1. กล่าวนำ
มีผู้อ่านท่านหนึ่งที่อ่านบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (4.2) ได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นมาของนามสกุล นาทะสิริ ของผู้เขียน อย่างไรก็ดีเพื่อไม่ให้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เขียน หรือเป็นเรื่องส่วนตัวจนเกินไป ผู้เขียนก็จะขอถือโอกาสกล่าวถึงความเป็นมาของนามสกุลและนามสกุลพระราชทานในประเทศไทย รวมทั้งปัญหาการล่วงละเมิดการใช้นามสกุล (ชื่อสกุล) ที่ได้เกิดขึ้น และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดการใช้นามสกุล โดยมุ่งหวังที่จะให้ผู้อ่านทุกท่านได้รู้สึกหวงแหน และช่วยกันทำนุบำรุงนามสกุลและตระกูลที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษของเราทุกคนให้เป็นนามสกุลที่ลูกหลานจากการสืบสายโลหิตจะต้องภูมิใจที่ได้สืบทอดและรับช่วงทำหน้าที่รักษาเกียรติภูมิของนามสกุลและตระกูลต่อไป โดยจะต้องถือเป็นหน้าที่ของทุกคนในตระกูลที่จะต้องช่วยกันปกป้องและต่อสู้ไม่ให้บุคคลอื่นได้ล่วงละเมิดนำชื่อนามสกุลของตระกูลไปใช้อย่างเด็ดขาด
ในเรื่องนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า นามสกุลไม่เพียงเป็นเครื่องชี้ที่บ่งบอกถึงที่มาของตระกูลใดตระกูลหนึ่งเท่านั้น แต่ยังได้บ่งบอกถึงความเป็นไปในอดีตของบรรพบุรุษให้สมาชิกในตระกูลที่สืบสายโลหิตในรุ่นต่อมาได้เรียนรู้เป็นบทเรียนชีวิต เพื่อจะได้อยู่ในความไม่ประมาท กระทำแต่สิ่งที่ดีที่ถูกต้อง และไม่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งย่อมจะส่งผลดีต่อสังคมส่วนร่วม และประเทศชาติของเราในที่สุด
2. ความเป็นมาของการใช้นามสกุลของคนไทยโดยสรุป
นามสกุล คือ ชื่อของแต่ละตระกูลที่ใช้นามสกุลนั้นๆ นามสกุลจะบอกถึงที่มาของบุคคลนั้นว่าเป็นสมาชิกของครอบครัวไหน มาจากตระกูลใด ต้นตระกูลคือใคร และบิดามารดาเป็นใคร เป็นต้น
ในอดีตคนไทยจะใช้เพียงชื่อเรียกในการระบุตัวบุคคลเท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดให้มีการจดทะเบียนคนเกิดคนตายและการสมรส ซึ่งเรียกว่า “งานทะเบียนราษฎร์” แต่ได้ปรากฏว่า มีบางคนชื่อซํ้ากัน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่คนคนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุล เพื่อใช้ในการสอบสวนตำหนิรูปพรรณสัณฐานบุคคลและเทือกเถาเหล่ากอตั้งแต่บิดามารดาให้ถูกต้องและแม่นยำ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ซึ่งออกประกาศใน วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 โดยให้เสนาบดีผู้เป็นเจ้ากระทรวงบังคับการในท้องที่อำเภอทั้งในกรุงและหัวเมืองมีหน้าที่คิดชื่อสกุล และหัวหน้าครอบครัวทุกครัวเรือนก็ต้องเลือกนามสกุลใดนามสกุลหนึ่ง และให้จดทะเบียนชื่อสกุลนั้นไว้ที่ว่าการอำเภอท้องที่2 และได้ทรงพระราชทานชื่อนามสกุลหรือเรียกว่า “นามสกุลพระราชทาน” ให้แก่บุคคลต่างๆได้แก่ พระราชวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน เป็นจำนวน 6,432 นามสกุล เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ประชาชนโดยทั่วไปได้ปฏิบัติตาม
3. การเริ่มต้นใช้นามสกุลอย่างเป็นทางการในประเทศไทย
การเริ่มต้นใช้นามสกุลอย่างเป็นทางการ เริ่มขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำริ ในพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 24563 ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“ ...วิธีจดทะเบียนอันนี้ย่อมอาศัยสอบสวนตำหนิรูปพรรณสัณฐานบุคคลและเทือกเถาเหล่ากอสืบมาแต่บิดามารดาใด.......ทรงพระราชดำริว่า ทุกๆ คนจำต้องมีทั้งชื่อตัวและชื่อเชื้อสกุล และวิธีขนานนามสกุลนั้น ควรให้ใช้แพร่หลายทั่วถึงประชาชนพลเมืองตลอดทั้งพระราชอาณาจักร”
และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 โดยมาตรา 5 ได้ให้ความหมายของชื่อสกุล และ
มาตรา 12 จะระบุหลักเกณฑ์การตั้งชื่อนามสกุล ดังมีข้อความต่อไปนี้
“มาตรา 3 ชื่อคนไทยทุกคน ต้องประกอบด้วยชื่อตัวและชื่อสกุล
มาตรา 5 ชื่อสกุล เป็นชื่อประจำวงศ์สกุลซึ่งสืบเนื่องมาแต่บิดาถึงบุตร
มาตรา 12 ถ้าครอบครัวใดยังไม่มีนามสกุลใช้ ให้หัวหน้าครอบครัวนั้นเลือกหาชื่อใดชื่อหนึ่งตามสมควร เว้นไว้แต่ชื่อนั้น
(1) อย่าให้พ้องกับพระนามพระราชวงศานุวงศ์ ผู้ทรงอิสริยยศฐานันดร ตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไป
(2) อย่าให้เป็นชื่อที่มุ่งหมายคล้ายคลึงกับราชทินนาม อันเป็นตำแหน่งยศบรรดาศักดิ์
(3) อย่าให้เป็นชื่อมีอรรถหยาบคายไม่สมควร
(4) อย่าให้เป็นชื่อซึ่งจะต้องเขียนเกินกว่า 10 อักษร
(5) อย่าให้เป็นชื่อซ้ำเหมือนกับชื่อสกุล ซึ่งได้ใช้อยู่แล้วขณะวันประกาศใช้บัญญัตินี้ หรือซ้ำกับชื่อซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วในแขวงอำเภอท้องที่เดียวกันหรือในแขวงอำเภอท้องที่ติดต่อกัน”
นอกจากนี้ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเรื่อง ใช้นามสกุล เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2456 โดยมีแผนสังเขปแสดงผู้ร่วมสกุลกันและใช้นามสกุลร่วมกันได้(แสดงในภาพที่ 1)
พร้อมคำอธิบายชี้แจงการใช้นามสกุล (แสดงในรูปภาพที่ 1 และ 2)4 ซึ่งมีข้อความสำคัญระบุไว้ดังนี้
“2. ข้อสำคัญ อันจะต้องกำหนดไว้ คือ นามสกุลที่จะใช้ร่วมกันได้แต่ผู้สืบสายโลหิตทางผู้ชาย เป็นต้นว่า น้องสาวเมื่อก่อนมีสามี คงใช้นามสกุลเดียวกับเรา แต่ถ้าได้สามีแล้วต้องใช้นามสกุลตามสามี และบุตรแห่งน้องสาวนั้น ก็ต้องใช้นามสกุลทางฝ่ายบิดาของเขา จะใช้นามสกุลทางมารดาไม่ได้ นอกจากได้รับพระบรมราชานุญาต”
4. พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสรุป
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 และประกาศเรื่องใช้นามสกุล ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2456 โดยมีแผนสังเขปฯ พร้อมคำอธิบายในภาพที่ 1 และภาพที่ 2 ได้ชี้ให้เห็นถึงพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ได้สรุปไว้ในหนังสือ นามสกุลพระราชทานในกรุงสยาม5 ดังมีข้อความหนึ่งที่ระบุไว้ว่า
“อนุสนธิที่ทรงมีพระราชดำริให้คนไทยใช้ชื่อสกุลก็เนื่องมาแต่ทรงคำนึงถึงกาลข้างหน้า และมีพระราชประสงค์เพื่อให้
(1) นามสกุล เป็นหลักของการสืบเชื้อสายต่อเนื่องกันทางบิดาผู้ให้กำเนิด เป็นศักดิ์ศรีและแสดงสายสัมพันธ์ในทางร่วมสายโลหิตของบุคคล
(2) นามสกุล ก่อให้เกิดความเป็นหมู่เป็นคณะ ส่งเสริมความรักความสามัคคีระหว่างเครือญาติ ตั้งแต่คนชั้นสูงตลอดชั้นต่ำทั่วไป
(3) นามสกุล เปรียบเสมือนคุณลักษณะของบุคคลแต่ละเผ่าพันธุ์ ส่วนมากมักสร้างแรงจูงใจผู้เป็นเจ้าของนามสกุลตลอดเครือญาติในสกุลให้สำนึกในความดีชั่ว ให้เกิดความนิยมในอันที่จะดำเนินชีวิต เจริญรอยตามวิชาชีพ และความมีชื่อเสียงอันเป็นที่มาแห่งมงคลนามของบรรพบุรุษผู้ต้นตระกูลนามสกุลนั้น...................................”
5. การประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งแรก
การประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งแรก6 มีขึ้นในวันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 มีผู้ได้รับพระราชทานเป็นจำนวน 102 คน โดยมีรายนาม 10 อันดับแรก ดังนี้
(1) เจ้าพระยายมราช (ปั้น) เสนาบดีกระทรวงนครบาล พระราชทานนามสกุลว่า “สุขุม”
(2) พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ และพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ม.ร.ว.ปุ้ม) เสนาบดีกระทรวงวัง พระราชทานนามสกุลว่า “มาลากุล”
(3) พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ) จางวางมหาดเล็ก ห้องพระบรรทม พระราชทานนามสกุลว่า “พึ่งบุญ”
(4) พระยาเทพทวาราวดี (สาย) อธิบดีกรมมหาดเล็ก พระราชทานนามสกุลว่า “ณมหาไชย”
(5) พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ) อธิบดีกรมชาวที่ และพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ) กรรมการศาลฎีกา พระราชทานนามสกุลว่า “ไกรฤกษ์”
(6) เจ้าพระยาสุรสีห์ วิสิษฐศักดิ์ (เชย) สมุหเทศาภิบาล มณฑลพายัพ พระราชทานนามสกุลว่า “กัลยาณมิตร”
(7) พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน) ปลัดบัญชาการ กรมมหาดเล็ก พระราชทานนามสกุลว่า “สิงห์เสนี”
(8) พระยาอัศวบดีศรีสุรพาหน (เทียบ) อธิบดีกรมพระอัศวราช พระราชทานนามสกุลว่า “อัศวรักษ์”
(9) นายจ่าเรศ (ช่วง) มหาดเล็ก ห้องพระบรรธม พระราชทานนามสกุลว่า “ พัลลภ”
(10) เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เล็ก) กรมมหาดเล็ก พระราชทานนามสกุลว่า “โกมารภัจ”
สำหรับในตอนท้ายของประกาศนี้ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จดทะเบียนนามสกุลตามพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ไว้โดยสรุปว่า นามสกุลที่ได้กล่าวมาข้างต้น และที่จะได้ออกประกาศมาภายหลังเป็นคราวๆ นั้น เป็นนามที่พระราชทานสำหรับสกุลแห่งบุคคลที่ได้รับพระราชทานโดยเฉพาะ ดังนั้น ผู้ที่จะใช้นามสกุลนั้นๆ ได้ ต้องเป็นบุคคลในสกุลนั้นจริงๆ ถ้ามีบุคคลผู้อื่นเลือกนามสกุลของตน มาขอจดทะเบียนพ้องกับนามสกุลที่พระราชทานไว้แล้ว ห้ามมิให้เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนให้ นอกจากจะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ (ผู้เขียนได้ปรับเปลี่ยนตัวสะกดและเรียบเรียงข้อความให้เป็นสำนวนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน)
6. การวิเคราะห์โครงสร้างนามสกุลพระราชทาน
ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า นามสกุลพระราชทานส่วนใหญ่ชื่อนามสกุลมักจะมีที่มาหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นมาหรือชื่อของบรรพบุรุษของบุคคลที่ได้รับพระราชทานนามสกุลนั้นๆ ซึ่ง คุณราตรี โพธิ์เต็ง ผู้เขียนบทความเรื่อง วิเคราะห์โครงสร้างนามสกุลพระราชทาน7 ได้กล่าวสรุปถึงโครงสร้างนามสกุลพระราชทานว่ามี 7 วิธี (หรือ 7 โครงสร้าง) คือ
“(1) โครงสร้างนามสกุล จากการนำคำบาลีสันสกฤตที่มีความหมายตรงหรือใกล้เคียงกับชื่อบรรพบุรุษ ซึ่งอาจจะเป็นคนเดียวหรืองสองคน โดยมากจะให้ความสำคัญกับฝ่ายชาย เช่น กนกมณี มาจากปู่ชื่อทอง บิดาชื่อมณี (กนก=ทอง) ...............
(2) โครงสร้างนามสกุล จากการแปลงรูปคำของชื่อของบรรพบุรุษให้มีรูปหรือเสียงคล้ายกับคำบาลีสันสกฤต เช่น กงกะนันทน์ มาจาก ปู่ชื่อก๋ง (ก๋ง เสียงคล้าย กง)
กะราลัย “ ทวดชื่อกร ปู่ชื่อไล้ (ไล้ เสียงคล้าย ลัย) ............................................
(3) โครงสร้างนามสกุลจากการนำชื่อบรรพบุรุษรวมกับคำบาลีสันสกฤตที่มีความหมายตรงกับลักษณะงานที่ทำหรืออาชีพ เช่น กรวาทิน มาจาก มหาดเล็กวิเศษ (กร) กรมมหรสพ(วาทิน = คนเล่นดนตรี) …….........................................
(4) โครงสร้างนามสกุลจากการนำคำบาลีสันสกฤตที่มีความหมายกับชื่อบรรพบุรุษและลักษณะงานที่ทำหรืออาชีพ เช่น กมลวาทิน มาจาก ขุนสรรเพลงสรวง (บัว) กรมมหรสพ (กมล=ดอกบัว, วาทิน = คนเล่นดนตรี).........................................
(5) โครงสร้างนามสกุลจากการตัดส่วนของราชทินนามมาเป็นนามสกุล เช่น กมลาศน์ ณ กรุงเทพ มาจาก พระองค์เจ้ากมลาศน์เลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์ สโมสร..........................................................................................................
(6) โครงสร้างนามสกุลที่ตั้งตามภูมิลำเนาเดิม เลาหะคามิน มาจาก ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านเลา แขวงเมืองราชบุรี(คาม, คามิน หมู่บ้าน).......................................................................................................
(7) โครงสร้างนามสกุลที่ตั้งตามฉายาตอนบวช เช่น โหตรจิตร มาจาก ฉายาตอนบวชของขุนสาธกธนการว่า จิตต์สาโร วรรณโกวิท “ฉายาตอนบวชของพระยานรราชจำนงว่า โกวิโท” (* จาก http://www.rtc.ac.th/www_km/03/032/019_2-2554.pdf) และคุณราตรี โพธิ์เต็ง ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า “นามสกุลพระราชทานแสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกหลานได้เห็นร่องรอยของบรรพบุรุษและความเป็นมาของนามสกุลของตนเอง.....”
นอกจากพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังกล่าวแล้ว ถ้าเราพิจารณาให้ดีก็จะพบว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างความเป็นปึกแผ่นของตระกูลที่มีการสืบทอดกันตามสายโลหิต โดยมีนามสกุลเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในตระกูล เพราะถ้าตระกูลของคนไทยมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นหรือสามัคคีกันมากขึ้นเพียงใด ก็ย่อมส่งผลทำให้คนในชาติส่วนใหญ่มีความสามัคคีมากขึ้นเพียงนั้น ซึ่งย่อมจะส่งผลทำให้ชาติไทยของเรามีความมั่นคงยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
7. บทสรุป
โดยสรุปก็คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้คนไทยได้ใช้นามสกุลอย่างเป็นทางการ โดยได้ทรงพระราชทานนามสกุลให้แก่บุคคลต่างๆมากกว่า 6,000 นามสกุล และมีพระราชประสงค์ให้ผู้ที่จะใช้นามสกุลพระราชทานนั้น ต้องเป็นบุคคลในสกุลนั้นจริงๆ ซึ่งหมายถึง บุคคลนั้นต้องเป็นทายาทผู้สืบสายโลหิตจากผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุลในแต่ละนามสกุลนั่นเอง บุคคลอื่นจะนำนามสกุลพระราชทานไปใช้เป็นนามสกุลของตนเองไม่ได้ ยกเว้นจะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ
การที่รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ให้ผู้ที่ใช้นามสกุลพระราชทานนั้นต้องเป็นทายาทผู้สืบสายโลหิตจากผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุลเท่านั้น ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญ ดังนี้
(1) การสืบสายการใช้นามสกุลโดยการสืบสายโลหิตจากผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล หรือจากผู้ที่เป็นต้นตระกูลก็ดี หรือจากผู้ที่ตั้งนามสกุลขึ้นมาเองก็ดี จะช่วยทำให้การตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ (เช่น ความสูง น้ำหนัก กลุ่มเลือด โรคประจำตระกูล พฤติกรรมต่างๆ บุคลิกลักษณะพิเศษของตระกูล รวมไปถึงการศึกษา และการประกอบอาชีพ) จากเทือกเถาเหล่ากอ ย้อนจากรุ่นบิดามารดา จนถึงบรรพบุรุษที่สูงขึ้นไป จะมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการสืบสายโลหิตจะบ่งบอกถึงคุณลักษณะของคนในแต่ละเผ่าพันธุ์อย่างชัดเจน และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปทำการศึกษาวิจัยเพื่อดูวิวัฒนาการของกลุ่มประชากรในด้านต่างๆ รวมทั้งจะทำให้สามารถสืบหาสาเหตุของโรคประจำตระกูลได้อย่างไม่ผิดพลาด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยและรักษาโรคที่สมาชิกของตระกูลมักจะเป็นกันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(2) การศึกษาวิจัยการสืบสายโลหิตของนามสกุลต่างๆ ในระหว่างรุ่นต่อรุ่น จะทำให้ได้ข้อมูลที่ทำให้เราได้ทราบว่า สมาชิกของตระกูลในแต่ละรุ่นมีวิวัฒนาการหรือมีการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ การดำรงชีวิต และรวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นบทเรียนให้สมาชิกของตระกูลรุ่นหลังๆ ได้ศึกษาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาที่จะต้องประสบในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสมและไม่ผิดพลาดเช่นในอดีตที่ผ่านมา
(3) การใช้นามสกุลโดยการสืบสายโลหิตไม่เพียงทำให้สมาชิกในตระกูลมีความผูกพันในความเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกันซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสามัคคีของคนในชาติเท่านั้น แต่ยังทำให้สมาชิกของตระกูลในรุ่นหลังๆ มีความหวงแหนและภาคภูมิใจในความเป็นมาของนามสกุล ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกมุ่งมั่นที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ และดำรงรักษาคุณงามความดีที่ต้นตระกูลได้ทำไว้เป็นตัวอย่างให้คนรุ่นหลังได้ยึดถือและนำไปปฏิบัติ และเมื่อสมาชิกของตระกูลส่วนใหญ่ต่างยึดมั่นกระทำในสิ่งที่ดีที่ถูกต้องก็ย่อมจะส่งผลให้สังคมมีความเป็นระเบียบและสงบสันติสุขในที่สุด
(4) นอกจากนี้ ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า นามสกุลพระราชทานส่วนใหญ่ชื่อนามสกุลมักจะมีที่มาหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นมาหรือชื่อบรรพบุรุษของบุคคลที่ได้รับพระราชทานนามสกุลนั้นๆ ซึ่งจะทำให้ผู้สืบสายโลหิตสามารถสืบค้นความเป็นมาของบรรพบุรุษของตนได้ง่ายขึ้น ในเรื่องนี้ คุณราตรี โพธิ์เต็ง ผู้เขียนบทความเรื่อง วิเคราะห์โครงสร้างนามสกุลพระราชทาน ได้อธิบายถึงรายละเอียดของโครงสร้างนามสกุลพระราชทาน โดยผู้เขียนได้นำมาอ้างไว้ในข้อ 6 ของบทความนี้แล้ว
ท้ายบทความ
ในเรื่องการใช้นามสกุล (หรือชื่อสกุล) เหมือนหรือลอกเลียนแบบหรือซ้ำกับนามสกุล (ชื่อสกุล) ที่ได้รับพระราชทานมาในอดีต หรือนามสกุล (ชื่อสกุล) ของตระกูลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ต้องถือว่า เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องทั้งทางด้านกฎหมายและทางด้านจริยธรรม ซึ่งมีหลายท่านเสนอว่า คนไทยทุกคนที่เป็นผู้สืบสายโลหิตที่ถูกต้องจากบรรพบุรุษที่ได้รับพระราชทานนามสกุลหรือบรรพบุรุษที่เป็นผู้จดทะเบียนตั้งนามสกุลของตนขึ้น ไม่ควรนิ่งเฉยต่อการกระทำผิดกฎหมายนี้อีกต่อไป และควรร่วมมือกันดำเนินการในทุกวิถีทางกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายที่ได้แอบอ้างหรือกระทำการล่วงละเมิดใช้นามสกุลของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตอย่างถูกต้อง
สำหรับผู้ที่กระทำการล่วงละเมิดนำนามสกุลพระราชทานของบุคคลอื่นไปใช้ไม่เพียงได้กระทำผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังกระทำการฝ่าฝืนพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงพระราชทานนามสกุลให้เป็นการเฉพาะแก่บุคคลและผู้ที่สืบสายโลหิตของบุคคลผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลอีกด้วย และมีบางท่านให้ความเห็นว่า สมควรดำเนินการเอาผิดต่อผู้ที่การกระทำเช่นนี้จนถึงที่สุด เพราะได้กระทำการล่วงละเมิดพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยไม่เกรงกลัวต่อความผิดใดๆ ทั้งสิ้น (อาจมีเจ้าหน้าที่ให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือ จึงกล้าที่จะกระทำการล่วงละเมิดดังกล่าว - ผู้เขียน)
ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเรียนเชิญท่านที่อยู่ในตระกูลที่ได้รับพระราชทานนามสกุล และท่านที่อยู่ในตระกูลที่บรรพบุรุษของท่านเป็นผู้ขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งนามสกุลขึ้น ได้กรุณาแสดงความคิดเห็นต่อการจัดตั้งชมรมนามสกุลไทย เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับนามสกุลในประเทศไทย และเป็นตัวแทนในการดำเนินการต่างๆ เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นใดหรือคนต่างด้าวล่วงละเมิดนำนามสกุล (ชื่อสกุล) ที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วและรวมทั้งนามสกุลพระราชทานไปใช้เป็นนามสกุล (ชื่อสกุล) ของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตอย่างถูกต้อง ซึ่งท่านที่สนใจสามารถแจ้งความจำนงและความคิดเห็นได้ที่ E-mail ของผู้เขียน ขอบคุณครับ
อ้างอิง
1ข้อความส่วนใหญ่มาจากหนังสือเรื่อง นาทะสิริ นามสกุลพระราชทานลำดับที่ 6414 และปัญหาการล่วงละเมิดการใช้นามสกุล (เขียนโดย ผู้เขียนและคุณสุโขทัย นาทะสิริ), พิมพ์ครั้ง ที่ 1, วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557.
(สำหรับหนังสือเรื่อง นาทะสิริ นามสกุลพระราชทานลำดับที่ 6414 และปัญหาการล่วงละเมิดการใช้นามสกุล เป็นการวางเค้าโครงสำหรับการค้นคว้าวิจัยความเป็นมาของนามสกุลพระราชทานและปัญหาการละเมิดการใช้นามสกุลอย่างละเอียดเพื่อจัดทำเป็นเอกสารที่สมบูรณ์และเป็นตัวอย่างให้ตระกูลอื่นได้นำไปจัดทำเอกสารเกี่ยวกับความเป็นมาของแต่ละตระกูลต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันมิให้บุคคลอื่นหรือคนต่างด้าวล่วงละเมิดนำชื่อนามสกุลไปใช้โดยพลการ)
2สรุปจากบทความเรื่อง วิเคราะห์โครงสร้างนามสกุลพระราชทาน ที่เขียนโดยคุณราตรี โพธิ์เต็ง (ดู http://www.rtc.ac.th/www_km/03/032/019_2-2554.pdf)
3พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 มาตรา 3, มาตรา 5 และมาตรา12
4ภาพที่ 1 และภาพที่ 2 มาจากประกาศเรื่องให้ใช้นามสกุล ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2456 ลงนามโดย พระยาราชสาสนโสภณ ในหนังสือ นามสกุลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึง 25 ซึ่งได้ประกาศแล้วในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และพิมพ์โดยโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ (ไม่ได้ระบุปีที่พิมพ์)
5นามสกุลพระราชทานในกรุงสยาม เขียนโดย จมื่นอมรดรุณารักษ์(แจ่ม สุนทรเวช), พิมพ์ครั้งที่สอง, พ.ศ. 2524 หน้า 5 - 6 และหน้า 10 - 13
6ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งแรก ในหนังสือ นามสกุลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึง 25 ซึ่งได้ประกาศแล้วในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และพิมพ์โดยโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ(ไม่ได้ระบุปีที่พิมพ์)
7ดูอ้างอิง (2)
ถ้าท่านผู้ใดมีข้อมูลหรือรายละเอียดใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดการใช้นามสกุลของบุคคลอื่น กรุณาส่งที่
38 ซอยสามเสน 26 (ร่วมจิตต์) ถนนสามเสน เขตดุสิต กทม. 10300
Email Address: udomdee@gmail.com
มีผู้อ่านท่านหนึ่งที่อ่านบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (4.2) ได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นมาของนามสกุล นาทะสิริ ของผู้เขียน อย่างไรก็ดีเพื่อไม่ให้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เขียน หรือเป็นเรื่องส่วนตัวจนเกินไป ผู้เขียนก็จะขอถือโอกาสกล่าวถึงความเป็นมาของนามสกุลและนามสกุลพระราชทานในประเทศไทย รวมทั้งปัญหาการล่วงละเมิดการใช้นามสกุล (ชื่อสกุล) ที่ได้เกิดขึ้น และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดการใช้นามสกุล โดยมุ่งหวังที่จะให้ผู้อ่านทุกท่านได้รู้สึกหวงแหน และช่วยกันทำนุบำรุงนามสกุลและตระกูลที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษของเราทุกคนให้เป็นนามสกุลที่ลูกหลานจากการสืบสายโลหิตจะต้องภูมิใจที่ได้สืบทอดและรับช่วงทำหน้าที่รักษาเกียรติภูมิของนามสกุลและตระกูลต่อไป โดยจะต้องถือเป็นหน้าที่ของทุกคนในตระกูลที่จะต้องช่วยกันปกป้องและต่อสู้ไม่ให้บุคคลอื่นได้ล่วงละเมิดนำชื่อนามสกุลของตระกูลไปใช้อย่างเด็ดขาด
ในเรื่องนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า นามสกุลไม่เพียงเป็นเครื่องชี้ที่บ่งบอกถึงที่มาของตระกูลใดตระกูลหนึ่งเท่านั้น แต่ยังได้บ่งบอกถึงความเป็นไปในอดีตของบรรพบุรุษให้สมาชิกในตระกูลที่สืบสายโลหิตในรุ่นต่อมาได้เรียนรู้เป็นบทเรียนชีวิต เพื่อจะได้อยู่ในความไม่ประมาท กระทำแต่สิ่งที่ดีที่ถูกต้อง และไม่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งย่อมจะส่งผลดีต่อสังคมส่วนร่วม และประเทศชาติของเราในที่สุด
2. ความเป็นมาของการใช้นามสกุลของคนไทยโดยสรุป
นามสกุล คือ ชื่อของแต่ละตระกูลที่ใช้นามสกุลนั้นๆ นามสกุลจะบอกถึงที่มาของบุคคลนั้นว่าเป็นสมาชิกของครอบครัวไหน มาจากตระกูลใด ต้นตระกูลคือใคร และบิดามารดาเป็นใคร เป็นต้น
ในอดีตคนไทยจะใช้เพียงชื่อเรียกในการระบุตัวบุคคลเท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดให้มีการจดทะเบียนคนเกิดคนตายและการสมรส ซึ่งเรียกว่า “งานทะเบียนราษฎร์” แต่ได้ปรากฏว่า มีบางคนชื่อซํ้ากัน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่คนคนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุล เพื่อใช้ในการสอบสวนตำหนิรูปพรรณสัณฐานบุคคลและเทือกเถาเหล่ากอตั้งแต่บิดามารดาให้ถูกต้องและแม่นยำ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ซึ่งออกประกาศใน วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 โดยให้เสนาบดีผู้เป็นเจ้ากระทรวงบังคับการในท้องที่อำเภอทั้งในกรุงและหัวเมืองมีหน้าที่คิดชื่อสกุล และหัวหน้าครอบครัวทุกครัวเรือนก็ต้องเลือกนามสกุลใดนามสกุลหนึ่ง และให้จดทะเบียนชื่อสกุลนั้นไว้ที่ว่าการอำเภอท้องที่2 และได้ทรงพระราชทานชื่อนามสกุลหรือเรียกว่า “นามสกุลพระราชทาน” ให้แก่บุคคลต่างๆได้แก่ พระราชวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน เป็นจำนวน 6,432 นามสกุล เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ประชาชนโดยทั่วไปได้ปฏิบัติตาม
3. การเริ่มต้นใช้นามสกุลอย่างเป็นทางการในประเทศไทย
การเริ่มต้นใช้นามสกุลอย่างเป็นทางการ เริ่มขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำริ ในพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 24563 ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“ ...วิธีจดทะเบียนอันนี้ย่อมอาศัยสอบสวนตำหนิรูปพรรณสัณฐานบุคคลและเทือกเถาเหล่ากอสืบมาแต่บิดามารดาใด.......ทรงพระราชดำริว่า ทุกๆ คนจำต้องมีทั้งชื่อตัวและชื่อเชื้อสกุล และวิธีขนานนามสกุลนั้น ควรให้ใช้แพร่หลายทั่วถึงประชาชนพลเมืองตลอดทั้งพระราชอาณาจักร”
และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 โดยมาตรา 5 ได้ให้ความหมายของชื่อสกุล และ
มาตรา 12 จะระบุหลักเกณฑ์การตั้งชื่อนามสกุล ดังมีข้อความต่อไปนี้
“มาตรา 3 ชื่อคนไทยทุกคน ต้องประกอบด้วยชื่อตัวและชื่อสกุล
มาตรา 5 ชื่อสกุล เป็นชื่อประจำวงศ์สกุลซึ่งสืบเนื่องมาแต่บิดาถึงบุตร
มาตรา 12 ถ้าครอบครัวใดยังไม่มีนามสกุลใช้ ให้หัวหน้าครอบครัวนั้นเลือกหาชื่อใดชื่อหนึ่งตามสมควร เว้นไว้แต่ชื่อนั้น
(1) อย่าให้พ้องกับพระนามพระราชวงศานุวงศ์ ผู้ทรงอิสริยยศฐานันดร ตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไป
(2) อย่าให้เป็นชื่อที่มุ่งหมายคล้ายคลึงกับราชทินนาม อันเป็นตำแหน่งยศบรรดาศักดิ์
(3) อย่าให้เป็นชื่อมีอรรถหยาบคายไม่สมควร
(4) อย่าให้เป็นชื่อซึ่งจะต้องเขียนเกินกว่า 10 อักษร
(5) อย่าให้เป็นชื่อซ้ำเหมือนกับชื่อสกุล ซึ่งได้ใช้อยู่แล้วขณะวันประกาศใช้บัญญัตินี้ หรือซ้ำกับชื่อซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วในแขวงอำเภอท้องที่เดียวกันหรือในแขวงอำเภอท้องที่ติดต่อกัน”
นอกจากนี้ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเรื่อง ใช้นามสกุล เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2456 โดยมีแผนสังเขปแสดงผู้ร่วมสกุลกันและใช้นามสกุลร่วมกันได้(แสดงในภาพที่ 1)
พร้อมคำอธิบายชี้แจงการใช้นามสกุล (แสดงในรูปภาพที่ 1 และ 2)4 ซึ่งมีข้อความสำคัญระบุไว้ดังนี้
“2. ข้อสำคัญ อันจะต้องกำหนดไว้ คือ นามสกุลที่จะใช้ร่วมกันได้แต่ผู้สืบสายโลหิตทางผู้ชาย เป็นต้นว่า น้องสาวเมื่อก่อนมีสามี คงใช้นามสกุลเดียวกับเรา แต่ถ้าได้สามีแล้วต้องใช้นามสกุลตามสามี และบุตรแห่งน้องสาวนั้น ก็ต้องใช้นามสกุลทางฝ่ายบิดาของเขา จะใช้นามสกุลทางมารดาไม่ได้ นอกจากได้รับพระบรมราชานุญาต”
4. พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสรุป
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 และประกาศเรื่องใช้นามสกุล ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2456 โดยมีแผนสังเขปฯ พร้อมคำอธิบายในภาพที่ 1 และภาพที่ 2 ได้ชี้ให้เห็นถึงพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ได้สรุปไว้ในหนังสือ นามสกุลพระราชทานในกรุงสยาม5 ดังมีข้อความหนึ่งที่ระบุไว้ว่า
“อนุสนธิที่ทรงมีพระราชดำริให้คนไทยใช้ชื่อสกุลก็เนื่องมาแต่ทรงคำนึงถึงกาลข้างหน้า และมีพระราชประสงค์เพื่อให้
(1) นามสกุล เป็นหลักของการสืบเชื้อสายต่อเนื่องกันทางบิดาผู้ให้กำเนิด เป็นศักดิ์ศรีและแสดงสายสัมพันธ์ในทางร่วมสายโลหิตของบุคคล
(2) นามสกุล ก่อให้เกิดความเป็นหมู่เป็นคณะ ส่งเสริมความรักความสามัคคีระหว่างเครือญาติ ตั้งแต่คนชั้นสูงตลอดชั้นต่ำทั่วไป
(3) นามสกุล เปรียบเสมือนคุณลักษณะของบุคคลแต่ละเผ่าพันธุ์ ส่วนมากมักสร้างแรงจูงใจผู้เป็นเจ้าของนามสกุลตลอดเครือญาติในสกุลให้สำนึกในความดีชั่ว ให้เกิดความนิยมในอันที่จะดำเนินชีวิต เจริญรอยตามวิชาชีพ และความมีชื่อเสียงอันเป็นที่มาแห่งมงคลนามของบรรพบุรุษผู้ต้นตระกูลนามสกุลนั้น...................................”
5. การประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งแรก
การประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งแรก6 มีขึ้นในวันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2456 มีผู้ได้รับพระราชทานเป็นจำนวน 102 คน โดยมีรายนาม 10 อันดับแรก ดังนี้
(1) เจ้าพระยายมราช (ปั้น) เสนาบดีกระทรวงนครบาล พระราชทานนามสกุลว่า “สุขุม”
(2) พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ และพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ม.ร.ว.ปุ้ม) เสนาบดีกระทรวงวัง พระราชทานนามสกุลว่า “มาลากุล”
(3) พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ) จางวางมหาดเล็ก ห้องพระบรรทม พระราชทานนามสกุลว่า “พึ่งบุญ”
(4) พระยาเทพทวาราวดี (สาย) อธิบดีกรมมหาดเล็ก พระราชทานนามสกุลว่า “ณมหาไชย”
(5) พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ) อธิบดีกรมชาวที่ และพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ) กรรมการศาลฎีกา พระราชทานนามสกุลว่า “ไกรฤกษ์”
(6) เจ้าพระยาสุรสีห์ วิสิษฐศักดิ์ (เชย) สมุหเทศาภิบาล มณฑลพายัพ พระราชทานนามสกุลว่า “กัลยาณมิตร”
(7) พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน) ปลัดบัญชาการ กรมมหาดเล็ก พระราชทานนามสกุลว่า “สิงห์เสนี”
(8) พระยาอัศวบดีศรีสุรพาหน (เทียบ) อธิบดีกรมพระอัศวราช พระราชทานนามสกุลว่า “อัศวรักษ์”
(9) นายจ่าเรศ (ช่วง) มหาดเล็ก ห้องพระบรรธม พระราชทานนามสกุลว่า “ พัลลภ”
(10) เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เล็ก) กรมมหาดเล็ก พระราชทานนามสกุลว่า “โกมารภัจ”
สำหรับในตอนท้ายของประกาศนี้ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จดทะเบียนนามสกุลตามพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ไว้โดยสรุปว่า นามสกุลที่ได้กล่าวมาข้างต้น และที่จะได้ออกประกาศมาภายหลังเป็นคราวๆ นั้น เป็นนามที่พระราชทานสำหรับสกุลแห่งบุคคลที่ได้รับพระราชทานโดยเฉพาะ ดังนั้น ผู้ที่จะใช้นามสกุลนั้นๆ ได้ ต้องเป็นบุคคลในสกุลนั้นจริงๆ ถ้ามีบุคคลผู้อื่นเลือกนามสกุลของตน มาขอจดทะเบียนพ้องกับนามสกุลที่พระราชทานไว้แล้ว ห้ามมิให้เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนให้ นอกจากจะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ (ผู้เขียนได้ปรับเปลี่ยนตัวสะกดและเรียบเรียงข้อความให้เป็นสำนวนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน)
6. การวิเคราะห์โครงสร้างนามสกุลพระราชทาน
ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า นามสกุลพระราชทานส่วนใหญ่ชื่อนามสกุลมักจะมีที่มาหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นมาหรือชื่อของบรรพบุรุษของบุคคลที่ได้รับพระราชทานนามสกุลนั้นๆ ซึ่ง คุณราตรี โพธิ์เต็ง ผู้เขียนบทความเรื่อง วิเคราะห์โครงสร้างนามสกุลพระราชทาน7 ได้กล่าวสรุปถึงโครงสร้างนามสกุลพระราชทานว่ามี 7 วิธี (หรือ 7 โครงสร้าง) คือ
“(1) โครงสร้างนามสกุล จากการนำคำบาลีสันสกฤตที่มีความหมายตรงหรือใกล้เคียงกับชื่อบรรพบุรุษ ซึ่งอาจจะเป็นคนเดียวหรืองสองคน โดยมากจะให้ความสำคัญกับฝ่ายชาย เช่น กนกมณี มาจากปู่ชื่อทอง บิดาชื่อมณี (กนก=ทอง) ...............
(2) โครงสร้างนามสกุล จากการแปลงรูปคำของชื่อของบรรพบุรุษให้มีรูปหรือเสียงคล้ายกับคำบาลีสันสกฤต เช่น กงกะนันทน์ มาจาก ปู่ชื่อก๋ง (ก๋ง เสียงคล้าย กง)
กะราลัย “ ทวดชื่อกร ปู่ชื่อไล้ (ไล้ เสียงคล้าย ลัย) ............................................
(3) โครงสร้างนามสกุลจากการนำชื่อบรรพบุรุษรวมกับคำบาลีสันสกฤตที่มีความหมายตรงกับลักษณะงานที่ทำหรืออาชีพ เช่น กรวาทิน มาจาก มหาดเล็กวิเศษ (กร) กรมมหรสพ(วาทิน = คนเล่นดนตรี) …….........................................
(4) โครงสร้างนามสกุลจากการนำคำบาลีสันสกฤตที่มีความหมายกับชื่อบรรพบุรุษและลักษณะงานที่ทำหรืออาชีพ เช่น กมลวาทิน มาจาก ขุนสรรเพลงสรวง (บัว) กรมมหรสพ (กมล=ดอกบัว, วาทิน = คนเล่นดนตรี).........................................
(5) โครงสร้างนามสกุลจากการตัดส่วนของราชทินนามมาเป็นนามสกุล เช่น กมลาศน์ ณ กรุงเทพ มาจาก พระองค์เจ้ากมลาศน์เลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์ สโมสร..........................................................................................................
(6) โครงสร้างนามสกุลที่ตั้งตามภูมิลำเนาเดิม เลาหะคามิน มาจาก ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านเลา แขวงเมืองราชบุรี(คาม, คามิน หมู่บ้าน).......................................................................................................
(7) โครงสร้างนามสกุลที่ตั้งตามฉายาตอนบวช เช่น โหตรจิตร มาจาก ฉายาตอนบวชของขุนสาธกธนการว่า จิตต์สาโร วรรณโกวิท “ฉายาตอนบวชของพระยานรราชจำนงว่า โกวิโท” (* จาก http://www.rtc.ac.th/www_km/03/032/019_2-2554.pdf) และคุณราตรี โพธิ์เต็ง ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า “นามสกุลพระราชทานแสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกหลานได้เห็นร่องรอยของบรรพบุรุษและความเป็นมาของนามสกุลของตนเอง.....”
นอกจากพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังกล่าวแล้ว ถ้าเราพิจารณาให้ดีก็จะพบว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างความเป็นปึกแผ่นของตระกูลที่มีการสืบทอดกันตามสายโลหิต โดยมีนามสกุลเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในตระกูล เพราะถ้าตระกูลของคนไทยมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นหรือสามัคคีกันมากขึ้นเพียงใด ก็ย่อมส่งผลทำให้คนในชาติส่วนใหญ่มีความสามัคคีมากขึ้นเพียงนั้น ซึ่งย่อมจะส่งผลทำให้ชาติไทยของเรามีความมั่นคงยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
7. บทสรุป
โดยสรุปก็คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้คนไทยได้ใช้นามสกุลอย่างเป็นทางการ โดยได้ทรงพระราชทานนามสกุลให้แก่บุคคลต่างๆมากกว่า 6,000 นามสกุล และมีพระราชประสงค์ให้ผู้ที่จะใช้นามสกุลพระราชทานนั้น ต้องเป็นบุคคลในสกุลนั้นจริงๆ ซึ่งหมายถึง บุคคลนั้นต้องเป็นทายาทผู้สืบสายโลหิตจากผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุลในแต่ละนามสกุลนั่นเอง บุคคลอื่นจะนำนามสกุลพระราชทานไปใช้เป็นนามสกุลของตนเองไม่ได้ ยกเว้นจะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ
การที่รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ให้ผู้ที่ใช้นามสกุลพระราชทานนั้นต้องเป็นทายาทผู้สืบสายโลหิตจากผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุลเท่านั้น ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญ ดังนี้
(1) การสืบสายการใช้นามสกุลโดยการสืบสายโลหิตจากผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล หรือจากผู้ที่เป็นต้นตระกูลก็ดี หรือจากผู้ที่ตั้งนามสกุลขึ้นมาเองก็ดี จะช่วยทำให้การตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ (เช่น ความสูง น้ำหนัก กลุ่มเลือด โรคประจำตระกูล พฤติกรรมต่างๆ บุคลิกลักษณะพิเศษของตระกูล รวมไปถึงการศึกษา และการประกอบอาชีพ) จากเทือกเถาเหล่ากอ ย้อนจากรุ่นบิดามารดา จนถึงบรรพบุรุษที่สูงขึ้นไป จะมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการสืบสายโลหิตจะบ่งบอกถึงคุณลักษณะของคนในแต่ละเผ่าพันธุ์อย่างชัดเจน และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปทำการศึกษาวิจัยเพื่อดูวิวัฒนาการของกลุ่มประชากรในด้านต่างๆ รวมทั้งจะทำให้สามารถสืบหาสาเหตุของโรคประจำตระกูลได้อย่างไม่ผิดพลาด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยและรักษาโรคที่สมาชิกของตระกูลมักจะเป็นกันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(2) การศึกษาวิจัยการสืบสายโลหิตของนามสกุลต่างๆ ในระหว่างรุ่นต่อรุ่น จะทำให้ได้ข้อมูลที่ทำให้เราได้ทราบว่า สมาชิกของตระกูลในแต่ละรุ่นมีวิวัฒนาการหรือมีการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ การดำรงชีวิต และรวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นบทเรียนให้สมาชิกของตระกูลรุ่นหลังๆ ได้ศึกษาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาที่จะต้องประสบในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสมและไม่ผิดพลาดเช่นในอดีตที่ผ่านมา
(3) การใช้นามสกุลโดยการสืบสายโลหิตไม่เพียงทำให้สมาชิกในตระกูลมีความผูกพันในความเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกันซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสามัคคีของคนในชาติเท่านั้น แต่ยังทำให้สมาชิกของตระกูลในรุ่นหลังๆ มีความหวงแหนและภาคภูมิใจในความเป็นมาของนามสกุล ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกมุ่งมั่นที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ และดำรงรักษาคุณงามความดีที่ต้นตระกูลได้ทำไว้เป็นตัวอย่างให้คนรุ่นหลังได้ยึดถือและนำไปปฏิบัติ และเมื่อสมาชิกของตระกูลส่วนใหญ่ต่างยึดมั่นกระทำในสิ่งที่ดีที่ถูกต้องก็ย่อมจะส่งผลให้สังคมมีความเป็นระเบียบและสงบสันติสุขในที่สุด
(4) นอกจากนี้ ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า นามสกุลพระราชทานส่วนใหญ่ชื่อนามสกุลมักจะมีที่มาหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นมาหรือชื่อบรรพบุรุษของบุคคลที่ได้รับพระราชทานนามสกุลนั้นๆ ซึ่งจะทำให้ผู้สืบสายโลหิตสามารถสืบค้นความเป็นมาของบรรพบุรุษของตนได้ง่ายขึ้น ในเรื่องนี้ คุณราตรี โพธิ์เต็ง ผู้เขียนบทความเรื่อง วิเคราะห์โครงสร้างนามสกุลพระราชทาน ได้อธิบายถึงรายละเอียดของโครงสร้างนามสกุลพระราชทาน โดยผู้เขียนได้นำมาอ้างไว้ในข้อ 6 ของบทความนี้แล้ว
ท้ายบทความ
ในเรื่องการใช้นามสกุล (หรือชื่อสกุล) เหมือนหรือลอกเลียนแบบหรือซ้ำกับนามสกุล (ชื่อสกุล) ที่ได้รับพระราชทานมาในอดีต หรือนามสกุล (ชื่อสกุล) ของตระกูลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ต้องถือว่า เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องทั้งทางด้านกฎหมายและทางด้านจริยธรรม ซึ่งมีหลายท่านเสนอว่า คนไทยทุกคนที่เป็นผู้สืบสายโลหิตที่ถูกต้องจากบรรพบุรุษที่ได้รับพระราชทานนามสกุลหรือบรรพบุรุษที่เป็นผู้จดทะเบียนตั้งนามสกุลของตนขึ้น ไม่ควรนิ่งเฉยต่อการกระทำผิดกฎหมายนี้อีกต่อไป และควรร่วมมือกันดำเนินการในทุกวิถีทางกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายที่ได้แอบอ้างหรือกระทำการล่วงละเมิดใช้นามสกุลของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตอย่างถูกต้อง
สำหรับผู้ที่กระทำการล่วงละเมิดนำนามสกุลพระราชทานของบุคคลอื่นไปใช้ไม่เพียงได้กระทำผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังกระทำการฝ่าฝืนพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงพระราชทานนามสกุลให้เป็นการเฉพาะแก่บุคคลและผู้ที่สืบสายโลหิตของบุคคลผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลอีกด้วย และมีบางท่านให้ความเห็นว่า สมควรดำเนินการเอาผิดต่อผู้ที่การกระทำเช่นนี้จนถึงที่สุด เพราะได้กระทำการล่วงละเมิดพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยไม่เกรงกลัวต่อความผิดใดๆ ทั้งสิ้น (อาจมีเจ้าหน้าที่ให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือ จึงกล้าที่จะกระทำการล่วงละเมิดดังกล่าว - ผู้เขียน)
ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเรียนเชิญท่านที่อยู่ในตระกูลที่ได้รับพระราชทานนามสกุล และท่านที่อยู่ในตระกูลที่บรรพบุรุษของท่านเป็นผู้ขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งนามสกุลขึ้น ได้กรุณาแสดงความคิดเห็นต่อการจัดตั้งชมรมนามสกุลไทย เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับนามสกุลในประเทศไทย และเป็นตัวแทนในการดำเนินการต่างๆ เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นใดหรือคนต่างด้าวล่วงละเมิดนำนามสกุล (ชื่อสกุล) ที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วและรวมทั้งนามสกุลพระราชทานไปใช้เป็นนามสกุล (ชื่อสกุล) ของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตอย่างถูกต้อง ซึ่งท่านที่สนใจสามารถแจ้งความจำนงและความคิดเห็นได้ที่ E-mail ของผู้เขียน ขอบคุณครับ
อ้างอิง
1ข้อความส่วนใหญ่มาจากหนังสือเรื่อง นาทะสิริ นามสกุลพระราชทานลำดับที่ 6414 และปัญหาการล่วงละเมิดการใช้นามสกุล (เขียนโดย ผู้เขียนและคุณสุโขทัย นาทะสิริ), พิมพ์ครั้ง ที่ 1, วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557.
(สำหรับหนังสือเรื่อง นาทะสิริ นามสกุลพระราชทานลำดับที่ 6414 และปัญหาการล่วงละเมิดการใช้นามสกุล เป็นการวางเค้าโครงสำหรับการค้นคว้าวิจัยความเป็นมาของนามสกุลพระราชทานและปัญหาการละเมิดการใช้นามสกุลอย่างละเอียดเพื่อจัดทำเป็นเอกสารที่สมบูรณ์และเป็นตัวอย่างให้ตระกูลอื่นได้นำไปจัดทำเอกสารเกี่ยวกับความเป็นมาของแต่ละตระกูลต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันมิให้บุคคลอื่นหรือคนต่างด้าวล่วงละเมิดนำชื่อนามสกุลไปใช้โดยพลการ)
2สรุปจากบทความเรื่อง วิเคราะห์โครงสร้างนามสกุลพระราชทาน ที่เขียนโดยคุณราตรี โพธิ์เต็ง (ดู http://www.rtc.ac.th/www_km/03/032/019_2-2554.pdf)
3พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 มาตรา 3, มาตรา 5 และมาตรา12
4ภาพที่ 1 และภาพที่ 2 มาจากประกาศเรื่องให้ใช้นามสกุล ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2456 ลงนามโดย พระยาราชสาสนโสภณ ในหนังสือ นามสกุลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึง 25 ซึ่งได้ประกาศแล้วในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และพิมพ์โดยโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ (ไม่ได้ระบุปีที่พิมพ์)
5นามสกุลพระราชทานในกรุงสยาม เขียนโดย จมื่นอมรดรุณารักษ์(แจ่ม สุนทรเวช), พิมพ์ครั้งที่สอง, พ.ศ. 2524 หน้า 5 - 6 และหน้า 10 - 13
6ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งแรก ในหนังสือ นามสกุลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึง 25 ซึ่งได้ประกาศแล้วในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และพิมพ์โดยโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ(ไม่ได้ระบุปีที่พิมพ์)
7ดูอ้างอิง (2)
ถ้าท่านผู้ใดมีข้อมูลหรือรายละเอียดใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดการใช้นามสกุลของบุคคลอื่น กรุณาส่งที่
38 ซอยสามเสน 26 (ร่วมจิตต์) ถนนสามเสน เขตดุสิต กทม. 10300
Email Address: udomdee@gmail.com