วานนี้ (6พ.ย.) ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) พร้อมด้วย นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ทำการสุ่มตรวจสอบพื้นที่ทำนาของเกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการวางมาตรการป้องกันการทุจริตต่างๆ หลังรัฐบาลมีนโยบายจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย ไร่ละ1,000 บาท
นายประยงค์ กล่าวว่า ได้สนธิกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สตง.-ปปท.-ปปช. ดีเอสไอ- ปปง.-ปปป.ตร. และ กตร. ในนามศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งช่วงเช้าได้ไปรับฟังขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการนี้ ที่สำนักงานเกษตร อ.บางปะอิน ทราบว่าผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีนโยบายในการแจ้งขึ้นทะเบียน โดยเกษตรกรทุกคนต้องลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันข้อมูล หากมีการแจ้งเท็จ ก็จะสามารถตรวจสอบได้
ทั้งนี้ได้มีการตกลงร่วมกัน ระหว่างศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ กับผู้ว่าฯ จ.นครศรีอยุธยา ในการพัฒนาฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อเป็นต้นแบบพัฒนาในพื้นที่อื่นต่อไป โดยจะเริ่มบูรณาการด้านฐานข้อมูลในสัปดาห์หน้า สำหรับฐานข้อมูลเดิมนั้นมีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง และยังมีช่องว่าง หรือจุดอ่อนอยู่ จึงต้องหาวิธีที่รัดกุม และทึ่มีการสุ่มตรวจสอบพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั้น ก็เพื่อตรวจสอบว่า ตามขึ้นตอนที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดนั้น ในทางปฏิบัติจริงจะเป็นอย่างไร ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จากเกษตรอำเภอ และจากศูนย์ฯ ทดลองวัดพื้นที่โดยใช้ฐานวัดคนละระบบ เบื้องต้นพบข้อมูลใกล้เคียงกัน ซึ่งหลังจากนี้ เราจะนำข้อมูลบันทึกในแผนที่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นฐานข้อมูลหลักในการพัฒนาระบบต่อไป
เลขาธิการ ปปท. กล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาในการดำเนินการ และปัญหาการทุจริต แต่ได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอว่า ข้อมูลเดิมที่มีอยู่มีปัญหาในบางพื้นที่ ที่บันทึกข้อมูลไปแล้ว ปัจจุบันพบว่าไม่ได้ทำนา นอกจากนี้ยังมีปัญหา เครื่องจีพีเอส ไม่เพียงพอ ซึ่งในอำเภอบางปะอิน มีเพียง 3 เครื่องเท่านั้น และเจ้าหน้าที่มีน้อย จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ทุกพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ในการสุ่มตรวจ เราได้แบ่งเป็น 2ช่วง ซึ่งในช่วงแรกคือ ก่อนวันที่ 15พ.ย.นี้ และช่วงที่สองคือ หลังจาก 15พ.ย.57 เป็นการตรวจสอบเชิงลึก โดยในการตรวสอบจะเเบ่งกลุ่มเกษตรกรเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับเงิน และได้รับแจ้งข้อร้องเรียน ซึ่งแต่ละกลุ่มต้องแยกออกอีกว่าเป็นรายเก่าหรือรายใหม่ ทั้งนี้กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนเมื่อช่วง1ต.ค. จะเป็นเกษตรกรรายใหม่
ทั้งนี้ จากข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตร ยังพบมีปัญหาบ้าง ซึ่งเป็นที่มาของการการร่วมทำงานในครั้งนี้ และการลงพื้นที่ครั้งนี้ เรายังไม่พบการทุจริตใดๆเกิดขึ้น แต่ที่ผ่านมาเคยมีการทุจริตโครงการต่างๆ ของรัฐบาล เราจึงกลัวว่าจะเกิดขึ้นซ้ำอีก ซึ่งทางรัฐบาลก็อยากให้โครงการดีๆ เกิดประโยชน์แก่ชาวนาจริงๆ จึงได้กำหนดให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติเข้ามาดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่เน้นการป้องกันเป็นหลัก แต่ถ้าหากพบว่ามีการทุจริตก็จะดำเนินการทันที ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรที่แจ้งเท็จ หรือเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ สำหรับฐานข้อมูล หลักที่ใช้วัดในขณะนี้ เป็นข้อมูลของกรมส่งเสริมเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งยังมีบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์ก็จะนำฐานข้อมูลจาก ธกส.มาประกอบด้วย
นายประยงค์ กล่าวว่า ได้สนธิกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สตง.-ปปท.-ปปช. ดีเอสไอ- ปปง.-ปปป.ตร. และ กตร. ในนามศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งช่วงเช้าได้ไปรับฟังขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการนี้ ที่สำนักงานเกษตร อ.บางปะอิน ทราบว่าผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีนโยบายในการแจ้งขึ้นทะเบียน โดยเกษตรกรทุกคนต้องลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันข้อมูล หากมีการแจ้งเท็จ ก็จะสามารถตรวจสอบได้
ทั้งนี้ได้มีการตกลงร่วมกัน ระหว่างศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ กับผู้ว่าฯ จ.นครศรีอยุธยา ในการพัฒนาฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อเป็นต้นแบบพัฒนาในพื้นที่อื่นต่อไป โดยจะเริ่มบูรณาการด้านฐานข้อมูลในสัปดาห์หน้า สำหรับฐานข้อมูลเดิมนั้นมีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง และยังมีช่องว่าง หรือจุดอ่อนอยู่ จึงต้องหาวิธีที่รัดกุม และทึ่มีการสุ่มตรวจสอบพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั้น ก็เพื่อตรวจสอบว่า ตามขึ้นตอนที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดนั้น ในทางปฏิบัติจริงจะเป็นอย่างไร ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จากเกษตรอำเภอ และจากศูนย์ฯ ทดลองวัดพื้นที่โดยใช้ฐานวัดคนละระบบ เบื้องต้นพบข้อมูลใกล้เคียงกัน ซึ่งหลังจากนี้ เราจะนำข้อมูลบันทึกในแผนที่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นฐานข้อมูลหลักในการพัฒนาระบบต่อไป
เลขาธิการ ปปท. กล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาในการดำเนินการ และปัญหาการทุจริต แต่ได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอว่า ข้อมูลเดิมที่มีอยู่มีปัญหาในบางพื้นที่ ที่บันทึกข้อมูลไปแล้ว ปัจจุบันพบว่าไม่ได้ทำนา นอกจากนี้ยังมีปัญหา เครื่องจีพีเอส ไม่เพียงพอ ซึ่งในอำเภอบางปะอิน มีเพียง 3 เครื่องเท่านั้น และเจ้าหน้าที่มีน้อย จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ทุกพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ในการสุ่มตรวจ เราได้แบ่งเป็น 2ช่วง ซึ่งในช่วงแรกคือ ก่อนวันที่ 15พ.ย.นี้ และช่วงที่สองคือ หลังจาก 15พ.ย.57 เป็นการตรวจสอบเชิงลึก โดยในการตรวสอบจะเเบ่งกลุ่มเกษตรกรเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับเงิน และได้รับแจ้งข้อร้องเรียน ซึ่งแต่ละกลุ่มต้องแยกออกอีกว่าเป็นรายเก่าหรือรายใหม่ ทั้งนี้กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนเมื่อช่วง1ต.ค. จะเป็นเกษตรกรรายใหม่
ทั้งนี้ จากข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตร ยังพบมีปัญหาบ้าง ซึ่งเป็นที่มาของการการร่วมทำงานในครั้งนี้ และการลงพื้นที่ครั้งนี้ เรายังไม่พบการทุจริตใดๆเกิดขึ้น แต่ที่ผ่านมาเคยมีการทุจริตโครงการต่างๆ ของรัฐบาล เราจึงกลัวว่าจะเกิดขึ้นซ้ำอีก ซึ่งทางรัฐบาลก็อยากให้โครงการดีๆ เกิดประโยชน์แก่ชาวนาจริงๆ จึงได้กำหนดให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติเข้ามาดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่เน้นการป้องกันเป็นหลัก แต่ถ้าหากพบว่ามีการทุจริตก็จะดำเนินการทันที ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรที่แจ้งเท็จ หรือเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ สำหรับฐานข้อมูล หลักที่ใช้วัดในขณะนี้ เป็นข้อมูลของกรมส่งเสริมเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งยังมีบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์ก็จะนำฐานข้อมูลจาก ธกส.มาประกอบด้วย