วานนี้ (31มี.ค.) สำนักงานศาลปกครองได้ออกเอกสารข่าวเผยแพร่ชี้แจงต่อ กรณีคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) มีคำสั่ง ให้พักราชการนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด โดยระบุว่า นายชาญชัย แสวงศักดิ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุดคนที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการตุลาการศาลปกครอง ได้ลงนามในคำสั่ง ก.ศป. ที่ 8/2558 ลงวันที่ 30 มี.ค. 58 เนื้อหาว่า
ความตามที่ ที่ประชุมก.ศป. ครั้งที่ 170-5/2557 เมื่อวันที่ 14 พ.ค.57 ได้พิจารณากรณีที่ตุลาการศาลปกครองได้เข้าชื่อกันเพื่อให้ก.ศป. ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่า นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ได้จัดทำหนังสือจำนวน 2 ฉบับ ถึงรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามลำดับ โดยอ้างว่านายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด มีความประสงค์ที่จะสนับสนุนพ.ต.ท.ชูธเรศ ยิ่งยงดำรงกุล รอง ผกก.ป.สน.หัวหมาก ซึ่งเป็นเพื่อนกับหลานชาย ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้กำกับการแล้ว เห็นว่าหากเป็นความจริงดังที่ นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ได้กล่าวอ้างไว้ในหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าว กรณีอาจเข้าข่ายตามที่กำหนดในข้อ 3 (1) แห่งระเบียบก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครอง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 สมควรสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่า มีมูลความจริงดังที่ นายดิเรกฤทธิ์ ได้กล่าวอ้างไว้ในหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวหรือไม่ จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว ประกอบด้วย นายนพดล เฮงเจริญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานกรรมการ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และนายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เป็นกรรมการ
ซึ่งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวต่อ ก.ศป. ในการประชุมครั้งที่ 181-2/2558 เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 58 ซึ่ง ก.ศป. ได้มีมติรับทราบ และมอบหมายให้สำนักงานศาลปกครอง ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.ศป. ขอข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากนั้น ก.ศป. ในการประชุมครั้งที่ 182-3/2558 เมื่อวันที่ 18 ก.พ.58 ได้พิจารณารายงานผลการสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานศาลปกครองได้นำเสนอต่อ ก.ศป.แล้ว ก.ศป.เสียงข้างมากเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฝ่ายข้างมาก โดยเห็นว่าเป็นกรณีมีมูลที่อาจเข้าข่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3(1) แห่งระเบียบ ก.ศป.ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 และถึงขั้นที่จะให้ตุลาการศาลปกครองผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง จึงมีมติให้ดำเนินการตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ข้อ 5 วรรคสอง และข้อ 6 วรรคหนึ่ง (4) แห่งระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 และได้มีคำสั่ง ก.ศป. ลับ ที่ 9/2558 ลงวันที่ 17มี.ค.58 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ต่อมา ก.ศป. ในการประชุมครั้งที่ 184-5/2558 เมื่อวันที่ 30 มี.ค. เสียงข้างมากเห็นว่า ปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งว่า ผู้ถูกกล่าวหาดำรตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่บริหารงานของศาลปกครอง และพิจารณาพิพากษาอรรถคดี การให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ย่อมเป็นการไม่เหมาะสม ทำให้ประชาชนเสื่อมความเชื่อถือและศรัทธา รวมทั้งเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของศาลปกครอง ซึ่งเป็นองค์กรตุลาการ การให้นายหัสวุฒิ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จึงเป็นการเสียหายแก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 24 วรรคสาม แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ก.ศป. จึงมีมติให้พักราชการ นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธาน ศาลปกครองสูงสุด ตุลาการศาลปกครองผู้ถูกกล่าวหา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่า ก.ศป. จะพิจารณากรณีที่นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ถูกกล่าวหาแล้วเสร็จ
หากนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลปกครองกลาง หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองกลาง ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนี้ และก.ศป. มีมติให้ นายปิยะ ปะตังทา รองประธานศาลปกครองสูงสุดคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานศาลปกครองสูงสุด ในระหว่างที่นายหัสวุฒิ ถูกสั่งพักราชการ
