ASTVผู้จัดการรายวัน- "ประยุทธ์"แจงสมัยก่อนราคายางสูงถึง 100 บาท เพราะตลาดโลกไม่ใช่แบบปัจจุบัน อ้างต้นทุนผลิตไทยสูงกว่าต่างประเทศ เผยเร่งขึ้นทะเบียนเรือประมง แก้ปัญหาชื่อซ้ำซ้อน พร้อมทยอยช่วยแรงงานไทยที่ถูกจับในต่างประเทศ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังแก้ไขเกี่ยวกับโครงสร้างราคายางพารา ซึ่งสมัยก่อนอาจจะมีราคาขึ้นถึง 100 บาท ต่อกิโลกรัม เพราะตลาดโลกไม่ใช่แบบนี้ มันจะเหมือนกันไม่ได้ ทั้งนี้จะมีการตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ รวมถึงการทำลู่วิ่ง โดยนำยางในประเทศมาผลิต ทำไมไม่เสริมสร้างสิ่งเหล่านี้กี่รัฐบาลแล้ว
นายกฯ กล่าวว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ 6 รายในประเทศเรา ก็เรียกมาคุยแล้วหลายครั้ง เราจะช่วยซื้อยาง เพื่อให้ราคาสูงขึ้น แต่ปัญหาอยู่ที่ เมื่อซื้อแล้วจะไปขายให้ใคร ราคาเท่าไหร่ จะขายได้หรือเปล่า ต้องมองตรงนั้นด้วย เพราะฉะนั้นเราต้องมีการปรับตัว รัฐบาลต้องอดทน ผู้ประกอบการต้องลดต้นทุน ซึ่งต้นทุนของไทยสูงกว่าต่างประเทศ ผลิตยาง 1 กิโลกรัม ราคาเกือบ 45 บาท อย่างไรก็ขาดทุน แต่ต่างประเทศต้นทุนผลิต 25 บาท เขาขาย 40-50 บาท ก็ได้กำไรแล้ว
" เรื่องข้าวต้นทุนการผลิตเราอยู่ที่ 6,000-7,000 บาท ขาย 8,000 บาทได้ไหม เพราะหากขาย 15,000 บาท แล้วจะไปขายใคร เราอยากให้อยู่บนข้อเท็จจริง ส่วนราคาแก๊ส ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัม 60 บาท แต่ราคาจริงอยู่ที่ 20 บาท ซึ่งทำให้กองทุนมีปัญหาติดขัด บิดเบือนกันไม่ได้ พอขายถูก ก็เอาไปลักลอบขาย ส่วนของครัวเรือน เอาไปขายขนส่ง ไปขายต่างประเทศ ต่างชาติใช้แก๊สราคาถูกก็ของเราทั้งนั้น ดีมานด์ไม่เท่าเทียม ก็ต้องไปซื้อแก๊สจากข้างนอกเพิ่ม ปีหนึ่งต้นทุนการซื้อแก๊ส และน้ำมันอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท แล้วก็เอามาขายต่อ"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า เรื่องข้าวเรากำลังแก้ไขระบบอยู่ เรื่องส่งเสริมการลงทุน บางกองทุนก็ใช้ไม่ได้ บางกองทุนดีก็ทำต่อ บางกองทุนขาดทุนเป็นแสนล้าน ถามว่าใครรับผิดชอบ ไม่มีใครกล้าทำ เพราะทำแล้วเสียคะแนนเสียง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลจะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ของคสช. และของรัฐบาล ให้ชัดเจนและทันเวลา รัฐบาลมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เอายุทธศาสตร์มาจาก สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มี 11 ข้อ ที่เร่งรัดให้ดำเนินการภายใน 1 ปี ประกอบด้วยการลดความเหลื่อมล้ำ ลดความยากจน ราคาพืชผลทางการเกษตร สองกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การจัดระเบียบสังคม การบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ยาเสพติด การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็ง และเรื่องสังคมจิตวิทยาและการศึกษา
"ในฐานะที่ คสช. มีอำนาจในเรื่องกฎอัยการศึก เราก็จะพยายามใช้ให้น้อยที่สุด โดยใช้อำนาจในทางสร้างสรรค์เพื่อเสริมงานของครม. และวันนี้ได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการความโปร่งใสและกระบวนการยุติธรรม และ คณะกรรมการติดตามการขับเคลื่อนโดยคสช. ซึ่ง และจะเสนอเข้าสู่ครม.เพื่อพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกันต่อไป" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ตั้งคกก.ประมงแห่งชาติ นายกฯนั่งปธ.
ส่วนปัญหาเรื่องเรือประมง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังจะขึ้นทะเบียนเรือประมงทุกลำ มีการติด จีพีเอส รวมถึงหากออกเรือไปจับปลา ต้องแจ้งขออนุญาตก่อนที่ผ่านมาขึ้นทะเบียนไม่ได้ เพราะทุกคนมีผลประโยชน์
นายกฯ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องบูรณาการ เพราะกระทรวงเกษตรฯ กำกับดูแลกรมประมง รวมถึงกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และท้องถิ่นต้องไปดู คสช.ต้องไปช่วย และจะต้องออกกฎหมายเพิ่ม ซึ่งเรื่องนี้เริ่มไปนานแล้ว
เมื่อถามถึงกรณีการค้ามนุษย์บนเรือประมง นายกฯ กล่าวว่า ทำด้วย ทำไปตั้งนานแล้ว ส่วนเรื่องแรงงานไทยที่ยังติดอยู่ที่ต่างประเทศ กระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ ช่วยเหลืออยู่ ช่วยมาครั้งแรก 6 คน ครั้งที่สอง 10 คน และครั้งสุดท้าย 15 คน สำหรับคนที่เหลือ ก็ทยอยช่วยอยู่
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุม ครม.ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้ องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ประธานสมาคมสหพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย นายกสมาคมกุ้งไทย นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย และ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย โดยมีอธิบดีกรมประมง เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมประมง ผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมประมง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ อำนาจหน้าที่ ประกอบด้วย 1. กำหนดนโยบายการพัฒนาการประมงทั้งในน่านน้ำ นอกน่านน้ำและน่านน้ำสากล ตลอดจนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณของทรัพยากรสัตว์น้ำ และขีดความสามารถในการทำประมง
2. กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบอาชีพการประมงและประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3. ติดตามกำกับและดูแลการดำเนินการตามแผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย (พ.ศ. 2552-2561) แผนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการประมง และการแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการโดยรายงานผลที่ปฏิบัติต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ
4. กำกับ ดูแล เร่งรัดและติดตามการดำเนินการจัดทำแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (NPOA-IUU) โดยกำหนดภารกิจและมอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมายและ6. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
**ทหารเชิญแกนนำม็อบยางถกในค่าย
พล.ต.เกื้อกูล อินนาจักร ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี ทำหนังสือเชิญตัวนายไพโรจน์ ฤกษ์ดี นายพินิตย์ ช่วยจิตร นายเสกสันต์ ช่วยศรี นายทวีป ศรีโชติ และนางจุฑาภรณ์ ช่วยจิตร แกนนำการชุมนุมที่ใช้ชื่อว่าแนวร่วมเกษตรกรยางพาราบ้านส้องและพันธมิตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้ารายงานตัวที่ค่ายวิภาวดีรังสิต มี พ.อ.ทวี เกิดสมบูรณ์ รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี ทำบันทึกความเข้าใจ พร้อมชี้แจงความคืบหน้าในการพยายามแก้ปัญหา และยืนยันจะไม่ดำเนินการใดๆ ทุกคนสามารถเดินทางกลับได้อย่างปลอดภัย
โดยการทำหนังสือบันทึกความเข้าใจ เพื่อส่งไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อความสรุปว่า สาเหตุที่ชุมนุมประท้วง เนื่องจากเห็นว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาลไม่ตรงจุด เช่น การชดเชยไร่ละ 1,000 บาท จะได้เฉพาะชาวสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำได้เฉพาะกลุ่มสหกรณ์ และผู้ประกอบการ ทำให้เงินกระจุกอยู่กับกลุ่มทุน ไม่กระจายถึงชาวสวนยาง และลูกจ้างยางพาราทั้งระบบ
ซึ่งการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด คือ ดึงราคาไม่ให้ตกต่ำ โดยอยู่ในระดับที่เกษตรกรพึงพอใจและเลี้ยงชีวิตได้ ซึ่งอาจไม่ใช่ตามที่เรียกร้องก็เป็นได้ แต่รัฐบาลไม่ควรอ้างอิงเศรษฐกิจโลก เพราะจำกัดความคิดของเกษตรกรมากเกินไป ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง หรือมีสิ่งอื่นใดแอบแฝง แต่เรียกร้องเพื่อชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังแก้ไขเกี่ยวกับโครงสร้างราคายางพารา ซึ่งสมัยก่อนอาจจะมีราคาขึ้นถึง 100 บาท ต่อกิโลกรัม เพราะตลาดโลกไม่ใช่แบบนี้ มันจะเหมือนกันไม่ได้ ทั้งนี้จะมีการตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ รวมถึงการทำลู่วิ่ง โดยนำยางในประเทศมาผลิต ทำไมไม่เสริมสร้างสิ่งเหล่านี้กี่รัฐบาลแล้ว
นายกฯ กล่าวว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ 6 รายในประเทศเรา ก็เรียกมาคุยแล้วหลายครั้ง เราจะช่วยซื้อยาง เพื่อให้ราคาสูงขึ้น แต่ปัญหาอยู่ที่ เมื่อซื้อแล้วจะไปขายให้ใคร ราคาเท่าไหร่ จะขายได้หรือเปล่า ต้องมองตรงนั้นด้วย เพราะฉะนั้นเราต้องมีการปรับตัว รัฐบาลต้องอดทน ผู้ประกอบการต้องลดต้นทุน ซึ่งต้นทุนของไทยสูงกว่าต่างประเทศ ผลิตยาง 1 กิโลกรัม ราคาเกือบ 45 บาท อย่างไรก็ขาดทุน แต่ต่างประเทศต้นทุนผลิต 25 บาท เขาขาย 40-50 บาท ก็ได้กำไรแล้ว
" เรื่องข้าวต้นทุนการผลิตเราอยู่ที่ 6,000-7,000 บาท ขาย 8,000 บาทได้ไหม เพราะหากขาย 15,000 บาท แล้วจะไปขายใคร เราอยากให้อยู่บนข้อเท็จจริง ส่วนราคาแก๊ส ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัม 60 บาท แต่ราคาจริงอยู่ที่ 20 บาท ซึ่งทำให้กองทุนมีปัญหาติดขัด บิดเบือนกันไม่ได้ พอขายถูก ก็เอาไปลักลอบขาย ส่วนของครัวเรือน เอาไปขายขนส่ง ไปขายต่างประเทศ ต่างชาติใช้แก๊สราคาถูกก็ของเราทั้งนั้น ดีมานด์ไม่เท่าเทียม ก็ต้องไปซื้อแก๊สจากข้างนอกเพิ่ม ปีหนึ่งต้นทุนการซื้อแก๊ส และน้ำมันอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท แล้วก็เอามาขายต่อ"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า เรื่องข้าวเรากำลังแก้ไขระบบอยู่ เรื่องส่งเสริมการลงทุน บางกองทุนก็ใช้ไม่ได้ บางกองทุนดีก็ทำต่อ บางกองทุนขาดทุนเป็นแสนล้าน ถามว่าใครรับผิดชอบ ไม่มีใครกล้าทำ เพราะทำแล้วเสียคะแนนเสียง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลจะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ของคสช. และของรัฐบาล ให้ชัดเจนและทันเวลา รัฐบาลมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เอายุทธศาสตร์มาจาก สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มี 11 ข้อ ที่เร่งรัดให้ดำเนินการภายใน 1 ปี ประกอบด้วยการลดความเหลื่อมล้ำ ลดความยากจน ราคาพืชผลทางการเกษตร สองกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การจัดระเบียบสังคม การบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ยาเสพติด การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็ง และเรื่องสังคมจิตวิทยาและการศึกษา
"ในฐานะที่ คสช. มีอำนาจในเรื่องกฎอัยการศึก เราก็จะพยายามใช้ให้น้อยที่สุด โดยใช้อำนาจในทางสร้างสรรค์เพื่อเสริมงานของครม. และวันนี้ได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการความโปร่งใสและกระบวนการยุติธรรม และ คณะกรรมการติดตามการขับเคลื่อนโดยคสช. ซึ่ง และจะเสนอเข้าสู่ครม.เพื่อพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกันต่อไป" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**ตั้งคกก.ประมงแห่งชาติ นายกฯนั่งปธ.
ส่วนปัญหาเรื่องเรือประมง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังจะขึ้นทะเบียนเรือประมงทุกลำ มีการติด จีพีเอส รวมถึงหากออกเรือไปจับปลา ต้องแจ้งขออนุญาตก่อนที่ผ่านมาขึ้นทะเบียนไม่ได้ เพราะทุกคนมีผลประโยชน์
นายกฯ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องบูรณาการ เพราะกระทรวงเกษตรฯ กำกับดูแลกรมประมง รวมถึงกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และท้องถิ่นต้องไปดู คสช.ต้องไปช่วย และจะต้องออกกฎหมายเพิ่ม ซึ่งเรื่องนี้เริ่มไปนานแล้ว
เมื่อถามถึงกรณีการค้ามนุษย์บนเรือประมง นายกฯ กล่าวว่า ทำด้วย ทำไปตั้งนานแล้ว ส่วนเรื่องแรงงานไทยที่ยังติดอยู่ที่ต่างประเทศ กระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ ช่วยเหลืออยู่ ช่วยมาครั้งแรก 6 คน ครั้งที่สอง 10 คน และครั้งสุดท้าย 15 คน สำหรับคนที่เหลือ ก็ทยอยช่วยอยู่
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุม ครม.ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้ องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ประธานสมาคมสหพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย นายกสมาคมกุ้งไทย นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย และ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย โดยมีอธิบดีกรมประมง เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมประมง ผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมประมง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ อำนาจหน้าที่ ประกอบด้วย 1. กำหนดนโยบายการพัฒนาการประมงทั้งในน่านน้ำ นอกน่านน้ำและน่านน้ำสากล ตลอดจนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณของทรัพยากรสัตว์น้ำ และขีดความสามารถในการทำประมง
2. กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบอาชีพการประมงและประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3. ติดตามกำกับและดูแลการดำเนินการตามแผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย (พ.ศ. 2552-2561) แผนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการประมง และการแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการโดยรายงานผลที่ปฏิบัติต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ
4. กำกับ ดูแล เร่งรัดและติดตามการดำเนินการจัดทำแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (NPOA-IUU) โดยกำหนดภารกิจและมอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมายและ6. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
**ทหารเชิญแกนนำม็อบยางถกในค่าย
พล.ต.เกื้อกูล อินนาจักร ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี ทำหนังสือเชิญตัวนายไพโรจน์ ฤกษ์ดี นายพินิตย์ ช่วยจิตร นายเสกสันต์ ช่วยศรี นายทวีป ศรีโชติ และนางจุฑาภรณ์ ช่วยจิตร แกนนำการชุมนุมที่ใช้ชื่อว่าแนวร่วมเกษตรกรยางพาราบ้านส้องและพันธมิตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้ารายงานตัวที่ค่ายวิภาวดีรังสิต มี พ.อ.ทวี เกิดสมบูรณ์ รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี ทำบันทึกความเข้าใจ พร้อมชี้แจงความคืบหน้าในการพยายามแก้ปัญหา และยืนยันจะไม่ดำเนินการใดๆ ทุกคนสามารถเดินทางกลับได้อย่างปลอดภัย
โดยการทำหนังสือบันทึกความเข้าใจ เพื่อส่งไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อความสรุปว่า สาเหตุที่ชุมนุมประท้วง เนื่องจากเห็นว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาลไม่ตรงจุด เช่น การชดเชยไร่ละ 1,000 บาท จะได้เฉพาะชาวสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำได้เฉพาะกลุ่มสหกรณ์ และผู้ประกอบการ ทำให้เงินกระจุกอยู่กับกลุ่มทุน ไม่กระจายถึงชาวสวนยาง และลูกจ้างยางพาราทั้งระบบ
ซึ่งการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด คือ ดึงราคาไม่ให้ตกต่ำ โดยอยู่ในระดับที่เกษตรกรพึงพอใจและเลี้ยงชีวิตได้ ซึ่งอาจไม่ใช่ตามที่เรียกร้องก็เป็นได้ แต่รัฐบาลไม่ควรอ้างอิงเศรษฐกิจโลก เพราะจำกัดความคิดของเกษตรกรมากเกินไป ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง หรือมีสิ่งอื่นใดแอบแฝง แต่เรียกร้องเพื่อชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง