ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและบานปลายกลายเป็นปมปัญหาคาราคาซัง เป็นอุปสรรคในการสร้างความสามัคคีตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาเกิดจากขาดธรรม 4 ประการคือ
1. ทิฏฐิสามัญญตาคือ ความคิดเสมอกันอันได้แก่ การเห็นสิ่งเดียวกัน และคิดเหมือนกัน
2. ศีลสามัญญตาคือ มีศีลหรือระเบียบปฏิบัติเสมอกัน
3. ปรโตโฆสะคือ ฟังซึ่งกันไม่ต่างคนต่างพูด โดยไม่มีใครฟังใคร
4. กัลยาณมิตตตาคือ มีคนดีเป็นเพื่อนหรือไม่คบคนเลวเป็นมิตร
ถ้ากลุ่มใดสังคมใดไม่มีธรรม 4 ประการนี้ สังคมนั้นกลุ่มนั้นแตกแยก และขาดความสามัคคี
วันนี้ผู้คนในสังคมไทยกลุ่มหนึ่งมีความเห็นต่างกับรัฐบาลในด้านพลังงานและออกมาเรียกร้องใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้คือ
1. ให้นำกิจการน้ำมันและก๊าซที่ ปตท.รับผิดชอบอยู่มาเป็นของรัฐเหมือนเดิมก่อนการปฏิรูป โดยให้เหตุผลหลากหลาย แต่พอสรุปได้ว่า ปตท.เมื่อมีการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนแล้ว มุ่งเน้นบริหารกิจการเพื่อให้เกิดผลกำไรตามเจตนารมณ์ของผู้ถือหุ้น โดยมิได้คำนึงถึงความทุกข์ ความเดือดร้อนของประชาชนโดยรวมอันเกิดจากสินค้า และบริการมีราคาแพงขึ้นเนื่องจากน้ำมันเป็นปัจจัยการผลิตแพงขึ้น
2. ให้ลดราคาน้ำมันและก๊าซลงเพื่อพยุงราคาสินค้าและบริการมิให้สูงขึ้น โดยให้เหตุผลว่าน้ำมันและก๊าซส่วนหนึ่งได้มาจากแหล่งผลิตภายในประเทศ จึงน่าจะลดราคาต่ำกว่านี้ได้
3. ให้ยกเลิกการให้สัมปทานสินค้าต่างประเทศ โดยให้เหตุผลว่าการลงทุนในลักษณะนี้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบและควรจะดำเนินการธุรกิจในรูปแบบอื่น เช่น เป็นบริษัทร่วมทุนกันกับต่างชาติหรือ Joint Venture และแบ่งผลผลิตกันตามสัดส่วนของทุนที่ลงไป หรือ Production Sharing เป็นต้น โดยให้เหตุผลว่าการให้สัมปทานที่ผ่านมา และเป็นอยู่ในปัจจุบันประเทศไทยเสียเปรียบและไม่เป็นธรรม
เกี่ยวกับข้อเรียกร้อง 3 ประเด็นนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น ปตท.หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน มิได้ออกมาชี้แจงใน 3 ประเด็นที่มีการเรียกร้องอย่างเป็นทางการและจริงจัง จะมีบ้างก็เพียงการออกมาชี้แจงแสดงความคิดเห็นในฐานะเป็นปัจเจก และเป็นความผิดในเชิงวิชาการมากกว่า ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่ทำให้ฝ่ายเรียกร้องรับฟัง และยุติความเคลื่อนไหว ดังนั้น ตามทัศนะผู้เขียนจึงเห็นว่าทางฝ่ายรัฐจะเป็น ปตท.หรือหน่วยงานอื่นใดควรจะได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ออกมาชี้แจงใน 3 ประเด็นนี้ให้ชัดเจน และมีเหตุผลควรแก่การรับฟังมีน้ำหนักพอที่จะทำให้ฝ่ายเรียกร้องยอมรับ และยุติการเคลื่อนไหวได้
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนในฐานะสื่อเห็นว่าข้อเรียกร้อง 3 ประเด็นดังกล่าว สามารถทำความเข้าใจกันได้ถ้าทั้งสองฝ่ายคือ รัฐบาล และฝ่ายผู้เรียกร้องยอมรับเงื่อนไขความเป็นจริง รวมไปถึงข้อจำกัดของรัฐบาลในแต่ละประเด็นดังต่อไปนี้
