เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (14 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) เรียกประชุม คตช.เป็นครั้งแรก โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมาชิก คสช. นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) นางจุรี วิจิตรวาทการ ประธานศูนย์สาธารณะประโยชน์และประชาสังคม นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง และตัวแทนองค์กรอิสระ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ เข้าร่วมการประชุม โดยใช้เวลาประชุมกว่า 2 ชั่วโมง
หลังการประชุม นายวิษณุ แถลงว่า คณะกรรมการชุดนี้ไม่มีหน้าที่ลงไปจับผิดผู้ใด แต่เป็นศูนย์กลางในการทำงานเชิงบูรณาการในการติดตามความคืบหน้าและเร่งรัด โดยเน้นไปที่จุดอ่อน และจุดโหว่ในเรื่องทุจริตอยู่ตรงไหน ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ ตัวบุคคล หรือผู้มีอิทธิพลที่อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเกิดความหวาดระแวง เกรงใจ หรือไม่กล้าจะเข้าไปใช้อำนาจ ซึ่งคตช.สามารถสรุปรายงานเสนอหัวหน้าคสช.ให้ใช้อำนาจของ คสช.ได้ในกรณีที่มีความจำเป็น สำหรับแนวทางการทำงาน คือ
1. การจัดกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเพื่อจะได้แยกดำเนินการ การทุจริตที่ผ่านมาส่วนใหญ่จับได้แต่ปลาซิวปลาสร้อยตัวเล็กๆ แต่ผู้สั่งการ ผู้มีอำนาจ บางครั้งเป็นนักการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เล็ดลอดหลุดลอยเข้าไปได้ ซึ่งจะจัดแบ่งเป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง ผู้มีอิทธิพล นักธุรกิจ และอื่นๆ เพื่อจะได้จัดการแต่ละกลุ่มได้ถูกต้อง และเล่นงานได้ถูกตัว
2. การจัดกลุ่มกิจการ หรือเรื่องที่มีการทุจริตบ่อย แบ่งเป็นการแต่งตั้งโยกย้าย การจัดซื้อจัดจ้าง การขออนุญาตและอนุมัติไม่สะดวก การขอรับประโยชน์จากรัฐ และการใช้ทรัพย์สินของรัฐ
3.วิธีการแก้ปัญหา ซึ่งจะเริ่มด้วยมาตรการ ป้องปราม การปลูกจิตสำนึก การปราบปราม และ การประชาสัมพันธ์ หรือ เรียกว่า"4 ป."
นายวิษณุ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติให้การทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างรายใหญ่ และรายสำคัญ ควรมีการทำข้อตกลงชนิดหนึ่งระหว่างหน่วยงานของรัฐกับผู้รับจ้าง เรียกว่า“ข้อตกลงว่าด้วยคุณธรรม”ซึ่งจะเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแนบไปในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่คู่สัญญาต้องลงนาม เพื่อสร้างหลักประกันว่าจะไม่โกง และสร้างความโปร่งใสทุกขั้นตอน ในข้อตกลงฉบับนี้ ระบุให้มีทีมจากภาคเอกชนและสาธารณชนที่คัดเลือกกันมาเป็นตัวแทนประชาชนจำนวน 4 - 5 คน เป็นผู้สังเกตการณ์ และติดตาม สามารถซักถามข้อสงสัย และนำมาเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ ส่งผลให้โอกาสทุจริตเกิดขึ้นได้ยาก โดยจะนำร่องใน 2 โครงการคือ 1. โครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี และ 2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย กรณีทีมงานดังกล่าวตรวจพบความไม่ชอบมาพากลสามารถรายงานไปยังผู้บังคับบัญชารวมถึงนายกฯได้ หากพบว่า ผิดจริงมีโทษทางวินัย และโทษโดยการส่งเรื่องไปให้ ป.ป.ท. และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับไปดำเนินการแล้วแต่ฐานความผิด
“ที่ผ่านมาเราจับได้แต่ปลาซิว ปลาสร้อย คราวนี้จะต้องจับปลาฉลามปลาวาฬให้ได้ และเมื่อรู้ว่ามีมาตรการแบบนี้แล้วยังกล้าทำผิดอีก ไม่รู้จะว่ายังไง คงมีคนกล้าบ้างแต่ก็ต้องมาเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ และคงมีการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแน่ หวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้น”นายวิษณุ กล่าว
