ASTVผู้จัดการรายวัน - ธุรกิจค้าปลีกในเซ็กเมนต์ห้างสรรพสินค้าหรือดีพาร์ทเมนต์สโตร์ ในไทย ทุนท้องถิ่นรายใหญ่ของไทยคือ เซ็นทรัลกับโรบินสัน ซึ่งเป็นเครือเดียวกัน และอีกค่ายคือเดอะมอลล์ แทบจะยึดตลาดไว้หมดแล้ว มีสอดแทรกบ้างคือ ห้างจากญี่ปุ่น เพียง 2 แบรนด์ในไทย คือ “ โตคิว” และ “อิเซตัน” ที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่ก็มิอาจถือเป็นคู่แข่งของห้างสัญชาติไทยได้ เพราะแต่ละแบรนด์ล้วนมีสาขาเดียว และจับกลุ่มเป้าหมายหลักคือญี่ปุ่น
ดังนั้นบทบาทของห้างญี่ปุ่นในไทยจึงไม่ได้โดดเด่นหรือเป็นผู้กำหนดเทรนด์ตลาดเท่าใดนัก แตกต่างจากในอดีตที่ห้างสัญชาติญี่ปุ่นเข้ามาเปิดบริการในไทยมาก และมีบทบาทไม่น้อย ผิดกับค้าปลีกเซ็กเมนต์อื่นในไทยที่ทุนจากญี่ปุ่นกลับมีบทบาทมากไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอนวีเนียสโตร์ สเปเชียลตี้สโตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เป็นต้นทว่า วินาทีนี้ ดูเหมือนว่า ธุรกิจห้างญี่ปุ่น เริ่มมีความเคลื่อนไหวให้จับตามองอีกแล้วเมื่อ “ทาคาชิมาย่า” ยักษ์ใหญ่จากแดนอาทิตย์อุทัย บินข้ามฟ้ามาปักธงลงทุนในไทย
นายโคจิ ซูซูกิ ประธานกรรมการ บริษัท ทาคาชิมาย่า จำกัด ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าระดับพรีเมี่ยมที่มียอดขายติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า บริษัทฯใช้เวลาศึกษาตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยมาตลอดเวลา 30-40 ปีจนพบว่า ในบางช่วงเวลาแม้ประเทศไทยอาจมีปัจจัยลบในบางด้านบ้าง เช่น การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนภัยพิบัติธรรมชาติ
แต่โดยรวมแล้วไม่ถือเป็นผลกระทบในระยะยาว ทั้งยังคงมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่เรามีพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีในประเทศไทย จึงทำให้ตัดสินใจลงทุนในครั้งนี้
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ห้างสรรพสินค้า “ทาคาชิมาย่า” กำเนิดขึ้นในไทย เป็นสาขาแรก ในนามบริษัท สยาม ทาคาชิมาย่า (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กับ ทาคาชิมาย่า ญี่ปุน ด้วยทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท ฝ่ายไทย 51% และญี่ปุ่น 49% ด้วยงบประมาณลงทุน 3,000 กว่าล้านบาท บนพื้นที่กว่า 36,000 ตารางเมตร ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดิไอคอนสยาม
ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง ซึ่งคาดว่าจะเปิดบริการได้ภายในปี 2560
โครงการนี้สูง 7 ชั้น มีพื้นที่จำหน่ายสินค้าคุณภาพสูงแบรนด์ดัง ระดับลักซ์ชัวรี่ จากประเทศญี่ปุ่น ไทย และนานาประเทศทั่วโลก ทั้งในส่วนของเครื่องสำอาง เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของสุภาพบุรุษและสตรี ผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน อาหาร-เครื่องดื่ม และอื่นๆ
นายโคจิ ซูซูกิ กล่าวว่า การลงทุนครั้งนี้ไม่เป็นการแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นในไทยด้วยกัน เพราะผู้ประกอบการทั้ง 2 รายคือ “อิเซตัน” และ “โตคิว” ต่างดำเนินธุรกิจในลักษณะที่มอบประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้าซึ่งถือเป็นการแข่งขันในทิศทางที่ดีต่อธุรกิจ ส่วน “ทาคาชิมาย่า” เป็นการลงทุนในพื้นที่ที่ต่างกันคือฝั่งธนบุรีฯจึงเท่ากับเป็นการสร้างตลาดใหม่ไม่ได้ไปแข่งขันกับสองห้างเดิมแต่อย่างใด
