พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวภายหลังมอบนโยบายให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ว่า ได้มอบหมายให้นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีดีเอสไอ พิจารณาถึงแนวทางการรับคดีพิเศษพบว่าการรับคดีพิเศษจะทำอย่างไร เพราะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ดุลพินิจของอธิบดีเป็นผู้พิจารณามากเกินไป และเป็นการใช้ดุลพินิจของบุคคลใดคนหนึ่ง เห็นว่าอาจมีความบกพร่องมาก และทำให้ถูกแทรกแซงจากฝ่ายบริหารได้ง่าย รวมถึงการทำงานอาจซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ทำให้ภาพลักษณ์ของดีเอสไอไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน และเกิดความเคลือบแคลงจากสังคม จึงเสนอให้ใช้ระบบพิจารณารับคดีทุกคดี โดยใช้คณะกรรมการชุดใหญ่จำนวน 21 คน ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยให้นางสุวณา พิจารณาภายใน 2 วัน ก่อนนำผลมารายงานว่าจะคงรูปแบบเดิมหรือปรับเปลี่ยนใหม่
ส่วนหลังจากนี้จะไม่มีการนำคดีบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ 36 กลุ่มคดี มาพิจารณาหรือไม่นั้น พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า คดีบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ.ดังกล่าว รายละเอียดเป็นนามธรรม เขียนไว้กว้างๆ และเป็นคดีที่มีหน่วยงานอื่นทำอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงานเดิมของดีเอสไอ เพียงแต่ต้องการให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยต่อไปนี้การพิจารณารับเป็นคดีพิเศษหรือไม่นั้น เสนอให้กลับไปใช้ระบบเดิม โดยในการพิจารณาการรับคดีทุกคดีเป็นคดีพิเศษ จะต้องผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการบอร์ดคคีพิเศษชุดใหญ่ ที่ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 21 คน ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการทำงาน
นอกจากนี้ ได้สั่งให้นำข้อมูลคดีทั้งหมดของดีเอสไอที่แล้วเสร็จกว่าร้อยละ 80 มารายงานด้วย เพื่อดูลักษณะคดี และศึกษารูปแบบการทำคดีว่ามีปัญหาจุดใด
สำหรับคดีการเมืองได้กำชับไปว่า การรายงานคดีไม่ต้องระบุว่าเป็นเสื้อแดง เป็น กปปส.หรือผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายใด เพราะผู้ชุมนุมทุกคนคือคนไทยเหมือนกัน โดยให้ระบุว่าเป็นการชุมนุมสถานที่ใดและรายละเอียดเป็นอย่างไร
ส่วนหลังจากนี้จะไม่มีการนำคดีบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ 36 กลุ่มคดี มาพิจารณาหรือไม่นั้น พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า คดีบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ.ดังกล่าว รายละเอียดเป็นนามธรรม เขียนไว้กว้างๆ และเป็นคดีที่มีหน่วยงานอื่นทำอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงานเดิมของดีเอสไอ เพียงแต่ต้องการให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยต่อไปนี้การพิจารณารับเป็นคดีพิเศษหรือไม่นั้น เสนอให้กลับไปใช้ระบบเดิม โดยในการพิจารณาการรับคดีทุกคดีเป็นคดีพิเศษ จะต้องผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการบอร์ดคคีพิเศษชุดใหญ่ ที่ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 21 คน ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการทำงาน
นอกจากนี้ ได้สั่งให้นำข้อมูลคดีทั้งหมดของดีเอสไอที่แล้วเสร็จกว่าร้อยละ 80 มารายงานด้วย เพื่อดูลักษณะคดี และศึกษารูปแบบการทำคดีว่ามีปัญหาจุดใด
สำหรับคดีการเมืองได้กำชับไปว่า การรายงานคดีไม่ต้องระบุว่าเป็นเสื้อแดง เป็น กปปส.หรือผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายใด เพราะผู้ชุมนุมทุกคนคือคนไทยเหมือนกัน โดยให้ระบุว่าเป็นการชุมนุมสถานที่ใดและรายละเอียดเป็นอย่างไร