ASTV ผู้จัดการรายวัน – โบรกฯเชื่อโค้งสุดท้าย ดัชนีพักฐานต่อ เพื่อกลับไปสู่ขาขึ้นอีกรอบ ภาพรวมนักลงทุนยังชะลอซื้อ เหตุราคาหุ้นหลายตัวปรับตัวขึ้นไปสูงจัด ส่วนระยะยาวเม็ดเงินQE ของนานาประเทศยกเว้นสหรัฐฯ บวกการลงทุนภาครัฐ ช่วยสนับสนุน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย(3-7พ.ย.) ว่าดัชนี SET ปรับลดลงหลังตลาดขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆโดยสิ้นสัปดาห์แรกของเดือนพ.ย. ดัชนีปิดที่ระดับ 1,578.37 จุด ลดลง 0.37% จากสัปดาห์ก่อน มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 17.50% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 55,743.88 ล้านบาท
ภาพรวม ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับแกว่งตัวผันผวนตลอดสัปดาห์นี้ โดยมีแรงขายทำกำไร หลังดัชนีปรับตัวขึ้นแรงในสัปดาห์ก่อนหน้า สลับกับแรงซื้อเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 3/57 ช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดขาดปัจจัยสนับสนุนเชิงบวกใหม่ๆ อีกทั้งนักลงทุนยังคงระมัดระวังในการซื้อหุ้นเพิ่มเติมหลังราคาหลักทรัพย์หลายตัวปรับตัวสูงขึ้นพอสมควร
ทำให้ประเมินแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (10-14 พ.ย.)ว่า ดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวลง อันเป็นผลจากการปรับเปลี่ยนเงินทุนในตลาดโลก รวมทั้ง ความเสี่ยงที่ผลประกอบการบริษัทอาจถูกปรับลง สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยรายงานออกมา คือ ยอดค้าปลีก และความเชื่อมั่นผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการเปิดเผยข้อมูลจีดีพีประจำไตรมาส 3/57 ของประเทศในยูโรโซนด้วย
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงคล้ายกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในแดนลบ จากแรงขายทำกำไร หลังจากที่ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษออกมา
ขณะเดียวกัน หลายบริษัทก็มีการประกาศผลประกอบการกันออกมาแล้ว ทำให้ตลาดฯ มีการพักตัว เนื่องจากกำไรของบริษัทโดยรวมอ่อนตัว อีกทั้งตลาด SET ในปัจจุบันก็ถือว่าไม่ถูกแล้ว เนื่องจากมีการเทรดด้วยค่า P/E ของปีนี้ที่ 18 เท่า และปี2558 ที่ 15.5 เท่า ดังนั้น ตลาดจึงอยู่ในช่วงพักตัว
“คาดว่าตลาดมีโอกาสที่จะอ่อนตัวลงจากแรงขายทำกำไรที่คาดว่าจะมีมากกว่าแรงซื้อ เนื่องจาก Valuation ถือว่าเต็มมูลค่าของปีนี้แล้ว และยังมีความเสี่ยงในแง่ของการปรับลดประมาณการกำไรลงด้วยสำหรับหุ้นบางตัวหลังจากที่ผลประกอบการงวดไตรมาส 3/57 ออกมาไม่ดี นอกจากนี้ กนง. ก็เล็งที่จะปรับลดเป้าประมาณการตัวเลข GDP ลงด้วย อย่างไรก็ดี หากตัวเลขอัตราการว่างงานสหรัฐฯออกมาในเชิงบวกก็อาจจะหนุนให้ตลาดปรับตัวขึ้นได้บ้าง พร้อมให้แนวรับ 1,570-1,560 จุด ส่วนแนวต้าน 1,595-1,600 จุด”
ทั้งนี้ มีการประเมินว่า ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายในปี 2557 จะเป็นช่วงขาขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทย ทำให้มีโอกาสได้เห็นดัชนีปรับตัวแตะระดับ 1,650-1,700 จุด เนื่องจากดัชนีได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ประกอบกับทิศทางตลาดที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์จากเงินไหลเข้าต่างๆ ด้วย รวมทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่จะเป็นแรงส่งให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับขึ้นต่อเนื่องได้