**ผลสอบ "หัสวุฒิ" ออกได้ 2 แนวทาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุม ก.ศป. มีมติพักราชการนายหัสวุฒิ ไปเมื่อวันที่ 30 มี.ค. วานนี้( 31 มี.ค.) ก็ไม่พบว่านายหัสวุฒิ เดินทางเข้ามาที่สำนักงานศาลปกครองแต่อย่างใด ขณะเดียวกันในส่วนของสำนักงานฯ ทางผู้บริหารก็ยังไม่ได้มีการเรียกประชุมข้าราชการศาลปกครอง เพื่อชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนายหัสวุฒิ จากนี้จะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่มี นายชาญชัย แสวงศักดิ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุดคนที่ 2 เป็นประธาน และมีผู้แทนของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย ตามระเบียบสอบสวน จะใช้เวลาประมาณ 60 วัน ขณะเดียวกันนายหัสวุฒิ ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ หรือโต้แย้งได้ภาย 90 วัน นับแต่ก.ศป. มีคำสั่งพักราชการ
อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวให้ความเห็นว่า ระหว่างการสอบสวน หากนายหัสวุฒิ จะตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งก่อน หรือพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกียษณอายุ ก็ไม่เป็นผลให้การสอบสวนยุติลง โดยกระบวนการสอบสวนจะดำเนินไปจนกระทั่งเสร็จสิ้น ซึ่งผลการสอบสวนที่จะออกมามีได้ 2 แนว คือ คือผิด กับไม่ผิด ถ้าไม่ผิด ก็ถือว่าจบสิ้นการพิจารณา นายหัสวุฒิจะสามารถกลับมาเป็นประธานได้เช่นเดิม แต่ถ้าผิด ก็ต้องพิจารณาโทษว่ามีความร้ายแรงแค่ไหน ถึงขั้นไล่ออกจากราชการ หรือให้ออก ซึ่งก็จะผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
ทั้งนี้ นายหัสวุฒิ ไม่ได้ถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยคดีจดหมายน้อย เพียงเรื่องเดียว โดยก่อนหน้านั้น ก.ศป. ได้มีมติสั่งให้มีตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณีมีการร้องเรียนพฤติกรรมของนายหัสวุฒิในหลายกรณี ทั้ง ความไม่โปร่งใสในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเป็นประธานพิธีอัญเชิญยอดฉัตรทองคำลูกแก้วมงคลนิมิต ประดิษฐานบนพระธาตุเจ้าจอมล้านนา วัดพิพัฒน์มงคล อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นภารกิจส่วนตัว ในช่วงเวลาเดียวกับที่อ้างว่า ไปปฏิบัติราชการที่ศาลปกครองพิษณุโลก
กรณีถูกกล่าวหาว่ามีความสนิทสนมกับ นางวรรณี ลิทองกุล แม่เลี้ยงคนดังลำปาง ที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท วีพีเอ็นคอนเล็คชั่น จำกัด ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี ในคดีที่ชาวบ้านในจังหวัดลำปาง ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ขอให้ยุติการก่อสร้างโครงการกำจัดขยะแบบครบวงจรมูลค่า 695 ล้านบาท และกรณี เป็นองค์คณะพิจารณาคดีที่บุตรสาวตนเองเป็นทนายให้กับคู่ความ โดยไม่ยอมถอนตัว ซึ่งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงยังดำเนินการสอบสวนอยู่ หากแล้วเสร็จและเสนอให้ ก.ศป. พิจารณาว่ามีมูลที่จะต้องตั้งคณะกรรมการสอบวินัยหรือไม่
สำหรับปมคดีจดหมายน้อย หรือการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนายหัสวุฒินั้น ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นความพยายามที่จะโค่นล้มประธานศาลปกครองสูงสุด และต้องการเปลี่ยนขั้วอำนาจภายในศาลปกครอง โดยมีการขยายให้เป็นประเด็นใหญ่ นำปมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเรื่องต่างๆ มาเป็นส่วนเสริม แล้วตั้งเป็นประเด็นเรื่องที่อาจทำให้สังคมเกิดความไม่เชื่อมั่นในศาลปกครอง เข้ามากดดันภายในองค์กรศาล ซึ่งเรื่องความขัดแย้งภายในศาล เป็นคลื่นใต้น้ำมีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการก่อตั้งศาลปกครอง ที่ในขณะนั้นมี นายอักขราทร จุฬารัตน เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด และ นายโภคิน พลกุล เป็นรองประธาน โดยมีการวางตัวไว้ให้นายโภคิน ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ต่อจากนายอักขราทร ทำให้มีการวางสายเพื่อสืบทอดอำนาจไว้
แต่เมื่อนายโภคิน ลาออกไปลงเล่นการเมือง ก็ยังมีกระแสข่าวที่ว่ากันว่า การวางสายของกลุ่มตุลาการ ที่เรียกกันว่า "สายโภคิน" ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน ประกอบกับ ที่มาของตุลาการศาลปกครอง ที่กฎหมายกำหนดให้มีที่มาค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งปัจจุบัน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตุลาการส่วนใหญ่ก็เคยเป็น อัยการ ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ข้าราชการระดับสูงของหน่วยราชการต่างๆ และ นักวิชาการมหาวิทยาลัย เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งตุลาการ ก็ได้มีการรวมตัวกัน และเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ต้องการ โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าว ถูกจับตามองว่าเป็นความพยายามที่จะผลักดัน นายชาญชัย แสวงศักดิ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุดคนที่สอง ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ต่อจากนายหัสวุฒิ ในขณะที่ นายปิยะ ปะตังทา รองประธานสูงสุดคนที่หนึ่ง มีอาวุโสมากกว่า
