น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงกรณีที่น.ส.ฐปณีย์ เดินทางไปเกาะติดสถานการณ์การช่วยเหลือแรงงานไทยที่ ที่ถูกหลอกให้ไปทำงานเป็นลูกเรือประมง แล้วถูกทิ้งอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งนายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงว่า การนำเสนอข่าวดังกล่าวอาจทำให้ไทยถูกจับตามองจากต่างชาติ จากปัญหาการค้าแรงงานมนุษย์ และอาจกระทบต่อการขายปลาให้กับสหภาพยุโรป โดยมีข้อความดังนี้
"สำหรับคนทำข่าว เป้าหมายในการตีแผ่ข้อเท็จจริงต่างๆ ก็เพื่อให้สังคมรับรู้ ตื่นตัว และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ต่างจาก Ngo อย่างมูลนิธิ LPN ทำงานรวบรวมข้อมูลต่างๆ ก็เพื่อให้ภาครัฐมาแก้ไขร่วมกัน
ดีใจค่ะ ที่ภาพวันนี้มาถึง ชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานไทยในอินโดนีเซีย สถานทูตไทย ณ.กรุงจาการ์ตา สถานทูตอินโดนีเซียประจำกรุงเทพ ประชุมร่วมกับผู้กำกับการสถานีตำรวจเกาะอัมบน เพื่อวางแนวทางช่วยเหลือ ทั้งลูกเรือที่เป็นคนตกเรือ คนผี คนเร่ร่อน ลูกเรือที่อยู่บนเรือ และต้องการกลับประเทศไทย รวมทั้งการตรวจสอบศพนิรนาม ที่ต้องสงสัยว่าเป็นศพคนไทย
ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา , พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ,พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พม., กระทรงการต่างประเทศ ท่านทูตภาสกร ทูตไทย ณ.กรุงจาการ์ตา และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ"
ด้านพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเสนอข้อมูลของสื่อมวลชนบางแขนง ต่อกรณีแรงงานประมงไทย และการที่ประเทศไทยติดอยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 ของสำนักงานเพื่อการติดตามและการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ ของกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกานั้น เป็นข้อมูลที่เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว หรือตามที่หลักสื่อสารมวลชน เรียกว่า half truth เพราะมิได้ให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วน
การที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 แล้วจัดอันดับให้ไทยอยู่ในบัญชีรายชื่อกลุ่มที่ 3 นั้น ข้อมูลที่นำมาใช้ในรายงานคือ การพิจารณาจากการแก้ปัญหาของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2556 ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งอยู่ในช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เห็นว่า ประเทศไทยไม่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้เพียงพอที่จะได้รับการจัดลำดับอยู่ในกลุ่มที่ 2 จึงลดลำดับลงมาจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3
ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังทำทุกวิถีทางในขณะนี้ ก็เพื่อแก้ไขปัญหาที่หมักหมม และไร้การดูแลจากรัฐบาลที่ผ่านมา เพื่อให้ประเทศไทย ได้รับการประเมินดีขึ้น เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรม และแรงงานที่อยู่ในภาคประมงทั้งระบบ
" หากสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ เกาะติดปัญหานี้อย่างเหมาะสม ทันเวลาจริง ตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน คงไม่เกิดเหตุการณ์ในวันนี้ขึ้น ดังนั้น
