"องค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย" ร้องป.ป.ช. เอาผิดประธานสนช. และผู้เกี่ยวข้อง กรณีตั้งลูก เมีย เครือญาติ เป็นผู้ช่วยสนช. ชี้ขัดกฎหมายป.ป.ช. ระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยประมวลจริยธรรม และขัดเจตนารมย์การปฏิรูปการเมือง
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่า จากกรณี มีสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) จำนวนมาก ด้แต่งตั้งบุคคลใกล้ชิด อาทิ บุตร ภรรยา พี่น้อง เครือญาติ ฯลฯ เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว และหรือ เป็นผู้ช่วยผู้ดำเนินงานประจำตัว ฯลฯ ซึ่งเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการเมืองโดยชัดแจ้ง ทั้ง ๆ ที่ในอดีตสังคมไทยได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองที่มักนำญาติพี่น้องมาสืบทอดอำนาจ หรือผลักดันให้เข้ารับตำแหน่งทางการเมืองทั้งตระกูล หรืออาจเรียนว่า "สภาผัวเมีย" ซึ่งในยุคปฏิรูป หรือการกล่าวอ้างว่าเข้ามาทำงานเพื่อการปฏิรูปประเทศ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีการกระทำหรือพฤติกรรมแบบนักการเมืองในอดีต
นอกจากนี้ กระทำการดังกล่าวยังเข้าข่าย ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554 ประกอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ด้วย
ดังนั้น สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยจึง เตรียมไปร้องเรียนกล่าวโทษเอาผิดสมาชิก สนช. ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งประธาน สนช. และเลขาธิการ , รองเลขาธิการ สนง.วุฒิสภา ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในวันนี้ ( 3 มี.ค.) เวลา 11.00 น. ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนสนามบินน้ำ จ.นนทบุรี
นายศรีสุวรรณ ยังกล่าวถึง ความคืบหน้าการยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กรณีการจัดทำสติ๊กเกอร์ไลน์ค่านิยม 12 ประการ ราคาแพงเกินจริงนั้น ล่าสุด ป.ป.ช.ได้เรียกให้ไปให้ข้อมูลในฐานะผู้ร้องเรียน ซึ่งได้ให้ข้อมูลยืนยันไปว่า สติ๊กเกอร์ไลน์ที่ รมว.ไอซีที และคณะกรรมการกำหนดราคากลาง เสนอราคาจัดทำสติ๊กเกอร์ไลน์ดังกล่าวในราคา 7.1 ล้านบาท มีราคาแพงเกินจริง สูงกว่าราคาในท้องตลาดทั่วไป ซึ่งอยูที่ราคา 3 - 5 ล้านบาท อีกทั้งสติ๊กเกอร์ไลน์ที่จัดทำออกมา 10 กว่ารูป ส่วนใหญ่ ไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการแต่อย่างใด เช่นคำว่า “รักจุงเบย” ไปเกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการอย่างไร เกรงว่าเรื่องดังกล่าวจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้หน่วยงานอื่นๆ นำไปเลียนแบบจัดทำตาม จะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
รายงานของ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตั้งข้อสังเกตว่า ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่ต้องถามกลับไปได้แก่
1.การที่ สนช. แต่งตั้ง “ภรรยา-บุตร-เครือญาติ” เข้ามาช่วยงาน โดยรับเงินเดือนจากภาษีของประชาชนตั้งแต่ 1.5-2.4 หมื่นบาทนั้น ได้เข้ามาช่วยงานจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การ “กรอกชื่อ” ไว้เพื่อรับเงินเดือนอย่างเดียว
เพราะจะเห็นได้ว่า “บุตร” ของ สนช. บางรายยังคงศึกษาในระดับชั้นมหาวิทยาลัย หรืออายุอานามบางคนเพียงแค่ 20 กว่า ๆ เท่านั้น จะสามารถเข้ามาช่วยเหลืองานในสภา ซึ่งล้วนจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อกฎหมาย หรือข้อร้องเรียนจากประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน
2.ตามข้อบังคับประมวลจริยธรรมฯ ระบุชัดเจนว่า สมาชิกจะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ หรือไม่กระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน แล้วการที่ สนช. แต่งตั้ง “ภรรยา-บุตร-เครือญาติ” ถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
3.ตามประกาศ สนช. เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลปฏิบัติงานให้ สนช. นั้น ระบุว่า หากแต่งตั้งคนใดดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ชำนาญการ-ผู้ช่วยดำเนินงานแล้ว จะดำรงได้เพียงตำแหน่งเดียว แต่มี สนช. บางราย เช่น พล.ร.อ.ธราธร ขจิตสุวรรณ แต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย ขจิตสุวรรณ คู่สมรส ดำรงทั้ง 3 ตำแหน่ง สามารถทำได้หรือไม่ และขัดกับประกาศ สนช. ด้วยหรือไม่.
