วานนี้ (15ม.ค.) นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรณะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จะมีการหารือกับสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในเวลา 14.30 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จะเป็นหัวหน้าทีม ในการอธิบายถึงความคิดเห็นของรัฐบาล ที่มีต่อการทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในเรื่องของการประสานงานระหว่างรัฐบาล และสปช. เพื่อผลักดันแนวทางปฎิรูปให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ที่จะต้องมีการผลักดันกฎหมายที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนออกมาโดยเร็ว เช่น ข้อเสนอแนวทางปฎิรูปกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
นอกจากนี้ จะหารือถึงแนวทางการประสานงาน โดยจะมีการกำหนดการหารือกันแบบเป็นทางการ อย่างที่รัฐบาลดำเนินการกับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คือ มีการตั้งวิปประสานงานขึ้นมา ทั้ง 2 ฝ่าย ประชุมทุกวันจันทร์ และวันอังคาร และจะใหมีการประสานงานกันอย่างไม่เป็นทางการด้วย โดยจะเป็นการพบปะพูดคุยเป็นการส่วนตัวระหว่างตัวแทนทั้งสองฝ่าย เพื่อให้การทำงานใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในการเดินหน้าปฎิรูปประเทศ
หลังการหารือ นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมการประสานงานกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) แถลงข่าวเบื้องต้น ระหว่างการหารือของ นายวิษณุ กับนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พร้อมด้วย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และประธานกรรมาธิการของสปช. ทั้ง 18 คณะ ถึงแนวทางการทำงานร่วมกัน ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีระบบคณะกรรมการประสานงานแต่ละฝ่ายขึ้น ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การปฏิรูปดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และเป็นรูปธรรม เพราะที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่เคยมีวิป คอยประสานงานกับวิปสปช. มีเพียงแค่ สนช.เท่านั้น
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความกังวลต่อประเด็นผลงานและความคาดหวังของประชาชนทั้งระยะ 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 1 ปี จึงขอให้ทุกภาคส่วน กำหนดกรอบการทำงานเสนอให้สปช. พิจารณาประเด็นดังกล่าว โดยมุ่งหวังว่า รัฐบาลและนายกฯ จะช่วยส่งเสริมสนับสนุน สปช. ตามความคาดหวังของประชาชน
อย่างไรก็ตาม นายกฯได้ฝากรายงานความเห็นในข้อเสนอปฏิรูป 11 ด้าน จาก 27 หน่วยงาน ครอบคลุม 20 กระทรวง ที่สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประมวลเรื่องนี้ และนำเข้าที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งนายกฯ มองว่าเป็นประโยชน์ในการนำความเห็นส่วนราชการ ให้สปช. เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอปฏิรูปประเทศต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องสะท้อนว่า รัฐบาลและสปช. มีความตั้งใจทำงานร่วมกันให้การปฏิรูปเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ นายกฯ ยังฝากว่าข้อเสนอการปฏิรูปที่รัฐบาลพร้อมรับนำไปพิจารณาสนับสนุน ควรเป็นข้อเสนอที่บอกถึงวิธีการปฏิรูป กรณีนี้จำเป็นที่รัฐบาลต้องการรายงานที่สมบูรณ์ เพื่อสะท้อนรวมถึงบอกวิธีการแก้ปัญหา ซึ่ง ประธานสปช. เห็นสอดคล้องกับนายกฯ ต่อประเด็นดังกล่าว
ขณะที่ สปช.ฝากถึงนายกฯ ต่อการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง และระบบในส่วนราชการ ให้เป็นที่ยอมรับในส่วนราชการทั้งหมด เพราะอาจมีความไม่เห็นด้วย หรือข้อขัดข้องบางประการ จึงจำเป็นที่สปช.ต้องมีความเห็นต่างออกไปจึงจะปฏิรูปได้
