**คงไม่อาจปรองดองกันได้แล้ว ผิดถูกต้องไปว่ากันในศาลเท่านั้น หากพิจารณาจากคดีที่อัยการสูงสุด มอบหมายตัวแทนส่งสำนวนไปยื่นฟ้องอาญา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฐานไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว จนทำให้เกิดความเสียหาย โดยยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์
หลังจากนี้ศาลฎีกาฯ ก็จะมีการประชุมเพื่อคัดเลือกองค์คณะขึ้นมาจำนวน 9 คน เพื่อรับผิดชอบคดี จากนั้นก็จะมีการคัดเลือกประธาน
สำหรับขั้นตอนของการพิจารณาคดีนั้น จากการแถลงของ ธีรทัย เจริญวงศ์ เลขานุการแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า ภายหลังอัยการสูงสุดยื่นสำนวนฟ้องต่อศาลฎีกาฯ กรณีการทุจริตโครงการจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ว่า หลังจากนี้รองประธานศาลฎีกา จะเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกาไม่เกิน 14 วัน ตั้งแต่วันที่ยื่นฟ้อง เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือกองค์คณะผู้พิพากษา 9 ท่าน โดยใช้วิธีการลงคะแนนลับ เมื่อที่ประชุมใหญ่มีการเลือกองค์คณะผู้พิพากษาเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการประกาศภายใน 5 วัน นับจากวันประชุมใหญ่ เพื่อให้คู่ความทราบ และมีโอกาสคัดค้านผู้พิพากษาที่ได้รับเลือก
นอกจากนี้ องค์คณะผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ จะคัดเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน 1 คน ด้วยวิธีการลงคณะแนนลับ หลังจากนั้นองค์คณะผู้พิพากษาจะร่วมพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายที่จะประทับรับฟ้องตามพิจารณาหรือไม่ ซึ่งวันนัดคำสั่งภายในวันที่ 19 มีนาคม เวลา 10.00 น. ศาลฎีกาฯ สามารถมีคำสั่งก่อนวันนัดได้
**หากองค์คณะผู้พิพากษาลงมติประทับรับฟ้องศาลจะกำหนดวันพิจารณาครั้งแรก และส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยมาศาลในวันพิจารณาครั้งแรก ทั้งนี้ หากจำเลยมาศาลในวันฟ้อง ผู้พิพากษาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะเป็นผู้พิจารณาในการขัง หรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราว
สำหรับอายุความคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีอายุความผิด 15 ปี นับจากการกระทำผิด เดือนสิงหาคม 2554 ถึงพฤษภาคม 2557 ส่วนการยื่นประกันตัวล่วงหน้า สามารถทำได้ ส่วนการพิจารณาขึ้นอยู่ว่าหนักเบา และพฤติการณ์ตามกฎหมาย
ดังนั้นจะว่าไปแล้วกระบวนการพิจารณาคดีเพื่อลุ้นกันว่า "คุกหรือไม่คุก" ก็ต้องเริ่มลุ้นกันในวันที่ 19 มีนาคม หากวันนั้นศาลฎีกาฯประทับรับฟ้อง นั่นแหละถึงจะนับถอยหลังกันได้
ขณะเดียวกันก็ต้องมาลุ้นกันต่อไปว่าในวันที่ 19 มีนาคม ดังกล่าว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะยอมมาศาลหรือไม่ ถ้าไม่มาก็หนี แล้วศาลก็ออกหมายจับ และจำหน่ายคดีชั่วคราว แต่ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากการแถลงของเลขานุการของแผนกคดีอาญาฯ ก็ระบุว่า หากจำเลยมาศาลในวันฟ้องศาลก็จะพิจารณาในการขัง หรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราว ซึ่งถือว่า "ลุ้นระทึก" ทุกขั้นตอน
อย่างไรก็ดี คดีอาญาจากโครงการรับจำนำข้าว ก็ต้องบอกว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอย่างสูงมาก เพราะถ้าคดีนี้ผิด ก็จะมีผลต่อเนื่องตามมา นั่นคือ ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคดีแพ่งที่กำลังจะตามมาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เพราะถ้าคดีอาญาผิด คดีแพ่งที่กำลังจะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายอีกประมาณ 6 แสนล้านบาท ก็มีแนวโน้มสูงที่จะต้องชดใช้ด้วย
** นี่แหละถึงได้บอกว่า"อ่วม"ไงล่ะ ส่วนพวกลิ่วล้อ ที่ยุให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ติดคุก เพื่อหวังสร้างกระแสเรียกคะแนนสงสารนั้น ถามเจ้าตัวแล้วหรือยังว่าจะยอมหรือไม่ เพราะมันไม่มีทางสนุก เพราะนี่คือคดีอาญา และแพ่ง ที่เชื่อมโยงกับการทุจริต ไม่ใช่เรื่องการเมือง !!
หลังจากนี้ศาลฎีกาฯ ก็จะมีการประชุมเพื่อคัดเลือกองค์คณะขึ้นมาจำนวน 9 คน เพื่อรับผิดชอบคดี จากนั้นก็จะมีการคัดเลือกประธาน
สำหรับขั้นตอนของการพิจารณาคดีนั้น จากการแถลงของ ธีรทัย เจริญวงศ์ เลขานุการแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า ภายหลังอัยการสูงสุดยื่นสำนวนฟ้องต่อศาลฎีกาฯ กรณีการทุจริตโครงการจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ว่า หลังจากนี้รองประธานศาลฎีกา จะเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกาไม่เกิน 14 วัน ตั้งแต่วันที่ยื่นฟ้อง เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือกองค์คณะผู้พิพากษา 9 ท่าน โดยใช้วิธีการลงคะแนนลับ เมื่อที่ประชุมใหญ่มีการเลือกองค์คณะผู้พิพากษาเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการประกาศภายใน 5 วัน นับจากวันประชุมใหญ่ เพื่อให้คู่ความทราบ และมีโอกาสคัดค้านผู้พิพากษาที่ได้รับเลือก
นอกจากนี้ องค์คณะผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ จะคัดเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน 1 คน ด้วยวิธีการลงคณะแนนลับ หลังจากนั้นองค์คณะผู้พิพากษาจะร่วมพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายที่จะประทับรับฟ้องตามพิจารณาหรือไม่ ซึ่งวันนัดคำสั่งภายในวันที่ 19 มีนาคม เวลา 10.00 น. ศาลฎีกาฯ สามารถมีคำสั่งก่อนวันนัดได้
**หากองค์คณะผู้พิพากษาลงมติประทับรับฟ้องศาลจะกำหนดวันพิจารณาครั้งแรก และส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยมาศาลในวันพิจารณาครั้งแรก ทั้งนี้ หากจำเลยมาศาลในวันฟ้อง ผู้พิพากษาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะเป็นผู้พิจารณาในการขัง หรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราว
สำหรับอายุความคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีอายุความผิด 15 ปี นับจากการกระทำผิด เดือนสิงหาคม 2554 ถึงพฤษภาคม 2557 ส่วนการยื่นประกันตัวล่วงหน้า สามารถทำได้ ส่วนการพิจารณาขึ้นอยู่ว่าหนักเบา และพฤติการณ์ตามกฎหมาย
ดังนั้นจะว่าไปแล้วกระบวนการพิจารณาคดีเพื่อลุ้นกันว่า "คุกหรือไม่คุก" ก็ต้องเริ่มลุ้นกันในวันที่ 19 มีนาคม หากวันนั้นศาลฎีกาฯประทับรับฟ้อง นั่นแหละถึงจะนับถอยหลังกันได้
ขณะเดียวกันก็ต้องมาลุ้นกันต่อไปว่าในวันที่ 19 มีนาคม ดังกล่าว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะยอมมาศาลหรือไม่ ถ้าไม่มาก็หนี แล้วศาลก็ออกหมายจับ และจำหน่ายคดีชั่วคราว แต่ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากการแถลงของเลขานุการของแผนกคดีอาญาฯ ก็ระบุว่า หากจำเลยมาศาลในวันฟ้องศาลก็จะพิจารณาในการขัง หรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราว ซึ่งถือว่า "ลุ้นระทึก" ทุกขั้นตอน
อย่างไรก็ดี คดีอาญาจากโครงการรับจำนำข้าว ก็ต้องบอกว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอย่างสูงมาก เพราะถ้าคดีนี้ผิด ก็จะมีผลต่อเนื่องตามมา นั่นคือ ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคดีแพ่งที่กำลังจะตามมาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เพราะถ้าคดีอาญาผิด คดีแพ่งที่กำลังจะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายอีกประมาณ 6 แสนล้านบาท ก็มีแนวโน้มสูงที่จะต้องชดใช้ด้วย
** นี่แหละถึงได้บอกว่า"อ่วม"ไงล่ะ ส่วนพวกลิ่วล้อ ที่ยุให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ติดคุก เพื่อหวังสร้างกระแสเรียกคะแนนสงสารนั้น ถามเจ้าตัวแล้วหรือยังว่าจะยอมหรือไม่ เพราะมันไม่มีทางสนุก เพราะนี่คือคดีอาญา และแพ่ง ที่เชื่อมโยงกับการทุจริต ไม่ใช่เรื่องการเมือง !!