โดยปกติผลงานที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เป็นสิ่งที่เข้าใจยากมาก แม้แต่ในหมู่นักวิชาการสาขาเดียวกันเองก็ตาม แต่สำหรับผลงานในปีนี้ซึ่งเพิ่งประกาศไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ไม่ได้ยากเหมือนปีที่ผ่านๆ มา แม้ชาวบ้านทั่วๆ ไปอย่างเราจะไม่เข้าใจว่าผู้ได้รับรางวัลทำอย่างไร แต่เราในฐานะมนุษยชาติคนหนึ่งก็สามารถรับรู้ได้โดยไม่ยากเย็นว่า เราได้รับประโยชน์อะไรบ้างและอย่างไร
นอกจากบทความนี้จะนำผลงานโดยย่อแล้ว ผมจะนำเสนอแนวคิดหรือชีวิตของ 1 ใน 3 ของผู้ร่วมรับรางวัลที่มีศักดิ์ศรีสูงที่สุดของโลกก็ว่าได้ ผมเห็นว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษาเขาจบจากมหาวิทยาลัยที่ไม่มีชื่อเสียงมาก (เจ้าตัวใช้คำว่า It [University] is Very Local , Low Level University) และด้วยผลการศึกษาด้วยเกรดที่ไม่สูงมากนัก แต่เขาได้ก้าวมาสู่รางวัลสูงสุดได้อย่างไร โปรดอ่านให้จบนะครับ ไม่ยากเลย และถ้าเห็นว่าดีก็กรุณาบอกต่อๆกันไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนรุ่นใหม่
ผลงานที่ได้รับรางวัลนี้เกี่ยวข้องกับการคิดค้นและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ให้แสงสว่างหรือหลอดไฟฟ้า แต่เป็น “แสงใหม่ที่ส่องสว่างให้กับชาวโลก” คนไทยเรารู้จักอุปกรณ์ชนิดนี้ในนาม “หลอดแอลอีดี (LED-Light-Emitting Diode)” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานสูงมาก คือ ใช้พลังงานน้อยแต่ให้แสงสว่างมาก และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าเดิมเป็นร้อยเท่า
ในวันประกาศรางวัลดังกล่าวทางเลขาธิการราชวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ของสวีเดนได้นำแผ่นภาพมาอธิบายถึงประวัติศาสตร์การใช้แสงสว่างของมนุษย์ย้อนหลังไปนับหมื่นปีจนถึงปัจจุบันซึ่งผมได้นำมาอธิบายประกอบดังภาพข้างล่างนี้
ความจริงแล้วผู้คิดค้นผลงานชิ้นนี้ ซึ่งประกอบด้วยชาวญี่ปุ่นทั้ง 3 คนคือ ShujiNakamura (วัย 60 ปี), Isamu Akasaki (วัย 85 ปี) และ Hiroshi Amano (วัย 54 ปี)ได้ประสบผลสำเร็จตั้งแต่ปี 2532 หรือเมื่อ 25 ปีมาแล้ว และผลงานชิ้นนี้ก็ได้รับการผลิตในเชิงพาณิชย์มาหลายปีแล้ว แต่ทำไมจึงเพิ่งมาให้รางวัลเอาตอนนี้
ผมเองก็ไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจนดังกล่าวครับ แต่ในคำประกาศรางวัลได้พูดถึง “เป็นการสร้างแหล่งพลังงานชนิดใหม่คือหลอดแอลอีดีสีน้ำเงินที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นไปตามจิตวิญญาณของ Alfred Nobel (ผู้ก่อตั้งรางวัลด้วยทุน $236 ล้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444) ที่ต้องการให้รางวัลกับการคิดค้นผลงานที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติมากที่สุด”
ประกอบกับว่าเงื่อนไขของการให้รางวัลนี้ ผู้ที่ได้รับจะต้องเป็นผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น แม้ผลงานจะสำเร็จนานมาถึง 25 ปีแล้วก็ไม่เป็นปัญหา ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ยิ่งเมื่อได้ทราบในภายหลังว่าผลงานดังกล่าวมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติจำนวนมากทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม และในด้านการเปิดโอกาสให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงผลงานได้มากขึ้น ยิ่งเป็นการดีใหญ่เลย
ปัจจุบันมนุษย์ทั่วโลกประมาณ 1,500 ล้านคนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ในคำประกาศรางวัลได้มีการพูดถึงแผงโซลาร์เซลล์ด้วย ดังนั้นเมื่อมีการคิดค้นหลอดแอลอีดีที่มีต้นทุนต่ำลงทั้งแผงโซลาร์และหลอดแอลอีดีจึงยิ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อมนุษย์ผู้ยากจนและประโยชน์ในการปกป้องสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย
ดังนั้น ในความเห็นของผมแล้ว หลักคิดของคณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้จึงเป็นสิ่งที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง ตรงกันข้ามกับคณะกรรมการพิจารณาในสาขาสันติภาพในคราวที่มอบรางวัลให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เมื่อปี 2552 ที่ให้เหตุผลว่า “เป็นผู้ที่มีความพยายามเป็นพิเศษที่จะสร้างความเข้มแข็งในด้านความร่วมมือและทางการทูตสากลระหว่างประชาชน” ทั้งๆ ที่เขาเพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้เพียง 9 เดือนยังไม่มีการกระทำจริง มีแต่ความตั้งใจที่จะทำ แต่หลังจากนั้นประธานาธิบดีก็ได้สั่งให้กองทัพสหรัฐอเมริกาก่อสงครามกับหลายประเทศและหลายครั้ง
ผมคิดเอาเองว่า คณะกรรมการพิจารณารางวัลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้คงเก็บเอาความล้มเหลวของการประชุมสุดยอดผู้นำโลกว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีความเข้มเข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินระดับ 350 พีพีเอ็มมานานแล้วจนถึงระดับ 400 พีพีเอ็มในปัจจุบัน แต่ผู้นำโลกก็มัวแต่เอาดีแต่ปาก แต่ไม่มีการปฏิบัติจริงเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก จนภาคประชาชนทั่วโลกได้รวมตัวกันมีจำนวนมากที่สุดในนาม People’s Climate March เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา (ผมได้เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ก่อน)
ได้มีผู้มาแสดงความเห็นในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องว่า “เทคโนโลยีหลอดแอลอีดีมีผลให้ชาวโลกสามารถประหยัดพลังงานได้ปีละหลายล้านดอลลาร์”
อย่าว่าแต่ระดับโลกเลยครับ ในการประชุมประจำปีของหมู่บ้านที่ผมอาศัยอยู่ซึ่งมีแค่ 660 หลังคาครัวเรือน พบว่าจากการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าบนถนนในหมู่บ้าน (จากคำแนะนำของสมาชิกท่านหนึ่ง) สามารถค่าไฟฟ้าลงได้จากเดือนละ1.5 แสนบาทลงมาเหลือ 1.1 แสนบาท และแน่นอนว่าได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงด้วยจำนวนหนึ่ง
ก่อนที่ผมจะไปถึงอีก 2 เรื่องคือ (1) ความสำคัญของหลอดแอลอีดีสีน้ำเงินอยู่ตรงไหน กับ (2) ชีวิตและวิธีคิดของผู้ได้รับรางวัลบางท่าน ผมขอนำเสนอตัวเลขการลดลงของราคาหลอดแอลอีดีและความนิยมของชาวอเมริกันต่อเรื่องนี้ในช่วง 5-6 ปีมานี้
จากรายงานเรื่อง “การปฏิวัติเดี๋ยวนี้ : อนาคตของ 4 เทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาถึงแล้ว” ของกรมพลังงานของสหรัฐอเมริกา (กันยายน 2556) พบว่า นับตั้งแต่ 2551 ถึง 2555ราคาหลอดแอลอีดีได้ลดลงถึง 6 เท่าตัวโดยที่จำนวนหลอดที่ติดตั้งไปแล้วประมาณ 20 ล้านหลอด ดังกราฟ
อนึ่ง ผมไม่แน่ใจในหน่วย Kilolumen ว่ามีความเชื่อมโยงกับวัตต์ (กำลังไฟฟ้า)กันอย่างไร แต่เอาเป็นว่าราคาหลอดแอลอีดีได้ลดลงถึง 6 เท่าตัว มากกว่าอัตราการลดลงของราคาแผงโซลาร์เซลล์เล็กน้อยซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็น 2 ใน 4 ที่เป็นเทคโนโลยีสะอาดที่มาถึงแล้วและปรากฏอยู่ในรายงานเดียวกันนี้
นอกจากนี้ผมทราบจากพระสาธิต ธีรปัญโญ แห่งสถาบันธรรมาภิวัฒน์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และใช้หลอดแอลอีดีใช้ทั้งสำนักสงฆ์ ว่ามีราคาถูกมากและสามารถซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ทั่วไป (เสียดายที่ผมลืมถามเรื่องราคา)
มาถึงเรื่อง ความสำคัญของหลอดแอลอีดีสีน้ำเงินอยู่ตรงไหน
จากเอกสารใน nobelprize.org อธิบายว่า หลักการทำงานของหลอดแอลอีดีมาจากทฤษฎีแสงของไอแซคนิวตัน เมื่อ พ.ศ. 2214 ที่เมื่อนำสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินมาผสมกันจะได้สีขาว
ในการคิดค้นเทคโนโลยีหลอดแอลอีดีสีแดงและสีเขียวได้ประสบผลสำเร็จมานานแล้ว คือร่วม 50-60 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์เท่าที่ควร ไม่สามารถทำให้อ่านหนังสือได้ จนกว่าจะได้คนพบหลอดแอลอีดีสีน้ำเงิน
แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อและยอมรับกันในขณะนั้นก็คือว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำสีน้ำเงินได้
นักวิชาการระดับศาสตราจารย์ที่มาร่วมประกาศรางวัลของสำนักงานรางวัลชี้แจงว่า ไม่ใช่ไม่มีความพยายามในการวิจัย การวิจัยยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีใครประสบผลสำเร็จ ผมเองก็ไม่ทราบเหตุทางวิชาการว่าทำไม เอาเป็นว่าเพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อ 25 ปีมานี้ ดังแผ่นภาพที่ทางสถาบันผู้มอบรางวันทำมาเสนอ
เมื่อสามารถประดิษฐ์หลอดสีน้ำเงินได้แล้ว และเมื่อนำทั้งสามสีมาผสมกันก็จะได้สีขาว ซึ่งเป็นแสงที่มีสีขาวให้เราสามารถอ่านหนังสืออย่างที่เป็นอยู่ และนำมาแทนที่หลอดไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ดังที่เราทราบๆ กันอยู่ โดยสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 84% เมื่อเทียบกับหลอดไส้ แต่มีอายุการใช้งานกว่านับ 100 เท่า
จากรายงานของกรมพลังงานสหรัฐอเมริกาที่ผมอ้างแล้วว่า ถ้าซื้อหลอดแอลอีดีในวันที่คลอดลูก จะพบว่าในวันที่ลูกรับปริญญาหลอดนี้ก็ยังไม่ขาด (ถ้ามันไม่เป็นความจริงผมก็ต้องขอโทษนะครับ ผมว่าตามที่อยู่ในรายงานของทางราชการ!)
นอกจากแสงสว่างในบ้านและที่ทำงานแล้ว แม้แต่แสงที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือก็มาจากเทคโนโลยีที่เพิ่งได้รับรางวัลเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง
คราวนี้มาถึงเรื่องสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กัน และอาจจะมีความสำคัญมากสำหรับคนที่สนใจทางการศึกษา
เรื่องที่ผมนำมาเล่ามาจาก http://www.dw.de/blog-nobel-prize-in-physics/a-17979944 ท่านสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้นะครับ
คนที่ผมจะพูดถึงคือศาสตราจารย์ ShujiNakamura ซึ่งได้ย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกาหลายปีแล้วหลังจากรู้สึกเบื่อกับการทำงานในบริษัทเล็กๆ ในญี่ปุ่น
ความน่าสนใจอยู่ตรงไหน?
ผมได้สาระมาจากคำสัมภาษณ์นะครับ ผมจะพยายามเล่าดังนี้ครับ
Q: คุณต้องการจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยังวัยเยาว์เลยหรือ
A: ผมอ่านหนังสือการ์ตูนเยอะมาก ในญี่ปุ่นคุณก็รู้ว่าหนังสือการ์ตูนได้รับนิยมมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมชอบมาก คือ Mighty Atom (อะตอม ผู้ทรงพลัง) ซึ่งพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง อะตอม เป็นมนุษย์หุ่นยนต์ที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความยุติธรรมและความกล้าหาญ และมีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์อะตอมได้รับพลังงานอะตอมเป็นฮีโรของทุกสิ่งเพื่อต่อสู่กับปีศาจร้าย ตั้งแต่ตอนนั้นความฝันของผมก็คืออยากเป็นนักวิทาศาสตร์ที่สามารถสร้าง Mighty Atom ฮีโรของผม
เขาได้เล่าความของตนเองต่อไปว่า
“ผมต้องการจะเรียนฟิสิกส์กับคณิตศาสตร์แต่เมื่อผมจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว ครูของผมบอกว่า วิชาเอกของเธอต้องไม่ใช่ฟิสิกส์ ถ้าเธอต้องการจะเรียนฟิสิกส์ต่อไป เธอจะไม่สามารถหางานทำได้ เพราะในญี่ปุ่นคนที่จบฟิสิกส์จะหางานทำได้ยาก ดังนั้นเธอควรจะเรียนวิศวะประกอบกับผลการศึกษาของผมก็ไม่ได้เกรดที่สูงมากนัก”
แล้วเขาก็ได้เรียนวิศวะตามคำแนะนำของครู ในมหาวิทยาลัย โตกูชิมะ (The University of Tokushima) ที่เขาเรียกเองพร้อมกับแถมเสียงหัวเราะว่า “เป็นมหาวิทยาลัยที่ต้องถิ่นมากๆ และเป็นมหาวิทยาลัยระดับล่างซึ่งก่อตั้งปี 2492”
“หลังจากได้เข้าไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์แล้ว ผมรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างมาก เพราะวิศวกรรมศาสตร์ไม่เหมาะสำหรับผม ดังนั้นผมยังมีความต้องการที่จะศึกษาฟิสิกส์อยู่ดี ”
“ฟิสิกส์เป็นวิชาพื้นฐานสำหรับนักวิทยาศาสตร์ นั่นเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของผม และผมยังคงคิดมันอยู่เสมอ”
“ความฝันของนักศึกษามหาวิทยาลัยคือการได้เข้าไปทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวผมต้องอยู่ในเมืองท้องถิ่นในโตกูชิมะ และทำงานในบริษัท Nichia Chemical Industries ในแผนกวิจัยและพัฒนาในช่วง 10 ปีแรกผมทำเกี่ยวกับหลอดแอลอีดีสีแดงแบบเดิม บริษัทของผมเล็กมากและไม่มีชื่อเสียง ผมไม่สามารถสำเร็จในการทำให้บริษัทมีกำไรได้ เพราะบริษัทมีบริษัทขนาดใหญ่เป็นคู่แข่งและเขาขายหลอดแอลอีดีได้เป็นจำนวนมาก”
“หลังจาก 10 ปีผ่านไป ผมท้าทายตนเองว่าจะทำหลอดแอลอีดีสีน้ำเงิน (ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับรางวัล) ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วทุกบริษัทขนาดใหญ่และทุกมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงใช้สารชนิดหนึ่ง (คือ Zinc Selenide-ขออภัยผมไม่มีเวลาค้นว่าคืออะไร) ในการผลิตแอลอีดีสีน้ำเงิน แต่ผมท้าทายตนเองด้วยการใช้สารชนิดอื่นที่เรียกว่า Gallium Nitride ซึ่งถือว่าโชคดีมากสำหรับผม เพราะว่าไม่มีคู่แข่ง และสุดท้ายผมก็ทำได้สำเร็จ”
“และนับตั้งแต่ปี 1993 ผมกลายเป็นผู้มีชื่อเสียงมาก เพราะว่าผมสำมารถพัฒนาแอลอีดีสีน้ำเงินได้ในบริษัทเล็กๆ ผมไม่มีดีกรีระดับด็อกเตอร์ ผมจบแค่ปริญญาโทเท่านั้น และในปี 1995 ผมสามารถพัฒนาแอลอีดีสีเชียวที่มีความสดใสสูง และหลังจากนั้นเราสามารถพัฒนาได้ทุกสีโดยใช้แอลอีดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีขาว”
“หลังจากนั้น ผมก็รู้สึกเบื่อมากเพราะไม่มีโครงการวิจัยขนาดใหญ่อีกแล้ว ผมจึงต้องการหาสิ่งท้าทายใหม่ ในขณะเดียวกันทาง UCLA ก็พยายามจะจ้างผมในตำแหน่งศาสตราจารย์”
เมื่อคำถามว่า “ในความคิดของคุณ อะไรคือคุณสมบัติที่สำคัญของนักประดิษฐ์”
ศาสตราจารย์ผู้กลับมาโด่งดังในระดับโลกตอบว่า
“Gambling หรือการพนันประชาชนต้องเล่นการพนัน”
แต่เมื่อมีเสียงหัวเราะจากผู้ถาม เขาตอบว่า
“ไม่ใช่การไปลาสเวกัส ผมไม่ได้หมายถึงอย่างนั้น แต่เป็น Research Gambling (ความเสี่ยงในการวิจัย) เราต้องพยายามในสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครพยายามมาก่อนนั่นคือสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดแต่ความเป็นไปได้ที่จะปราบผลสำเร็จก็น้อยมาก แต่เราจำเป็นต้องทำเช่นนั้น”
“มีคนถามผมมากว่า งานอดิเรกของผมคืออะไร”
ผมตอบว่า “คือการคิดอยู่เสมอในกรณีของผม ผมไม่ชอบการอ่าน ผมชอบคิดทุกอย่างด้วยตัวของผมเอง ผมคิดถึงปัญหาเหล่านั้นอยู่สม่ำเสมอ โดยไม่อ่านอะไรเลย”
แล้วจบด้วยเสียงหัวเราะที่ดังกว่าทุกครั้ง
ผมเองรู้สึกทึ่งกับประโยคสุดท้ายของท่านมาก!
ผมอยากจะเข้าไปดูเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งทั้งที่ท่านเรียนและทำงานว่าเขาจะกล่าวถึงท่านว่าอย่างไร แต่ด้วยภารกิจผมทำไม่ทันครับ
นอกจากบทความนี้จะนำผลงานโดยย่อแล้ว ผมจะนำเสนอแนวคิดหรือชีวิตของ 1 ใน 3 ของผู้ร่วมรับรางวัลที่มีศักดิ์ศรีสูงที่สุดของโลกก็ว่าได้ ผมเห็นว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษาเขาจบจากมหาวิทยาลัยที่ไม่มีชื่อเสียงมาก (เจ้าตัวใช้คำว่า It [University] is Very Local , Low Level University) และด้วยผลการศึกษาด้วยเกรดที่ไม่สูงมากนัก แต่เขาได้ก้าวมาสู่รางวัลสูงสุดได้อย่างไร โปรดอ่านให้จบนะครับ ไม่ยากเลย และถ้าเห็นว่าดีก็กรุณาบอกต่อๆกันไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนรุ่นใหม่
ผลงานที่ได้รับรางวัลนี้เกี่ยวข้องกับการคิดค้นและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ให้แสงสว่างหรือหลอดไฟฟ้า แต่เป็น “แสงใหม่ที่ส่องสว่างให้กับชาวโลก” คนไทยเรารู้จักอุปกรณ์ชนิดนี้ในนาม “หลอดแอลอีดี (LED-Light-Emitting Diode)” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานสูงมาก คือ ใช้พลังงานน้อยแต่ให้แสงสว่างมาก และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าเดิมเป็นร้อยเท่า
ในวันประกาศรางวัลดังกล่าวทางเลขาธิการราชวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ของสวีเดนได้นำแผ่นภาพมาอธิบายถึงประวัติศาสตร์การใช้แสงสว่างของมนุษย์ย้อนหลังไปนับหมื่นปีจนถึงปัจจุบันซึ่งผมได้นำมาอธิบายประกอบดังภาพข้างล่างนี้
ความจริงแล้วผู้คิดค้นผลงานชิ้นนี้ ซึ่งประกอบด้วยชาวญี่ปุ่นทั้ง 3 คนคือ ShujiNakamura (วัย 60 ปี), Isamu Akasaki (วัย 85 ปี) และ Hiroshi Amano (วัย 54 ปี)ได้ประสบผลสำเร็จตั้งแต่ปี 2532 หรือเมื่อ 25 ปีมาแล้ว และผลงานชิ้นนี้ก็ได้รับการผลิตในเชิงพาณิชย์มาหลายปีแล้ว แต่ทำไมจึงเพิ่งมาให้รางวัลเอาตอนนี้
ผมเองก็ไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจนดังกล่าวครับ แต่ในคำประกาศรางวัลได้พูดถึง “เป็นการสร้างแหล่งพลังงานชนิดใหม่คือหลอดแอลอีดีสีน้ำเงินที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นไปตามจิตวิญญาณของ Alfred Nobel (ผู้ก่อตั้งรางวัลด้วยทุน $236 ล้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444) ที่ต้องการให้รางวัลกับการคิดค้นผลงานที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติมากที่สุด”