เมื่อรัฐบาลและทุกหน่วยงานในปัจจุบัน พยายามเดินหน้าแก้ปัญหา จึงควรนำเสนอข้อมูลอย่างครบถ้วน โดยเอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก สำหรับความคืบหน้า การช่วยเหลือแรงงานประมงไทยที่ถูกจับในประเทศอินโดนีเซียนั้น นอกเหนือจากแรงงานประมงจำนวน 21 คน ที่ช่วยเหลือกลับมาเมื่อวันที่ 27 มี.ค.แล้ว มีรายงานเพิ่มเติมว่าจะมีแรงงานอีก 6 คน ที่ทางการไทยได้ประสานความร่วมมือกับทางการอินโดนีเซีย เพื่อส่งตัวกลับมาอีกชุด คาดว่าจะเดินทางถึงเมืองไทย ในวันที่ 1 เม.ย.นี้" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า การช่วยเหลือแรงงานประมงไทยในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน มีอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่ามากกว่าการดำเนินการในหลายรัฐบาลที่ผ่านมา และจะดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม นายกฯได้มีบัญชาและต้องการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน มิใช่ช่วยเหลือเป็นคราวๆไปเช่นนี้ โดยได้มอบนโยบายให้ไปตรวจสอบทำบัญชีเรือประมง และเจ้าของเรือที่มีพฤติกรรมกระทำผิดในอดีต เช่น ใช้แรงงานไม่ถูกต้อง จับปลาโดยไม่มีใบอนุญาตทำการประมง เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ รวมทั้งสกัดผู้ประกอบการที่ไม่มีความรับผิดชอบออกไป เพื่อรักษาธุรกิจอุตสาหกรรมประมงของประเทศในระยะยาว รวมไปถึงนโยบายการสถาปนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ในน่านน้ำที่มีการทำประมง เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างแนบแน่นและถาวรต่อไป
ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน ชี้ 3 ปัจจัยลดปัญหาค้ามนุษย์ด้านแรงงาน แก้แรงงานเด็ก สางปัญหาแรงงานทาส และต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมให้ได้ผลสำเร็จตามหลักการ ทำก่อน ทำจริง ทำทันที หลังจาก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน เร่งแก้กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล มีผลบังคับใช้กว่า 2 เดือนที่ผ่านมา และมีการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลปัจจุบัน ออกตรวจเรือประมงได้ 869 ลำ แต่รัฐบาลในอดีต ออกตรวจเรือประมงในห้วงเวลาเดียวกันได้เพียง 152 ลำ และรัฐบาลปัจจุบันเอาผิด
เรือประมงทั้งการดำเนินคดี และการออกคำสั่งจำนวน 65 ลำ โดยดำเนินคดีเรื่องการใช้แรงงานเด็ก การสั่งให้จ่ายค่าจ้างและสวัดิการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ลูกจ้างให้อยู่ดีกินดีมีเวลาพักผ่อน ในขณะที่รัฐบาลในอดีตดำเนินการเรือที่ทำผิดได้เพียง 1 ลำเท่านั้น จึงเห็นได้ชัดเจนว่า การตัดสินใจปรับปรุงกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล ทำให้ได้ผลสำเร็จ และความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลปัจจุบันแตกต่างไปจากรัฐบาลในอดีต
"กฎกระทรวงนี้ เป็นมาตรการที่ทำให้พบการกระทำผิดของเรือประมงเพื่อประเทศไทยจะได้หลุดจากการคาดโทษว่าไม่มีมาตรฐานในการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ แต่ตอนนี้ เรามีกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานที่เรือประมงทะเลต้องทำตาม เช่น การทำสัญญาจ้าง การจ้างแรงงานขั้นต่ำ ห้ามจ้างคนอายุต่ำกว่า 18 ปี การจัดเวลาพักและเวลาทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วย และการนำตัวลูกจ้างมารายงานตัวปีละครั้ง เป็นต้น จะทำให้ช่วยลดปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก และแรงงานทาส" ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลจากการมีกฎกระทรวงนี้เอง วันนี้เรามี“เรือประมงต้นแบบ”ที่มีห้องนอนติดแอร์ ห้องพยบาบาล และบุรุษพยาบาลประจำเรือ มีการติดตั้งระบบติดตามเรือหรือ VMS และเรือประมงต้นแบบยังได้ปฏิบัติตามกฎหมายการทำประมงด้วยการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทำประมงอย่างถูกต้อง ทำประมงเฉพาะพื้นที่ ที่ได้รับสัมปทานและมีการรายงานจำนวนปลาที่จับได้ จะทำให้ประเทศไทยหลุดจากการถูกคาดโทษการทำประมงที่ผิดกฎหมายแบบ IUU ตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่ทุกคนในชาติต้องเข้าใจว่า ถ้าเราถูกกีดกันการค้าระหว่างประเทศจะทำให้ทุกคนในชาติเดือดร้อนเรื่องเงินในกระเป๋าของแต่ละคนมากขึ้นไปอีก
