็นครู
ตื่นรู้ว่างวาง”
ขึ้นต้นเป็นประวัติศาสตร์ ไงจบลงด้วยพุทธธรรม?
ก็ประวัติศาสตร์ คือวิชชา ว่าด้วยเรื่องราวความเป็นมาของสรรพสิ่งทั้งมวล ไงล่ะโยม!
ประวัติศาสตร์ จึงมีหลายมิติ ทั้งเก่า กลาง ใหม่ หรืออื่นๆ
ลองดูมิติเก่าๆ ที่เล่าเรียนกันมาก็ได้...
...ประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่เรารู้จัก ล้วนเป็นเรื่องของฆาตกร หากเราเป็นฆาตกร เราก็จะมีชื่อเสียงอย่างง่ายดาย เราอาจกลายเป็นนายกรัฐมนตรี เราอาจกลายเป็นประธานาธิบดี แต่ภายใต้หน้ากากของนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี เราจะพบคนโหดร้ายแสยะยิ้มมีเลศนัย เราจะพบจักรพรรดิเจงกิสข่าน จักรพรรดินโปเลียน จักรพรรดิชาห์นาเดอร์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
หากเราต้องการมีชื่อเสียง ก็ไม่ต้องพูดถึงความสร้างสรรค์ มิได้เจาะจงคนมีความสร้างสรรค์จะไม่มีชื่อเสียง แต่น้อยคนนักที่จะมีชื่อเสียง มันเหมือนเหตุบังเอิญที่นานๆ จะเกิดขึ้นสักที กว่าเขาจะมีชื่อเสียงเวลาก็ล่วงเลยไปนานจนเขาลาโลกนี้ไปแล้ว...
ประวัติศาสตร์ บอกให้รู้ว่า ใครเป็นฆาตกร ใครเป็นผู้สร้างสรรค์ ใครเป็นผู้นำที่ดี ใครเป็นผู้นำที่เลว ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้ แต่ต้องไม่ซ้ำรอยชั่ว ต้องซ้ำรอยดี นี่คือเพชรเม็ดงามของประวัติศาสตร์
เมื่อประวัติศาสตร์มีคุณค่าและสำคัญยิ่งยวด กว้างไกลไพศาลครอบจักรวาลเช่นนี้ ยังจะมองข้ามไม่สนใจให้คนในชาติได้ศึกษาเรียนรู้อยู่อีกหรือ?
ท่านผู้นำที่มีอำนาจปกครองบ้านเมือง (ทุกระดับ) ทั้งหลาย รู้จักสร้างสรรค์สิ่งดีงามถูกต้อง และเรืองปัญญา ฝากไว้ในแผ่นดินให้คนในชาติและลูกหลานได้ชื่นชม ระลึกถึงบ้างนะ จะได้อยู่เย็นเป็นสุข และนอนตาหลับ
ศาลเจ้าพ่อศรีนครเตา ณ บ้านเมืองเตา อีกหนึ่งเมืองโบราณอีสาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
วันหยุดศิษย์ ครู ผู้รู้ชาวบ้านสืบเสาะเลาะหาหลักฐานประวัติศาสตร์ (หมู่บ้านแห่งหนึ่ง อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น)
วันหยุดศิษย์พากันหาใจ ณ สถานอบรมวิปัสสนากรรมฐานตามวัดต่างๆ