ที่สำคัญก็จะไม่มีห้างทุนไทยเองในย่านดังกล่าวด้วย เท่ากับว่าเป็นกลยุทธ์รุกตลาดขั้นแรกที่ไร้คู่แข่งจริงๆ
“เราเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีเครือข่ายซัพพลายเชนจัดหาสินค้าที่แข็งแกร่งที่สุดรายหนึ่งของวงการค้าปลีก เพื่อนำเสนอสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่นและสินค้าแบรนด์ประเทศอื่นๆ มากมายที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย และยังมีสินค้าอีกหลายชนิดที่จะมีจำหน่ายเฉพาะที่ห้างสรรพสินค้าทาคาชิมาย่าสาขานี้เท่านั้น”
รวมทั้งเฮาส์แบรนด์ “Takashimaya” สินค้าแฟชั่นและสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดเล็กที่ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษของ “ทาคาชิมาย่า” โดยเฉพาะภายใต้แบรนด์ “Voice File” ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในญี่ปุ่น
“ทาคาชิมาย่า มีสินค้าตามซีซั่นส์ หรือตามฤดูกาล สามารถปรับเปลี่ยนสินค้าภายในร้านให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละฤดูกาล จึงมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงดิสเพลย์ หรือการจัดวางสินค้าและตัวสินค้าในร้านค้าอิสระเหล่านี้จะทำให้ภาพรวมของห้างสรรพสินค้ามีความแปลกใหม่และมีชีวิตชีวามากและดึงดูดความสนใจของลูกค้าและนักท่องเที่ยวได้มากเป็นพิเศษ”
นายยูทากะ ยามากูชิ กรรมการผู้จัดการโครงการในประเทศไทย บริษัท ทาคาชิมาย่า จำกัด กล่าวว่า เราตัดสินใจร่วมทุนกับไอคอนสยาม เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าในภูมิภาคได้มากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยและก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของทาคาชิมาย่า
เนื่องจากปัจจุบันประชากรในประเทศไทยมีรายได้สูง และเป็นผู้ที่มีรสนิยมดี จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้าที่มีอำนาจการจับจ่ายและมองหาสินค้าคุณภาพสูงที่มีจำหน่ายที่ห้างของเราได้อย่างรวดเร็วยังย้ำด้วยว่า ทาคาชิมาย่ากำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะลงทุนเปิดสาขาอื่นเพิ่มในประเทศไทยในอนาคต ห้างสรรพสินค้า “ทาคาชิมาย่า” ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 180 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันมี 19 สาขาในประเทศญี่ปุ่น โดยมีสาขาต่างประเทศ 3 แห่งคือสิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้ และไทเป นอกจากนี้ ในปี 2559 ยังจะเปิดอีก 1 สาขาในกรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม โดยมีเป้าหมายว่าภายในเวลา 5 ปี หรือปี 2561 จะมีสาขาในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นจำนวน 5 สาขา
“ในปี 2556 บริษัทฯ มีรายได้รวมมากกว่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 300,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนรายได้จากสาขาต่างประเทศประมาณ 15-20% โดยก่อนหน้านี้บริษัทฯ ให้ความสำคัญเรื่องแผนการลงทุนต่างประเทศ 2 กลุ่มคือ ประเทศจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน แต่หลังจากที่มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ทางการเมืองกับประเทศจีน จึงทำให้เปลี่ยนแผนมาเน้นกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก”นายโคจิ ซูซูกิ กล่าว
