เผยแผนน้ำมัน 20 ปี กรมธุรกิจพลังงานคลอดไม่เกิน เม.ย.นี้ เน้นสอดรับกับแผนอนุรักษ์พลังงานให้มากสุด เผยแผนดังกล่าวทำให้การเกิดโรงกลั่นใหม่ไม่มี เหตุมีการลดใช้และพึ่งพลังงานทางเลือกมากขึ้น เล็งเรียกผู้ค้า โรงกลั่น ผู้ผลิตเอทานอลถกจัดระเบียบหัวจ่ายหวังลดแก๊สโซออล์อี10 เหลือชนิดเดียวเพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายเอทานอล
นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธพ.อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำแผนน้ำมันระยะ 20 ปี(2558-2579) ตามนโยบายของกระทรวงพลังงานซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเม.ย.นี้โดยจะมีการสอดรับกับแผนอื่นๆ โดยเฉพาะแผนอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน 20 ปีเป็นสำคัญ ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ภายใต้แผนน้ำมันดังกล่าวจะไม่มีการเพิ่มโรงกลั่นในประเทศไทยแห่งใหม่แต่อย่างใด
“ แผนนี้จะเป็น 1 ใน 5 แผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ ได้เสนอไปยังรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงพลังงานแล้วแต่ได้มอบหมายให้ทบทวนบางอย่างให้ชัดเจนอีกครั้งเพื่อความมั่นใจโดยเฉพาะจะต้องสอดรับกับแผนอนุรักษ์พลังงานว่าจะประหยัดการใช้พลังงานรวมได้มากน้อยเพียงใดด้วย รวมถึงจะต้องคำนึงถึงการแยกการใช้พลังงานในแต่ละสาขาคือ อุตสาหกรรม ขนส่ง ว่าทิศทางจะไปยังเชื้อเพลิงใดเพื่อที่จะทำแผนให้เกิดประสิทธิภาพ” อธิบดี ธพ.กล่าว
อย่างไรก็ตาม ภายในเม.ย.นี้ธพ.จะเชิญผู้ค้าน้ำมัน โรงกลั่น ผู้ผลิตเอทานอล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงแนวทางการจัดระเบียบประเภทการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยในอนาคตว่าควรจะยกเลิกหัวจ่ายชนิดใดหรือไม่ อย่างไรให้เหมาะสมเพราะแนวทางดังกล่าวจะเป็นสว่นหนึ่งของแผนน้ำมัน 20 ปี โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเสนอแนวทางด้วยการยกเลิกการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 91 หรือ แก๊สโซฮอล์ 95 เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอลแต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติถึงแนวทางดังกล่าวซึ่งจำเป็นจะต้องศึกษาข้อดีและข้อเสีย
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าและผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า กระทรวงพลังงานควรจะกำหนดน้ำมันพื้นฐานให้ชัดเจนว่าจะเป็นชนิดใด โดยกรณีแก๊สโซฮอล์อี 10 ระหว่าง แก๊สโซฮอล์ 95 และแก๊สโซฮอล์ 91 ควรจะเลือกตัวใดหนึ่งไม่ควรจะมี 2 ชนิด และให้ E20 และ E 85 เป็นน้ำมันทางเลือก เพื่อที่จะเพิ่มหัวจ่ายในการผลักดันให้เกิดการขยายการใช้ E 20 และ E 85 เพิ่มขึ้นซึ่งก็จะผลักดันให้การใช้เอทานอลเพิ่มตามไปด้วย
“ ขณะนี้การใช้เอทานอลเฉลี่ยวันละ 3.2-3.3 ล้านลิตรซึ่งการผลักดันให้เกิดการใช้เพิ่มขึ้นก็จะต้องมุ่งไปที่ E 20 และ E 85 เพิ่มขึ้นสัดส่วนการใช้เอทานอลจึงจะขยับเพิ่มได้ชัดมากกว่า แต่การจะยกเลิกตัวไหนนั้นกระทรวงพลังงานก็คงจะต้องดูผลกระทบกับรถมอเตอร์ไซด์ที่อาจถูกมองว่าไปผลักให้คนกลุ่มนี้ใช้ของแพงแต่ก็สามารถใช้วิธีปรับโครงสร้างราคาลดลงมาได้จะเห็นว่าแก๊สโซฮอล์ 95 กับ 91 ราคาก็ต่างกันไม่มาก”นายสิริวุทธ์กล่าว.
นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธพ.อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำแผนน้ำมันระยะ 20 ปี(2558-2579) ตามนโยบายของกระทรวงพลังงานซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเม.ย.นี้โดยจะมีการสอดรับกับแผนอื่นๆ โดยเฉพาะแผนอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน 20 ปีเป็นสำคัญ ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ภายใต้แผนน้ำมันดังกล่าวจะไม่มีการเพิ่มโรงกลั่นในประเทศไทยแห่งใหม่แต่อย่างใด
“ แผนนี้จะเป็น 1 ใน 5 แผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ ได้เสนอไปยังรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงพลังงานแล้วแต่ได้มอบหมายให้ทบทวนบางอย่างให้ชัดเจนอีกครั้งเพื่อความมั่นใจโดยเฉพาะจะต้องสอดรับกับแผนอนุรักษ์พลังงานว่าจะประหยัดการใช้พลังงานรวมได้มากน้อยเพียงใดด้วย รวมถึงจะต้องคำนึงถึงการแยกการใช้พลังงานในแต่ละสาขาคือ อุตสาหกรรม ขนส่ง ว่าทิศทางจะไปยังเชื้อเพลิงใดเพื่อที่จะทำแผนให้เกิดประสิทธิภาพ” อธิบดี ธพ.กล่าว
อย่างไรก็ตาม ภายในเม.ย.นี้ธพ.จะเชิญผู้ค้าน้ำมัน โรงกลั่น ผู้ผลิตเอทานอล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงแนวทางการจัดระเบียบประเภทการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยในอนาคตว่าควรจะยกเลิกหัวจ่ายชนิดใดหรือไม่ อย่างไรให้เหมาะสมเพราะแนวทางดังกล่าวจะเป็นสว่นหนึ่งของแผนน้ำมัน 20 ปี โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเสนอแนวทางด้วยการยกเลิกการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 91 หรือ แก๊สโซฮอล์ 95 เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอลแต่ก็ยังไม่ได้ข้อยุติถึงแนวทางดังกล่าวซึ่งจำเป็นจะต้องศึกษาข้อดีและข้อเสีย
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าและผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า กระทรวงพลังงานควรจะกำหนดน้ำมันพื้นฐานให้ชัดเจนว่าจะเป็นชนิดใด โดยกรณีแก๊สโซฮอล์อี 10 ระหว่าง แก๊สโซฮอล์ 95 และแก๊สโซฮอล์ 91 ควรจะเลือกตัวใดหนึ่งไม่ควรจะมี 2 ชนิด และให้ E20 และ E 85 เป็นน้ำมันทางเลือก เพื่อที่จะเพิ่มหัวจ่ายในการผลักดันให้เกิดการขยายการใช้ E 20 และ E 85 เพิ่มขึ้นซึ่งก็จะผลักดันให้การใช้เอทานอลเพิ่มตามไปด้วย
“ ขณะนี้การใช้เอทานอลเฉลี่ยวันละ 3.2-3.3 ล้านลิตรซึ่งการผลักดันให้เกิดการใช้เพิ่มขึ้นก็จะต้องมุ่งไปที่ E 20 และ E 85 เพิ่มขึ้นสัดส่วนการใช้เอทานอลจึงจะขยับเพิ่มได้ชัดมากกว่า แต่การจะยกเลิกตัวไหนนั้นกระทรวงพลังงานก็คงจะต้องดูผลกระทบกับรถมอเตอร์ไซด์ที่อาจถูกมองว่าไปผลักให้คนกลุ่มนี้ใช้ของแพงแต่ก็สามารถใช้วิธีปรับโครงสร้างราคาลดลงมาได้จะเห็นว่าแก๊สโซฮอล์ 95 กับ 91 ราคาก็ต่างกันไม่มาก”นายสิริวุทธ์กล่าว.