ดังนั้นทุกคนในชาติต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแส ผู้ประกอบการนายจ้างต้องทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
"สำหรับคนทำข่าว เป้าหมายในการตีแผ่ข้อเท็จจริงต่างๆ ก็เพื่อให้สังคมรับรู้ ตื่นตัว และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ต่างจาก Ngo อย่างมูลนิธิ LPN ทำงานรวบรวมข้อมูลต่างๆ ก็เพื่อให้ภาครัฐมาแก้ไขร่วมกัน
ดีใจค่ะ ที่ภาพวันนี้มาถึง ชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานไทยในอินโดนีเซีย สถานทูตไทย ณ.กรุงจาการ์ตา สถานทูตอินโดนีเซียประจำกรุงเทพ ประชุมร่วมกับผู้กำกับการสถานีตำรวจเกาะอัมบน เพื่อวางแนวทางช่วยเหลือ ทั้งลูกเรือที่เป็นคนตกเรือ คนผี คนเร่ร่อน ลูกเรือที่อยู่บนเรือ และต้องการกลับประเทศไทย รวมทั้งการตรวจสอบศพนิรนาม ที่ต้องสงสัยว่าเป็นศพคนไทย
ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา , พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ,พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พม., กระทรงการต่างประเทศ ท่านทูตภาสกร ทูตไทย ณ.กรุงจาการ์ตา และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ"
ด้านพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเสนอข้อมูลของสื่อมวลชนบางแขนง ต่อกรณีแรงงานประมงไทย และการที่ประเทศไทยติดอยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 ของสำนักงานเพื่อการติดตามและการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ ของกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกานั้น เป็นข้อมูลที่เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว หรือตามที่หลักสื่อสารมวลชน เรียกว่า half truth เพราะมิได้ให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วน
การที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 แล้วจัดอันดับให้ไทยอยู่ในบัญชีรายชื่อกลุ่มที่ 3 นั้น ข้อมูลที่นำมาใช้ในรายงานคือ การพิจารณาจากการแก้ปัญหาของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2556 ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งอยู่ในช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เห็นว่า ประเทศไทยไม่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้เพียงพอที่จะได้รับการจัดลำดับอยู่ในกลุ่มที่ 2 จึงลดลำดับลงมาจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3
ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังทำทุกวิถีทางในขณะนี้ ก็เพื่อแก้ไขปัญหาที่หมักหมม และไร้การดูแลจากรัฐบาลที่ผ่านมา เพื่อให้ประเทศไทย ได้รับการประเมินดีขึ้น เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรม และแรงงานที่อยู่ในภาคประมงทั้งระบบ
" หากสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ เกาะติดปัญหานี้อย่างเหมาะสม ทันเวลาจริง ตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน คงไม่เกิดเหตุการณ์ในวันนี้ขึ้น ดังนั้น
เมื่อรัฐบาลและทุกหน่วยงานในปัจจุบัน พยายามเดินหน้าแก้ปัญหา จึงควรนำเสนอข้อมูลอย่างครบถ้วน โดยเอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก สำหรับความคืบหน้า การช่วยเหลือแรงงานประมงไทยที่ถูกจับในประเทศอินโดนีเซียนั้น นอกเหนือจากแรงงานประมงจำนวน 21 คน ที่ช่วยเหลือกลับมาเมื่อวันที่ 27 มี.ค.แล้ว มีรายงานเพิ่มเติมว่าจะมีแรงงานอีก 6 คน ที่ทางการไทยได้ประสานความร่วมมือกับทางการอินโดนีเซีย เพื่อส่งตัวกลับมาอีกชุด คาดว่าจะเดินทางถึงเมืองไทย ในวันที่ 1 เม.ย.