นายโคจิ ซูซูกิ กล่าวทิ้งท้ายอย่างน่าสนใจว่า ห้างสรรพสินค้าถือเป็นธุรกิจที่ต้องวางแผนระยะยาว โดยเฉพาะในส่วนของตลาดต่างประเทศซึ่งแต่ละพื้นที่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันและต้องพิจารณาถึงปัจจัยด้านต่างๆ จึงทำให้ไม่สามารถประเมินได้ว่าการลงทุนแต่ละสาขาต้องใช้เวลาเท่าใดในการคืนทุนและทำผลกำไร เช่น สาขาสิงคโปร์ซึ่งเปิดดำเนินการมากว่า 20 ปี แต่เพิ่งมีผลกำไรเพิ่มขึ้นในปี 2556 เพียง 3 เท่าตัวเท่านั้น เพราะฉะนั้นการลงทุนในประเทศไทยครั้งนี้จึงคาดว่าอาจใช้เวลาคืนทุนประมาณ 5 ปีขึ้นไปนี่คือกลยุทธ์และทิศทางของห้าง“ทาคาชิมาย่า” ที่จะรุกตลาดในไทย ที่คาดว่าจะมาสร้างสีสันวงการค้าปลีกได้อีกมุมหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม นอกจาก ห้างทาคาชิมาย่า นี้แล้ว ก็ยังมีอีกสองค่ายจากญี่ปุนที่อยู่ในไทยมานา โดยเฉพาะ ค่าย”โตคิว ดีพาร์ทเมนสโตร์” ที่ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ เพียงสาขาเดียว เกือบ 30 ปี ซึ่งมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในรอบ 30 ปีคือ การขยายสาขาที่สอง ที่ศูนย์การค้าพาราไดซ์ปาร์ค ถนนศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
คาดว่าจะเปิดบริการได้ในไตรมาสแรกปี 2558
ทั้งนี้ ห้างโตคิวสาขาที่สอง เป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท พาราไดศ์ รีเทล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษํท เอ็ม บี เค กรุ๊ป ถือหุ้น 50% และบริษัท กรุงเทพ-โตคิว สรรพสินค้า จำกัด ถือหุ้น 50% จากมูลค่าการลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งทำให้การขยายธุรกิจครั้งใหม่นี้ของโตคิวดูน่าเกรงขามไม่น้อย เพราะไมใช่ลุยเดี่ยวแต่เป็นการร่วมทุนกับทุนท้องถิ่นที่มีประสบการณ์ค้าปลีกมานาน อีกทั้งยังเป็นเจ้าของพิ้นที่อันเป็นสถานที่ตั้งของโตคิวอีกด้วยสาขาที่สองที่พาราไดซ์ปาร์คนี้ มีพื้นที่ 13,165 ตารางเมตร พื้นที่ 2 ชั้น หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับกำลังซื้อกลางขึ้นสูงในย่านถนนศรีนครินทร์ในเขตกรุงเทพฯตะวันออก มากกว่า 1,700,000 ครัวเรือน ครอบคลุม 10 เขต ในรัซมี 10 กิโลเมตร
ส่วนอีกค่ายคือ อิเซตัน ที่เปิดดำเนินการในไทยมาตั้งแต่ปี 2535 ก็ยังไม่มีแผนขยายสาขาที่สองในไทย แต่จะทำการปรับปรุงและบริการในสาขาเดียวที่เซ็นทรัลเวิลด์นี้ให้ดีต่อเนื่อง ซึ่ง นายทาคิอะคุเนะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อิเซตัน (ประเทศไทย ) จำกัด กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ในช่วง 3-5 ปีจากนี้ จะทำการปรับปรุงพื้นที่และบริการสม่ำเสมอเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นและสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการชอปปิ้งชองลูกค้า ส่วนยอดขายปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน ขณะที่ 3 ไตรมาสแรกปีนี้ยอดขายรวมยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ 15-20% ส่วนยอดขายรวมปี 2556 มีประมาณ 1,400 ล้านบาท
แม้ว่าสัดส่วนตลาดห้างสรรพสินค้าของญี่ปุ่นในไทยจะไม่มากก็ตามแต่ก็มีกลุ่มเป้าหมายของตัวเองที่ชัดเจน และมีการเติบโตแบบน้ำซึมบ่อทรายเรื่อยๆ และหลังจากนี้ไป ก็คงจะสร้างสีสันด้านการตลาดให้กับค้าปลีกไทยไม่มากก็น้อย
ดังนั้นบทบาทของห้างญี่ปุ่นในไทยจึงไม่ได้โดดเด่นหรือเป็นผู้กำหนดเทรนด์ตลาดเท่าใดนัก แตกต่างจากในอดีตที่ห้างสัญชาติญี่ปุ่นเข้ามาเปิดบริการในไทยมาก และมีบทบาทไม่น้อย ผิดกับค้าปลีกเซ็กเมนต์อื่นในไทยที่ทุนจากญี่ปุ่นกลับมีบทบาทมากไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอนวีเนียสโตร์ สเปเชียลตี้สโตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เป็นต้นทว่า วินาทีนี้ ดูเหมือนว่า ธุรกิจห้างญี่ปุ่น เริ่มมีความเคลื่อนไหวให้จับตามองอีกแล้วเมื่อ “ทาคาชิมาย่า” ยักษ์ใหญ่จากแดนอาทิตย์อุทัย บินข้ามฟ้ามาปักธงลงทุนในไทย
นายโคจิ ซูซูกิ ประธานกรรมการ บริษัท ทาคาชิมาย่า จำกัด ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าระดับพรีเมี่ยมที่มียอดขายติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า บริษัทฯใช้เวลาศึกษาตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยมาตลอดเวลา 30-40 ปีจนพบว่า ในบางช่วงเวลาแม้ประเทศไทยอาจมีปัจจัยลบในบางด้านบ้าง เช่น การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนภัยพิบัติธรรมชาติ
แต่โดยรวมแล้วไม่ถือเป็นผลกระทบในระยะยาว ทั้งยังคงมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่เรามีพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีในประเทศไทย จึงทำให้ตัดสินใจลงทุนในครั้งนี้
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ห้างสรรพสินค้า “ทาคาชิมาย่า” กำเนิดขึ้นในไทย เป็นสาขาแรก ในนามบริษัท สยาม ทาคาชิมาย่า (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กับ ทาคาชิมาย่า ญี่ปุน ด้วยทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท ฝ่ายไทย 51% และญี่ปุ่น 49% ด้วยงบประมาณลงทุน 3,000 กว่าล้านบาท บนพื้นที่กว่า 36,000 ตารางเมตร ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดิไอคอนสยาม
ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง ซึ่งคาดว่าจะเปิดบริการได้ภายในปี 2560
โครงการนี้สูง 7 ชั้น มีพื้นที่จำหน่ายสินค้าคุณภาพสูงแบรนด์ดัง ระดับลักซ์ชัวรี่ จากประเทศญี่ปุ่น ไทย และนานาประเทศทั่วโลก ทั้งในส่วนของเครื่องสำอาง เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของสุภาพบุรุษและสตรี ผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน อาหาร-เครื่องดื่ม และอื่นๆ
นายโคจิ ซูซูกิ กล่าวว่า การลงทุนครั้งนี้ไม่เป็นการแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นในไทยด้วยกัน เพราะผู้ประกอบการทั้ง 2 รายคือ “อิเซตัน” และ “โตคิว” ต่างดำเนินธุรกิจในลักษณะที่มอบประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้าซึ่งถือเป็นการแข่งขันในทิศทางที่ดีต่อธุรกิจ ส่วน “ทาคาชิมาย่า” เป็นการลงทุนในพื้นที่ที่ต่างกันคือฝั่งธนบุรีฯจึงเท่ากับเป็นการสร้างตลาดใหม่ไม่ได้ไปแข่งขันกับสองห้างเดิมแต่อย่างใด
ที่สำคัญก็จะไม่มีห้างทุนไทยเองในย่านดังกล่าวด้วย เท่ากับว่าเป็นกลยุทธ์รุกตลาดขั้นแรกที่ไร้คู่แข่งจริงๆ
“เราเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีเครือข่ายซัพพลายเชนจัดหาสินค้าที่แข็งแกร่งที่สุดรายหนึ่งของวงการค้าปลีก เพื่อนำเสนอสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่นและสินค้าแบรนด์ประเทศอื่นๆ มากมายที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย และยังมีสินค้าอีกหลายชนิดที่จะมีจำหน่ายเฉพาะที่ห้างสรรพสินค้าทาคาชิมาย่าสาขานี้เท่านั้น”
รวมทั้งเฮาส์แบรนด์ “Takashimaya” สินค้าแฟชั่นและสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดเล็กที่ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษของ “ทาคาชิมาย่า” โดยเฉพาะภายใต้แบรนด์ “Voice File” ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในญี่ปุ่น
“ทาคาชิมาย่า มีสินค้าตามซีซั่นส์ หรือตามฤดูกาล สามารถปรับเปลี่ยนสินค้าภายในร้านให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละฤดูกาล จึงมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงดิสเพลย์ หรือการจัดวางสินค้าและตัวสินค้าในร้านค้าอิสระเหล่านี้จะทำให้ภาพรวมของห้างสรรพสินค้ามีความแปลกใหม่และมีชีวิตชีวามากและดึงดูดความสนใจของลูกค้าและนักท่องเที่ยวได้มากเป็นพิเศษ”
นายยูทากะ ยามากูชิ กรรมการผู้จัดการโครงการในประเทศไทย บริษัท ทาคาชิมาย่า จำกัด กล่าวว่า เราตัดสินใจร่วมทุนกับไอคอนสยาม เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าในภูมิภาคได้มากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยและก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของทาคาชิมาย่า
เนื่องจากปัจจุบันประชากรในประเทศไทยมีรายได้สูง และเป็นผู้ที่มีรสนิยมดี จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้าที่มีอำนาจการจับจ่ายและมองหาสินค้าคุณภาพสูงที่มีจำหน่ายที่ห้างของเราได้อย่างรวดเร็วยังย้ำด้วยว่า ทาคาชิมาย่ากำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะลงทุนเปิดสาขาอื่นเพิ่มในประเทศไทยในอนาคต ห้างสรรพสินค้า “ทาคาชิมาย่า” ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 180 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันมี 19 สาขาในประเทศญี่ปุ่น โดยมีสาขาต่างประเทศ 3 แห่งคือสิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้ และไทเป นอกจากนี้ ในปี 2559 ยังจะเปิดอีก 1 สาขาในกรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม โดยมีเป้าหมายว่าภายในเวลา 5 ปี หรือปี 2561 จะมีสาขาในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นจำนวน 5 สาขา
“ในปี 2556 บริษัทฯ มีรายได้รวมมากกว่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 300,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนรายได้จากสาขาต่างประเทศประมาณ 15-20% โดยก่อนหน้านี้บริษัทฯ ให้ความสำคัญเรื่องแผนการลงทุนต่างประเทศ 2 กลุ่มคือ ประเทศจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน แต่หลังจากที่มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ทางการเมืองกับประเทศจีน จึงทำให้เปลี่ยนแผนมาเน้นกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก”นายโคจิ ซูซูกิ กล่าว
