00 การปฏิรูปกำลังเริ่มเดินหน้าเร่งความเร็วมากขึ้น อย่างน้อยต้องเป็นไปตามโรดแมป ตามปฏิทินที่กำหนด โดยเฉพาะการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจะเริ่มกระบวนเข้าสู่การแสดงความเห็น และรับฟังความเห็นเต็มรูปแบบ และเริ่มยกร่างรายมาตราหลังปีใหม่ไปแล้ว ก็ต้องจับตามอง แต่การปฏิรูปคราวนี้ ทำให้ชาวบ้านเกิดความตื่นตัวและมีความคาดหวังมากกว่าทุกครั้งก็ว่าได้ เพราะเริ่มเรียนรู้ สรุปบทเรียนจากเหตุการณ์ในอดีตที่สั่งสมมาหลายครั้ง และสิ่งที่สังคมเจ็บปวดมานานจนทนไม่ไหวก็คือ "การโกง" ที่ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง และข้าราชการ ซึ่งก็มีหลายกรณีที่มีทั้งสองฝ่ายร่วมมือกัน หรือรวมไปถึงดึงเอาประชาชนเป็นเครื่องมือช่วยกันโกงแบบบูรณาการ ก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนทำให้เกิดความตื่นตัวว่าการปฏิรูปคราวนี้ต้องหาทางสกัดการโกงทุกรูปแบบ และที่สำคัญโกงแล้วต้องติดคุก และห้ามเข้าสู่สนามการเมืองตลอดชีวิต เพราะคนพวกนี้ถือว่า "ไร้ประโยชน์" ต้องถูกกำจัด
ออกไปให้พ้นสถานเดียว
00 เมื่อปลายทางของการปฏิรูป ไม่ว่าหลังการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น ไม่ว่าจะใช้เวลากี่เดือนกี่ปี แต่ในที่สุดแล้วก็ต้อง "นำไปสู่การเลือกตั้ง" ดังนั้น ถ้าไม่มีการป้องกันควบคุมให้ดี วิกฤติการเมืองแบบเก่าก็จะกลับมาอีก เพราะมันจะกลายเป็นการต่อสู้กันระหว่างประชาชน และนักการเมืองที่สนับสนุนนักการเมืองที่โกง แต่แบ่งเศษเงินให้ช้าวบ้านบางกลุ่ม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเป็นฐานสนับสนุนตัวเอง กับอีกฝ่ายที่ไม่ยอมรับการโกงทุกรูปแบบ และที่สำคัญในท้ายที่สุดแล้วชาวบ้านกลุ่มนี้ (กลุ่มที่เสียภาษี) จะต้องรับภาระการใช้หนี้จากการโกง การทำผิดกม. จากนักการเมืองที่ร่วมมือกับชาวบ้านกลุ่มแรกดังกล่าว
00 ดังนั้น ความขัดแย้งที่ผ่านมามักจะมาจากสาเหตุนี้ นั่นคือชาวบ้านรับไม่ได้ และออกมาต่อต้าน ระบอบทักษิณ ต่อต้านรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่พยายามทำทุกอย่าง เพื่อออก กม.นิรโทษ (ลบล้างความผิด)ให้กับคนโกง (ซึ่งก็คือ ทักษิณ ชินวัตร) แก้รธน.เพื่อประโยชน์และอำนาจของนักการเมือง (เครือข่ายทักษิณ) นี่ต่างหากที่เกิดการต่อต้าน ไม่ใช่เป็นความขัดแย้ง หรือทะเลาะกัน อย่างที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พยายามชี้นำให้เห็นแบบนี้ และอ้างเป็นเหตุผลในการออกมารัฐประหาร สรุปก็คือ นี่คือปัญหาสมัยใหม่ที่ชาวบ้านจำนวนมาก (เป็นมวลมหาประชาชน) นับหลายล้านคนที่ออกมาขับไล่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ เพราะทนไม่ได้ที่เห็นการช่วยเหลือคนโกงให้พ้นผิด
