วานนี้ (12พ.ย.) เวลา 09.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น กรุงเนปิดอว์ ) ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติเมียนมาร์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 25 ที่กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ โดยมีนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมา รอให้การต้อนรับผู้นำประเทศต่างๆ ที่เดินทางมาถึงศูนย์การประชุม ก่อนที่ผู้นำทั้งหมดจะเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการ
จากนั้น ประธานาธิบดีเมียนมาร์ ในฐานะประธานอาเซียนได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุม เริ่มจากแนะนำ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะผู้นำใหม่ ที่เพิ่งเข้าร่วมการประชุมอาเซียนเป็นครั้งแรก
ทั้งนี้ ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ได้กล่าวถึงการประชุมต่างๆที่จะเกิดขึ้นว่า เป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความพยายามของอาเซียน เพื่อย้ำถึงเจตนารมย์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งอาเซียนจะเสริมสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนโรดแมปประชาคมอาเซียน ซึ่งอาเซียนจะเดินหน้ากำหนดวิสัยทัศน์ภายหลังปี 2558 หลังจากเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปีหน้า โดยหัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้ คือ การก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว และประชาคมที่สงบสุขและเจริญรุ่งเรือง
ในโอกาสนี้ ประธานาธิบดีเมียนมาร์ ได้ทบทวนถึงความสำเร็จ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาเซียน รวมทั้งประณามการยิงเครื่องบินสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ เที่ยวบิน เอ็มเอช 317 และความรุนแรงที่เกิดจากการก่อการร้ายด้านเศรษฐกิจ
ประธานาธิบดีเมียนมาร์ กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจโลกจะมีความไม่แน่นอน แต่การบริโภคภายในประเทศอาเซียน ยังคงแข็งแกร่ง และคาดว่าปีหน้า เศรษฐกิจอาเซียนจะเติบโตขึ้น ร้อยละ 5 พร้อมย้ำถึงความร่วมมือในระดับต่อไป ใน 4 ด้าน ได้แก่
1. ความร่วมมือในการส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกัน สร้างความเชื่อมั่น และไว้วางใจระหว่างกัน เพื่อให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพ 2. ส่งเสริมให้อาเซียนมีบทบาท และเป็นกลไกสำคัญในระดับภูมิภาครวมทั้งเวทีโลก 3. ความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความยากจน ลดช่องว่างการพัฒนา และ 4. ส่งเสริมให้อาเซียนปรับตัวเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน เพื่อให้อาเซียน สามารถร่วมมือกับประเทศภายนอกภูมิภาค โดยเฉพาะการเผชิญหน้าต่อความท้าทายของโลก เช่น ภัยพิบัติ ภัยคุกคาม การก่อการร้าย โรคระบาด วิกฤตอาหารและพลังงาน เป็นต้น
** ปลื้มผู้นำอาเซียนยอมรับ-เข้าใจไทย
ต่อมาเวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 ร่วมกับผู้นำอาเซียนอีก 9 ประเทศ พร้อมด้วย เลขาธิการอาเซียน โดยมี นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เป็นประธานการประชุม โดยเป็นการทบทวนพัฒนาการการสร้างประชาคมอาเซียน ให้นโยบายเกี่ยวกับการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภาย หลังปี 2558 และผลักดันประเด็นความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สำคัญ
ร.อ.นพ.ยุงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ในที่ประชุมดังกล่าวว่าพล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมการทำหน้าที่ประธานอาเซียนของเมียนมาร์ และแสดงความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวอาเซียน และได้เข้ามาร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรก และหวังว่าจะได้มีโอกาสเยือนประเทศสมาชิกครบทุกประเทศในไม่ช้า พร้อมกับกล่าวขอบคุณประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าใจต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าไทยยังคงให้ความสำคัญต่ออาเซียนและจะยึดมั่นต่อพันธกรณีต่างๆในการสร้างประชาคมอาเซียนในภูมิภาค เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค
**ชู 4ประเด็นหลักเพื่ออาเซียน
ทั้งนี้ ในเรื่องการสร้างประชาคมอาเซียน นายกรัฐมนตรี เสนอว่าในปี 2558 อาเซียนควรให้ความสำคัญกับประเด็นเร่งด่วนที่ควรดำเนินการให้เกิดผล 4 ประการ ได้แก่
1. ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อเป็นการสนับสนุนการเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อความเชื่อมโยงจะนำไปสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าการลงทุนที่แนบแน่นยิ่งขึ้น สนันสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในภูมิภาค เพื่อกระจายความเจริญ ลดช่องว่างการพัฒนา เพิ่มการจ้างงาน และห่วงโซ่ด้านการผลิตสินค้า นำไปสู่เศรษฐกิจที่เชื่อมโยงในภูมิภาค
2. อาเซียนต้องมีความพร้อมในการรับมือกับปัญหาข้ามชาติมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติ ไทยจึงให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคและอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์ให้แล้วเสร็จในปี 2558 เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหานี้อย่างรอบด้าน ทั้งการป้องกัน การดำเนินคดี การคุ้มครองช่วยเหลือ การพัฒนากลไกเชิงนโยบาย นอกจากนี้ ต้องร่วมกันสร้างอาเซียนเป็นประชาคมที่ปลอดจากยาเสพติดภายในปี 2558 โดยใช้ ปปส.อาเซียน เป็นกลไก เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปราม
3. เนื่องจากเพิ่งกลับจากการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปก ซึ่งมีหัวข้อสำคัญ คือการรวมกลุ่มเศรษฐกิจและเปิดเสรีทางการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จึงเห็นว่า อาเซียนควรเร่งการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคให้แล้วเสร็จในปี 2558 ตามที่ได้เคยประกาศไว้ เพื่อช่วยขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนของประเทศในภูมิภาค
4. ในปีนี้ครบรอบ 4 ปี สึนามิ และที่ผ่านมาเห็นได้ว่าภูมิภาคอาเซียนมีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติมาก ไทยจึงเห็นว่า อาเซียนต้องร่วมกันรับมือกับภัยพิบัติ เพื่อมิให้กระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค
สำหรับประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 นายกรัฐมนตรี เห็นว่า การสร้างประชาคมอาเซียน เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ดังนั้น วิสัยทัศน์ของอาเซียนต้องมองไปข้างหน้า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีที่อาเซียนได้จัดทำเป้าหมายหลักของวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 เสร็จสิ้นและจะมีการจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อร่างวิสัยทัศน์ภายหลังปี 2558 ต่อไป
** เร่งพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี เห็นว่า ต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียนจากภายใน ดังนั้นอาเซียนจึงควรให้ความสำคัญกับวาระของประชาชน โดยการยกระดับการดำรงชีวิตของประชาชนในเรื่องต่างๆ อาทิ การศึกษา สาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การพัฒนาที่ยั่งยืน การลดช่องว่างการพัฒนา การขจัดความยากจน การลดความเหลื่อมล้ำ และการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร และให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากประชาคมอาเซียน
นอกจากนี้ ภาคเกษตรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พูดถึงการพัฒนาภาคการเกษตรในเวทีเอเปก จึงอยากเสนอให้อาเซียนพัฒนาภาคการเกษตรให้มีความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกร และส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ ครอบคลุมทุกภาคส่วน รวมทั้งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับภูมิภาคและโลกด้วย ดังนั้น เราควรพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านธุรกิจทางเกษตรให้แก่เกษตรกร และเพิ่มศักยภาพทางการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร
**ผนึกอาเซียนเป็นหนึ่งเดียว
ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ ประเทศมหาอำนาจจึงสนใจและพยายามเข้ามามีบทบาทและแข่งขันกันมากขึ้น รวมทั้งพยายามเข้ามากำหนดระเบียบในภูมิภาค อาเซียนจึงต้องรักษาความเป็นหนึ่งเดียวและส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียน(ASEAN Centrality)ในสถาปัตยกรรมภูมิภาค โดยอาเซียนต้องมีบทบาทนำในกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคที่อาเซียนเป็นผู้ริเริ่ม และมีความคิดและบทบาทเชิงรุก เพื่อให้อาเซียนสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในภูมิภาคต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ EASเป็นเวทีหารือในประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ระดับผู้นำ ที่มีประเทศที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเข้าร่วม เราจึงควรส่งเสริมให้ EAS เป็นเวทียุทธศาสตร์อย่างแท้จริง สามารถมีบทบาทและการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม จึงควรให้เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนศึกษาทิศทางในอนาคตของ EAS ให้เป็นเวทีที่มีบทบาทและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นว่า อาเซียนต้องแสดงท่าทีร่วมกันในเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกภูมิภาค ที่จะมีผลกระทบต่ออาเซียน อาทิ ปัญหาความรุนแรงในภูมิภาคต่างๆ รวมทั้ง ตะวันออกกลาง ปัญหาโรคระบาด และปัญหาในภูมิภาค
สำหรับอีโบลา เป็นวิกฤตระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เราต้องเฝ้าระวังและป้องกันและแก้ไข ไทยจึงเห็นว่าในกรอบอาเซียนบวกสาม ควรมีการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในระดับภูมิภาคและสร้างกลไกเฝ้าระวังโรคร่วมกัน ซึ่งไทยพร้อมจะเป็นจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสาม ซึ่งอาจจัดขึ้นในเดือนธันวาคม เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วน
ในเรื่องทะเลจีนใต้ ต้องแสดงให้ประชาคมระหว่างประเทศเห็นว่า อาเซียนและจีน สามารถแก้ปัญหากันได้ และมีความคืบหน้าในกระบวนการการเจรจาจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (COC) นอกจากนี้ อาเซียนและจีน จะต้องพยายามรักษาสถานการณ์ในพื้นที่ให้มีความสงบและไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งอย่างเช่นในอดีตโดยการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (DOC) อย่างเต็มที่เพื่อช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันและเร่งรัดการจัดทำ COC โดยเร็ว ทั้งนี้ เมื่อปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเรื่อง DOC ซึ่งที่ประชุมได้ตกลงในสาระสำคัญของ COC หลายเรื่อง รวมทั้งจัดตั้งมาตรการชั่วคราวเพื่อป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น อาทิ การมีโทรศัพท์ hotline หน่วยงานกู้ภัยและหน่วยงานด้านการต่างประเทศ การฝึกซ้อมร่วมในห้องปฏิบัติการเพื่อร่วมกันกู้ภัยและปฏิบัติการทางทะเลร่วมกัน
จากนั้น ประธานาธิบดีเมียนมาร์ ในฐานะประธานอาเซียนได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุม เริ่มจากแนะนำ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะผู้นำใหม่ ที่เพิ่งเข้าร่วมการประชุมอาเซียนเป็นครั้งแรก
ทั้งนี้ ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ได้กล่าวถึงการประชุมต่างๆที่จะเกิดขึ้นว่า เป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความพยายามของอาเซียน เพื่อย้ำถึงเจตนารมย์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งอาเซียนจะเสริมสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนโรดแมปประชาคมอาเซียน ซึ่งอาเซียนจะเดินหน้ากำหนดวิสัยทัศน์ภายหลังปี 2558 หลังจากเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปีหน้า โดยหัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้ คือ การก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว และประชาคมที่สงบสุขและเจริญรุ่งเรือง
ในโอกาสนี้ ประธานาธิบดีเมียนมาร์ ได้ทบทวนถึงความสำเร็จ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาเซียน รวมทั้งประณามการยิงเครื่องบินสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ เที่ยวบิน เอ็มเอช 317 และความรุนแรงที่เกิดจากการก่อการร้ายด้านเศรษฐกิจ
ประธานาธิบดีเมียนมาร์ กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจโลกจะมีความไม่แน่นอน แต่การบริโภคภายในประเทศอาเซียน ยังคงแข็งแกร่ง และคาดว่าปีหน้า เศรษฐกิจอาเซียนจะเติบโตขึ้น ร้อยละ 5 พร้อมย้ำถึงความร่วมมือในระดับต่อไป ใน 4 ด้าน ได้แก่
1. ความร่วมมือในการส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกัน สร้างความเชื่อมั่น และไว้วางใจระหว่างกัน เพื่อให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพ 2. ส่งเสริมให้อาเซียนมีบทบาท และเป็นกลไกสำคัญในระดับภูมิภาครวมทั้งเวทีโลก 3. ความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความยากจน ลดช่องว่างการพัฒนา และ 4. ส่งเสริมให้อาเซียนปรับตัวเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน เพื่อให้อาเซียน สามารถร่วมมือกับประเทศภายนอกภูมิภาค โดยเฉพาะการเผชิญหน้าต่อความท้าทายของโลก เช่น ภัยพิบัติ ภัยคุกคาม การก่อการร้าย โรคระบาด วิกฤตอาหารและพลังงาน เป็นต้น
** ปลื้มผู้นำอาเซียนยอมรับ-เข้าใจไทย
ต่อมาเวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 ร่วมกับผู้นำอาเซียนอีก 9 ประเทศ พร้อมด้วย เลขาธิการอาเซียน โดยมี นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เป็นประธานการประชุม โดยเป็นการทบทวนพัฒนาการการสร้างประชาคมอาเซียน ให้นโยบายเกี่ยวกับการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภาย หลังปี 2558 และผลักดันประเด็นความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สำคัญ
ร.อ.นพ.ยุงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ในที่ประชุมดังกล่าวว่าพล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมการทำหน้าที่ประธานอาเซียนของเมียนมาร์ และแสดงความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวอาเซียน และได้เข้ามาร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรก และหวังว่าจะได้มีโอกาสเยือนประเทศสมาชิกครบทุกประเทศในไม่ช้า พร้อมกับกล่าวขอบคุณประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าใจต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าไทยยังคงให้ความสำคัญต่ออาเซียนและจะยึดมั่นต่อพันธกรณีต่างๆในการสร้างประชาคมอาเซียนในภูมิภาค เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค
**ชู 4ประเด็นหลักเพื่ออาเซียน
ทั้งนี้ ในเรื่องการสร้างประชาคมอาเซียน นายกรัฐมนตรี เสนอว่าในปี 2558 อาเซียนควรให้ความสำคัญกับประเด็นเร่งด่วนที่ควรดำเนินการให้เกิดผล 4 ประการ ได้แก่
1. ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อเป็นการสนับสนุนการเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อความเชื่อมโยงจะนำไปสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าการลงทุนที่แนบแน่นยิ่งขึ้น สนันสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในภูมิภาค เพื่อกระจายความเจริญ ลดช่องว่างการพัฒนา เพิ่มการจ้างงาน และห่วงโซ่ด้านการผลิตสินค้า นำไปสู่เศรษฐกิจที่เชื่อมโยงในภูมิภาค
2. อาเซียนต้องมีความพร้อมในการรับมือกับปัญหาข้ามชาติมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติ ไทยจึงให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคและอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์ให้แล้วเสร็จในปี 2558 เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหานี้อย่างรอบด้าน ทั้งการป้องกัน การดำเนินคดี การคุ้มครองช่วยเหลือ การพัฒนากลไกเชิงนโยบาย นอกจากนี้ ต้องร่วมกันสร้างอาเซียนเป็นประชาคมที่ปลอดจากยาเสพติดภายในปี 2558 โดยใช้ ปปส.อาเซียน เป็นกลไก เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปราม
3. เนื่องจากเพิ่งกลับจากการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปก ซึ่งมีหัวข้อสำคัญ คือการรวมกลุ่มเศรษฐกิจและเปิดเสรีทางการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จึงเห็นว่า อาเซียนควรเร่งการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคให้แล้วเสร็จในปี 2558 ตามที่ได้เคยประกาศไว้ เพื่อช่วยขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนของประเทศในภูมิภาค
4. ในปีนี้ครบรอบ 4 ปี สึนามิ และที่ผ่านมาเห็นได้ว่าภูมิภาคอาเซียนมีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติมาก ไทยจึงเห็นว่า อาเซียนต้องร่วมกันรับมือกับภัยพิบัติ เพื่อมิให้กระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค
สำหรับประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 นายกรัฐมนตรี เห็นว่า การสร้างประชาคมอาเซียน เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ดังนั้น วิสัยทัศน์ของอาเซียนต้องมองไปข้างหน้า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีที่อาเซียนได้จัดทำเป้าหมายหลักของวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 เสร็จสิ้นและจะมีการจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อร่างวิสัยทัศน์ภายหลังปี 2558 ต่อไป
