ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เปิดแผนระบายข้าวเสื่อมสภาพ 4 ล้านตัน เหลือแค่ 2 ทางเลือก ขายให้ผู้ผลิตเอทานอลกับใช้ทำอาหารสัตว์ แต่ล่าสุดส่อวุ่น หลังผู้ผลิตเอทานอลเมิน เหตุไม่คุ้ม เตรียมชง นบข. พิจารณาอนุมัติแนวทางต่อไป จับตาระบายข้าวรอบ 2 เสี่ยงฉุดราคาข้าวนาปรัง เพราะข้าวที่ขาย จะขนออกช่วงผลผลิตออกพอดี
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้กรมการค้าต่างประเทศกำลังจัดทำแผนการระบายข้าวเสื่อมสภาพปริมาณรวม 4 ล้านตัน ซึ่งข้าวที่เก่าที่สุดมาจากโครงการรับจำนำปี 2549 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยสภาพข้าว มีทั้งที่เป็นฝุ่น ไม่มีเชื้อแป้งที่จะนำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ ซึ่งกำลังจะนำเสนอแนวทางการระบายให้กับคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว(นบข.) พิจารณาตัดสินใจ ก่อนที่จะทำการขายข้าวให้กับผู้ที่สนใจต่อไป
โดยแนวทางในการระบาย เบื้องต้นได้พิจารณาว่าจะขายให้กับกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลในราคากิโลกรัม (กก.) ละ 2.50 บาท หรือตันละ 2,500 บาท แต่ทางผู้ผลิตให้ความเห็นว่าองค์ประกอบทางเคมีของข้าวไม่เหมาะที่จะนำไปผลิตเอทานอล และไม่คุ้มต้นทุน ขณะที่เจ้าของโกดังที่เก็บข้าวเสื่อม และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ได้เสนอที่จะรับซื้อข้าวในราคา กก.ละ 1 บาท หรือตันละ 1,000 บาทเพราะข้าวเสื่อมสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารสัตว์ได้
“ยังไม่ได้กำหนดว่าจะใช้วิธีการใดในการระบายข้าวเสื่อมคุณภาพที่มีถึง 4 ล้านตัน เพราะแต่ละวิธีก็ได้เงินคืนเข้ารัฐแตกต่างกัน โดยถ้าหากขายให้ไปทำเอทานอลได้ ก็จะได้เงินคืนราวๆ 10,000 ล้านบาท แต่ถ้าขายให้กับเจ้าของโกดัง หรืออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จะได้เงินคืน 4,000 ล้านบาท แต่ในส่วนของเอทานอล ทางผู้ผลิตแจ้งมาแล้วว่าไม่คุ้มต้นทุนจึงเหลือพิจารณาขายให้กับเจ้าของโกดังกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ แต่จะขายวิธีไหน ยังไม่ได้สรุป ขั้นตอนอยู่ระหว่างการเจรจา และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ก็จะเสนอให้ นบข. พิจารณาอนุมัติต่อไป”
อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าวเสื่อมสภาพ องค์การคลังสินค้า (อคส.) กำลังพิจารณาเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าของโกดัง ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า โดยหากข้าวที่จำหน่ายได้ ไม่เพียงพอกับเงินที่ อคส. จะต้องจ่ายเป็นค่าเช่าโกดัง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ อคส. ก็จะเรียกเงินเพิ่มเติมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การระบายข้าวสต็อกรัฐบาลครั้งที่ 2/2558 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 มี.ค.นี้ มีข้าวขาว 5% นำออกมาระบายถึง 7 แสนตัน ซึ่งหากสามารถระบายได้ทั้งหมด ก็จะทำให้มีข้าวในตลาดมากกว่าผลผลิตข้าวนาปรัง 2558 ที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. และอาจจะส่งผลกระทบต่อระดับราคาข้าวเปลือกของเกษตรกร เพราะในการจำหน่ายข้าวสารครั้งนี้ หากซื้อในปริมาณ 3แสนตันขึ้นไป ก็จะมีระยะเวลาขนข้าวออกได้สูงสุด 210 วัน และหากมีปริมาณ 50,000 หมื่น ก็จะต้องขนออกภายใน 90 วัน
สำหรับราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% (ความชื้น 15%) ปัจจุบันราคาเฉลี่ยตันละ 7,700-8,300 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2555 ที่เฉลี่ยทั้งปีตันละ 10,541 บาท โดยปี 2556 ตันละ 9,911 บาท และปี 2557 เฉลี่ยตันละ 7,733
บาท
ทั้งนี้ ข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2558 คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 6.702 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจากปี 2557 ที่ผลผลิต 10.087 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลง 3.385 ล้านตัน หรือ 33.56% โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค.2558 ประมาณ 5.388 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 80.39% ของผลผลิตข้าวทั้งหมด
/////
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้กรมการค้าต่างประเทศกำลังจัดทำแผนการระบายข้าวเสื่อมสภาพปริมาณรวม 4 ล้านตัน ซึ่งข้าวที่เก่าที่สุดมาจากโครงการรับจำนำปี 2549 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยสภาพข้าว มีทั้งที่เป็นฝุ่น ไม่มีเชื้อแป้งที่จะนำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ ซึ่งกำลังจะนำเสนอแนวทางการระบายให้กับคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว(นบข.) พิจารณาตัดสินใจ ก่อนที่จะทำการขายข้าวให้กับผู้ที่สนใจต่อไป
โดยแนวทางในการระบาย เบื้องต้นได้พิจารณาว่าจะขายให้กับกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลในราคากิโลกรัม (กก.) ละ 2.50 บาท หรือตันละ 2,500 บาท แต่ทางผู้ผลิตให้ความเห็นว่าองค์ประกอบทางเคมีของข้าวไม่เหมาะที่จะนำไปผลิตเอทานอล และไม่คุ้มต้นทุน ขณะที่เจ้าของโกดังที่เก็บข้าวเสื่อม และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ได้เสนอที่จะรับซื้อข้าวในราคา กก.ละ 1 บาท หรือตันละ 1,000 บาทเพราะข้าวเสื่อมสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารสัตว์ได้
“ยังไม่ได้กำหนดว่าจะใช้วิธีการใดในการระบายข้าวเสื่อมคุณภาพที่มีถึง 4 ล้านตัน เพราะแต่ละวิธีก็ได้เงินคืนเข้ารัฐแตกต่างกัน โดยถ้าหากขายให้ไปทำเอทานอลได้ ก็จะได้เงินคืนราวๆ 10,000 ล้านบาท แต่ถ้าขายให้กับเจ้าของโกดัง หรืออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จะได้เงินคืน 4,000 ล้านบาท แต่ในส่วนของเอทานอล ทางผู้ผลิตแจ้งมาแล้วว่าไม่คุ้มต้นทุนจึงเหลือพิจารณาขายให้กับเจ้าของโกดังกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ แต่จะขายวิธีไหน ยังไม่ได้สรุป ขั้นตอนอยู่ระหว่างการเจรจา และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ก็จะเสนอให้ นบข. พิจารณาอนุมัติต่อไป”
อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าวเสื่อมสภาพ องค์การคลังสินค้า (อคส.) กำลังพิจารณาเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าของโกดัง ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า โดยหากข้าวที่จำหน่ายได้ ไม่เพียงพอกับเงินที่ อคส. จะต้องจ่ายเป็นค่าเช่าโกดัง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ อคส. ก็จะเรียกเงินเพิ่มเติมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การระบายข้าวสต็อกรัฐบาลครั้งที่ 2/2558 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 มี.ค.นี้ มีข้าวขาว 5% นำออกมาระบายถึง 7 แสนตัน ซึ่งหากสามารถระบายได้ทั้งหมด ก็จะทำให้มีข้าวในตลาดมากกว่าผลผลิตข้าวนาปรัง 2558 ที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. และอาจจะส่งผลกระทบต่อระดับราคาข้าวเปลือกของเกษตรกร เพราะในการจำหน่ายข้าวสารครั้งนี้ หากซื้อในปริมาณ 3แสนตันขึ้นไป ก็จะมีระยะเวลาขนข้าวออกได้สูงสุด 210 วัน และหากมีปริมาณ 50,000 หมื่น ก็จะต้องขนออกภายใน 90 วัน
สำหรับราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% (ความชื้น 15%) ปัจจุบันราคาเฉลี่ยตันละ 7,700-8,300 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2555 ที่เฉลี่ยทั้งปีตันละ 10,541 บาท โดยปี 2556 ตันละ 9,911 บาท และปี 2557 เฉลี่ยตันละ 7,733
บาท
ทั้งนี้ ข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2558 คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 6.702 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจากปี 2557 ที่ผลผลิต 10.087 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลง 3.385 ล้านตัน หรือ 33.56% โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค.2558 ประมาณ 5.388 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 80.39% ของผลผลิตข้าวทั้งหมด
/////