นายโคจิ ซูซูกิ กล่าวทิ้งท้ายอย่างน่าสนใจว่า ห้างสรรพสินค้าถือเป็นธุรกิจที่ต้องวางแผนระยะยาว โดยเฉพาะในส่วนของตลาดต่างประเทศซึ่งแต่ละพื้นที่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันและต้องพิจารณาถึงปัจจัยด้านต่างๆ จึงทำให้ไม่สามารถประเมินได้ว่าการลงทุนแต่ละสาขาต้องใช้เวลาเท่าใดในการคืนทุนและทำผลกำไร เช่น สาขาสิงคโปร์ซึ่งเปิดดำเนินการมากว่า 20 ปี แต่เพิ่งมีผลกำไรเพิ่มขึ้นในปี 2556 เพียง 3 เท่าตัวเท่านั้น เพราะฉะนั้นการลงทุนในประเทศไทยครั้งนี้จึงคาดว่าอาจใช้เวลาคืนทุนประมาณ 5 ปีขึ้นไปนี่คือกลยุทธ์และทิศทางของห้าง“ทาคาชิมาย่า” ที่จะรุกตลาดในไทย ที่คาดว่าจะมาสร้างสีสันวงการค้าปลีกได้อีกมุมหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม นอกจาก ห้างทาคาชิมาย่า นี้แล้ว ก็ยังมีอีกสองค่ายจากญี่ปุนที่อยู่ในไทยมานา โดยเฉพาะ ค่าย”โตคิว ดีพาร์ทเมนสโตร์” ที่ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ เพียงสาขาเดียว เกือบ 30 ปี ซึ่งมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในรอบ 30 ปีคือ การขยายสาขาที่สอง ที่ศูนย์การค้าพาราไดซ์ปาร์ค ถนนศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
คาดว่าจะเปิดบริการได้ในไตรมาสแรกปี 2558
ทั้งนี้ ห้างโตคิวสาขาที่สอง เป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท พาราไดศ์ รีเทล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษํท เอ็ม บี เค กรุ๊ป ถือหุ้น 50% และบริษัท กรุงเทพ-โตคิว สรรพสินค้า จำกัด ถือหุ้น 50% จากมูลค่าการลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งทำให้การขยายธุรกิจครั้งใหม่นี้ของโตคิวดูน่าเกรงขามไม่น้อย เพราะไมใช่ลุยเดี่ยวแต่เป็นการร่วมทุนกับทุนท้องถิ่นที่มีประสบการณ์ค้าปลีกมานาน อีกทั้งยังเป็นเจ้าของพิ้นที่อันเป็นสถานที่ตั้งของโตคิวอีกด้วยสาขาที่สองที่พาราไดซ์ปาร์คนี้ มีพื้นที่ 13,165 ตารางเมตร พื้นที่ 2 ชั้น หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับกำลังซื้อกลางขึ้นสูงในย่านถนนศรีนครินทร์ในเขตกรุงเทพฯตะวันออก มากกว่า 1,700,000 ครัวเรือน ครอบคลุม 10 เขต ในรัซมี 10 กิโลเมตร
ส่วนอีกค่ายคือ อิเซตัน ที่เปิดดำเนินการในไทยมาตั้งแต่ปี 2535 ก็ยังไม่มีแผนขยายสาขาที่สองในไทย แต่จะทำการปรับปรุงและบริการในสาขาเดียวที่เซ็นทรัลเวิลด์นี้ให้ดีต่อเนื่อง ซึ่ง นายทาคิอะคุเนะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อิเซตัน (ประเทศไทย ) จำกัด กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ในช่วง 3-5 ปีจากนี้ จะทำการปรับปรุงพื้นที่และบริการสม่ำเสมอเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นและสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการชอปปิ้งชองลูกค้า ส่วนยอดขายปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน ขณะที่ 3 ไตรมาสแรกปีนี้ยอดขายรวมยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ 15-20% ส่วนยอดขายรวมปี 2556 มีประมาณ 1,400 ล้านบาท
แม้ว่าสัดส่วนตลาดห้างสรรพสินค้าของญี่ปุ่นในไทยจะไม่มากก็ตามแต่ก็มีกลุ่มเป้าหมายของตัวเองที่ชัดเจน และมีการเติบโตแบบน้ำซึมบ่อทรายเรื่อยๆ และหลังจากนี้ไป ก็คงจะสร้างสีสันด้านการตลาดให้กับค้าปลีกไทยไม่มากก็น้อย