แต่ยังมีสิ่งที่น่ากังวล คือ การที่ญี่ปุ่นอัดมาตรการQE ซึ่งอาจจะทำให้ค่าเงินผันผวน อย่างไรก็ตามถ้ามองการลงทุนในระยะกลางและยาว ถือเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน แม้ในระยะสั้นอาจมีเงินบางส่วนไหลออกบ้าง แต่โดยรวมนักวิเคราะห์เชื่อว่า เม็ดเงินลงทุนยังไหลอยู่ในตลาดเอเชีย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย(3-7พ.ย.) ว่าดัชนี SET ปรับลดลงหลังตลาดขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆโดยสิ้นสัปดาห์แรกของเดือนพ.ย. ดัชนีปิดที่ระดับ 1,578.37 จุด ลดลง 0.37% จากสัปดาห์ก่อน มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 17.50% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 55,743.88 ล้านบาท
ภาพรวม ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับแกว่งตัวผันผวนตลอดสัปดาห์นี้ โดยมีแรงขายทำกำไร หลังดัชนีปรับตัวขึ้นแรงในสัปดาห์ก่อนหน้า สลับกับแรงซื้อเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 3/57 ช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดขาดปัจจัยสนับสนุนเชิงบวกใหม่ๆ อีกทั้งนักลงทุนยังคงระมัดระวังในการซื้อหุ้นเพิ่มเติมหลังราคาหลักทรัพย์หลายตัวปรับตัวสูงขึ้นพอสมควร
ทำให้ประเมินแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (10-14 พ.ย.)ว่า ดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวลง อันเป็นผลจากการปรับเปลี่ยนเงินทุนในตลาดโลก รวมทั้ง ความเสี่ยงที่ผลประกอบการบริษัทอาจถูกปรับลง สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยรายงานออกมา คือ ยอดค้าปลีก และความเชื่อมั่นผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการเปิดเผยข้อมูลจีดีพีประจำไตรมาส 3/57 ของประเทศในยูโรโซนด้วย
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงคล้ายกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในแดนลบ จากแรงขายทำกำไร หลังจากที่ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษออกมา
ขณะเดียวกัน หลายบริษัทก็มีการประกาศผลประกอบการกันออกมาแล้ว ทำให้ตลาดฯ มีการพักตัว เนื่องจากกำไรของบริษัทโดยรวมอ่อนตัว อีกทั้งตลาด SET ในปัจจุบันก็ถือว่าไม่ถูกแล้ว เนื่องจากมีการเทรดด้วยค่า P/E ของปีนี้ที่ 18 เท่า และปี2558 ที่ 15.5 เท่า ดังนั้น ตลาดจึงอยู่ในช่วงพักตัว
“คาดว่าตลาดมีโอกาสที่จะอ่อนตัวลงจากแรงขายทำกำไรที่คาดว่าจะมีมากกว่าแรงซื้อ เนื่องจาก Valuation ถือว่าเต็มมูลค่าของปีนี้แล้ว และยังมีความเสี่ยงในแง่ของการปรับลดประมาณการกำไรลงด้วยสำหรับหุ้นบางตัวหลังจากที่ผลประกอบการงวดไตรมาส 3/57 ออกมาไม่ดี นอกจากนี้ กนง. ก็เล็งที่จะปรับลดเป้าประมาณการตัวเลข GDP ลงด้วย อย่างไรก็ดี หากตัวเลขอัตราการว่างงานสหรัฐฯออกมาในเชิงบวกก็อาจจะหนุนให้ตลาดปรับตัวขึ้นได้บ้าง พร้อมให้แนวรับ 1,570-1,560 จุด ส่วนแนวต้าน 1,595-1,600 จุด”
ทั้งนี้ มีการประเมินว่า ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายในปี 2557 จะเป็นช่วงขาขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทย ทำให้มีโอกาสได้เห็นดัชนีปรับตัวแตะระดับ 1,650-1,700 จุด เนื่องจากดัชนีได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ประกอบกับทิศทางตลาดที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์จากเงินไหลเข้าต่างๆ ด้วย รวมทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่จะเป็นแรงส่งให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับขึ้นต่อเนื่องได้
แต่ยังมีสิ่งที่น่ากังวล คือ การที่ญี่ปุ่นอัดมาตรการQE ซึ่งอาจจะทำให้ค่าเงินผันผวน อย่างไรก็ตามถ้ามองการลงทุนในระยะกลางและยาว ถือเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน แม้ในระยะสั้นอาจมีเงินบางส่วนไหลออกบ้าง แต่โดยรวมนักวิเคราะห์เชื่อว่า เม็ดเงินลงทุนยังไหลอยู่ในตลาดเอเชีย