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่า จากกรณี มีสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) จำนวนมาก ด้แต่งตั้งบุคคลใกล้ชิด อาทิ บุตร ภรรยา พี่น้อง เครือญาติ ฯลฯ เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว และหรือ เป็นผู้ช่วยผู้ดำเนินงานประจำตัว ฯลฯ ซึ่งเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการเมืองโดยชัดแจ้ง ทั้ง ๆ ที่ในอดีตสังคมไทยได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองที่มักนำญาติพี่น้องมาสืบทอดอำนาจ หรือผลักดันให้เข้ารับตำแหน่งทางการเมืองทั้งตระกูล หรืออาจเรียนว่า "สภาผัวเมีย" ซึ่งในยุคปฏิรูป หรือการกล่าวอ้างว่าเข้ามาทำงานเพื่อการปฏิรูปประเทศ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีการกระทำหรือพฤติกรรมแบบนักการเมืองในอดีต
นอกจากนี้ กระทำการดังกล่าวยังเข้าข่าย ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554 ประกอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ด้วย
ดังนั้น สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยจึง เตรียมไปร้องเรียนกล่าวโทษเอาผิดสมาชิก สนช. ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งประธาน สนช. และเลขาธิการ , รองเลขาธิการ สนง.วุฒิสภา ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในวันนี้ ( 3 มี.ค.) เวลา 11.00 น. ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนสนามบินน้ำ จ.นนทบุรี
นายศรีสุวรรณ ยังกล่าวถึง ความคืบหน้าการยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กรณีการจัดทำสติ๊กเกอร์ไลน์ค่านิยม 12 ประการ ราคาแพงเกินจริงนั้น ล่าสุด ป.ป.ช.ได้เรียกให้ไปให้ข้อมูลในฐานะผู้ร้องเรียน ซึ่งได้ให้ข้อมูลยืนยันไปว่า สติ๊กเกอร์ไลน์ที่ รมว.ไอซีที และคณะกรรมการกำหนดราคากลาง เสนอราคาจัดทำสติ๊กเกอร์ไลน์ดังกล่าวในราคา 7.1 ล้านบาท มีราคาแพงเกินจริง สูงกว่าราคาในท้องตลาดทั่วไป ซึ่งอยูที่ราคา 3 - 5 ล้านบาท อีกทั้งสติ๊กเกอร์ไลน์ที่จัดทำออกมา 10 กว่ารูป ส่วนใหญ่ ไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการแต่อย่างใด เช่นคำว่า “รักจุงเบย” ไปเกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการอย่างไร เกรงว่าเรื่องดังกล่าวจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้หน่วยงานอื่นๆ นำไปเลียนแบบจัดทำตาม จะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
รายงานของ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตั้งข้อสังเกตว่า ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่ต้องถามกลับไปได้แก่
1.การที่ สนช. แต่งตั้ง “ภรรยา-บุตร-เครือญาติ” เข้ามาช่วยงาน โดยรับเงินเดือนจากภาษีของประชาชนตั้งแต่ 1.5-2.4 หมื่นบาทนั้น ได้เข้ามาช่วยงานจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การ “กรอกชื่อ” ไว้เพื่อรับเงินเดือนอย่างเดียว
เพราะจะเห็นได้ว่า “บุตร” ของ สนช. บางรายยังคงศึกษาในระดับชั้นมหาวิทยาลัย หรืออายุอานามบางคนเพียงแค่ 20 กว่า ๆ เท่านั้น จะสามารถเข้ามาช่วยเหลืองานในสภา ซึ่งล้วนจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อกฎหมาย หรือข้อร้องเรียนจากประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน
2.ตามข้อบังคับประมวลจริยธรรมฯ ระบุชัดเจนว่า สมาชิกจะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ หรือไม่กระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน แล้วการที่ สนช. แต่งตั้ง “ภรรยา-บุตร-เครือญาติ” ถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
3.ตามประกาศ สนช. เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลปฏิบัติงานให้ สนช. นั้น ระบุว่า หากแต่งตั้งคนใดดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ชำนาญการ-ผู้ช่วยดำเนินงานแล้ว จะดำรงได้เพียงตำแหน่งเดียว แต่มี สนช. บางราย เช่น พล.ร.อ.ธราธร ขจิตสุวรรณ แต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย ขจิตสุวรรณ คู่สมรส ดำรงทั้ง 3 ตำแหน่ง สามารถทำได้หรือไม่ และขัดกับประกาศ สนช. ด้วยหรือไม่.