"แก้วสรร"สุดทน "ยิ่งลักษณ์" ยังไม่เลิกแถ โครงการจำนำข้าวเป็นฉันมาทติจากประชาชน อ้างชัยชนะจากหีบเลือกตั้ง อยู่เหนือกฎหมาย ทำชาติฉิบหาย ละเมิดรธน. ย้ำ ผิดทั้งแพ่ง-อาญา ห่วงกก.ตรววจสอบความเสียหายไม่กล้าฟันตระกุลชินฯ เกรงอำนาจเก่าฟื้นคืนชีพ อดีตผู้พิพากษาซัด "ยิ่งลักษณ์" อย่าเพิ่งโวยวาย กล่าวหาศาลตั้งธงล่วงหน้า
นายแก้วสรร อติโพธิ แกนนำไทยสปริง กล่าวถึงกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐฒนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยอ้างว่า โครงการรับจํานําข้าวเปลือกเป็นนโยบายที่ประชาชนได้มอบหมายมา เป็นฉันทามติที่ต้องการให้กลไกตลาดเป็นธรรม สะท้อนความเป็นจริง และยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนา และเป็นคดีที่จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนเกษตรกร และประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งยังมีผลต่อบรรทัดฐาน และการตัดสินใจในการจัดทํานโยบายที่จะช่วยเหลือประชาชนในอนาคต ว่า ตนเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า เป็นคดีสําคัญที่จะมีผลต่อเสรีภาพในการจัดทํานโยบายของรัฐเป็นอันมาก หากศาลจะตัดสินจนลงเอยเช่นใด ก็ต้องมีหลักมีเกณฑ์มาอธิบายให้ชัดเจนว่า ผิดหรือไม่ผิดที่ตรงไหน เอาอะไรมาเป็นบรรทัดฐาน
ส่วนที่อ้างว่าเป็น“ฉันทามติ”ของประชาชนที่ได้มาจากการเลือกตั้ง อะไรที่เสนอเป็นนโยบายเลือกตั้งแล้วชนะเลือกตั้งย่อมศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายเอาผิดไม่ได้ ความคิดที่ถือเอาหีบเลือกตั้งเป็นกฎหมายสูงสุดนี้ นักกฎหมายอย่างตน ยอมรับไม่ได้
นายแก้วสรร กล่าวด้วยว่า โครงการรับจํานําข้าวเปลือกทํากันมาหลายรัฐบาล โดยมีการรับจํานําจริง เพื่อพยุงราคาข้าวในตลาด ไม่ใช่เข้าไปรับซื้อข้าวทุกเมล็ดในตลาดอย่างรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำคือ ประกาศว่ารับจํานํา ขณะที่ราคาข้าวเปลือกในตลาดไม่มีทางถึงเกวียนละ 1 หมื่นบาท แต่ไปประกาศรับจํานําทุกเมล็ด ในราคาสูงถึง1.5 หมื่นบาท จึงไม่ใช่เป็นการรับจํานํา แต่เป็นการมุ่งรับซื้อทุกเมล็ดทั่วประเทศอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งไม่สามารถทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 ได้กําหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ให้ทุกรัฐบาลต้องยึดถือไว้ในมาตรา 84 (1) ระบุว่า รัฐต้องสนับสนุนเศรษฐกิจเสรี ที่อาศัยกลไกการตลาด คือ ถ้าไม่ใช่เรื่องรักษาความมั่นคง รักษาประโยชน์ส่วนรวม หรือให้บริการสาธารณะแล้ว รัฐอย่าเข้าไปประกอบการใดๆ การที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ให้หน่วยงานไปซื้อข้าวทั้งประเทศ จึงเป็นนโยบายเถื่อนที่กฎหมายไม่รับรอง และ มาตรา 84 (8) ระบุให้รัฐ ดูแลประโยชน์ชาวนาในตลาด โดยส่งเสริมให้ชาวนาได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งรัฐทําได้แค่ช่วยส่งเสริมราคาในตลาดคือ รับจํานําในราคาที่สูงกว่าตลาดตามสมควรพอที่จะดึงราคาในตลาดให้สูงขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่ทิ้งตลาด คือไปรับซื้อข้าวทุกเมล็ดแทนตลาดอย่างที่ทําไป จนการเงินการคลังของประเทศเสียหายกว่า 7 แสนล้านเช่นทุกวันนี้
สำหรับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ เคยตัดสินยกฟ้องคดีจํานําข้าวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปแล้วนั้น นายแก้วสรร กล่าวว่า เป็นเพราะศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินแต่เพียงว่า ไม่มีกฎหมายให้อํานาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะสั่งระงับนโยบายใดของรัฐบาลได้ แต่ไม่ได้บอกว่านโยบายนี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และหากมีการทํานอกเหนือรัฐธรรมนูญ และเกิดความเสียหายในทางแพ่ง ถ้าพิสูจน์ ความรับผิดได้ต่อไปว่า มีพฤติการณ์เข้าข่ายจงใจ หรือเลินเล่อร้ายแรง คนในรัฐบาลก็ต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว ซึ่งก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายและความรับผิดแล้ว
ส่วนพยานหลักฐานสามารถถือตามสํานวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.)ก็พอแล้ว เหลือแต่ความกล้าของกรรมการเท่านั้นว่า มีพอหรือไม่ เพราะหากบุคลเหล่านี้สามารถกลับมามีอำนาจอีกครั้ง ข้าราชการประจําที่ไปทํางานเอาผิดพวกชินวัตร จะต้องซวย สิ้นความก้าวหน้าในราชการแน่นอน เหมือนที่ข้าราชการคลังที่ไปช่วยงาน คตส. โดนมาตลอดแล้ว
"ในส่วนคดีอาญาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใน มาตรา 157 การจะลงโทษคนถึงติดคุกได้ ต้องมีความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง คือใช้อํานาจหรือละเว้นหน้าที่โดยจงใจ กลั่นแกล้งให้บุคคลอื่นเสียหาย หรือโดยทุจริต ตรงนี้ยังไม่ทราบฐานคําฟ้องของอัยการ และ ป.ป.ช. ว่า ฟ้องตามฐานใดด้วยพยานหลักฐานที่ฟังได้หรือไม่ ซึ่งตรงนี้คือ จุดชี้ขาดคดีอาญาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะหนีหรือไม่ ผมคิดว่าน่าจะต้องดูจุดชี้ขาดตรงนี้เป็นสําคัญ ซึ่งคดีนี้เป็นคดีคอร์รัปชัน คดีทําบ้านเมืองเสียหายเป็น 7 แสนล้าน ถ้าพยานหลักฐานถึงติดคุกได้ก็สมควรแล้ว และอย่าได้เอาคดี คุณยิ่งลักษณ์ ไปเทียบกับการต่อสู้เผด็จการของ อองซาน ซูจี เลย เพราะจะทําให้คุณซูจี เขาเสียหาย เสียเกียรติภูมิอย่างร้ายแรงยิ่งทีเดียว" นายแก้วสรร ระบุ
**ซัด"ยิ่งลักษณ์"อย่าเพิ่งโวยวาย
นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โพสต์เฟซบุ๊ก ภายหลังจากที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้มีคำสั่งประทับรับฟ้องคดี จำนำข้าว โดยขอความเห็นใจจากประชาชน ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากป.ป.ช. และ อัยการ ว่า เมื่อศาลฎีกาฯ ประทับฟ้องคดีที่อัยการสูงสุด ฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และตามตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1
โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ โพสต์ลงเฟซบุ๊กว่า ขอให้มีการพิจารณาอย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม ปราศจากอคติใดๆ ศาลอย่าตั้งธงไว้ล่วงหน้า
นายชูชาติ กล่าวว่า ในชั้นพิจารณาคดีศาลก็เป็นการพิจารณาโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปเข้าไปฟังการพิจารณาได้ จึงไม่อาจกระทำการใดในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ และจะให้โอกาสโจทก์ จำเลย นำพยานหลักฐานเข้าสืบหรือมาเสนอต่อศาลได้อย่างเต็มที่
ส่วนในชั้นพิพากษาคดี ก็ต้องถือเอาพยานหลักฐานที่มีอยู่ในสำนวนศาลเท่านั้นมาพิจารณา เพื่อวินิจฉัยคดี จะคิดเอาตามความรู้สึกนึกคิดของตนเองไม่ได้ โดยมีการประชุมองค์คณะและลงมติกันว่า จะพิพากษายกฟ้อง หรือลงโทษหรือไม่เพียงใด โดยถือเอาเสียงข้างมากเป็นหลักคือ อย่างน้อยก็ต้อง 5:4
เมื่อศาลมีคำพิพากษา ไม่ว่ายกฟ้อง หรือลงโทษ ต้องอ่านคำพิพากษาทั้งหมดโดยละเอียด ก็จะรู้ได้ว่า เพราะเหตุใดศาลจึงยกฟ้อง และลงโทษ ไม่ใช่เมื่อศาลพิพากษาไม่เป็นดังที่ตนเองหวัง ก็กล่าวหาว่า ศาลตั้งธงไว้ก่อนแล้ว
มีผู้กล่าวว่า ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องรับผิดในโครงการรับจำนำข้าว หากเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่่านรีดไถประชาชน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ต้องรับผิดด้วย หรือถ้าทหารบกคุมบ่อน คุมซ่องโสเภณี ผบ.ทบ.ก็ต้องรับผิดด้วย เช่นเดียวกัน
เรื่องนี้ขอเรียนว่า กรณีดังกล่าวถ้าผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ไม่ทราบเรื่องมาก่อน ก็ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ
แต่ถ้ามีผู้แจ้งให้ ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ทราบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา กระทำการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ไม่ได้ห้ามปรามผู้ใต้บังคับบัญชา และปล่อยให้กระทำผิดต่อไป ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ย่อมมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ย้อนมาดูเรื่องโครงการรับจำนำข้าว คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ทราบว่าโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียมาก ควรระงับโครงการ ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ก็มีหนังสือแจ้งให้ทราบเมื่อดำเนินโครงไปแล้ว 1 ปี ว่า โครงการนี้มีความเสียหายเกิดขึ้นมาก ขอให้เลิกโครงการ มี ส.ส. พรรคฝ่ายค้านอภิปรายในสภา ให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทราบว่า โครงรับจำนำข้าว มีการทุจริตกันทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดความเสียหายมาก พร้อมทั้งนำหลักฐานต่างๆ มาให้ดูด้วย
แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เคยกระทำการใดเพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว กลับยืนยันว่า เป็นโครงการที่ชาวนาได้รับประโยชน์ และไม่มีความเสียหายใดๆเลย
ดังนั้น จึงควรรอฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ และอย่าเพิ่งโวยวายล่วงหน้าว่าศาลไม่ยุติธรรม ศาลตั้งธงไว้ล่วงหน้า เหมือนกับบางคนที่ถูกศาลลงโทษมาแล้ว.
นายแก้วสรร อติโพธิ แกนนำไทยสปริง กล่าวถึงกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐฒนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยอ้างว่า โครงการรับจํานําข้าวเปลือกเป็นนโยบายที่ประชาชนได้มอบหมายมา เป็นฉันทามติที่ต้องการให้กลไกตลาดเป็นธรรม สะท้อนความเป็นจริง และยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนา และเป็นคดีที่จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนเกษตรกร และประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งยังมีผลต่อบรรทัดฐาน และการตัดสินใจในการจัดทํานโยบายที่จะช่วยเหลือประชาชนในอนาคต ว่า ตนเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า เป็นคดีสําคัญที่จะมีผลต่อเสรีภาพในการจัดทํานโยบายของรัฐเป็นอันมาก หากศาลจะตัดสินจนลงเอยเช่นใด ก็ต้องมีหลักมีเกณฑ์มาอธิบายให้ชัดเจนว่า ผิดหรือไม่ผิดที่ตรงไหน เอาอะไรมาเป็นบรรทัดฐาน
ส่วนที่อ้างว่าเป็น“ฉันทามติ”ของประชาชนที่ได้มาจากการเลือกตั้ง อะไรที่เสนอเป็นนโยบายเลือกตั้งแล้วชนะเลือกตั้งย่อมศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายเอาผิดไม่ได้ ความคิดที่ถือเอาหีบเลือกตั้งเป็นกฎหมายสูงสุดนี้ นักกฎหมายอย่างตน ยอมรับไม่ได้
