พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงผลการประชุม ครม. ว่าได้มีการอนุมัติข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม ที่เสนอให้พิจารณากฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการกำหนดเครื่องหมาย และวิธีการแสดงเครื่องหมายบ่งชี้ข้อมูลสำหรับรถที่จดทะเบียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการป้องกัน และแก้ปัญหาการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ โดยรถที่อยู่ในข้อกำหนดของกฏกระทรวงดังกล่าวนี้ คือ รถที่จดทะเบียนใน จ. สงขลา , จ.สตูล, จ.ยะลา,จ.นราธิวาส และ จ.ปัตตานี โดยกฎกระทรวงฉบับนี้จะมีการบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.รถยนต์ ปี 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.รถยนต์ ฉบับที่ 10 ปี 2542 สำหรับข้อกำหนดนั้น จะกำหนดให้รถยนต์มีเครื่องหมายบ่งชี้ว่า เวลาผ่านเครื่องมือตรวจของเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจสอบจากเครื่องหมายได้ว่า เป็นรถที่จดทะเบียนที่ไหน จดอย่างไร
ทั้งนี้ การนำกฎกระทรวงดังกล่าวนี้ออกมาบังคับใช้ อย่างน้อยก็สามารถทำให้ควบคุมรถที่ผ่านในพื้นที่นั้นได้ โดยจะรู้ว่าเป็นรถที่จดทะเบียนใน 4 จังหวัดหรือไม่, เป็นรถที่ถูกขโมยมาหรือไม่ หรือเคยไปทำภารกิจอะไรมาก่อน ซึ่งนี่ก็ถือเป็นมาตรการที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ป้องกันเหตุร้าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับ กรณีที่ทางกระทรวงยุติธรรม ได้เสนอให้ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 2 ฉบับ ฉบับแรกเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดประเภทสถานประกอบการ ที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ฃอีกฉบับหนึ่งเป็นร่างประกาศสำนักนายกฯ ที่เกี่ยวกับเรื่องมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมานั้นได้ตรวจพบว่า มีการลักลอบขนยาเสพติดจากชายแดน โดยแนวทางหนึ่งที่ผู้ลักลอบใช้คือซุกซ่อนยาเสพติดมาในบรรจุภัณฑ์ สินค้า ผ่านระบบขนส่งต่างๆ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบดู ก็พบว่าบริษัทขนส่งรายใหญ่หลายรายไม่ได้ทำรายละเอียด อาทิเช่น รายชื่อ , ทะเบียน รายละเอียดจัดส่งพัสดุ หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดส่งเอาไว้ ดังนั้นเมื่อมีการจับกุมยาเสพติด จึงไม่สามารถสืบขยายผลไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งยาเสพติดได้
ดังนั้นจึงได้มีการออกร่างประกาศทั้ง 2 นี้ขึ้นมา โดยต่อจากนี้ทางบริษัทขนส่ง จะต้องมีการจัดทำรายละเอียด ชื่อ,บัตรประจำตัวประชาชน,หนังสือเดินทาง ของผู้ที่จัดส่งผู้ฝาก เท่าที่เป็นประโยชน์ และต้องเก็บรายละเอียดดังกล่าวนี้ไว้อย่างน้อย 180 วัน นับตั้งแต่วันที่จัดทำบันทึก
ทั้งนี้ การนำกฎกระทรวงดังกล่าวนี้ออกมาบังคับใช้ อย่างน้อยก็สามารถทำให้ควบคุมรถที่ผ่านในพื้นที่นั้นได้ โดยจะรู้ว่าเป็นรถที่จดทะเบียนใน 4 จังหวัดหรือไม่, เป็นรถที่ถูกขโมยมาหรือไม่ หรือเคยไปทำภารกิจอะไรมาก่อน ซึ่งนี่ก็ถือเป็นมาตรการที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ป้องกันเหตุร้าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับ กรณีที่ทางกระทรวงยุติธรรม ได้เสนอให้ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 2 ฉบับ ฉบับแรกเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดประเภทสถานประกอบการ ที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ฃอีกฉบับหนึ่งเป็นร่างประกาศสำนักนายกฯ ที่เกี่ยวกับเรื่องมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมานั้นได้ตรวจพบว่า มีการลักลอบขนยาเสพติดจากชายแดน โดยแนวทางหนึ่งที่ผู้ลักลอบใช้คือซุกซ่อนยาเสพติดมาในบรรจุภัณฑ์ สินค้า ผ่านระบบขนส่งต่างๆ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบดู ก็พบว่าบริษัทขนส่งรายใหญ่หลายรายไม่ได้ทำรายละเอียด อาทิเช่น รายชื่อ , ทะเบียน รายละเอียดจัดส่งพัสดุ หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดส่งเอาไว้ ดังนั้นเมื่อมีการจับกุมยาเสพติด จึงไม่สามารถสืบขยายผลไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งยาเสพติดได้
ดังนั้นจึงได้มีการออกร่างประกาศทั้ง 2 นี้ขึ้นมา โดยต่อจากนี้ทางบริษัทขนส่ง จะต้องมีการจัดทำรายละเอียด ชื่อ,บัตรประจำตัวประชาชน,หนังสือเดินทาง ของผู้ที่จัดส่งผู้ฝาก เท่าที่เป็นประโยชน์ และต้องเก็บรายละเอียดดังกล่าวนี้ไว้อย่างน้อย 180 วัน นับตั้งแต่วันที่จัดทำบันทึก