ขณะที่เรื่องจุดอ่อนของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 คือ ไม่มีฐานะเป็นกฎหมาย การฝ่าฝืนไม่มีบทลงโทษโดยตรง และไม่ใช้กับรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงต้องแก้ไขให้เป็นพระราชบัญญัติ โดยระบุเรื่องบทลงโทษ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างครอบคลุมหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ใช้ศูนย์ดำรงธรรมทั่วประเทศเป็นศูนย์กลางรับเรื่องร้องเรียน โดยให้เปิดแผนกรับเรื่องร้องเรียนเฉพาะเรื่องการทุจริตขึ้น ทั้งนี้ จะนำผลการประชุมครั้งนี้ เสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.วันที่ 20 ม.ค. เพื่อให้มีมติออกมารองรับมาตรการทั้งหมด
ที่ประชุมยังมีการพูดถึงเรื่องคดีความที่ค้างอยู่ในสนช.เวลานี้ ซึ่งเห็นว่า ควรปล่อยให้ สนช.ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ไป ส่วนเมื่อจบจาก สนช.แล้ว ไม่ว่าจะจบอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เรื่องนี้อาจต้องตกไปอยู่ในองค์กรอื่น ที่มีอำนาจหน้าที่จะได้พิจารณาตามแนวทางที่แต่ละฝ่ายมีอำนาจหน้าที่ เช่น จะนำไปสู่การดำเนินคดีแพ่ง เรียกค่าเสียหาย ดำเนินคดีอาญาหรือไม่ หรือจะดำเนินไปสู่ตัวบุคคลอื่น ที่ยังไม่ใช่ตัวละครที่ปรากฏในกระบวนการถอด
ถอนของ สนช.หรือไม่นั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง วันนี้ทุกคนยังได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานความสุจริตอยู่ ดังนั้น ต้องรอขั้นตอนของมันจะเร่งรัดให้เร็วกว่านี้ไม่สามารถทำได้ ประเด็นเหล่านี้ จะมีการพูดกัน
ด้านนายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวเสริมว่า การจัดซื้อจัดจ้างเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการทุจริต จึงมีการหารือว่าในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีเรื่องของบทกำหนดโทษ ทางกรมบัญชีกลางจึงเสนอที่จะปรับปรุงพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างให้กำหนดเรื่องการลงโทษกระทำผิดตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าจนถึงผู้สั่งการ และให้มีเรื่องของข้อตกลงคุณธรรมด้วย โดยจะมีฝ่ายผู้ขาย ราชการ และให้กลุ่มบุคคลภายนอกภาคประชาสังคมเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ เพื่อช่วยให้การทุจริตลดน้อยลงไป ทั้งนี้ เนื้อหาในรายละเอียดจะนำเสนอเข้าที่ประชุมครม.วันที่ 20 ม.ค.นี้
ขณะที่นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ปี 2558 เป็นปีแรกที่นายกฯ กำหนดให้มีแผนบูรณาการในเรื่องของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐ โดยตั้งงบประมาณไว้ 2,106 ล้านบาท และในปี 2559 ยังทำเป็นแผนบูรณาการป้องกันและปราบปรามทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐเช่นกัน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ส่วนราชการได้เสนอแผนบูรณาการไว้ที่สำนักงบประมาณแล้ว โดยปี 2559 มีการเสนอ ความต้องการไว้ทั้งสิ้น 4,650 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ประมาณ 2,544 ล้านบาท มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 104 หน่วยงาน มีสำนักงานป.ป.ช. และกระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพ โดยจะมีการเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการและสอดรับกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผอ.สำนักงบประมาณ กล่าวต่อว่า การดำเนินการจะมีการแยกเป็น 3 ภารกิจ คือ การสร้างกลไกการป้องกันการทุจริตให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ การสร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันและปราบปราบการทุจริต และการสร้างความเข้มแข็งในการปราบปราบการทุจริต นอกจากนี้ ยังพูดถึงการสร้างความโปร่งใสให้ประชาชนมีส่วนในการรับรู้ข้อมูล ตั้งแต่ต้นทางในเรื่องของงบประมาณว่าไปลงในพื้นที่ใดบ้าง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามทุจริตและตรวจสอบได้
นอกจากนี้ ได้เสนอที่ประชุมว่า จะต้องมีการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ หลังจากมีการประกาศลดราคาน้ำมันดีเซลลง 2 บาทกว่า เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.57 ทำให้มีผลต่อราคาค่าก่อสร้างประมาณ 1 - 10 % จึงมีการเสนอมาตรการในการกำหนดราคากลางค่าก่อสร้างใหม่ ใน 2 กรณี คือ การกำหนดราคากลางก่อน และหลังวันที่ 16 ธ.ค.57 ให้หน่วยราชการต่อรองกับผู้เสนอราคาต่ำสุดตามราคากลางใหม่ ที่คิดตามดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง และราคาน้ำมันในขณะนั้น ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้บ้าง
ส่วนนายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการ ป.ป.ท. ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เปิดเผยว่า ศอตช.จะเป็นกลไกหลักในการปฏิบัติให้กับคตช. เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนให้ส่วนราชการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดคือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างโปร่งใส เป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน ซึ่งการทำงานจะใช้หนังสือร้องเรียนของพี่น้องประชาชนเป็นเครื่องชี้นำ หากประชาชนร้องเรียนมา ส่วนราชการต้องดำเนินการแก้ไขว่ามีความเดือนร้อนอะไร ซึ่งส่วนราชการต้องแก้ปัญหาความเดือดร้อนตรงนั้น รวมถึงการตรวจสอบว่าความเดือดร้อนหรือข้อผิดพลาดนั้นเกิดจากการละเลยหรือละเว้นการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ ถ้าพบว่าเป็นการละเลย หรือละเว้น ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยหรือทางปกครอง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ขยายตัวไปสู่การทุจริต
สำหรับการดำเนินการ จะเน้นเรื่องการป้องปรามเพื่อเข้าไปดำเนินการได้ทันทีและให้ปัญหาได้รับการแก้ไข ซึ่งเรื่องการปราบปรามนั้น นายกฯ ได้ให้นโยบายว่า ให้ถือกฎหมายเป็นหลัก ผิดคือผิด ถูกคือถูก นอกจากนั้นให้นำมาตรการทางวินัยมาใช้ คือ หากพบว่ามีความผิดทางวินัย ส่วนราชการต้องดำเนินการทางวินัยทันที
หลังการประชุม นายวิษณุ แถลงว่า คณะกรรมการชุดนี้ไม่มีหน้าที่ลงไปจับผิดผู้ใด แต่เป็นศูนย์กลางในการทำงานเชิงบูรณาการในการติดตามความคืบหน้าและเร่งรัด โดยเน้นไปที่จุดอ่อน และจุดโหว่ในเรื่องทุจริตอยู่ตรงไหน ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ ตัวบุคคล หรือผู้มีอิทธิพลที่อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเกิดความหวาดระแวง เกรงใจ หรือไม่กล้าจะเข้าไปใช้อำนาจ ซึ่งคตช.สามารถสรุปรายงานเสนอหัวหน้าคสช.ให้ใช้อำนาจของ คสช.ได้ในกรณีที่มีความจำเป็น สำหรับแนวทางการทำงาน คือ
1. การจัดกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเพื่อจะได้แยกดำเนินการ การทุจริตที่ผ่านมาส่วนใหญ่จับได้แต่ปลาซิวปลาสร้อยตัวเล็กๆ แต่ผู้สั่งการ ผู้มีอำนาจ บางครั้งเป็นนักการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เล็ดลอดหลุดลอยเข้าไปได้ ซึ่งจะจัดแบ่งเป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง ผู้มีอิทธิพล นักธุรกิจ และอื่นๆ เพื่อจะได้จัดการแต่ละกลุ่มได้ถูกต้อง และเล่นงานได้ถูกตัว
2. การจัดกลุ่มกิจการ หรือเรื่องที่มีการทุจริตบ่อย แบ่งเป็นการแต่งตั้งโยกย้าย การจัดซื้อจัดจ้าง การขออนุญาตและอนุมัติไม่สะดวก การขอรับประโยชน์จากรัฐ และการใช้ทรัพย์สินของรัฐ
3.วิธีการแก้ปัญหา ซึ่งจะเริ่มด้วยมาตรการ ป้องปราม การปลูกจิตสำนึก การปราบปราม และ การประชาสัมพันธ์ หรือ เรียกว่า"4 ป."