นายแก้วสรร กล่าวด้วยว่า โครงการรับจํานําข้าวเปลือกทํากันมาหลายรัฐบาล โดยมีการรับจํานําจริง เพื่อพยุงราคาข้าวในตลาด ไม่ใช่เข้าไปรับซื้อข้าวทุกเมล็ดในตลาดอย่างรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำคือ ประกาศว่ารับจํานํา ขณะที่ราคาข้าวเปลือกในตลาดไม่มีทางถึงเกวียนละ 1 หมื่นบาท แต่ไปประกาศรับจํานําทุกเมล็ด ในราคาสูงถึง1.5 หมื่นบาท จึงไม่ใช่เป็นการรับจํานํา แต่เป็นการมุ่งรับซื้อทุกเมล็ดทั่วประเทศอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งไม่สามารถทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 ได้กําหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ให้ทุกรัฐบาลต้องยึดถือไว้ในมาตรา 84 (1) ระบุว่า รัฐต้องสนับสนุนเศรษฐกิจเสรี ที่อาศัยกลไกการตลาด คือ ถ้าไม่ใช่เรื่องรักษาความมั่นคง รักษาประโยชน์ส่วนรวม หรือให้บริการสาธารณะแล้ว รัฐอย่าเข้าไปประกอบการใดๆ การที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ให้หน่วยงานไปซื้อข้าวทั้งประเทศ จึงเป็นนโยบายเถื่อนที่กฎหมายไม่รับรอง และ มาตรา 84 (8) ระบุให้รัฐ ดูแลประโยชน์ชาวนาในตลาด โดยส่งเสริมให้ชาวนาได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งรัฐทําได้แค่ช่วยส่งเสริมราคาในตลาดคือ รับจํานําในราคาที่สูงกว่าตลาดตามสมควรพอที่จะดึงราคาในตลาดให้สูงขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่ทิ้งตลาด คือไปรับซื้อข้าวทุกเมล็ดแทนตลาดอย่างที่ทําไป จนการเงินการคลังของประเทศเสียหายกว่า 7 แสนล้านเช่นทุกวันนี้
สำหรับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ เคยตัดสินยกฟ้องคดีจํานําข้าวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปแล้วนั้น นายแก้วสรร กล่าวว่า เป็นเพราะศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินแต่เพียงว่า ไม่มีกฎหมายให้อํานาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะสั่งระงับนโยบายใดของรัฐบาลได้ แต่ไม่ได้บอกว่านโยบายนี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และหากมีการทํานอกเหนือรัฐธรรมนูญ และเกิดความเสียหายในทางแพ่ง ถ้าพิสูจน์ ความรับผิดได้ต่อไปว่า มีพฤติการณ์เข้าข่ายจงใจ หรือเลินเล่อร้ายแรง คนในรัฐบาลก็ต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว ซึ่งก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายและความรับผิดแล้ว
ส่วนพยานหลักฐานสามารถถือตามสํานวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.)ก็พอแล้ว เหลือแต่ความกล้าของกรรมการเท่านั้นว่า มีพอหรือไม่ เพราะหากบุคลเหล่านี้สามารถกลับมามีอำนาจอีกครั้ง ข้าราชการประจําที่ไปทํางานเอาผิดพวกชินวัตร จะต้องซวย สิ้นความก้าวหน้าในราชการแน่นอน เหมือนที่ข้าราชการคลังที่ไปช่วยงาน คตส. โดนมาตลอดแล้ว
"ในส่วนคดีอาญาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใน มาตรา 157 การจะลงโทษคนถึงติดคุกได้ ต้องมีความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง คือใช้อํานาจหรือละเว้นหน้าที่โดยจงใจ กลั่นแกล้งให้บุคคลอื่นเสียหาย หรือโดยทุจริต ตรงนี้ยังไม่ทราบฐานคําฟ้องของอัยการ และ ป.ป.ช. ว่า ฟ้องตามฐานใดด้วยพยานหลักฐานที่ฟังได้หรือไม่ ซึ่งตรงนี้คือ จุดชี้ขาดคดีอาญาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะหนีหรือไม่ ผมคิดว่าน่าจะต้องดูจุดชี้ขาดตรงนี้เป็นสําคัญ ซึ่งคดีนี้เป็นคดีคอร์รัปชัน คดีทําบ้านเมืองเสียหายเป็น 7 แสนล้าน ถ้าพยานหลักฐานถึงติดคุกได้ก็สมควรแล้ว และอย่าได้เอาคดี คุณยิ่งลักษณ์ ไปเทียบกับการต่อสู้เผด็จการของ อองซาน ซูจี เลย เพราะจะทําให้คุณซูจี เขาเสียหาย เสียเกียรติภูมิอย่างร้ายแรงยิ่งทีเดียว" นายแก้วสรร ระบุ