นี้" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า การช่วยเหลือแรงงานประมงไทยในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน มีอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่ามากกว่าการดำเนินการในหลายรัฐบาลที่ผ่านมา และจะดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม นายกฯได้มีบัญชาและต้องการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน มิใช่ช่วยเหลือเป็นคราวๆไปเช่นนี้ โดยได้มอบนโยบายให้ไปตรวจสอบทำบัญชีเรือประมง และเจ้าของเรือที่มีพฤติกรรมกระทำผิดในอดีต เช่น ใช้แรงงานไม่ถูกต้อง จับปลาโดยไม่มีใบอนุญาตทำการประมง เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ รวมทั้งสกัดผู้ประกอบการที่ไม่มีความรับผิดชอบออกไป เพื่อรักษาธุรกิจอุตสาหกรรมประมงของประเทศในระยะยาว รวมไปถึงนโยบายการสถาปนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ในน่านน้ำที่มีการทำประมง เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างแนบแน่นและถาวรต่อไป
ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน ชี้ 3 ปัจจัยลดปัญหาค้ามนุษย์ด้านแรงงาน แก้แรงงานเด็ก สางปัญหาแรงงานทาส และต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมให้ได้ผลสำเร็จตามหลักการ ทำก่อน ทำจริง ทำทันที หลังจาก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน เร่งแก้กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล มีผลบังคับใช้กว่า 2 เดือนที่ผ่านมา และมีการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลปัจจุบัน ออกตรวจเรือประมงได้ 869 ลำ แต่รัฐบาลในอดีต ออกตรวจเรือประมงในห้วงเวลาเดียวกันได้เพียง 152 ลำ และรัฐบาลปัจจุบันเอาผิด
เรือประมงทั้งการดำเนินคดี และการออกคำสั่งจำนวน 65 ลำ โดยดำเนินคดีเรื่องการใช้แรงงานเด็ก การสั่งให้จ่ายค่าจ้างและสวัดิการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ลูกจ้างให้อยู่ดีกินดีมีเวลาพักผ่อน ในขณะที่รัฐบาลในอดีตดำเนินการเรือที่ทำผิดได้เพียง 1 ลำเท่านั้น จึงเห็นได้ชัดเจนว่า การตัดสินใจปรับปรุงกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล ทำให้ได้ผลสำเร็จ และความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลปัจจุบันแตกต่างไปจากรัฐบาลในอดีต
"กฎกระทรวงนี้ เป็นมาตรการที่ทำให้พบการกระทำผิดของเรือประมงเพื่อประเทศไทยจะได้หลุดจากการคาดโทษว่าไม่มีมาตรฐานในการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ แต่ตอนนี้ เรามีกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานที่เรือประมงทะเลต้องทำตาม เช่น การทำสัญญาจ้าง การจ้างแรงงานขั้นต่ำ ห้ามจ้างคนอายุต่ำกว่า 18 ปี การจัดเวลาพักและเวลาทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วย และการนำตัวลูกจ้างมารายงานตัวปีละครั้ง เป็นต้น จะทำให้ช่วยลดปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก และแรงงานทาส" ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลจากการมีกฎกระทรวงนี้เอง วันนี้เรามี“เรือประมงต้นแบบ”ที่มีห้องนอนติดแอร์ ห้องพยบาบาล และบุรุษพยาบาลประจำเรือ มีการติดตั้งระบบติดตามเรือหรือ VMS และเรือประมงต้นแบบยังได้ปฏิบัติตามกฎหมายการทำประมงด้วยการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทำประมงอย่างถูกต้อง ทำประมงเฉพาะพื้นที่ ที่ได้รับสัมปทานและมีการรายงานจำนวนปลาที่จับได้ จะทำให้ประเทศไทยหลุดจากการถูกคาดโทษการทำประมงที่ผิดกฎหมายแบบ IUU ตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรปที่ทุกคนในชาติต้องเข้าใจว่า ถ้าเราถูกกีดกันการค้าระหว่างประเทศจะทำให้ทุกคนในชาติเดือดร้อนเรื่องเงินในกระเป๋าของแต่ละคนมากขึ้นไปอีก
ดังนั้นทุกคนในชาติต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแส ผู้ประกอบการนายจ้างต้องทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด