"นิด้าโพล" ชี้ประชาชนอยกให้นักการเมืองโกงที่ถูกศาลตัดสิน ไม่ต้องกลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต นักการเมืองท้องถิ่นต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ขณะที่สวนดุสิตโพล ระบุอยากให้ราคาสินค้าไม่แพง เป็นของขวัญปีใหม่
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ข้อเสนอแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช.”ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26 - 27 พ.ย.57 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอแก้ไขกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.
จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกศาลตัดสิน ชี้ขาดให้พ้นจากตำแหน่ง ห้ามไม่ให้กลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต (จากเดิมห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.28 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ผู้ที่เคยกระทำผิดไม่ควรกลับเข้ามาเล่นการเมือง จะได้ไม่เกิดการกระทำผิดอีก ถ้ากลับมาดำรงตำแหน่งอีกอาจเป็นเหมือนเดิม เป็นการคัดกรองและเปิดโอกาสให้คนที่มีคุณภาพ ตั้งใจทำงานเข้ามาแทนดีกว่า รองลงมา ร้อยละ 26.08 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ควรให้ระยะเวลา สิทธิ และโอกาสในการปรับปรุงตนเอง หากไม่ให้กลับเข้ามาเลยก็จะเป็นการเอาเปรียบและไม่ยุติธรรมแก่ผู้กระทำผิด และอาจเกิดเกิดปัญหาความแตกแยกตามมา และร้อยละ 4.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. ที่ให้ผู้บริหารท้องถิ่น ,รองผู้บริหารท้องถิ่น และผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่นต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. (จากเดิมไม่มีกำหนดไว้) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.40 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ถึงที่ไปที่มาของทรัพย์สิน โดยเฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบ เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การตัดไม้ทำลายป่า (การค้าไม้เถื่อน) การยักยอกเงิน เป็นต้น เป็นการให้ความชัดเจนแก่ประชาชนด้วย มีเพียง ร้อยละ 8.32 ที่ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ถือเป็นข้อมูลและสิทธิส่วนบุคคลที่จะเปิดเผยหรือไม่ก็ได้ และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. โดยให้อำนาจ ป.ป.ช. สามารถจับ และคุมขังผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด (จากเดิม ป.ป.ช. มีอำนาจแค่แจ้งให้ตำรวจดำเนินการ) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.64 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายเดียวอาจจัดการได้ไม่ดีพอ หรือเกิดการติดสินบนให้แก่เจ้าหน้าที่ เป็นการเพิ่มความรวดเร็วในการจับผู้กระทำผิดมารับโทษ เพราะบางครั้งส่งเรื่องให้อัยการแล้วบางทีเรื่องล่าช้า ผู้ที่กระทำผิดควรได้รับโทษตามกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 32.96 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ปปช. ไม่จำเป็นต้องมีอำนาจถึงขั้นดังกล่าว เพราะเป็นหน้าที่ที่ซ้ำซ้อนเกินไป ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจ และเป็นไปตามขั้นตอน ร้อยละ 8.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
**ขอบ้านเมืองสงบสุขเป็นของขวัญปีใหม่
จากที่รัฐบาล และ คสช. ได้ให้นโยบายกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เร่งทำงานเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ และเป็นการคืนความสุขให้กับประชาชน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับ “ของขวัญปีใหม่”ที่อยากได้จากรัฐบาลและคสช. “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นเป็นคำถามปลายเปิด โดยประชาชนสามารถตอบได้อย่างอิสระตามที่ต้องการ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวน 1,417 คน ระหว่างวันที่ 24-29 rพ.ย.57 สรุปความคิดเห็นจำแนกเป็นความต้องการ 3 ด้าน ดังนี้
1. “ของขวัญ” ด้านการเมือง ที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด คือ อันดับ 1 บ้านเมืองสงบสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่มีการชุมนุมเคลื่อนไหว85.56% อันดับ 2 มีนักการเมืองที่ดี มีคุณภาพ ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน75.79% อันดับ 3มีความเป็นประชาธิปไตย ประชาชนได้มีส่วนร่วม มีการเลือกตั้งโดยเร็ว 74.09% อันดับ 4 ปฏิรูปการเมือง ทำงานอย่างโปร่งใส ขจัดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 65.34%
2. “ของขวัญ” ด้านเศรษฐกิจ ที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด คือ อันดับ 1 การควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพง ราคาพืชผลทางการเกษตรสูงขึ้น 86.97% อันดับ 2 เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น มีเสถียรภาพ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ 81.74% อันดับ 3มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น สวัสดิการดี รายได้เพียงพอกับรายจ่าย ไม่เป็นหนี้ 79.12% อันดับ 4 ราคาพลังงานลดลง คนไทยได้ใช้น้ำมันและแก๊สราคาถูก 75.27%
3. “ของขวัญ” ด้านสังคม ที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด คือ อันดับ 1 สังคมเป็นระเบียบ ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย อาชญากรรมและยาเสพติดลดลง 73.07% อันดับ 2 คนไทยรักใคร่สามัคคีปรองดอง มีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปัน 70.96% อันดับ 3 ครอบครัวอบอุ่น มีเวลาให้แก่กัน อยู่กันพร้อมหน้า 60.89% อันดับ 4 มีการเดินทางที่สะดวก ระบบขนส่งมวลชนทันสมัย ครอบคลุมทุกพื้นที่ 59.72%.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ข้อเสนอแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช.”ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26 - 27 พ.ย.57 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอแก้ไขกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.
จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกศาลตัดสิน ชี้ขาดให้พ้นจากตำแหน่ง ห้ามไม่ให้กลับมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต (จากเดิมห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.28 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ผู้ที่เคยกระทำผิดไม่ควรกลับเข้ามาเล่นการเมือง จะได้ไม่เกิดการกระทำผิดอีก ถ้ากลับมาดำรงตำแหน่งอีกอาจเป็นเหมือนเดิม เป็นการคัดกรองและเปิดโอกาสให้คนที่มีคุณภาพ ตั้งใจทำงานเข้ามาแทนดีกว่า รองลงมา ร้อยละ 26.08 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ควรให้ระยะเวลา สิทธิ และโอกาสในการปรับปรุงตนเอง หากไม่ให้กลับเข้ามาเลยก็จะเป็นการเอาเปรียบและไม่ยุติธรรมแก่ผู้กระทำผิด และอาจเกิดเกิดปัญหาความแตกแยกตามมา และร้อยละ 4.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. ที่ให้ผู้บริหารท้องถิ่น ,รองผู้บริหารท้องถิ่น และผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่นต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. (จากเดิมไม่มีกำหนดไว้) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.40 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ถึงที่ไปที่มาของทรัพย์สิน โดยเฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบ เช่น การทุจริตคอร์รัปชัน การตัดไม้ทำลายป่า (การค้าไม้เถื่อน) การยักยอกเงิน เป็นต้น เป็นการให้ความชัดเจนแก่ประชาชนด้วย มีเพียง ร้อยละ 8.32 ที่ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ถือเป็นข้อมูลและสิทธิส่วนบุคคลที่จะเปิดเผยหรือไม่ก็ได้ และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. โดยให้อำนาจ ป.ป.ช. สามารถจับ และคุมขังผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด (จากเดิม ป.ป.ช. มีอำนาจแค่แจ้งให้ตำรวจดำเนินการ) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.64 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายเดียวอาจจัดการได้ไม่ดีพอ หรือเกิดการติดสินบนให้แก่เจ้าหน้าที่ เป็นการเพิ่มความรวดเร็วในการจับผู้กระทำผิดมารับโทษ เพราะบางครั้งส่งเรื่องให้อัยการแล้วบางทีเรื่องล่าช้า ผู้ที่กระทำผิดควรได้รับโทษตามกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 32.96 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ปปช. ไม่จำเป็นต้องมีอำนาจถึงขั้นดังกล่าว เพราะเป็นหน้าที่ที่ซ้ำซ้อนเกินไป ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจ และเป็นไปตามขั้นตอน ร้อยละ 8.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
**ขอบ้านเมืองสงบสุขเป็นของขวัญปีใหม่
จากที่รัฐบาล และ คสช. ได้ให้นโยบายกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เร่งทำงานเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ และเป็นการคืนความสุขให้กับประชาชน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับ “ของขวัญปีใหม่”ที่อยากได้จากรัฐบาลและคสช. “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นเป็นคำถามปลายเปิด โดยประชาชนสามารถตอบได้อย่างอิสระตามที่ต้องการ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวน 1,417 คน ระหว่างวันที่ 24-29 rพ.ย.57 สรุปความคิดเห็นจำแนกเป็นความต้องการ 3 ด้าน ดังนี้
1. “ของขวัญ” ด้านการเมือง ที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด คือ อันดับ 1 บ้านเมืองสงบสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่มีการชุมนุมเคลื่อนไหว85.56% อันดับ 2 มีนักการเมืองที่ดี มีคุณภาพ ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน75.79% อันดับ 3มีความเป็นประชาธิปไตย ประชาชนได้มีส่วนร่วม มีการเลือกตั้งโดยเร็ว 74.09% อันดับ 4 ปฏิรูปการเมือง ทำงานอย่างโปร่งใส ขจัดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 65.34%
2. “ของขวัญ” ด้านเศรษฐกิจ ที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด คือ อันดับ 1 การควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพง ราคาพืชผลทางการเกษตรสูงขึ้น 86.97% อันดับ 2 เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น มีเสถียรภาพ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ 81.74% อันดับ 3มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น สวัสดิการดี รายได้เพียงพอกับรายจ่าย ไม่เป็นหนี้ 79.12% อันดับ 4 ราคาพลังงานลดลง คนไทยได้ใช้น้ำมันและแก๊สราคาถูก 75.27%
3. “ของขวัญ” ด้านสังคม ที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด คือ อันดับ 1 สังคมเป็นระเบียบ ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย อาชญากรรมและยาเสพติดลดลง 73.07% อันดับ 2 คนไทยรักใคร่สามัคคีปรองดอง มีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปัน 70.96% อันดับ 3 ครอบครัวอบอุ่น มีเวลาให้แก่กัน อยู่กันพร้อมหน้า 60.89% อันดับ 4 มีการเดินทางที่สะดวก ระบบขนส่งมวลชนทันสมัย ครอบคลุมทุกพื้นที่ 59.72%.