ความตามที่ ที่ประชุมก.ศป. ครั้งที่ 170-5/2557 เมื่อวันที่ 14 พ.ค.57 ได้พิจารณากรณีที่ตุลาการศาลปกครองได้เข้าชื่อกันเพื่อให้ก.ศป. ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่า นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ได้จัดทำหนังสือจำนวน 2 ฉบับ ถึงรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามลำดับ โดยอ้างว่านายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด มีความประสงค์ที่จะสนับสนุนพ.ต.ท.ชูธเรศ ยิ่งยงดำรงกุล รอง ผกก.ป.สน.หัวหมาก ซึ่งเป็นเพื่อนกับหลานชาย ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้กำกับการแล้ว เห็นว่าหากเป็นความจริงดังที่ นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ได้กล่าวอ้างไว้ในหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าว กรณีอาจเข้าข่ายตามที่กำหนดในข้อ 3 (1) แห่งระเบียบก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครอง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 สมควรสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่า มีมูลความจริงดังที่ นายดิเรกฤทธิ์ ได้กล่าวอ้างไว้ในหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวหรือไม่ จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว ประกอบด้วย นายนพดล เฮงเจริญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานกรรมการ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และนายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เป็นกรรมการ
ซึ่งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวต่อ ก.ศป. ในการประชุมครั้งที่ 181-2/2558 เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 58 ซึ่ง ก.ศป. ได้มีมติรับทราบ และมอบหมายให้สำนักงานศาลปกครอง ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.ศป. ขอข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากนั้น ก.ศป. ในการประชุมครั้งที่ 182-3/2558 เมื่อวันที่ 18 ก.พ.58 ได้พิจารณารายงานผลการสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานศาลปกครองได้นำเสนอต่อ ก.ศป.แล้ว ก.ศป.เสียงข้างมากเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฝ่ายข้างมาก โดยเห็นว่าเป็นกรณีมีมูลที่อาจเข้าข่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3(1) แห่งระเบียบ ก.ศป.ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 และถึงขั้นที่จะให้ตุลาการศาลปกครองผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง จึงมีมติให้ดำเนินการตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ข้อ 5 วรรคสอง และข้อ 6 วรรคหนึ่ง (4) แห่งระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 และได้มีคำสั่ง ก.ศป. ลับ ที่ 9/2558 ลงวันที่ 17มี.ค.58 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ต่อมา ก.ศป. ในการประชุมครั้งที่ 184-5/2558 เมื่อวันที่ 30 มี.ค. เสียงข้างมากเห็นว่า ปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งว่า ผู้ถูกกล่าวหาดำรตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่บริหารงานของศาลปกครอง และพิจารณาพิพากษาอรรถคดี การให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ย่อมเป็นการไม่เหมาะสม ทำให้ประชาชนเสื่อมความเชื่อถือและศรัทธา รวมทั้งเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของศาลปกครอง ซึ่งเป็นองค์กรตุลาการ การให้นายหัสวุฒิ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จึงเป็นการเสียหายแก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 24 วรรคสาม แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ก.ศป. จึงมีมติให้พักราชการ นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธาน ศาลปกครองสูงสุด ตุลาการศาลปกครองผู้ถูกกล่าวหา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่า ก.ศป. จะพิจารณากรณีที่นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ถูกกล่าวหาแล้วเสร็จ
หากนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลปกครองกลาง หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังศาลปกครองกลาง ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนี้ และก.ศป. มีมติให้ นายปิยะ ปะตังทา รองประธานศาลปกครองสูงสุดคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานศาลปกครองสูงสุด ในระหว่างที่นายหัสวุฒิ ถูกสั่งพักราชการ
**ผลสอบ "หัสวุฒิ" ออกได้ 2 แนวทาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุม ก.ศป. มีมติพักราชการนายหัสวุฒิ ไปเมื่อวันที่ 30 มี.ค. วานนี้( 31 มี.ค.) ก็ไม่พบว่านายหัสวุฒิ เดินทางเข้ามาที่สำนักงานศาลปกครองแต่อย่างใด ขณะเดียวกันในส่วนของสำนักงานฯ ทางผู้บริหารก็ยังไม่ได้มีการเรียกประชุมข้าราชการศาลปกครอง เพื่อชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนายหัสวุฒิ จากนี้จะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่มี นายชาญชัย แสวงศักดิ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุดคนที่ 2 เป็นประธาน และมีผู้แทนของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย ตามระเบียบสอบสวน จะใช้เวลาประมาณ 60 วัน ขณะเดียวกันนายหัสวุฒิ ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ หรือโต้แย้งได้ภาย 90 วัน นับแต่ก.ศป. มีคำสั่งพักราชการ
อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวให้ความเห็นว่า ระหว่างการสอบสวน หากนายหัสวุฒิ จะตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งก่อน หรือพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกียษณอายุ ก็ไม่เป็นผลให้การสอบสวนยุติลง โดยกระบวนการสอบสวนจะดำเนินไปจนกระทั่งเสร็จสิ้น ซึ่งผลการสอบสวนที่จะออกมามีได้ 2 แนว คือ คือผิด กับไม่ผิด ถ้าไม่ผิด ก็ถือว่าจบสิ้นการพิจารณา นายหัสวุฒิจะสามารถกลับมาเป็นประธานได้เช่นเดิม แต่ถ้าผิด ก็ต้องพิจารณาโทษว่ามีความร้ายแรงแค่ไหน ถึงขั้นไล่ออกจากราชการ หรือให้ออก ซึ่งก็จะผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
ทั้งนี้ นายหัสวุฒิ ไม่ได้ถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยคดีจดหมายน้อย เพียงเรื่องเดียว โดยก่อนหน้านั้น ก.ศป. ได้มีมติสั่งให้มีตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง กรณีมีการร้องเรียนพฤติกรรมของนายหัสวุฒิในหลายกรณี ทั้ง ความไม่โปร่งใสในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเป็นประธานพิธีอัญเชิญยอดฉัตรทองคำลูกแก้วมงคลนิมิต ประดิษฐานบนพระธาตุเจ้าจอมล้านนา วัดพิพัฒน์มงคล อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นภารกิจส่วนตัว ในช่วงเวลาเดียวกับที่อ้างว่า ไปปฏิบัติราชการที่ศาลปกครองพิษณุโลก
กรณีถูกกล่าวหาว่ามีความสนิทสนมกับ นางวรรณี ลิทองกุล แม่เลี้ยงคนดังลำปาง ที่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท วีพีเอ็นคอนเล็คชั่น จำกัด ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี ในคดีที่ชาวบ้านในจังหวัดลำปาง ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ขอให้ยุติการก่อสร้างโครงการกำจัดขยะแบบครบวงจรมูลค่า 695 ล้านบาท และกรณี เป็นองค์คณะพิจารณาคดีที่บุตรสาวตนเองเป็นทนายให้กับคู่ความ โดยไม่ยอมถอนตัว ซึ่งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงยังดำเนินการสอบสวนอยู่ หากแล้วเสร็จและเสนอให้ ก.ศป. พิจารณาว่ามีมูลที่จะต้องตั้งคณะกรรมการสอบวินัยหรือไม่
สำหรับปมคดีจดหมายน้อย หรือการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนายหัสวุฒินั้น ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นความพยายามที่จะโค่นล้มประธานศาลปกครองสูงสุด และต้องการเปลี่ยนขั้วอำนาจภายในศาลปกครอง โดยมีการขยายให้เป็นประเด็นใหญ่ นำปมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเรื่องต่างๆ มาเป็นส่วนเสริม แล้วตั้งเป็นประเด็นเรื่องที่อาจทำให้สังคมเกิดความไม่เชื่อมั่นในศาลปกครอง เข้ามากดดันภายในองค์กรศาล ซึ่งเรื่องความขัดแย้งภายในศาล เป็นคลื่นใต้น้ำมีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการก่อตั้งศาลปกครอง ที่ในขณะนั้นมี นายอักขราทร จุฬารัตน เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด และ นายโภคิน พลกุล เป็นรองประธาน โดยมีการวางตัวไว้ให้นายโภคิน ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ต่อจากนายอักขราทร ทำให้มีการวางสายเพื่อสืบทอดอำนาจไว้
แต่เมื่อนายโภคิน ลาออกไปลงเล่นการเมือง ก็ยังมีกระแสข่าวที่ว่ากันว่า การวางสายของกลุ่มตุลาการ ที่เรียกกันว่า "สายโภคิน" ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน ประกอบกับ ที่มาของตุลาการศาลปกครอง ที่กฎหมายกำหนดให้มีที่มาค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งปัจจุบัน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตุลาการส่วนใหญ่ก็เคยเป็น อัยการ ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ข้าราชการระดับสูงของหน่วยราชการต่างๆ และ นักวิชาการมหาวิทยาลัย เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งตุลาการ ก็ได้มีการรวมตัวกัน และเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ต้องการ โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าว ถูกจับตามองว่าเป็นความพยายามที่จะผลักดัน นายชาญชัย แสวงศักดิ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุดคนที่สอง ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ต่อจากนายหัสวุฒิ ในขณะที่ นายปิยะ ปะตังทา รองประธานสูงสุดคนที่หนึ่ง มีอาวุโสมากกว่า