ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลฎีกาสั่ง กทม. จ่ายเงินค่าเสียหายแก่ญาติผู้ตาย 12 ราย เหตุโป๊ะท่าเรือพรานนกล่มปี 38 รวม 12.6 ล้าน ชี้ประมาท ปล่อยโป๊ะรับน้ำหนักเกิน จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (18 ก.พ) ที่ห้องพิจารณาคดี 806 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ในคดีที่นางไสว ภู่สุวรรณ์ หรือวุฒิสาหะ มารดาของน.ส.รัชนี ภู่สุวรรณ์ ซึ่งเป็นญาติของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์โป๊ะเทียบเรือท่าพรานนกล่ม ขณะรอลงเรือด่วนเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2538 พร้อมพวกรวม 12 ราย ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท สุภัทรา จำกัด , บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด , กรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรมเจ้าท่า เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดเรื่องละเมิด โดยเหตุเกิดจากความประมาทและการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยทั้ง 4 โดยขอให้จำเลยทั้ง4 ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย ค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพให้แก่โจทก์
โดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้ กทม. จำเลยที่ 3 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และ 2 จำนวน1,165,500 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 627,549 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 4 และ 5 จำนวน1,920,000 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 6 จำนวน 1,200,000 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 7 จำนวน 1,214,000บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 8 จำนวน2,080,000 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 9 จำนวน 860,000 บาท ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 10 จำนวน 698,442 บาท , ชดใช้เงินให้กับจำเลยที่ 11 และ 12จำนวน 2,850,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,616,241 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ฟ้องเมื่อปี 2539
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการพิจารณา โจทก์ขอถอนฟ้องบริษัท สุภัทรา จำกัด จำเลยที่ 1 และบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด 2 เนื่องจากได้ชดใช้ค่าเสียหายให้กับโจทก์บางส่วนแล้ว โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 และ 2 ออกจากสารบบความ และให้ยกฟ้องกรมเจ้าท่า จำเลยที่ 4 เนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเหลือเพียง กทม. ที่ต่อสู้คดีมาจนถึงชั้นศาลฎีกา
นายวัชระ สุคนธ์ ทนายความโจทก์ กล่าวว่า คดีนี้โจทก์บางรายได้ถอนตัวไป และศาลจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และ 2 เพราะได้จ่ายค่าเสียหายให้กับโจทก์มาแล้วตั้งแต่ช่วงแรก ส่วนคดีอาญาก็ระงับไปแล้วตามสัญญาประนอมความ คงเหลือเพียงคดีแพ่งที่ กทม. ที่ยังต่อสู้คดีอยู่ และศาลฎีกาก็มีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานในคดีนี้แล้ว ส่วนกรมเจ้าท่าจำเลยที่ 4 ศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเหตุเกิดที่ท่าเทียบเรือ ไม่ใช่เกิดระหว่างเล่นเรือ
สำหรับค่าเสียหาย ศาลได้พิพากษาให้คิดดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร่วม โดยนับตั้งแต่วันกระทำละเมิดคือ 14 มิ.ย.2539 โดยคำนวนจากเงินต้นไปร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเป็นเวลาร่วม 20 ปี ซึ่งต่อไปนี้ ตนจะขอศาลออกคำบังคับและหมายบังคับคดี เพื่อเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาต่อไป โดยล่าสุดศาลออกคำบังคับส่งให้ กทม. แล้ว ขอให้ท่านผู้ว่าฯ ได้โปรดเร่งรัดจ่ายเงินให้ฝ่ายผู้เสียหายด้วย เพราะเงินของ กทม. อาจต้องผ่านที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครก่อน
"คดีนี้ เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าแม้บริษัทเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินกิจการท่าเรือเดินเรือ แต่ส่วนราชการในฐานะผู้ให้สัมปทานก็ต้องเข้าไปตรวจตรา จะปล่อยปละละเลยอ้างว่าให้สัมปทานแก่เอกชนแล้วไม่ได้ หรือจะปัดความต้องรับผิดชอบไม่ได้"นายวัชระกล่าว
สำหรับเหตุการณ์โป๊ะล่มที่พรานนกดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าวันที่ 14 มิ.ย.2538 ขณะเรือด่วนเข้าเทียบท่าที่ท่าน้ำพรานนก โป๊ะได้เกิดล่ม ส่งผลให้ผู้โดยสารที่ยืนรออยู่ร่วม 100 ชีวิต ตกลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 29 ศพ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (18 ก.พ) ที่ห้องพิจารณาคดี 806 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ในคดีที่นางไสว ภู่สุวรรณ์ หรือวุฒิสาหะ มารดาของน.ส.รัชนี ภู่สุวรรณ์ ซึ่งเป็นญาติของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์โป๊ะเทียบเรือท่าพรานนกล่ม ขณะรอลงเรือด่วนเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2538 พร้อมพวกรวม 12 ราย ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท สุภัทรา จำกัด , บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด , กรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรมเจ้าท่า เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดเรื่องละเมิด โดยเหตุเกิดจากความประมาทและการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยทั้ง 4 โดยขอให้จำเลยทั้ง4 ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย ค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพให้แก่โจทก์
โดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้ กทม. จำเลยที่ 3 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และ 2 จำนวน1,165,500 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 627,549 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 4 และ 5 จำนวน1,920,000 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 6 จำนวน 1,200,000 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 7 จำนวน 1,214,000บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 8 จำนวน2,080,000 บาท , ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 9 จำนวน 860,000 บาท ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 10 จำนวน 698,442 บาท , ชดใช้เงินให้กับจำเลยที่ 11 และ 12จำนวน 2,850,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,616,241 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ฟ้องเมื่อปี 2539
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการพิจารณา โจทก์ขอถอนฟ้องบริษัท สุภัทรา จำกัด จำเลยที่ 1 และบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด 2 เนื่องจากได้ชดใช้ค่าเสียหายให้กับโจทก์บางส่วนแล้ว โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 และ 2 ออกจากสารบบความ และให้ยกฟ้องกรมเจ้าท่า จำเลยที่ 4 เนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเหลือเพียง กทม. ที่ต่อสู้คดีมาจนถึงชั้นศาลฎีกา
นายวัชระ สุคนธ์ ทนายความโจทก์ กล่าวว่า คดีนี้โจทก์บางรายได้ถอนตัวไป และศาลจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และ 2 เพราะได้จ่ายค่าเสียหายให้กับโจทก์มาแล้วตั้งแต่ช่วงแรก ส่วนคดีอาญาก็ระงับไปแล้วตามสัญญาประนอมความ คงเหลือเพียงคดีแพ่งที่ กทม. ที่ยังต่อสู้คดีอยู่ และศาลฎีกาก็มีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานในคดีนี้แล้ว ส่วนกรมเจ้าท่าจำเลยที่ 4 ศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเหตุเกิดที่ท่าเทียบเรือ ไม่ใช่เกิดระหว่างเล่นเรือ
สำหรับค่าเสียหาย ศาลได้พิพากษาให้คิดดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร่วม โดยนับตั้งแต่วันกระทำละเมิดคือ 14 มิ.ย.2539 โดยคำนวนจากเงินต้นไปร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเป็นเวลาร่วม 20 ปี ซึ่งต่อไปนี้ ตนจะขอศาลออกคำบังคับและหมายบังคับคดี เพื่อเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาต่อไป โดยล่าสุดศาลออกคำบังคับส่งให้ กทม. แล้ว ขอให้ท่านผู้ว่าฯ ได้โปรดเร่งรัดจ่ายเงินให้ฝ่ายผู้เสียหายด้วย เพราะเงินของ กทม. อาจต้องผ่านที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครก่อน
"คดีนี้ เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าแม้บริษัทเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินกิจการท่าเรือเดินเรือ แต่ส่วนราชการในฐานะผู้ให้สัมปทานก็ต้องเข้าไปตรวจตรา จะปล่อยปละละเลยอ้างว่าให้สัมปทานแก่เอกชนแล้วไม่ได้ หรือจะปัดความต้องรับผิดชอบไม่ได้"นายวัชระกล่าว
สำหรับเหตุการณ์โป๊ะล่มที่พรานนกดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าวันที่ 14 มิ.ย.2538 ขณะเรือด่วนเข้าเทียบท่าที่ท่าน้ำพรานนก โป๊ะได้เกิดล่ม ส่งผลให้ผู้โดยสารที่ยืนรออยู่ร่วม 100 ชีวิต ตกลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 29 ศพ