นายวิษณุ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติให้การทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างรายใหญ่ และรายสำคัญ ควรมีการทำข้อตกลงชนิดหนึ่งระหว่างหน่วยงานของรัฐกับผู้รับจ้าง เรียกว่า“ข้อตกลงว่าด้วยคุณธรรม”ซึ่งจะเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแนบไปในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่คู่สัญญาต้องลงนาม เพื่อสร้างหลักประกันว่าจะไม่โกง และสร้างความโปร่งใสทุกขั้นตอน ในข้อตกลงฉบับนี้ ระบุให้มีทีมจากภาคเอกชนและสาธารณชนที่คัดเลือกกันมาเป็นตัวแทนประชาชนจำนวน 4 - 5 คน เป็นผู้สังเกตการณ์ และติดตาม สามารถซักถามข้อสงสัย และนำมาเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ ส่งผลให้โอกาสทุจริตเกิดขึ้นได้ยาก โดยจะนำร่องใน 2 โครงการคือ 1. โครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี และ 2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย กรณีทีมงานดังกล่าวตรวจพบความไม่ชอบมาพากลสามารถรายงานไปยังผู้บังคับบัญชารวมถึงนายกฯได้ หากพบว่า ผิดจริงมีโทษทางวินัย และโทษโดยการส่งเรื่องไปให้ ป.ป.ท. และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับไปดำเนินการแล้วแต่ฐานความผิด
“ที่ผ่านมาเราจับได้แต่ปลาซิว ปลาสร้อย คราวนี้จะต้องจับปลาฉลามปลาวาฬให้ได้ และเมื่อรู้ว่ามีมาตรการแบบนี้แล้วยังกล้าทำผิดอีก ไม่รู้จะว่ายังไง คงมีคนกล้าบ้างแต่ก็ต้องมาเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ และคงมีการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแน่ หวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้น”นายวิษณุ กล่าว
ขณะที่เรื่องจุดอ่อนของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 คือ ไม่มีฐานะเป็นกฎหมาย การฝ่าฝืนไม่มีบทลงโทษโดยตรง และไม่ใช้กับรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงต้องแก้ไขให้เป็นพระราชบัญญัติ โดยระบุเรื่องบทลงโทษ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างครอบคลุมหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ใช้ศูนย์ดำรงธรรมทั่วประเทศเป็นศูนย์กลางรับเรื่องร้องเรียน โดยให้เปิดแผนกรับเรื่องร้องเรียนเฉพาะเรื่องการทุจริตขึ้น ทั้งนี้ จะนำผลการประชุมครั้งนี้ เสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.วันที่ 20 ม.ค. เพื่อให้มีมติออกมารองรับมาตรการทั้งหมด
ที่ประชุมยังมีการพูดถึงเรื่องคดีความที่ค้างอยู่ในสนช.เวลานี้ ซึ่งเห็นว่า ควรปล่อยให้ สนช.ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ไป ส่วนเมื่อจบจาก สนช.แล้ว ไม่ว่าจะจบอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เรื่องนี้อาจต้องตกไปอยู่ในองค์กรอื่น ที่มีอำนาจหน้าที่จะได้พิจารณาตามแนวทางที่แต่ละฝ่ายมีอำนาจหน้าที่ เช่น จะนำไปสู่การดำเนินคดีแพ่ง เรียกค่าเสียหาย ดำเนินคดีอาญาหรือไม่ หรือจะดำเนินไปสู่ตัวบุคคลอื่น ที่ยังไม่ใช่ตัวละครที่ปรากฏในกระบวนการถอด
ถอนของ สนช.หรือไม่นั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง วันนี้ทุกคนยังได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานความสุจริตอยู่ ดังนั้น ต้องรอขั้นตอนของมันจะเร่งรัดให้เร็วกว่านี้ไม่สามารถทำได้ ประเด็นเหล่านี้ จะมีการพูดกัน
ด้านนายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวเสริมว่า การจัดซื้อจัดจ้างเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการทุจริต จึงมีการหารือว่าในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีเรื่องของบทกำหนดโทษ ทางกรมบัญชีกลางจึงเสนอที่จะปรับปรุงพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างให้กำหนดเรื่องการลงโทษกระทำผิดตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าจนถึงผู้สั่งการ และให้มีเรื่องของข้อตกลงคุณธรรมด้วย โดยจะมีฝ่ายผู้ขาย ราชการ และให้กลุ่มบุคคลภายนอกภาคประชาสังคมเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ เพื่อช่วยให้การทุจริตลดน้อยลงไป ทั้งนี้ เนื้อหาในรายละเอียดจะนำเสนอเข้าที่ประชุมครม.วันที่ 20 ม.ค.นี้
ขณะที่นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ปี 2558 เป็นปีแรกที่นายกฯ กำหนดให้มีแผนบูรณาการในเรื่องของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐ โดยตั้งงบประมาณไว้ 2,106 ล้านบาท และในปี 2559 ยังทำเป็นแผนบูรณาการป้องกันและปราบปรามทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐเช่นกัน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ส่วนราชการได้เสนอแผนบูรณาการไว้ที่สำนักงบประมาณแล้ว โดยปี 2559 มีการเสนอ ความต้องการไว้ทั้งสิ้น 4,650 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ประมาณ 2,544 ล้านบาท มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 104 หน่วยงาน มีสำนักงานป.ป.ช. และกระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพ โดยจะมีการเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการและสอดรับกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผอ.สำนักงบประมาณ กล่าวต่อว่า การดำเนินการจะมีการแยกเป็น 3 ภารกิจ คือ การสร้างกลไกการป้องกันการทุจริตให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ การสร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันและปราบปราบการทุจริต และการสร้างความเข้มแข็งในการปราบปราบการทุจริต นอกจากนี้ ยังพูดถึงการสร้างความโปร่งใสให้ประชาชนมีส่วนในการรับรู้ข้อมูล ตั้งแต่ต้นทางในเรื่องของงบประมาณว่าไปลงในพื้นที่ใดบ้าง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามทุจริตและตรวจสอบได้
นอกจากนี้ ได้เสนอที่ประชุมว่า จะต้องมีการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ หลังจากมีการประกาศลดราคาน้ำมันดีเซลลง 2 บาทกว่า เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.57 ทำให้มีผลต่อราคาค่าก่อสร้างประมาณ 1 - 10 % จึงมีการเสนอมาตรการในการกำหนดราคากลางค่าก่อสร้างใหม่ ใน 2 กรณี คือ การกำหนดราคากลางก่อน และหลังวันที่ 16 ธ.ค.57 ให้หน่วยราชการต่อรองกับผู้เสนอราคาต่ำสุดตามราคากลางใหม่ ที่คิดตามดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง และราคาน้ำมันในขณะนั้น ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้บ้าง
ส่วนนายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการ ป.ป.ท. ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เปิดเผยว่า ศอตช.จะเป็นกลไกหลักในการปฏิบัติให้กับคตช. เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนให้ส่วนราชการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดคือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างโปร่งใส เป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน ซึ่งการทำงานจะใช้หนังสือร้องเรียนของพี่น้องประชาชนเป็นเครื่องชี้นำ หากประชาชนร้องเรียนมา ส่วนราชการต้องดำเนินการแก้ไขว่ามีความเดือนร้อนอะไร ซึ่งส่วนราชการต้องแก้ปัญหาความเดือดร้อนตรงนั้น รวมถึงการตรวจสอบว่าความเดือดร้อนหรือข้อผิดพลาดนั้นเกิดจากการละเลยหรือละเว้นการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ ถ้าพบว่าเป็นการละเลย หรือละเว้น ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยหรือทางปกครอง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ขยายตัวไปสู่การทุจริต
สำหรับการดำเนินการ จะเน้นเรื่องการป้องปรามเพื่อเข้าไปดำเนินการได้ทันทีและให้ปัญหาได้รับการแก้ไข ซึ่งเรื่องการปราบปรามนั้น นายกฯ ได้ให้นโยบายว่า ให้ถือกฎหมายเป็นหลัก ผิดคือผิด ถูกคือถูก นอกจากนั้นให้นำมาตรการทางวินัยมาใช้ คือ หากพบว่ามีความผิดทางวินัย ส่วนราชการต้องดำเนินการทางวินัยทันที