00 ดังนั้น เมื่อเส้นทางข้างหน้าต้องนำไปสู่การเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นปลายปี 58 หรือปี 59 หรือปีไหนก็ตาม "หัวใจสำคัญที่สุด" มีอยู่สองสามเรื่องเท่านั้นเอง ก็คือ ต้องออกแบบกระบวนการตรวจสอบให้เข้มแข็งและมีอิสระอย่างแท้จริง ที่มาขององค์กรอิสระจะทำอย่างไรให้อิสระไม่ให้ถูกครอบงำ สามารถถ่วงดุลกันได้ กระบวนการยุติธรรมต้องรื้อกันใหม่ โดยเฉพาะต้นทาง กลางทางคือ ตำรวจ และอัยการ ต้องอิสระ เป็นผู้พิทักษ์กม. ไม่ใช่เป็นเครื่องมือของนักการเมือง ความหมายก็คือ ไม่ว่านักการเมืองและข้าราชการคนใดก็ตาม หรือรวมถึงชาวบ้านที่ร่วมมือกันโกง ก็ต้องติดคุกเกมือนกับ บางประเทศที่เอาผิดได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้นำสูงสุดลงมา นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ประเทศอื่นก็มีโกง เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ใต้หวัน ผู้นำนักการเมืองของเขาก็โกง แต่ที่ต่างจากบ้านเราก็คือ เมื่อโกงแล้วต้องติดคุกหมดอนาคตทางการเมืองไปเลย แต่ในบ้านกลับตรงกันข้าม นี่คือปัญหาที่ต้องแก้ไขให้ได้ เพราะถ้าสองสามเรื่องที่ว่านี้ทำไม่ได้ มันก็เปล่าประโยชน์ !!
00 ดูรูปการณ์แล้วนาทีนี้สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แล้วคงไม่รอด ที่จะต้องเดินขึ้นศาลในคดีอาญาในโครงการรับจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายนับ 6 แสนล้านบาท เพราะล่าสุด สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. และอดีตประธานอนุกรรมการตรวจสอบบัญชีโครงการดังกล่าวของกระทรวงการคลัง ออกมายืนยันในฐานะ ป.ป.ช. ว่าจะไม่ให้ยืดเยื้อเกินเดือนนี้(ธ.ค.) แน่นอน แม้ว่าอัยการสูงสุดจะอ้างว่าสำนวนไม่สมบูรณ์ ก็จะไม่ยื้ออีกแล้ว ป.ป.ช.จะเดินหน้าฟ้องอาญาทันที ส่วนการถอดถอนใน สนช.นั้น เธอย้ำว่าแม้เป็นดุลพินิจของสนช. แต่ก็ต้องอิงกับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน เพราะจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีการส่งหนังสือเตือนจนนับไม่ถ้วน เช่น ป.ป.ช. ส่งหนังสือเตือนไป 3 ครั้ง สตง. เตือนไปสองครั้ง และคณะอนุกรรมการตรวจสอบบัญชีฯ ที่เธอเป็นประธาน ก็เคยส่งหนังสือไป แต่ก็ทำหูทวนลม ไม่เคยแก้ไข ดังนั้นในฐานะนายกฯ จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณมหาศาล เอ้า นับจากนี้ก็เริ่มระทึกเสี่ยงคุกตะรางกันแล้ว พี่น้อง !!
ออกไปให้พ้นสถานเดียว
00 เมื่อปลายทางของการปฏิรูป ไม่ว่าหลังการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น ไม่ว่าจะใช้เวลากี่เดือนกี่ปี แต่ในที่สุดแล้วก็ต้อง "นำไปสู่การเลือกตั้ง" ดังนั้น ถ้าไม่มีการป้องกันควบคุมให้ดี วิกฤติการเมืองแบบเก่าก็จะกลับมาอีก เพราะมันจะกลายเป็นการต่อสู้กันระหว่างประชาชน และนักการเมืองที่สนับสนุนนักการเมืองที่โกง แต่แบ่งเศษเงินให้ช้าวบ้านบางกลุ่ม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเป็นฐานสนับสนุนตัวเอง กับอีกฝ่ายที่ไม่ยอมรับการโกงทุกรูปแบบ และที่สำคัญในท้ายที่สุดแล้วชาวบ้านกลุ่มนี้ (กลุ่มที่เสียภาษี) จะต้องรับภาระการใช้หนี้จากการโกง การทำผิดกม. จากนักการเมืองที่ร่วมมือกับชาวบ้านกลุ่มแรกดังกล่าว
