ภก.สงัด อินทร์นิพัฒน์ ตัวแทนศูนย์ประสานงานกลุ่มเภสัชกรคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 ฉบับปรับปรุงว่า วันที่ 17 พ.ย. เวลา 09.00 น. ทางกลุ่มฯ จะเดินทางไปยังสภาเภสัชกรรม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อเรียกร้องให้สภาเภสัชฯ ถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกจากการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้ผ่านความคิดเห็นจากสมาชิกเภสัชกรทั่วประเทศ โดยจะขอให้เปิดประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อระดมความคิดเห็นของเภสัชกรทั่วประเทศ เกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้ รวมทั้งการปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 เพราะเป็นกฎหมายที่ใช้มานาน และควรเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัย
"ทางกลุ่มฯ ของให้สภาเภสัชฯ ทำตามขั้นตอน และความถูกต้อง โดยรับฟังความเห็นจากเภสัชกรอื่นๆ ด้วย โดยขอให้ ถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับปรับปรุงนี้เสีย และเปิดประชุมใหญ่ เพื่อระดมความคิดเห็นว่าจะเดินหน้าปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมขึ้นใหม่อย่างไร ต่อไป เพราะทราบมาว่า เดิมทีสภาเภสัชฯ ก็มีการตั้งคณะอนุกรรมการร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมใหม่ขึ้นมาแทนฉบับปี พ.ศ.2537 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จึงไม่เข้าใจว่า ทำไมทำไมไม่รอร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ แต่กลับผลักดันฉบับปรับปรุงแทน" ภก.สงัด กล่าว
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับปรับปรุงนั้น มีการปรับปรุง 2 เรื่อง คือ 1. คำนิยามที่เปลี่ยนไปในมาตรา 3 โดยระบุว่า การปรุงยาและจ่ายยาให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ จากเดิมจะเป็นเภสัชกร ซึ่งตรงนี้จะมีความเสี่ยง เพราะบุคลากรวิชาชีพอื่นอาจไม่ได้ศึกษาด้านเภสัชกรรมมาโดยตรง ที่สำคัญจะขัดกับ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ที่ร่างขึ้นแทน พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 ที่ก่อนหน้านี้สภาเภสัชฯ ก็ออกมาคัดค้าน เพราะเหมือนว่า ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่เปิดช่องให้วิชาชีพอื่นสามารถจ่ายยาได้ จึงต้องคัดค้านกัน ทำให้สงสัยว่าขณะที่คัดค้านมาตลอด เพราะเหตุใดการปรับปรุง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมฯ จึงไม่ล้อตามกันไป และ 2.2. การให้มีการต่อใบอนุญาตวิชาชีพฯ ทุกๆ 5 ปี จากเดิมตลอดชีพ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อรับประกันมาตรฐานวิชาชีพ แม้จะเป็นเหตุผลดี แต่กลับไม่มีการกำหนดเงื่อนไขการต่อใบอนุญาตใดๆ และไม่ควรใช้วิธีนี้กับเภสัชกรรุ่นเก่าๆ แต่หากต้องการปรับเปลี่ยนใหม่ ควรใช้กับเภสัชกรรุ่นใหม่ๆ ดีกว่า.
"ทางกลุ่มฯ ของให้สภาเภสัชฯ ทำตามขั้นตอน และความถูกต้อง โดยรับฟังความเห็นจากเภสัชกรอื่นๆ ด้วย โดยขอให้ ถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับปรับปรุงนี้เสีย และเปิดประชุมใหญ่ เพื่อระดมความคิดเห็นว่าจะเดินหน้าปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมขึ้นใหม่อย่างไร ต่อไป เพราะทราบมาว่า เดิมทีสภาเภสัชฯ ก็มีการตั้งคณะอนุกรรมการร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมใหม่ขึ้นมาแทนฉบับปี พ.ศ.2537 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จึงไม่เข้าใจว่า ทำไมทำไมไม่รอร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ แต่กลับผลักดันฉบับปรับปรุงแทน" ภก.สงัด กล่าว
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับปรับปรุงนั้น มีการปรับปรุง 2 เรื่อง คือ 1. คำนิยามที่เปลี่ยนไปในมาตรา 3 โดยระบุว่า การปรุงยาและจ่ายยาให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ จากเดิมจะเป็นเภสัชกร ซึ่งตรงนี้จะมีความเสี่ยง เพราะบุคลากรวิชาชีพอื่นอาจไม่ได้ศึกษาด้านเภสัชกรรมมาโดยตรง ที่สำคัญจะขัดกับ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ที่ร่างขึ้นแทน พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 ที่ก่อนหน้านี้สภาเภสัชฯ ก็ออกมาคัดค้าน เพราะเหมือนว่า ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่เปิดช่องให้วิชาชีพอื่นสามารถจ่ายยาได้ จึงต้องคัดค้านกัน ทำให้สงสัยว่าขณะที่คัดค้านมาตลอด เพราะเหตุใดการปรับปรุง พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรมฯ จึงไม่ล้อตามกันไป และ 2.2. การให้มีการต่อใบอนุญาตวิชาชีพฯ ทุกๆ 5 ปี จากเดิมตลอดชีพ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อรับประกันมาตรฐานวิชาชีพ แม้จะเป็นเหตุผลดี แต่กลับไม่มีการกำหนดเงื่อนไขการต่อใบอนุญาตใดๆ และไม่ควรใช้วิธีนี้กับเภสัชกรรุ่นเก่าๆ แต่หากต้องการปรับเปลี่ยนใหม่ ควรใช้กับเภสัชกรรุ่นใหม่ๆ ดีกว่า.