โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
จำความได้ สมัยวัยเด็ก ผู้เขียนเดินเท้าไปโรงเรียนเป็นทางระยะทางไป-กลับ ราว 4 กิโลเมตร เมื่อถึงวันครู คือ วันไหว้ครู จะได้มีโอกาสเก็บดอกเข็ม หญ้าแพรก ดอกมะเขือ และดอกไม้หลายชนิด มารวมกับเพื่อนในชั้นเรียน เพื่อจัดพานไหว้ครู โดยมีตัวแทนเพื่อนชาย-หญิงของห้องถือพานดอกไม้ไหว้ครูในพิธี
แม้ในวัยนั้น ผู้เขียนจะไม่เข้าใจความหมายและความสำคัญของครู ว่า ครูคือใคร มีความสำคัญต่อเด็กๆ เหมือนเรา อย่างไร จนกระทั่งเด็กๆ อย่างเราได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ อ่านออกเขียนได้ มีหน้าที่การงานที่ดี จึงทำให้รู้ซึ้งความหมายและเข้าใจความสำคัญของบุคคลที่ชื่อว่า ครู ว่ามีความสำคัญต่อเด็กและเยาวชนของชาติ เพราะครูคือ ผู้ให้เครื่องมือประกอบอาชีพในการดำรงชีวิต
ผู้เขียน ขอยกย่องว่า ผู้ที่สมัครตน ประกอบวิชาชีพความเป็นครู คือผู้ที่มีความเสียสละและมีความรักต่อเด็กและเยาวชนของชาติมาเป็นอันดับต้นๆ ด้วยเหตุที่กล่าวเช่นนี้ เพราะผู้ที่ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเด็กทุกวี่ทุกวัน จะต้องมีความเข้าใจในเด็กและอดทนต่อหน้าที่การงานที่กระทำ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีคุณธรรมในวิชาชีพ
หากจะประมวลคุณธรรมสําหรับครูตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณและความมุ่งในของผู้เป็นครู ผู้เขียนเห็นว่า ควรได้นำเสนอแนวคิดของปราชญ์คนสำคัญ อาทิ
ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้มีทัศนะเกี่ยวกับคุณธรรมของครูว่า ครูควรจะต้องมีคุณธรรม 4 ประการ ตามพระพุทธองค์ตรัสไว้ ดังนี้
1. พระวิสุทธิคุณ คือ ครูจะต้องมีจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ไม่อาฆาตพยาบาท รู้จักการให้อภัย และมีมุทิตาจิตต่อศิษย์
2. พระปัญญาคุณ คือ ครูจะต้องมีปัญญาที่เฉียบแหลม สามารถช่วยแก้ปัญหาให้ศิษย์ได้
3. พระกรุณาธิคุณ คือ ครูจะต้องมีความเมตตากรุณาต่อศิษย์
4. ขันติ คือ ครูจะต้องมีความอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อยทั้งร่างกายและจิตใจ
ส่วนพระวรธัมโม ภิกขุ ได้กล่าวว่า คุณธรรมที่ทําให้คนเป็นครูที่สมบูรณ์ ได้มีดังนี้
1. ครูต้องเป็นผู้ที่มั่นใจในเรื่องทางวิญญาณ เพราะครูมีหน้าที่เป็นผู้นําทางวิญญาณและมีหน้าที่ยกระดับจิตใจของเยาวชนให้สูงขึ้น โดยครูจะต้องถือว่าเป็นความรับผิดชอบของครูโดยตรง
2. ครูต้องมีธรรมะ คือ ต้องใช้ธรรมะหล่อเลี้ยงชีวิตให้ชุ่มชื่น ให้มีความอิ่มใจ มีปีติปราโมทย์มิฉะนั้น ชีวิตครูจะน่าเบื่อหน่าย ไม่รื่นรมย์
3. ครูต้องเป็นเสมือนพระโพธิสัตว์คือ บุคคลผู้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น มีคติประจําใจที่ว่า ยอมลําบากเพื่อให้คนอื่นสุขสบาย เพราะครูควรยึดถือคุณธรรมของพระโพธิสัตว์เป็นหลักปฏิบัติ คือ
1) สุทธิ คือ มีความบริสุทธิ์ อยู่ในดวงจิต ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ไม่พยาบาทอาฆาตมาดร้าย มีแต่ให้อภัย และมีมุทิตาจิตในลูกศิษย์
2) ปัญญา คือ การรู้เข้าใจ สว่างไสว รู้เหตุแห่งความเสื่อมความเจริญของชีวิต ครูควรใช้ปัญญา เพื่อปรับปรุงและส่งเสริมให้ลูกศิษย์ด้วยความเสียสละ
3) เมตตา คือ มีความรักปรารถนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด ครูจะต้องให้ความเมตตา ต่อลูกศิษย์ แม้การอบรมสั่งสอน ตักเตือน และการลงโทษ ก็ควรใช้ความเมตตาเป็นหลัก
4) ขันติคือ การยอมอดทนต่อความเหนื่อยยาก ทั้งกาย วาจา เพื่อสั่งสอนลูกศิษย์
ส่วนหลักธรรมประจำใจของครู ที่พระพุทธเจ้าวางไว้ให้ผู้เป็นครูได้ยึดถือปฏิบัติ คือ พรหมวิหาร 4 ได้แก่
1) เมตตา คืออยากเห็นลูกศิษย์มีความสุข
2) กรุณา คืออยากเห็นลูกศิษย์พ้นทุกข์
3) มุทิตา คือยินดีที่เห็นลูกศิษย์ได้ดี
4) อุเบกขา คือเข้าใจในธรรมชาติของศิษย์
คุณสมบัติสำคัญความเป็นครู ซึ่งเป็นแก่นสารของวิชาชีพครู ผู้เขียนเห็นว่า ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในหลักธรรมกัลยาณมิตร 7 ประการ เป็นสิ่งสำคัญอย่างแรก ซึ่งความเป็นกัลยาณมิตรนี้ มีองค์ประกอบของคุณลักษณะสำคัญ 7 ประการ คือ ผู้เป็นครู จะเป็นผู้มีอัธยาศัยน่ารัก น่าเคารพ เป็นที่น่ายกย่อง รู้จักถ่ายทอดความรู้ให้เกิดคุณค่า อธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย อดทนต่อการอบรมสั่งสอน และแนะนำในสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อศิษย์ จะเห็นได้ว่า หลักการต่าง ๆ เหล่านี้ นับว่าสิ่งสำคัญในสำหรับการปฏิบัติตนในวิชาชีพครู
ถ้าจะให้นิยามความหมายของคำว่า ครู ตามทัศนะของผู้เขียนนั้น คำว่า ครู ว่า หมายถึง วิศวกรผู้สร้างคน เพราะวิชาชีพครู คือวิชาชีพการสร้างคนให้เป็นคน ยกระดับคนสู่ความเป็นมนุษย์ โดยอาศัยบุคคล ผู้รักอาชีพความเป็นครู ซึ่งเป็นผู้มีจิตวิญญาณ มีความรู้ ประสบการณ์และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และความดีงามสู่ศิษย์ (อภินันท์ สิริรัตนจิตต์, ในผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 16 มกราคม 2556)
เนื่องในโอกาสวันครูแห่งชาติในวันที่ 16 มกราคมของทุกปี ผู้เขียนร่วมแสดงความกตัญญูกตเวทีและขอเชิญชวนศิษยานุศิษย์แสดงความรัก ความกตัญญูกตเวที ต่อครูผู้มอบวิชาความรู้ และให้เครื่องมือทางสติปัญญาและความดีงามแก่ศิษย์ เพื่อให้ครูของคนไทยเราในทุกพื้นที่ ทุกสังกัด ได้มีกำลังใจในการประกอบวิชาชีพเป็นวิศวกรในการสร้างคนสู่ความเป็นมนุษย์ เพราะประเทศไทย ยังคงต้องการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้กลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ อันจะเป็นกำลังบุคคลสำคัญในการนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป
จำความได้ สมัยวัยเด็ก ผู้เขียนเดินเท้าไปโรงเรียนเป็นทางระยะทางไป-กลับ ราว 4 กิโลเมตร เมื่อถึงวันครู คือ วันไหว้ครู จะได้มีโอกาสเก็บดอกเข็ม หญ้าแพรก ดอกมะเขือ และดอกไม้หลายชนิด มารวมกับเพื่อนในชั้นเรียน เพื่อจัดพานไหว้ครู โดยมีตัวแทนเพื่อนชาย-หญิงของห้องถือพานดอกไม้ไหว้ครูในพิธี
แม้ในวัยนั้น ผู้เขียนจะไม่เข้าใจความหมายและความสำคัญของครู ว่า ครูคือใคร มีความสำคัญต่อเด็กๆ เหมือนเรา อย่างไร จนกระทั่งเด็กๆ อย่างเราได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ อ่านออกเขียนได้ มีหน้าที่การงานที่ดี จึงทำให้รู้ซึ้งความหมายและเข้าใจความสำคัญของบุคคลที่ชื่อว่า ครู ว่ามีความสำคัญต่อเด็กและเยาวชนของชาติ เพราะครูคือ ผู้ให้เครื่องมือประกอบอาชีพในการดำรงชีวิต
ผู้เขียน ขอยกย่องว่า ผู้ที่สมัครตน ประกอบวิชาชีพความเป็นครู คือผู้ที่มีความเสียสละและมีความรักต่อเด็กและเยาวชนของชาติมาเป็นอันดับต้นๆ ด้วยเหตุที่กล่าวเช่นนี้ เพราะผู้ที่ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเด็กทุกวี่ทุกวัน จะต้องมีความเข้าใจในเด็กและอดทนต่อหน้าที่การงานที่กระทำ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีคุณธรรมในวิชาชีพ
หากจะประมวลคุณธรรมสําหรับครูตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณและความมุ่งในของผู้เป็นครู ผู้เขียนเห็นว่า ควรได้นำเสนอแนวคิดของปราชญ์คนสำคัญ อาทิ
ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้มีทัศนะเกี่ยวกับคุณธรรมของครูว่า ครูควรจะต้องมีคุณธรรม 4 ประการ ตามพระพุทธองค์ตรัสไว้ ดังนี้
1. พระวิสุทธิคุณ คือ ครูจะต้องมีจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ไม่อาฆาตพยาบาท รู้จักการให้อภัย และมีมุทิตาจิตต่อศิษย์
2. พระปัญญาคุณ คือ ครูจะต้องมีปัญญาที่เฉียบแหลม สามารถช่วยแก้ปัญหาให้ศิษย์ได้
3. พระกรุณาธิคุณ คือ ครูจะต้องมีความเมตตากรุณาต่อศิษย์
4. ขันติ คือ ครูจะต้องมีความอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อยทั้งร่างกายและจิตใจ
ส่วนพระวรธัมโม ภิกขุ ได้กล่าวว่า คุณธรรมที่ทําให้คนเป็นครูที่สมบูรณ์ ได้มีดังนี้
1. ครูต้องเป็นผู้ที่มั่นใจในเรื่องทางวิญญาณ เพราะครูมีหน้าที่เป็นผู้นําทางวิญญาณและมีหน้าที่ยกระดับจิตใจของเยาวชนให้สูงขึ้น โดยครูจะต้องถือว่าเป็นความรับผิดชอบของครูโดยตรง
2. ครูต้องมีธรรมะ คือ ต้องใช้ธรรมะหล่อเลี้ยงชีวิตให้ชุ่มชื่น ให้มีความอิ่มใจ มีปีติปราโมทย์มิฉะนั้น ชีวิตครูจะน่าเบื่อหน่าย ไม่รื่นรมย์
3. ครูต้องเป็นเสมือนพระโพธิสัตว์คือ บุคคลผู้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น มีคติประจําใจที่ว่า ยอมลําบากเพื่อให้คนอื่นสุขสบาย เพราะครูควรยึดถือคุณธรรมของพระโพธิสัตว์เป็นหลักปฏิบัติ คือ
1) สุทธิ คือ มีความบริสุทธิ์ อยู่ในดวงจิต ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ไม่พยาบาทอาฆาตมาดร้าย มีแต่ให้อภัย และมีมุทิตาจิตในลูกศิษย์
2) ปัญญา คือ การรู้เข้าใจ สว่างไสว รู้เหตุแห่งความเสื่อมความเจริญของชีวิต ครูควรใช้ปัญญา เพื่อปรับปรุงและส่งเสริมให้ลูกศิษย์ด้วยความเสียสละ
3) เมตตา คือ มีความรักปรารถนาที่ไม่มีที่สิ้นสุด ครูจะต้องให้ความเมตตา ต่อลูกศิษย์ แม้การอบรมสั่งสอน ตักเตือน และการลงโทษ ก็ควรใช้ความเมตตาเป็นหลัก
4) ขันติคือ การยอมอดทนต่อความเหนื่อยยาก ทั้งกาย วาจา เพื่อสั่งสอนลูกศิษย์
ส่วนหลักธรรมประจำใจของครู ที่พระพุทธเจ้าวางไว้ให้ผู้เป็นครูได้ยึดถือปฏิบัติ คือ พรหมวิหาร 4 ได้แก่
1) เมตตา คืออยากเห็นลูกศิษย์มีความสุข
2) กรุณา คืออยากเห็นลูกศิษย์พ้นทุกข์
3) มุทิตา คือยินดีที่เห็นลูกศิษย์ได้ดี
4) อุเบกขา คือเข้าใจในธรรมชาติของศิษย์
คุณสมบัติสำคัญความเป็นครู ซึ่งเป็นแก่นสารของวิชาชีพครู ผู้เขียนเห็นว่า ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในหลักธรรมกัลยาณมิตร 7 ประการ เป็นสิ่งสำคัญอย่างแรก ซึ่งความเป็นกัลยาณมิตรนี้ มีองค์ประกอบของคุณลักษณะสำคัญ 7 ประการ คือ ผู้เป็นครู จะเป็นผู้มีอัธยาศัยน่ารัก น่าเคารพ เป็นที่น่ายกย่อง รู้จักถ่ายทอดความรู้ให้เกิดคุณค่า อธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย อดทนต่อการอบรมสั่งสอน และแนะนำในสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อศิษย์ จะเห็นได้ว่า หลักการต่าง ๆ เหล่านี้ นับว่าสิ่งสำคัญในสำหรับการปฏิบัติตนในวิชาชีพครู
ถ้าจะให้นิยามความหมายของคำว่า ครู ตามทัศนะของผู้เขียนนั้น คำว่า ครู ว่า หมายถึง วิศวกรผู้สร้างคน เพราะวิชาชีพครู คือวิชาชีพการสร้างคนให้เป็นคน ยกระดับคนสู่ความเป็นมนุษย์ โดยอาศัยบุคคล ผู้รักอาชีพความเป็นครู ซึ่งเป็นผู้มีจิตวิญญาณ มีความรู้ ประสบการณ์และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และความดีงามสู่ศิษย์ (อภินันท์ สิริรัตนจิตต์, ในผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 16 มกราคม 2556)
เนื่องในโอกาสวันครูแห่งชาติในวันที่ 16 มกราคมของทุกปี ผู้เขียนร่วมแสดงความกตัญญูกตเวทีและขอเชิญชวนศิษยานุศิษย์แสดงความรัก ความกตัญญูกตเวที ต่อครูผู้มอบวิชาความรู้ และให้เครื่องมือทางสติปัญญาและความดีงามแก่ศิษย์ เพื่อให้ครูของคนไทยเราในทุกพื้นที่ ทุกสังกัด ได้มีกำลังใจในการประกอบวิชาชีพเป็นวิศวกรในการสร้างคนสู่ความเป็นมนุษย์ เพราะประเทศไทย ยังคงต้องการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้กลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ อันจะเป็นกำลังบุคคลสำคัญในการนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป