วานนี้ (21ต.ค.) นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม. เปิดเผยภายหลัง นายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย เข้าหารือ กรณี 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษถูกฆาตกรรม ที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานีว่า ทางเอกอัครราชฑูตได้มีการประสาน เพื่อขอหารือตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ตนติดภารกิจจึงได้นัดหารือกันในวันนี้ โดยมีการพูดคุยกันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กสม. และมุมมองเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน รวมถึงกรณีคดีเรื่องเกาะเต่าด้วย ซึ่งทูตอังกฤษได้ระบุว่า ก่อนหน้านายกรัฐมนตรีของอังกฤษ และนายกรัฐมนตรีของไทย ได้พูดคุยกัน โดยนายกรัฐมนตรีของไทย ยินดีที่รัฐบาลอังกฤษจะส่งตำรวจอังกฤษเข้ามาร่วมกับตำรวจไทย ซึ่งทราบจากทูตอังกฤษว่า ตำรวจอังกฤษ จะเดินทางมาถึงไทยในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ ทูตอังกฤษก็ได้ย้ำว่า ในเรื่องการทำงานการหาข้อมูลคดี เป็นอำนาจหน้าที่ของตำรวจไทย ตำรวจอังกฤษ จะมาร่วมสังเกตการณ์และร่วมมือในเรื่องที่อาจมีการร้องขอเท่านั้น ส่วนขอบข่ายความร่วมมือ ก็จะมีการพูดคุยกันของตำรวจไทยและอังกฤษ เมื่อเดินทางมาถึง
นางอมรา กล่าวอีกว่า การหารือครั้งนี้ ไม่ลงลึกในรายละเอียดเรื่องของคดี โดยทูตอังกฤษ ก็ได้แสดงความกังวลบ้างเล็กน้อย เนื่องจากก็มีแรงกดดันภายในประเทศ ตามที่รัฐมนตรีอังกฤษแสดงความกังวลเกี่ยวกับข่าวการทรมานผู้ต้องหาไปก่อนหน้านี้ และทูตอังกฤษก็รู้สึกดีที่ กสม. เข้ามาตรวจสอบในคดีนี้ เพราะถือว่าจะได้ข้อมูลอีกชุดหนึ่ง ซึ่งต่างจากข้อมูลของตำรวจ เนื่องจาก กสม. ทำงานแยกกับหน่วยงานตำรวจ อย่างเด็ดขาด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตำรวจออกมายืนยันว่า ไม่มีการซ้อมทรมานผู้ต้องหา แต่จากผลการสอบของกสม. ระบุว่า มีการซ้อมทรมานผู้ต้องหาจริง มีหลักฐานยืนยันได้หรือไม่ นางอมรา กล่าวว่า เป็นการตรวจสอบของทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่างคนต่างมีข้อมูล โดยข้อมูลต้องดูวันเวลาว่าพูดตรงกัน หรือไม่ อีกทั้งตำรวจมีหลายทีมในการสอบสวน เวลาดูข้อมูลก็ต้องดูว่าใครเกี่ยวข้องบ้างเพราะคนที่ไม่เกี่ยวข้องก็คงไม่อยากให้ข้อมูล
ทั้งนี้ ทูตอังกฤษก็ได้ย้ำว่า ในเรื่องการทำงานการหาข้อมูลคดี เป็นอำนาจหน้าที่ของตำรวจไทย ตำรวจอังกฤษ จะมาร่วมสังเกตการณ์และร่วมมือในเรื่องที่อาจมีการร้องขอเท่านั้น ส่วนขอบข่ายความร่วมมือ ก็จะมีการพูดคุยกันของตำรวจไทยและอังกฤษ เมื่อเดินทางมาถึง
นางอมรา กล่าวอีกว่า การหารือครั้งนี้ ไม่ลงลึกในรายละเอียดเรื่องของคดี โดยทูตอังกฤษ ก็ได้แสดงความกังวลบ้างเล็กน้อย เนื่องจากก็มีแรงกดดันภายในประเทศ ตามที่รัฐมนตรีอังกฤษแสดงความกังวลเกี่ยวกับข่าวการทรมานผู้ต้องหาไปก่อนหน้านี้ และทูตอังกฤษก็รู้สึกดีที่ กสม. เข้ามาตรวจสอบในคดีนี้ เพราะถือว่าจะได้ข้อมูลอีกชุดหนึ่ง ซึ่งต่างจากข้อมูลของตำรวจ เนื่องจาก กสม. ทำงานแยกกับหน่วยงานตำรวจ อย่างเด็ดขาด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตำรวจออกมายืนยันว่า ไม่มีการซ้อมทรมานผู้ต้องหา แต่จากผลการสอบของกสม. ระบุว่า มีการซ้อมทรมานผู้ต้องหาจริง มีหลักฐานยืนยันได้หรือไม่ นางอมรา กล่าวว่า เป็นการตรวจสอบของทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่างคนต่างมีข้อมูล โดยข้อมูลต้องดูวันเวลาว่าพูดตรงกัน หรือไม่ อีกทั้งตำรวจมีหลายทีมในการสอบสวน เวลาดูข้อมูลก็ต้องดูว่าใครเกี่ยวข้องบ้างเพราะคนที่ไม่เกี่ยวข้องก็คงไม่อยากให้ข้อมูล