ขนส่งฯ แจงแก้ไขกม.จดทะเบียนรถปิกอัพใหม่ มีผลบังคับใช้ 23 มี.ค.นี้ ไม่กระทบรถเก๋งและรถปิกอัพส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กก. และมีไว้เพื่อใช้ส่วนตัว ยันยื่นจดทะเบียนรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ได้ปกติ แต่หากน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัมต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมด้านการเสียภาษี หลักฐานการเงินแสดงถึงความจำเป็นในการใช้รถขนาดใหญ่ พร้อมที่จอดรถตามที่ราชการกำหนด
นายสุชาติ กลิ่นสุวรรณ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ชบ.) กล่าวถึงกรณีที่มีการประกาศใช้บังคับพ.ร.บ.การขนส่งทางบก ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2557 และพ.ร.บ.รถยนต์ (ฉบับที่ 17 ) พ.ศ. 2557 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.58 เป็นต้นไปนั้น ในส่วนของรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,600 กก. แต่ไม่เกิน 2,200 กก. ที่เป็นรถที่ใช้ส่วนบุคคลไม่ได้ใช้เพื่อการประกอบการขนส่งยังสามารถยื่นขอจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ จากเดิมที่ต้องยื่นจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และต้องขออนุญาตประกอบการขนส่งด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ที่มีการพัฒนาจนเป็นเหตุให้รถยนต์ส่วนบุคคลมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายว่าด้วยรถยนต์กำหนดไว้เดิมไม่เกิน 1,600 กก. อีกทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่มีรถดังกล่าวโดยที่ไม่ได้มีไว้เพื่อการประกอบการขนส่ง
ส่วนรถยนต์นั่งและรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กก.ซึ่งเป็นรถขนาดใหญ่และไม่ได้มีไว้เพื่อการประกอบการขนส่ง หากจะจดทะเบียนเป็นรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่ราชการกำหนด ซึ่งผู้ขอต้องสามารถพิสูจน์ให้ได้ว่าจะใช้รถดังกล่าวเพื่อการส่วนตัวโดยแท้จริง โดยให้แนบหลักฐานเพิ่มเติม ได้แก่ หลักฐานการแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาย้อนหลัง 2 ปี หลักฐานแสดงฐานะการเงินที่มั่นคงและความจำเป็นต้องใช้รถขนาดใหญ่เพื่อการส่วนตัว ภาพถ่ายตัวรถพร้อมรายละเอียด ขนาด สัดส่วนและขนาดของรถจากบริษัทผู้ผลิต หลักฐานแสดงที่จอดรถ ได้แก่ ภาพถ่ายสถานที่จอดรถที่มีเนื้อที่จอดรถไม่น้อยกว่า 35 ตารางเมตร แผนที่แสดงที่จอดรถ และหนังสือรับรองการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลตามที่ทางราชการกำหนด โดยเจ้าหน้าที่จะมีการออกตรวจสถานที่จอดรถและหลักฐานต่างๆ ตามที่กำหนด เพื่อป้องกันการนำรถขนาดใหญ่ เช่น รถบัส รถสิบล้อ มาขอจดทะเบียนเป็นรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์แล้วนำไปใช้ประกอบการขนส่งผิดกฎหมาย
นายสุชาติกล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) หรือรถบรรทุกส่วนบุคคล (รถปิกอัพ) แต่อย่างใดทั้งสิ้น โดยดำเนินการเช่นเดิมตามที่เคยปฏิบัติมา
อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้เกี่ยวกับการกำหนดระเบียบดังกล่าว มีรายงานข่าวว่า กรมการขนส่งต้องการควบคุมบรรดารถตู้เถื่อน ที่มีการจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่ถูกนำมาใช้งานเพื่อการขนส่ง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน.
นายสุชาติ กลิ่นสุวรรณ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ชบ.) กล่าวถึงกรณีที่มีการประกาศใช้บังคับพ.ร.บ.การขนส่งทางบก ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2557 และพ.ร.บ.รถยนต์ (ฉบับที่ 17 ) พ.ศ. 2557 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.58 เป็นต้นไปนั้น ในส่วนของรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,600 กก. แต่ไม่เกิน 2,200 กก. ที่เป็นรถที่ใช้ส่วนบุคคลไม่ได้ใช้เพื่อการประกอบการขนส่งยังสามารถยื่นขอจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ จากเดิมที่ต้องยื่นจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และต้องขออนุญาตประกอบการขนส่งด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ที่มีการพัฒนาจนเป็นเหตุให้รถยนต์ส่วนบุคคลมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายว่าด้วยรถยนต์กำหนดไว้เดิมไม่เกิน 1,600 กก. อีกทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่มีรถดังกล่าวโดยที่ไม่ได้มีไว้เพื่อการประกอบการขนส่ง
ส่วนรถยนต์นั่งและรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กก.ซึ่งเป็นรถขนาดใหญ่และไม่ได้มีไว้เพื่อการประกอบการขนส่ง หากจะจดทะเบียนเป็นรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่ราชการกำหนด ซึ่งผู้ขอต้องสามารถพิสูจน์ให้ได้ว่าจะใช้รถดังกล่าวเพื่อการส่วนตัวโดยแท้จริง โดยให้แนบหลักฐานเพิ่มเติม ได้แก่ หลักฐานการแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาย้อนหลัง 2 ปี หลักฐานแสดงฐานะการเงินที่มั่นคงและความจำเป็นต้องใช้รถขนาดใหญ่เพื่อการส่วนตัว ภาพถ่ายตัวรถพร้อมรายละเอียด ขนาด สัดส่วนและขนาดของรถจากบริษัทผู้ผลิต หลักฐานแสดงที่จอดรถ ได้แก่ ภาพถ่ายสถานที่จอดรถที่มีเนื้อที่จอดรถไม่น้อยกว่า 35 ตารางเมตร แผนที่แสดงที่จอดรถ และหนังสือรับรองการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลตามที่ทางราชการกำหนด โดยเจ้าหน้าที่จะมีการออกตรวจสถานที่จอดรถและหลักฐานต่างๆ ตามที่กำหนด เพื่อป้องกันการนำรถขนาดใหญ่ เช่น รถบัส รถสิบล้อ มาขอจดทะเบียนเป็นรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์แล้วนำไปใช้ประกอบการขนส่งผิดกฎหมาย
นายสุชาติกล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) หรือรถบรรทุกส่วนบุคคล (รถปิกอัพ) แต่อย่างใดทั้งสิ้น โดยดำเนินการเช่นเดิมตามที่เคยปฏิบัติมา
อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้เกี่ยวกับการกำหนดระเบียบดังกล่าว มีรายงานข่าวว่า กรมการขนส่งต้องการควบคุมบรรดารถตู้เถื่อน ที่มีการจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่ถูกนำมาใช้งานเพื่อการขนส่ง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน.