นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำจดหมายเปิดผนึก ถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)โดยเสนอถึงการปฏิรูปประเทศ ว่า คสช.ต้องวางแนวทางการปฏิรูปประเทศให้อยู่ในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และอย่าสงสัยว่าราษฎรยังไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตย เมื่อท่านยึดอำนาจมาแล้ว หากไม่ทำตามที่ตนแนะนำ ความแตกแยกก็จะซึมลึกในหมู่ประชาชน จนยากเกินกว่าที่จะแก้ไข ไม่ใช่เป็นการปรามาส แต่ตนขอประกาศว่า “ท่านเอาไม่อยู่หรอก”
ทั้งนี้ คสช. ต้องยึดมั่นในคำพูดว่า จะดำเนินการทางการเมืองตามโรดแมป ที่ได้ประกาศไว้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะให้มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยให้สำเร็จ หากทำตามสัญญาข้อนี้ไม่สำเร็จ ควรใช้อำนาจหยิบยกนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่ง ที่ดีที่สุด นำมาแก้ไข แล้วนำไปประกาศใช้ ให้มีการเลือกตั้งทันทีตามโรดแมป ความปรองดอง และความสามัคคีจนเกิดขึ้นได้
นายอุทัย ยังเสนอแนวทางการปฏิรูปการเมืองว่า จะต้องยึดหลักการว่า ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสไว้ว่า การพัฒนาที่ถูกต้อง ต้อง“เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา เพราะจากประสบการณ์ของผม เรียนว่าผู้แทนราษฎรคือเงาสะท้อนของประชาชน เป็นผลผลิตของประชาชน ผมไม่ได้ห้ามแก้กติกาทางการเมือง แต่อยากให้แก้ที่ต้นเหตุ เพราะนักการเมืองเป็นแค่ปลายเหตุ ราษฎรเป็นอย่างไร ผู้แทนก็เป็นอย่างนั้น ดังนั้นจึงควรแก้ที่ราษฎร โดยสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา ซึ่งความเลวร้ายของการเมืองขณะนี้ อยู่ที่การซื้อเสียง เมื่อกฎหมายแก้ไม่ได้ผล ก็ต้องแก้ไขด้วยวิธีธรรมชาติ คือ ทำให้คนซื้อไม่อยากซื้อเสียง เพราะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า โดยให้มีการเลือกตั้งใหม่ทุก 2 ปี ถ้าเป็นผู้แทนกันแค่ 2 ปี จะถอนทุนทันหรือไม่ ดังนั้นรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ควรอยู่ไม่เกิน 4 ปี โดยนายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน
**กกต.ติวเข้มอนุกรรมการวินิจฉัยฯ
นายบุญส่ง น้อยโสภณ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย เปิดเผยว่า กกต.ได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยคำร้อง และปัญหาหรือข้อโต้แย้ง ในวันที่ 26-27 ก.พ.นี้ ณ โรงแรมเดอะ กรีนเนอรี รีสอร์ท เขาใหญ่ ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 192 คน ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการวินิจฉัยฯ 25 คณะ , ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักสืบสวนสอบสวน และวินิจฉัย 1-5 , ผู้อำนวยการฝ่ายสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย 1-10 รวมทั้งพนักงาน และเจ้าหน้าที่ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย
ทั้งนี้ในการประชุม จะมีการบรรยายระบบงานสืบสวนสอบสวน แบ่งกลุ่มประชุมเชิงปฏิบัติการเป็น กลุ่มที่ 1 กระบวนการรับคำร้อง เรื่องการกำหนดขั้นตอน และหลักเกณฑ์การรับคำร้อง กลุ่มที่ 2 กระบวนการสอบสวน เรื่องการกำหนดรูปแบบการสืบสวน การพัฒนาเทคนิคในการสืบสวนสอบสวนและการแจ้งข้อกล่าวหา กลุ่มที่ 3 กระบวนการรวบรวมพยานหลักฐาน เรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน กลุ่มที่ 4 การจัดทำความเห็นคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน การสรุปความเห็นในประเด็นต่างๆ ตามข้อกล่าวหา กลุ่มที่ 5 ด้านบุคลากร กลุ่มที่ 6 เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการสืบสวนสอบสวนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับงานสืบสวนสอบสวน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสืบสวนสอบสวน สามารถปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างความเข้าใจร่วมกันในนโยบายและเป้าหมายการทำงานโดยมุ่งเน้นบทบาท และความสำคัญในการทำหน้าที่ของพนักงานสืบสวนสอบสวน ที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม นอกจากนี้ ยังเป็นการซักซ้อมทำความเข้าใจในระเบียบว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาด มติ คำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตลอดทั้งทบทวนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนให้มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งนับว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานสืบสวนสอบสวนของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อไป
ทั้งนี้ คสช. ต้องยึดมั่นในคำพูดว่า จะดำเนินการทางการเมืองตามโรดแมป ที่ได้ประกาศไว้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะให้มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยให้สำเร็จ หากทำตามสัญญาข้อนี้ไม่สำเร็จ ควรใช้อำนาจหยิบยกนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่ง ที่ดีที่สุด นำมาแก้ไข แล้วนำไปประกาศใช้ ให้มีการเลือกตั้งทันทีตามโรดแมป ความปรองดอง และความสามัคคีจนเกิดขึ้นได้
นายอุทัย ยังเสนอแนวทางการปฏิรูปการเมืองว่า จะต้องยึดหลักการว่า ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสไว้ว่า การพัฒนาที่ถูกต้อง ต้อง“เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา เพราะจากประสบการณ์ของผม เรียนว่าผู้แทนราษฎรคือเงาสะท้อนของประชาชน เป็นผลผลิตของประชาชน ผมไม่ได้ห้ามแก้กติกาทางการเมือง แต่อยากให้แก้ที่ต้นเหตุ เพราะนักการเมืองเป็นแค่ปลายเหตุ ราษฎรเป็นอย่างไร ผู้แทนก็เป็นอย่างนั้น ดังนั้นจึงควรแก้ที่ราษฎร โดยสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา ซึ่งความเลวร้ายของการเมืองขณะนี้ อยู่ที่การซื้อเสียง เมื่อกฎหมายแก้ไม่ได้ผล ก็ต้องแก้ไขด้วยวิธีธรรมชาติ คือ ทำให้คนซื้อไม่อยากซื้อเสียง เพราะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า โดยให้มีการเลือกตั้งใหม่ทุก 2 ปี ถ้าเป็นผู้แทนกันแค่ 2 ปี จะถอนทุนทันหรือไม่ ดังนั้นรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ควรอยู่ไม่เกิน 4 ปี โดยนายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน
**กกต.ติวเข้มอนุกรรมการวินิจฉัยฯ
นายบุญส่ง น้อยโสภณ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย เปิดเผยว่า กกต.ได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยคำร้อง และปัญหาหรือข้อโต้แย้ง ในวันที่ 26-27 ก.พ.นี้ ณ โรงแรมเดอะ กรีนเนอรี รีสอร์ท เขาใหญ่ ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 192 คน ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการวินิจฉัยฯ 25 คณะ , ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักสืบสวนสอบสวน และวินิจฉัย 1-5 , ผู้อำนวยการฝ่ายสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย 1-10 รวมทั้งพนักงาน และเจ้าหน้าที่ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย
ทั้งนี้ในการประชุม จะมีการบรรยายระบบงานสืบสวนสอบสวน แบ่งกลุ่มประชุมเชิงปฏิบัติการเป็น กลุ่มที่ 1 กระบวนการรับคำร้อง เรื่องการกำหนดขั้นตอน และหลักเกณฑ์การรับคำร้อง กลุ่มที่ 2 กระบวนการสอบสวน เรื่องการกำหนดรูปแบบการสืบสวน การพัฒนาเทคนิคในการสืบสวนสอบสวนและการแจ้งข้อกล่าวหา กลุ่มที่ 3 กระบวนการรวบรวมพยานหลักฐาน เรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน กลุ่มที่ 4 การจัดทำความเห็นคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน การสรุปความเห็นในประเด็นต่างๆ ตามข้อกล่าวหา กลุ่มที่ 5 ด้านบุคลากร กลุ่มที่ 6 เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการสืบสวนสอบสวนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับงานสืบสวนสอบสวน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสืบสวนสอบสวน สามารถปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างความเข้าใจร่วมกันในนโยบายและเป้าหมายการทำงานโดยมุ่งเน้นบทบาท และความสำคัญในการทำหน้าที่ของพนักงานสืบสวนสอบสวน ที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม นอกจากนี้ ยังเป็นการซักซ้อมทำความเข้าใจในระเบียบว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาด มติ คำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตลอดทั้งทบทวนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนให้มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งนับว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานสืบสวนสอบสวนของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อไป