1. การแปรรูป ปตท.เป็นนโยบายของรัฐที่ต้องการลดจำนวนกิจการที่ดำเนินการในรัฐลงตามแนวทางที่ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลกได้เสนอเพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนของบรรดารัฐวิสาหกิจ และเป็นภาระทางด้านการเงินของรัฐ
ในความเป็นจริงการแปรรูปก็ดี การขายกิจการหรือแม้กระทั่งการเลิกกิจการก็ดี ควรจะดำเนินการกับรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน และมิได้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ จึงจะตรงกับแนวทางแก้ปัญหา แต่ ปตท.มิได้ประสบภาวะขาดทุน และยังเป็นกิจการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานคือ ดำเนินการจัดหาพลังงานให้เพียงพอแก่การใช้งานไม่ขาดแคลน และในขณะเดียวกัน ถ่วงดุลราคามิให้ราคาพลังงานแพงเกินไป
ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องแปรรูป แต่เมื่อแปรรูปแล้วรัฐบาลมีนโยบายต้องการนำกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้งก็ย่อมทำได้โดยการซื้อหุ้นคืนมา และเมื่อหุ้นส่วนใหญ่เป็นของรัฐในฐานะผู้ถือหุ้นข้างมากก็สามารถกำหนดนโยบายในด้านการขาย และการผลิต โดยเน้นความมั่นคง และรักษาระดับราคามิให้สูงเกินไปจนถึงกับทำให้สินค้า และบริการต้องแยกตามต้นทุน และแก้ปัญหาด้วยการขึ้นราคาสินค้าและบริการซึ่งทำให้ประชาชนโดยรวมเดือดร้อนได้
ในขณะที่ ปตท.ยังไม่ถูกนำคืนมาเป็นของรัฐเพื่อมิให้ปัญหาการเรียกร้องบานปลาย และถูกนำไปขยายความจนทำให้รัฐบาลเสื่อมศรัทธา ทางภาครัฐโดยเฉพาะ ปตท.และกระทรวงพลังงานควรจะเปิดเผยต้นทุน ทั้งก๊าซและน้ำมันทั้งที่นำเข้าและผลิตในประเทศให้ชัดเจนว่าเท่าไหร่ในแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้เห็นว่ากำไรที่ได้มิได้สูงเกินไปจนทำให้มองได้ว่าค้ากำไรเกินควร
2. ควรจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซ และน้ำมันที่ผลิตได้ในประเทศว่ามีกี่แห่ง และแต่ละแห่งมีปริมาณสำรองมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงอัตราเสี่ยงในการสำรวจและขุดเจาะโดยเทียบกับประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรปิโตรเลียมว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด เพื่อให้มองเห็นเม็ดเงินที่ลงทุนไป ทั้งนี้เพื่อขจัดข้อกังขาที่ว่าประเทศมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมมาก แต่มีการปิดบังตัวเองเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทต่างชาติดังที่บางคนนำข้อมูลมากล่าวอ้าง
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าคนไทยทุกคนคงไม่มีใครอยากเห็นประเทศไทยถูกต่างชาติเอาเปรียบในด้านการลงทุน แต่ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการต่างชาติ ก็คงไม่มีใครอยากเสี่ยงโดยที่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ดังนั้น หลักการลงทุนที่น่าจะยอมรับได้ก็คือ ประเทศไทยในฐานะเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ก็ควรจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการให้สัมปทานหรือร่วมลงทุน และผู้ลงทุนโดยการรับสัมปทานหรือร่วมลงทุนย่อมรับได้กับเงื่อนไขที่ประเทศไทยกำหนดการลงทุนจึงจะเกิดขึ้นได้ และดีที่สุดเท่าที่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีทุนเงินบุคลากร และเทคโนโลยีจำกัดควรจะได้รับ
1. ทิฏฐิสามัญญตาคือ ความคิดเสมอกันอันได้แก่ การเห็นสิ่งเดียวกัน และคิดเหมือนกัน
2. ศีลสามัญญตาคือ มีศีลหรือระเบียบปฏิบัติเสมอกัน
3. ปรโตโฆสะคือ ฟังซึ่งกันไม่ต่างคนต่างพูด โดยไม่มีใครฟังใคร
4. กัลยาณมิตตตาคือ มีคนดีเป็นเพื่อนหรือไม่คบคนเลวเป็นมิตร
ถ้ากลุ่มใดสังคมใดไม่มีธรรม 4 ประการนี้ สังคมนั้นกลุ่มนั้นแตกแยก และขาดความสามัคคี
วันนี้ผู้คนในสังคมไทยกลุ่มหนึ่งมีความเห็นต่างกับรัฐบาลในด้านพลังงานและออกมาเรียกร้องใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้คือ
1. ให้นำกิจการน้ำมันและก๊าซที่ ปตท.รับผิดชอบอยู่มาเป็นของรัฐเหมือนเดิมก่อนการปฏิรูป โดยให้เหตุผลหลากหลาย แต่พอสรุปได้ว่า ปตท.เมื่อมีการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนแล้ว มุ่งเน้นบริหารกิจการเพื่อให้เกิดผลกำไรตามเจตนารมณ์ของผู้ถือหุ้น โดยมิได้คำนึงถึงความทุกข์ ความเดือดร้อนของประชาชนโดยรวมอันเกิดจากสินค้า และบริการมีราคาแพงขึ้นเนื่องจากน้ำมันเป็นปัจจัยการผลิตแพงขึ้น
2. ให้ลดราคาน้ำมันและก๊าซลงเพื่อพยุงราคาสินค้าและบริการมิให้สูงขึ้น โดยให้เหตุผลว่าน้ำมันและก๊าซส่วนหนึ่งได้มาจากแหล่งผลิตภายในประเทศ จึงน่าจะลดราคาต่ำกว่านี้ได้
3. ให้ยกเลิกการให้สัมปทานสินค้าต่างประเทศ โดยให้เหตุผลว่าการลงทุนในลักษณะนี้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบและควรจะดำเนินการธุรกิจในรูปแบบอื่น เช่น เป็นบริษัทร่วมทุนกันกับต่างชาติหรือ Joint Venture และแบ่งผลผลิตกันตามสัดส่วนของทุนที่ลงไป หรือ Production Sharing เป็นต้น โดยให้เหตุผลว่าการให้สัมปทานที่ผ่านมา และเป็นอยู่ในปัจจุบันประเทศไทยเสียเปรียบและไม่เป็นธรรม
เกี่ยวกับข้อเรียกร้อง 3 ประเด็นนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น ปตท.หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน มิได้ออกมาชี้แจงใน 3 ประเด็นที่มีการเรียกร้องอย่างเป็นทางการและจริงจัง จะมีบ้างก็เพียงการออกมาชี้แจงแสดงความคิดเห็นในฐานะเป็นปัจเจก และเป็นความผิดในเชิงวิชาการมากกว่า ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่ทำให้ฝ่ายเรียกร้องรับฟัง และยุติความเคลื่อนไหว ดังนั้น ตามทัศนะผู้เขียนจึงเห็นว่าทางฝ่ายรัฐจะเป็น ปตท.หรือหน่วยงานอื่นใดควรจะได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ออกมาชี้แจงใน 3 ประเด็นนี้ให้ชัดเจน และมีเหตุผลควรแก่การรับฟังมีน้ำหนักพอที่จะทำให้ฝ่ายเรียกร้องยอมรับ และยุติการเคลื่อนไหวได้
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนในฐานะสื่อเห็นว่าข้อเรียกร้อง 3 ประเด็นดังกล่าว สามารถทำความเข้าใจกันได้ถ้าทั้งสองฝ่ายคือ รัฐบาล และฝ่ายผู้เรียกร้องยอมรับเงื่อนไขความเป็นจริง รวมไปถึงข้อจำกัดของรัฐบาลในแต่ละประเด็นดังต่อไปนี้
1. การแปรรูป ปตท.เป็นนโยบายของรัฐที่ต้องการลดจำนวนกิจการที่ดำเนินการในรัฐลงตามแนวทางที่ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลกได้เสนอเพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนของบรรดารัฐวิสาหกิจ และเป็นภาระทางด้านการเงินของรัฐ