**ซัด"ยิ่งลักษณ์"อย่าเพิ่งโวยวาย
นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โพสต์เฟซบุ๊ก ภายหลังจากที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้มีคำสั่งประทับรับฟ้องคดี จำนำข้าว โดยขอความเห็นใจจากประชาชน ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากป.ป.ช. และ อัยการ ว่า เมื่อศาลฎีกาฯ ประทับฟ้องคดีที่อัยการสูงสุด ฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และตามตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1
โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ โพสต์ลงเฟซบุ๊กว่า ขอให้มีการพิจารณาอย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม ปราศจากอคติใดๆ ศาลอย่าตั้งธงไว้ล่วงหน้า
นายชูชาติ กล่าวว่า ในชั้นพิจารณาคดีศาลก็เป็นการพิจารณาโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปเข้าไปฟังการพิจารณาได้ จึงไม่อาจกระทำการใดในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ และจะให้โอกาสโจทก์ จำเลย นำพยานหลักฐานเข้าสืบหรือมาเสนอต่อศาลได้อย่างเต็มที่
ส่วนในชั้นพิพากษาคดี ก็ต้องถือเอาพยานหลักฐานที่มีอยู่ในสำนวนศาลเท่านั้นมาพิจารณา เพื่อวินิจฉัยคดี จะคิดเอาตามความรู้สึกนึกคิดของตนเองไม่ได้ โดยมีการประชุมองค์คณะและลงมติกันว่า จะพิพากษายกฟ้อง หรือลงโทษหรือไม่เพียงใด โดยถือเอาเสียงข้างมากเป็นหลักคือ อย่างน้อยก็ต้อง 5:4
เมื่อศาลมีคำพิพากษา ไม่ว่ายกฟ้อง หรือลงโทษ ต้องอ่านคำพิพากษาทั้งหมดโดยละเอียด ก็จะรู้ได้ว่า เพราะเหตุใดศาลจึงยกฟ้อง และลงโทษ ไม่ใช่เมื่อศาลพิพากษาไม่เป็นดังที่ตนเองหวัง ก็กล่าวหาว่า ศาลตั้งธงไว้ก่อนแล้ว
มีผู้กล่าวว่า ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องรับผิดในโครงการรับจำนำข้าว หากเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่่านรีดไถประชาชน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ต้องรับผิดด้วย หรือถ้าทหารบกคุมบ่อน คุมซ่องโสเภณี ผบ.ทบ.ก็ต้องรับผิดด้วย เช่นเดียวกัน
เรื่องนี้ขอเรียนว่า กรณีดังกล่าวถ้าผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ไม่ทราบเรื่องมาก่อน ก็ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ
แต่ถ้ามีผู้แจ้งให้ ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ทราบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา กระทำการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ไม่ได้ห้ามปรามผู้ใต้บังคับบัญชา และปล่อยให้กระทำผิดต่อไป ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ย่อมมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ย้อนมาดูเรื่องโครงการรับจำนำข้าว คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ทราบว่าโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียมาก ควรระงับโครงการ ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ก็มีหนังสือแจ้งให้ทราบเมื่อดำเนินโครงไปแล้ว 1 ปี ว่า โครงการนี้มีความเสียหายเกิดขึ้นมาก ขอให้เลิกโครงการ มี ส.ส. พรรคฝ่ายค้านอภิปรายในสภา ให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทราบว่า โครงรับจำนำข้าว มีการทุจริตกันทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดความเสียหายมาก พร้อมทั้งนำหลักฐานต่างๆ มาให้ดูด้วย
แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เคยกระทำการใดเพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว กลับยืนยันว่า เป็นโครงการที่ชาวนาได้รับประโยชน์ และไม่มีความเสียหายใดๆเลย
ดังนั้น จึงควรรอฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ และอย่าเพิ่งโวยวายล่วงหน้าว่าศาลไม่ยุติธรรม ศาลตั้งธงไว้ล่วงหน้า เหมือนกับบางคนที่ถูกศาลลงโทษมาแล้ว.