00 ดังนั้น ความขัดแย้งที่ผ่านมามักจะมาจากสาเหตุนี้ นั่นคือชาวบ้านรับไม่ได้ และออกมาต่อต้าน ระบอบทักษิณ ต่อต้านรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่พยายามทำทุกอย่าง เพื่อออก กม.นิรโทษ (ลบล้างความผิด)ให้กับคนโกง (ซึ่งก็คือ ทักษิณ ชินวัตร) แก้รธน.เพื่อประโยชน์และอำนาจของนักการเมือง (เครือข่ายทักษิณ) นี่ต่างหากที่เกิดการต่อต้าน ไม่ใช่เป็นความขัดแย้ง หรือทะเลาะกัน อย่างที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พยายามชี้นำให้เห็นแบบนี้ และอ้างเป็นเหตุผลในการออกมารัฐประหาร สรุปก็คือ นี่คือปัญหาสมัยใหม่ที่ชาวบ้านจำนวนมาก (เป็นมวลมหาประชาชน) นับหลายล้านคนที่ออกมาขับไล่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ เพราะทนไม่ได้ที่เห็นการช่วยเหลือคนโกงให้พ้นผิด
00 ดังนั้น เมื่อเส้นทางข้างหน้าต้องนำไปสู่การเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นปลายปี 58 หรือปี 59 หรือปีไหนก็ตาม "หัวใจสำคัญที่สุด" มีอยู่สองสามเรื่องเท่านั้นเอง ก็คือ ต้องออกแบบกระบวนการตรวจสอบให้เข้มแข็งและมีอิสระอย่างแท้จริง ที่มาขององค์กรอิสระจะทำอย่างไรให้อิสระไม่ให้ถูกครอบงำ สามารถถ่วงดุลกันได้ กระบวนการยุติธรรมต้องรื้อกันใหม่ โดยเฉพาะต้นทาง กลางทางคือ ตำรวจ และอัยการ ต้องอิสระ เป็นผู้พิทักษ์กม. ไม่ใช่เป็นเครื่องมือของนักการเมือง ความหมายก็คือ ไม่ว่านักการเมืองและข้าราชการคนใดก็ตาม หรือรวมถึงชาวบ้านที่ร่วมมือกันโกง ก็ต้องติดคุกเกมือนกับ บางประเทศที่เอาผิดได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้นำสูงสุดลงมา นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ประเทศอื่นก็มีโกง เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ใต้หวัน ผู้นำนักการเมืองของเขาก็โกง แต่ที่ต่างจากบ้านเราก็คือ เมื่อโกงแล้วต้องติดคุกหมดอนาคตทางการเมืองไปเลย แต่ในบ้านกลับตรงกันข้าม นี่คือปัญหาที่ต้องแก้ไขให้ได้ เพราะถ้าสองสามเรื่องที่ว่านี้ทำไม่ได้ มันก็เปล่าประโยชน์ !!
00 ดูรูปการณ์แล้วนาทีนี้สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แล้วคงไม่รอด ที่จะต้องเดินขึ้นศาลในคดีอาญาในโครงการรับจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายนับ 6 แสนล้านบาท เพราะล่าสุด สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. และอดีตประธานอนุกรรมการตรวจสอบบัญชีโครงการดังกล่าวของกระทรวงการคลัง ออกมายืนยันในฐานะ ป.ป.ช. ว่าจะไม่ให้ยืดเยื้อเกินเดือนนี้(ธ.ค.) แน่นอน แม้ว่าอัยการสูงสุดจะอ้างว่าสำนวนไม่สมบูรณ์ ก็จะไม่ยื้ออีกแล้ว ป.ป.ช.จะเดินหน้าฟ้องอาญาทันที ส่วนการถอดถอนใน สนช.นั้น เธอย้ำว่าแม้เป็นดุลพินิจของสนช. แต่ก็ต้องอิงกับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน เพราะจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีการส่งหนังสือเตือนจนนับไม่ถ้วน เช่น ป.ป.ช. ส่งหนังสือเตือนไป 3 ครั้ง สตง. เตือนไปสองครั้ง และคณะอนุกรรมการตรวจสอบบัญชีฯ ที่เธอเป็นประธาน ก็เคยส่งหนังสือไป แต่ก็ทำหูทวนลม ไม่เคยแก้ไข ดังนั้นในฐานะนายกฯ จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณมหาศาล เอ้า นับจากนี้ก็เริ่มระทึกเสี่ยงคุกตะรางกันแล้ว พี่น้อง !!