ASTVผู้จัดการรายวัน - สภาพัฒน์แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 พบเอ็นพีแอลเพิ่ม 48.9% เฉพาะบัตรเครดิต 28.1% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ เผยเศรษฐกิจทรุดทำให้เกิดปัญหาว่างงาน แถมแรงงานไทย 2.8 ล้านคน ยังได้ค่าจ้างต่ำกว่า 300 บาท
นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 57 ว่า แม้การก่อหนี้ครัวเรือนพบว่ามีแนวโน้มชะลอลง แต่ต้องเฝ้าระวังการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ซึ่งพบว่าหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 31.8% คิดเป็นสัดส่วน 2.7% ของสินเชื่อรวมทั้งหมดขณะที่สินเชื่อที่ผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้นถึง 48.9% คิดเป็นมูลค่า 14,644 ล้านบาทและเป็นสัดส่วน 4.7% ของสินเชื่อรวม เช่นเดียวกับยอดคงค้างชำระบัตรเครดิต 3 เดือนเพิ่มขึ้น 28.1% คิดเป็นมูลค่า 8,153 ล้านบาทและเป็นสัดส่วน 2.9% ของสินเชื่อรวม
"คนที่มีรายได้ต่ำมีหนี้บัตรเครดิตต่อรายได้ในสัดส่วนที่สูง และมีภาระการจ่ายคืนหนี้ต่อรายได้สูงเช่นกัน" นางชุตินาฏกล่าว ส่วนสถานการณ์การจ้างงานยังคงลดลงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว โดยการมีงานทำของคนไทยในวัยแรงงานลดลง 18%
อัตราการว่างงานเพิ่มเป็น 0.84% จากเดิมที่ปีก่อนอยู่ที่ 0.77% ส่วนค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนภาคเอกชนที่หักเงินเฟ้อแล้วแม้จะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 9.2% ก็ตาม แต่ปรากฎว่ายังมีแรงงานมากถึง 2.8 ล้านคน ที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท หรือมีค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 7,800 บาท สาเหตุสำคัญเป็นเพราะเป็นแรงงานรายวัน แรงงานเหมาจ่าย ที่มีความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงในการจ้างงาน และมักได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าแรงงานประจำ โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่ในสถานประกอบการขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังให้มีการปฎิบัติตามประกาศค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ และการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานรวมถึงการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพ ทักษะแรงงาน เพื่อโอกาสในการปรับเพิ่มรายได้”
นอกจากนี้ ยังพบว่าผลิตภาพแรงงานในทุกสาขา ยังเพิ่มขึ้นช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานทั้งด้านการผลิต การก่อสร้าง ค้าปลีกค้าส่ง ขนส่ง การเงินการธนาคาร ยกเว้นสาขาโรงแรมภัตตาคารและการศึกษา ที่คุณภาพของแรงงานเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าจ้าง ซึ่งจำเป็นต้องเร่งสนับสนุนและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องโดยการเพิ่มบทบาทสถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชนในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานในพื้นที่นั้นๆด้วย
"มีประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของปัญหาภัยแล้งที่มีผลต่อกิจกรรมการผลิตภาคเกษตร ที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้เกษตรกร รวมทั้งปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในปี 58 ที่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มดีขึ้นที่ส่งผลให้มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแรงงานระดับล่างและแรงงานกึ่งฝีมือ ที่ปัจจุบันพบว่ามีปัญหาไม่ตรงกับความต้องการของตลาด"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลสอดคล้องกับข้อมูล ธปท.ที่ระบุว่า ไตรมาส 3 ของปี 57 เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.03 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนใหญ่เกิดจากสินเชื่ออุปโภคบริโภค ทำให้สัดส่วนเอ็นพีแอลและเอ็นพีแอลสุทธิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.34% และ 1.18% ตามลำดับ ในกลุ่มสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีสัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยบัตรเครดิตจาก 3.3% อยู่ที่ 3.7% สินเชื่อส่วนบุคคลจาก 2.6% มาอยู่ที่ 3.0% สินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 2.3% มาอยู่ที่2.5% และรถยนต์จาก 2.3% มาอยู่ที่ 2.4% ในไตรมาสนี้.
นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 57 ว่า แม้การก่อหนี้ครัวเรือนพบว่ามีแนวโน้มชะลอลง แต่ต้องเฝ้าระวังการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ซึ่งพบว่าหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 31.8% คิดเป็นสัดส่วน 2.7% ของสินเชื่อรวมทั้งหมดขณะที่สินเชื่อที่ผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้นถึง 48.9% คิดเป็นมูลค่า 14,644 ล้านบาทและเป็นสัดส่วน 4.7% ของสินเชื่อรวม เช่นเดียวกับยอดคงค้างชำระบัตรเครดิต 3 เดือนเพิ่มขึ้น 28.1% คิดเป็นมูลค่า 8,153 ล้านบาทและเป็นสัดส่วน 2.9% ของสินเชื่อรวม
"คนที่มีรายได้ต่ำมีหนี้บัตรเครดิตต่อรายได้ในสัดส่วนที่สูง และมีภาระการจ่ายคืนหนี้ต่อรายได้สูงเช่นกัน" นางชุตินาฏกล่าว ส่วนสถานการณ์การจ้างงานยังคงลดลงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว โดยการมีงานทำของคนไทยในวัยแรงงานลดลง 18%
อัตราการว่างงานเพิ่มเป็น 0.84% จากเดิมที่ปีก่อนอยู่ที่ 0.77% ส่วนค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนภาคเอกชนที่หักเงินเฟ้อแล้วแม้จะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 9.2% ก็ตาม แต่ปรากฎว่ายังมีแรงงานมากถึง 2.8 ล้านคน ที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท หรือมีค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 7,800 บาท สาเหตุสำคัญเป็นเพราะเป็นแรงงานรายวัน แรงงานเหมาจ่าย ที่มีความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงในการจ้างงาน และมักได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าแรงงานประจำ โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่ในสถานประกอบการขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังให้มีการปฎิบัติตามประกาศค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ และการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานรวมถึงการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพ ทักษะแรงงาน เพื่อโอกาสในการปรับเพิ่มรายได้”
นอกจากนี้ ยังพบว่าผลิตภาพแรงงานในทุกสาขา ยังเพิ่มขึ้นช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานทั้งด้านการผลิต การก่อสร้าง ค้าปลีกค้าส่ง ขนส่ง การเงินการธนาคาร ยกเว้นสาขาโรงแรมภัตตาคารและการศึกษา ที่คุณภาพของแรงงานเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าจ้าง ซึ่งจำเป็นต้องเร่งสนับสนุนและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องโดยการเพิ่มบทบาทสถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชนในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานในพื้นที่นั้นๆด้วย
"มีประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของปัญหาภัยแล้งที่มีผลต่อกิจกรรมการผลิตภาคเกษตร ที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้เกษตรกร รวมทั้งปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะในปี 58 ที่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มดีขึ้นที่ส่งผลให้มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแรงงานระดับล่างและแรงงานกึ่งฝีมือ ที่ปัจจุบันพบว่ามีปัญหาไม่ตรงกับความต้องการของตลาด"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลสอดคล้องกับข้อมูล ธปท.ที่ระบุว่า ไตรมาส 3 ของปี 57 เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.03 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนใหญ่เกิดจากสินเชื่ออุปโภคบริโภค ทำให้สัดส่วนเอ็นพีแอลและเอ็นพีแอลสุทธิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.34% และ 1.18% ตามลำดับ ในกลุ่มสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีสัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยบัตรเครดิตจาก 3.3% อยู่ที่ 3.7% สินเชื่อส่วนบุคคลจาก 2.6% มาอยู่ที่ 3.0% สินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 2.3% มาอยู่ที่2.5% และรถยนต์จาก 2.3% มาอยู่ที่ 2.4% ในไตรมาสนี้.