** เร่งพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี เห็นว่า ต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียนจากภายใน ดังนั้นอาเซียนจึงควรให้ความสำคัญกับวาระของประชาชน โดยการยกระดับการดำรงชีวิตของประชาชนในเรื่องต่างๆ อาทิ การศึกษา สาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การพัฒนาที่ยั่งยืน การลดช่องว่างการพัฒนา การขจัดความยากจน การลดความเหลื่อมล้ำ และการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร และให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากประชาคมอาเซียน
นอกจากนี้ ภาคเกษตรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พูดถึงการพัฒนาภาคการเกษตรในเวทีเอเปก จึงอยากเสนอให้อาเซียนพัฒนาภาคการเกษตรให้มีความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับเกษตรกร และส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ ครอบคลุมทุกภาคส่วน รวมทั้งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับภูมิภาคและโลกด้วย ดังนั้น เราควรพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านธุรกิจทางเกษตรให้แก่เกษตรกร และเพิ่มศักยภาพทางการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร
**ผนึกอาเซียนเป็นหนึ่งเดียว
ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ ประเทศมหาอำนาจจึงสนใจและพยายามเข้ามามีบทบาทและแข่งขันกันมากขึ้น รวมทั้งพยายามเข้ามากำหนดระเบียบในภูมิภาค อาเซียนจึงต้องรักษาความเป็นหนึ่งเดียวและส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียน(ASEAN Centrality)ในสถาปัตยกรรมภูมิภาค โดยอาเซียนต้องมีบทบาทนำในกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคที่อาเซียนเป็นผู้ริเริ่ม และมีความคิดและบทบาทเชิงรุก เพื่อให้อาเซียนสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในภูมิภาคต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ EASเป็นเวทีหารือในประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ระดับผู้นำ ที่มีประเทศที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเข้าร่วม เราจึงควรส่งเสริมให้ EAS เป็นเวทียุทธศาสตร์อย่างแท้จริง สามารถมีบทบาทและการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม จึงควรให้เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนศึกษาทิศทางในอนาคตของ EAS ให้เป็นเวทีที่มีบทบาทและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นว่า อาเซียนต้องแสดงท่าทีร่วมกันในเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกภูมิภาค ที่จะมีผลกระทบต่ออาเซียน อาทิ ปัญหาความรุนแรงในภูมิภาคต่างๆ รวมทั้ง ตะวันออกกลาง ปัญหาโรคระบาด และปัญหาในภูมิภาค
สำหรับอีโบลา เป็นวิกฤตระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เราต้องเฝ้าระวังและป้องกันและแก้ไข ไทยจึงเห็นว่าในกรอบอาเซียนบวกสาม ควรมีการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในระดับภูมิภาคและสร้างกลไกเฝ้าระวังโรคร่วมกัน ซึ่งไทยพร้อมจะเป็นจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสาม ซึ่งอาจจัดขึ้นในเดือนธันวาคม เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วน
ในเรื่องทะเลจีนใต้ ต้องแสดงให้ประชาคมระหว่างประเทศเห็นว่า อาเซียนและจีน สามารถแก้ปัญหากันได้ และมีความคืบหน้าในกระบวนการการเจรจาจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (COC) นอกจากนี้ อาเซียนและจีน จะต้องพยายามรักษาสถานการณ์ในพื้นที่ให้มีความสงบและไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งอย่างเช่นในอดีตโดยการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (DOC) อย่างเต็มที่เพื่อช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันและเร่งรัดการจัดทำ COC โดยเร็ว ทั้งนี้ เมื่อปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเรื่อง DOC ซึ่งที่ประชุมได้ตกลงในสาระสำคัญของ COC หลายเรื่อง รวมทั้งจัดตั้งมาตรการชั่วคราวเพื่อป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น อาทิ การมีโทรศัพท์ hotline หน่วยงานกู้ภัยและหน่วยงานด้านการต่างประเทศ การฝึกซ้อมร่วมในห้องปฏิบัติการเพื่อร่วมกันกู้ภัยและปฏิบัติการทางทะเลร่วมกัน