"การทำงานของ สปช. ร่วมกับแม่น้ำ 4 สาย เป็นการทำงานระยะที่สอง และเพื่อตอบโจทย์การทำงาน ครม. จะส่งรายชื่อบุคคลภายนอก ให้เข้ามาเป็นกมธ.ใน สปช. คณะละ 5-6 คน เพื่อให้งานเกิดความสมบูรณ์ ซึ่งเหตุผลก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลไม่ได้ส่งรายชื่อเข้ามาตั้งแต่ต้น เพราะสปช. กำลังศึกษาข้อเสนอแนะต่อ กมธ.ยกร่างฯ จึงไม่อยากให้เสียสมาธิ แต่หลังจากนี้ จะเริ่มส่งชื่อเข้ามาเพื่อแต่งตั้งต่อไป" นายอลงกรณ์ กล่าว
นอกจากนี้ จะหารือถึงแนวทางการประสานงาน โดยจะมีการกำหนดการหารือกันแบบเป็นทางการ อย่างที่รัฐบาลดำเนินการกับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คือ มีการตั้งวิปประสานงานขึ้นมา ทั้ง 2 ฝ่าย ประชุมทุกวันจันทร์ และวันอังคาร และจะใหมีการประสานงานกันอย่างไม่เป็นทางการด้วย โดยจะเป็นการพบปะพูดคุยเป็นการส่วนตัวระหว่างตัวแทนทั้งสองฝ่าย เพื่อให้การทำงานใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในการเดินหน้าปฎิรูปประเทศ
หลังการหารือ นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมการประสานงานกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) แถลงข่าวเบื้องต้น ระหว่างการหารือของ นายวิษณุ กับนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พร้อมด้วย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และประธานกรรมาธิการของสปช. ทั้ง 18 คณะ ถึงแนวทางการทำงานร่วมกัน ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีระบบคณะกรรมการประสานงานแต่ละฝ่ายขึ้น ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การปฏิรูปดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และเป็นรูปธรรม เพราะที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่เคยมีวิป คอยประสานงานกับวิปสปช. มีเพียงแค่ สนช.เท่านั้น
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความกังวลต่อประเด็นผลงานและความคาดหวังของประชาชนทั้งระยะ 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 1 ปี จึงขอให้ทุกภาคส่วน กำหนดกรอบการทำงานเสนอให้สปช. พิจารณาประเด็นดังกล่าว โดยมุ่งหวังว่า รัฐบาลและนายกฯ จะช่วยส่งเสริมสนับสนุน สปช. ตามความคาดหวังของประชาชน
อย่างไรก็ตาม นายกฯได้ฝากรายงานความเห็นในข้อเสนอปฏิรูป 11 ด้าน จาก 27 หน่วยงาน ครอบคลุม 20 กระทรวง ที่สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประมวลเรื่องนี้ และนำเข้าที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งนายกฯ มองว่าเป็นประโยชน์ในการนำความเห็นส่วนราชการ ให้สปช. เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอปฏิรูปประเทศต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องสะท้อนว่า รัฐบาลและสปช. มีความตั้งใจทำงานร่วมกันให้การปฏิรูปเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ นายกฯ ยังฝากว่าข้อเสนอการปฏิรูปที่รัฐบาลพร้อมรับนำไปพิจารณาสนับสนุน ควรเป็นข้อเสนอที่บอกถึงวิธีการปฏิรูป กรณีนี้จำเป็นที่รัฐบาลต้องการรายงานที่สมบูรณ์ เพื่อสะท้อนรวมถึงบอกวิธีการแก้ปัญหา ซึ่ง ประธานสปช. เห็นสอดคล้องกับนายกฯ ต่อประเด็นดังกล่าว
ขณะที่ สปช.ฝากถึงนายกฯ ต่อการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง และระบบในส่วนราชการ ให้เป็นที่ยอมรับในส่วนราชการทั้งหมด เพราะอาจมีความไม่เห็นด้วย หรือข้อขัดข้องบางประการ จึงจำเป็นที่สปช.ต้องมีความเห็นต่างออกไปจึงจะปฏิรูปได้
"การทำงานของ สปช. ร่วมกับแม่น้ำ 4 สาย เป็นการทำงานระยะที่สอง และเพื่อตอบโจทย์การทำงาน ครม. จะส่งรายชื่อบุคคลภายนอก ให้เข้ามาเป็นกมธ.ใน สปช. คณะละ 5-6 คน เพื่อให้งานเกิดความสมบูรณ์ ซึ่งเหตุผลก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลไม่ได้ส่งรายชื่อเข้ามาตั้งแต่ต้น เพราะสปช. กำลังศึกษาข้อเสนอแนะต่อ กมธ.ยกร่างฯ จึงไม่อยากให้เสียสมาธิ แต่หลังจากนี้ จะเริ่มส่งชื่อเข้ามาเพื่อแต่งตั้งต่อไป" นายอลงกรณ์ กล่าว