ในความเป็นจริงการแปรรูปก็ดี การขายกิจการหรือแม้กระทั่งการเลิกกิจการก็ดี ควรจะดำเนินการกับรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน และมิได้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ จึงจะตรงกับแนวทางแก้ปัญหา แต่ ปตท.มิได้ประสบภาวะขาดทุน และยังเป็นกิจการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานคือ ดำเนินการจัดหาพลังงานให้เพียงพอแก่การใช้งานไม่ขาดแคลน และในขณะเดียวกัน ถ่วงดุลราคามิให้ราคาพลังงานแพงเกินไป
ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องแปรรูป แต่เมื่อแปรรูปแล้วรัฐบาลมีนโยบายต้องการนำกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้งก็ย่อมทำได้โดยการซื้อหุ้นคืนมา และเมื่อหุ้นส่วนใหญ่เป็นของรัฐในฐานะผู้ถือหุ้นข้างมากก็สามารถกำหนดนโยบายในด้านการขาย และการผลิต โดยเน้นความมั่นคง และรักษาระดับราคามิให้สูงเกินไปจนถึงกับทำให้สินค้า และบริการต้องแยกตามต้นทุน และแก้ปัญหาด้วยการขึ้นราคาสินค้าและบริการซึ่งทำให้ประชาชนโดยรวมเดือดร้อนได้
ในขณะที่ ปตท.ยังไม่ถูกนำคืนมาเป็นของรัฐเพื่อมิให้ปัญหาการเรียกร้องบานปลาย และถูกนำไปขยายความจนทำให้รัฐบาลเสื่อมศรัทธา ทางภาครัฐโดยเฉพาะ ปตท.และกระทรวงพลังงานควรจะเปิดเผยต้นทุน ทั้งก๊าซและน้ำมันทั้งที่นำเข้าและผลิตในประเทศให้ชัดเจนว่าเท่าไหร่ในแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้เห็นว่ากำไรที่ได้มิได้สูงเกินไปจนทำให้มองได้ว่าค้ากำไรเกินควร
2. ควรจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซ และน้ำมันที่ผลิตได้ในประเทศว่ามีกี่แห่ง และแต่ละแห่งมีปริมาณสำรองมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงอัตราเสี่ยงในการสำรวจและขุดเจาะโดยเทียบกับประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรปิโตรเลียมว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด เพื่อให้มองเห็นเม็ดเงินที่ลงทุนไป ทั้งนี้เพื่อขจัดข้อกังขาที่ว่าประเทศมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมมาก แต่มีการปิดบังตัวเองเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทต่างชาติดังที่บางคนนำข้อมูลมากล่าวอ้าง
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าคนไทยทุกคนคงไม่มีใครอยากเห็นประเทศไทยถูกต่างชาติเอาเปรียบในด้านการลงทุน แต่ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการต่างชาติ ก็คงไม่มีใครอยากเสี่ยงโดยที่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ดังนั้น หลักการลงทุนที่น่าจะยอมรับได้ก็คือ ประเทศไทยในฐานะเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ก็ควรจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการให้สัมปทานหรือร่วมลงทุน และผู้ลงทุนโดยการรับสัมปทานหรือร่วมลงทุนย่อมรับได้กับเงื่อนไขที่ประเทศไทยกำหนดการลงทุนจึงจะเกิดขึ้นได้ และดีที่สุดเท่าที่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีทุนเงินบุคลากร และเทคโนโลยีจำกัดควรจะได้รับ