พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้เสนอเรื่องให้ตนลงนามในโครงการจัดจ้างติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ในวงเงินกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ตั้งเรื่องมาตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน และได้สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกลับไปว่า โครงการดังกล่าวมีความจำเป็นมากแค่ไหน เนื่องจากเรื่องนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีข้อสังเกตมาว่าโครงการที่เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยี ให้ดูถึงความจำเป็นและตอบโจทย์การใช้งานที่ทันสมัย ไม่ใช่จัดซื้อจัดจ้างวันนี้ แต่ผ่านกระบวนการไปเครื่องมือดังกล่าวก็ล้าหลังแล้ว ดังนั้นจึงให้สปส. กลับไปทำรายละเอียดมาชี้แจงอีกครั้ง ซึ่งตนยังไม่ได้รับรายงานกลับมา ทั้งนี้อยากฝากให้สื่อมวลชนช่วยติดตามโครงการดังกล่าวด้วย เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้เงินจำนวนมาก
“ตามกฎหมายโครงการที่มีวงเงินเกิน 100 ล้านบาท ให้เป็นอำนาจรัฐมนตรีเป็นผู้เซ็นอนุมัติ แต่ผมบอกได้เลย ถ้าโครงการไหนตอบรายละเอียดความจำเป็นไม่ได้ และประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ ผมก็จะไม่เซ็นต์ เนื่องจากถ้าเซ็นต์ไปแล้วผมต้องเป็นคนรับผิดชอบ เช่นเดียวกันก็ทราบข่าวมาว่า โครงการที่อยู่ในอำนาจของเลขาธิการสปส. ถ้าไม่มีรายละเอียด แม้ว่าจะมีการจัดจ้างผ่านระบบอีออกชั่น (จัดซื้อจัดจ้าง)ไปแล้ว ก็จะไม่มีการเซ็นต์ ซึ่งตรงนี้ไม่แน่ใจว่าจะมีปัญหาฟ้องร้องตามมาหรือไม่” พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าไม่มีการอนุมัติระบบคอมพิวเตอร์ หากเกิดจอดำเหมือนที่ผ่านมา ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ถึงจอดำก็ต้องยอม หากโครงการดังกล่าวไม่สามารถตอบคำถามเรื่องความโปร่งใสได้
พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ ตนได้มอบหมายให้ นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) ประกันสังคม ไปพิจารณาปรับเกณฑ์การเลือกผู้แทนที่เข้ามานั่งเป็นกรรมการ จะต้องไม่ซ้ำซ้อน หรือ ไม่ใช่บุคคลเดียวกับที่นั่งเป็นอนุกรรมการ หรือคนที่มีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่อง ที่ผ่านมาบอร์ดสปส. เกือบทุกชุด ใช้คนๆ เดียวนั่งทั้งบอร์ดใหญ่และบอร์ดเล็ก คือ ทั้งกรรมการและอนุกรรมการ เรื่องนี้ต้องเปลี่ยน กำหนดระเบียบใหม่ ต้องให้เกิดความโปร่งใส
ขณะนี้กำลังพิจารณาด้วยว่าการประชุมบอร์ด สปส.ทุกครั้ง มีการประชุมที่ สปส.สำนักงานใหญ่นนทบุรี แต่จะปรับเปลี่ยนให้มาใช้สถานที่ประชุมที่กระทรวงแรงงานแทน ในกรณีที่มีวาระสำคัญ และจะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังด้วยเพื่อให้เกิดความโปร่งใส อีกทั้งตนในฐานะรัฐมนตรีก็จะขอเข้าไปสังเกตการณ์ ไม่ใช่เข้าไปก้าวก่ายการทำงาน เพียงแต่ขอรับทราบข้อมูลการดำเนินการทั้งหมดเท่านั้น
นอกจากนี้พล.อ.สุรศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีความคืบหน้าการเปิดรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ควรจะมีทางเลือกที่ 3 คือ ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท รัฐบาลจ่ายสมทบ 100 บาท ว่า เรื่องนี้ถ้ารัฐบาลจะทำอะไร ประชาชนต้องได้สิทธิไม่น้อยกว่าเดิม เพราะถ้าไปตัดสิทธิที่เคยได้รับมาก่อน จะดูไม่เป็นธรรมและสร้างความไม่พอใจ
“ตามกฎหมายโครงการที่มีวงเงินเกิน 100 ล้านบาท ให้เป็นอำนาจรัฐมนตรีเป็นผู้เซ็นอนุมัติ แต่ผมบอกได้เลย ถ้าโครงการไหนตอบรายละเอียดความจำเป็นไม่ได้ และประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ ผมก็จะไม่เซ็นต์ เนื่องจากถ้าเซ็นต์ไปแล้วผมต้องเป็นคนรับผิดชอบ เช่นเดียวกันก็ทราบข่าวมาว่า โครงการที่อยู่ในอำนาจของเลขาธิการสปส. ถ้าไม่มีรายละเอียด แม้ว่าจะมีการจัดจ้างผ่านระบบอีออกชั่น (จัดซื้อจัดจ้าง)ไปแล้ว ก็จะไม่มีการเซ็นต์ ซึ่งตรงนี้ไม่แน่ใจว่าจะมีปัญหาฟ้องร้องตามมาหรือไม่” พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าไม่มีการอนุมัติระบบคอมพิวเตอร์ หากเกิดจอดำเหมือนที่ผ่านมา ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ถึงจอดำก็ต้องยอม หากโครงการดังกล่าวไม่สามารถตอบคำถามเรื่องความโปร่งใสได้
พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ ตนได้มอบหมายให้ นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) ประกันสังคม ไปพิจารณาปรับเกณฑ์การเลือกผู้แทนที่เข้ามานั่งเป็นกรรมการ จะต้องไม่ซ้ำซ้อน หรือ ไม่ใช่บุคคลเดียวกับที่นั่งเป็นอนุกรรมการ หรือคนที่มีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่อง ที่ผ่านมาบอร์ดสปส. เกือบทุกชุด ใช้คนๆ เดียวนั่งทั้งบอร์ดใหญ่และบอร์ดเล็ก คือ ทั้งกรรมการและอนุกรรมการ เรื่องนี้ต้องเปลี่ยน กำหนดระเบียบใหม่ ต้องให้เกิดความโปร่งใส
ขณะนี้กำลังพิจารณาด้วยว่าการประชุมบอร์ด สปส.ทุกครั้ง มีการประชุมที่ สปส.สำนักงานใหญ่นนทบุรี แต่จะปรับเปลี่ยนให้มาใช้สถานที่ประชุมที่กระทรวงแรงงานแทน ในกรณีที่มีวาระสำคัญ และจะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังด้วยเพื่อให้เกิดความโปร่งใส อีกทั้งตนในฐานะรัฐมนตรีก็จะขอเข้าไปสังเกตการณ์ ไม่ใช่เข้าไปก้าวก่ายการทำงาน เพียงแต่ขอรับทราบข้อมูลการดำเนินการทั้งหมดเท่านั้น
นอกจากนี้พล.อ.สุรศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีความคืบหน้าการเปิดรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ควรจะมีทางเลือกที่ 3 คือ ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท รัฐบาลจ่ายสมทบ 100 บาท ว่า เรื่องนี้ถ้ารัฐบาลจะทำอะไร ประชาชนต้องได้สิทธิไม่น้อยกว่าเดิม เพราะถ้าไปตัดสิทธิที่เคยได้รับมาก่อน จะดูไม่เป็นธรรมและสร้างความไม่พอใจ