ประกอบกับว่าเงื่อนไขของการให้รางวัลนี้ ผู้ที่ได้รับจะต้องเป็นผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น แม้ผลงานจะสำเร็จนานมาถึง 25 ปีแล้วก็ไม่เป็นปัญหา ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ยิ่งเมื่อได้ทราบในภายหลังว่าผลงานดังกล่าวมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติจำนวนมากทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม และในด้านการเปิดโอกาสให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงผลงานได้มากขึ้น ยิ่งเป็นการดีใหญ่เลย
ปัจจุบันมนุษย์ทั่วโลกประมาณ 1,500 ล้านคนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ในคำประกาศรางวัลได้มีการพูดถึงแผงโซลาร์เซลล์ด้วย ดังนั้นเมื่อมีการคิดค้นหลอดแอลอีดีที่มีต้นทุนต่ำลงทั้งแผงโซลาร์และหลอดแอลอีดีจึงยิ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อมนุษย์ผู้ยากจนและประโยชน์ในการปกป้องสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย
ดังนั้น ในความเห็นของผมแล้ว หลักคิดของคณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้จึงเป็นสิ่งที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง ตรงกันข้ามกับคณะกรรมการพิจารณาในสาขาสันติภาพในคราวที่มอบรางวัลให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เมื่อปี 2552 ที่ให้เหตุผลว่า “เป็นผู้ที่มีความพยายามเป็นพิเศษที่จะสร้างความเข้มแข็งในด้านความร่วมมือและทางการทูตสากลระหว่างประชาชน” ทั้งๆ ที่เขาเพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้เพียง 9 เดือนยังไม่มีการกระทำจริง มีแต่ความตั้งใจที่จะทำ แต่หลังจากนั้นประธานาธิบดีก็ได้สั่งให้กองทัพสหรัฐอเมริกาก่อสงครามกับหลายประเทศและหลายครั้ง
ผมคิดเอาเองว่า คณะกรรมการพิจารณารางวัลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้คงเก็บเอาความล้มเหลวของการประชุมสุดยอดผู้นำโลกว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีความเข้มเข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินระดับ 350 พีพีเอ็มมานานแล้วจนถึงระดับ 400 พีพีเอ็มในปัจจุบัน แต่ผู้นำโลกก็มัวแต่เอาดีแต่ปาก แต่ไม่มีการปฏิบัติจริงเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก จนภาคประชาชนทั่วโลกได้รวมตัวกันมีจำนวนมากที่สุดในนาม People’s Climate March เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา (ผมได้เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ก่อน)
ได้มีผู้มาแสดงความเห็นในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องว่า “เทคโนโลยีหลอดแอลอีดีมีผลให้ชาวโลกสามารถประหยัดพลังงานได้ปีละหลายล้านดอลลาร์”
อย่าว่าแต่ระดับโลกเลยครับ ในการประชุมประจำปีของหมู่บ้านที่ผมอาศัยอยู่ซึ่งมีแค่ 660 หลังคาครัวเรือน พบว่าจากการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าบนถนนในหมู่บ้าน (จากคำแนะนำของสมาชิกท่านหนึ่ง) สามารถค่าไฟฟ้าลงได้จากเดือนละ1.5 แสนบาทลงมาเหลือ 1.1 แสนบาท และแน่นอนว่าได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงด้วยจำนวนหนึ่ง
ก่อนที่ผมจะไปถึงอีก 2 เรื่องคือ (1) ความสำคัญของหลอดแอลอีดีสีน้ำเงินอยู่ตรงไหน กับ (2) ชีวิตและวิธีคิดของผู้ได้รับรางวัลบางท่าน ผมขอนำเสนอตัวเลขการลดลงของราคาหลอดแอลอีดีและความนิยมของชาวอเมริกันต่อเรื่องนี้ในช่วง 5-6 ปีมานี้
จากรายงานเรื่อง “การปฏิวัติเดี๋ยวนี้ : อนาคตของ 4 เทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาถึงแล้ว” ของกรมพลังงานของสหรัฐอเมริกา (กันยายน 2556) พบว่า นับตั้งแต่ 2551 ถึง 2555ราคาหลอดแอลอีดีได้ลดลงถึง 6 เท่าตัวโดยที่จำนวนหลอดที่ติดตั้งไปแล้วประมาณ 20 ล้านหลอด ดังกราฟ
อนึ่ง ผมไม่แน่ใจในหน่วย Kilolumen ว่ามีความเชื่อมโยงกับวัตต์ (กำลังไฟฟ้า)กันอย่างไร แต่เอาเป็นว่าราคาหลอดแอลอีดีได้ลดลงถึง 6 เท่าตัว มากกว่าอัตราการลดลงของราคาแผงโซลาร์เซลล์เล็กน้อยซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็น 2 ใน 4 ที่เป็นเทคโนโลยีสะอาดที่มาถึงแล้วและปรากฏอยู่ในรายงานเดียวกันนี้
นอกจากนี้ผมทราบจากพระสาธิต ธีรปัญโญ แห่งสถาบันธรรมาภิวัฒน์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และใช้หลอดแอลอีดีใช้ทั้งสำนักสงฆ์ ว่ามีราคาถูกมากและสามารถซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ทั่วไป (เสียดายที่ผมลืมถามเรื่องราคา)
มาถึงเรื่อง ความสำคัญของหลอดแอลอีดีสีน้ำเงินอยู่ตรงไหน
จากเอกสารใน nobelprize.org อธิบายว่า หลักการทำงานของหลอดแอลอีดีมาจากทฤษฎีแสงของไอแซคนิวตัน เมื่อ พ.ศ. 2214 ที่เมื่อนำสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินมาผสมกันจะได้สีขาว
ในการคิดค้นเทคโนโลยีหลอดแอลอีดีสีแดงและสีเขียวได้ประสบผลสำเร็จมานานแล้ว คือร่วม 50-60 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์เท่าที่ควร ไม่สามารถทำให้อ่านหนังสือได้ จนกว่าจะได้คนพบหลอดแอลอีดีสีน้ำเงิน
แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อและยอมรับกันในขณะนั้นก็คือว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำสีน้ำเงินได้
นักวิชาการระดับศาสตราจารย์ที่มาร่วมประกาศรางวัลของสำนักงานรางวัลชี้แจงว่า ไม่ใช่ไม่มีความพยายามในการวิจัย การวิจัยยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีใครประสบผลสำเร็จ ผมเองก็ไม่ทราบเหตุทางวิชาการว่าทำไม เอาเป็นว่าเพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อ 25 ปีมานี้ ดังแผ่นภาพที่ทางสถาบันผู้มอบรางวันทำมาเสนอ
เมื่อสามารถประดิษฐ์หลอดสีน้ำเงินได้แล้ว และเมื่อนำทั้งสามสีมาผสมกันก็จะได้สีขาว ซึ่งเป็นแสงที่มีสีขาวให้เราสามารถอ่านหนังสืออย่างที่เป็นอยู่ และนำมาแทนที่หลอดไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ดังที่เราทราบๆ กันอยู่ โดยสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 84% เมื่อเทียบกับหลอดไส้ แต่มีอายุการใช้งานกว่านับ 100 เท่า
จากรายงานของกรมพลังงานสหรัฐอเมริกาที่ผมอ้างแล้วว่า ถ้าซื้อหลอดแอลอีดีในวันที่คลอดลูก จะพบว่าในวันที่ลูกรับปริญญาหลอดนี้ก็ยังไม่ขาด (ถ้ามันไม่เป็นความจริงผมก็ต้องขอโทษนะครับ ผมว่าตามที่อยู่ในรายงานของทางราชการ!)
นอกจากแสงสว่างในบ้านและที่ทำงานแล้ว แม้แต่แสงที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือก็มาจากเทคโนโลยีที่เพิ่งได้รับรางวัลเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง
คราวนี้มาถึงเรื่องสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กัน และอาจจะมีความสำคัญมากสำหรับคนที่สนใจทางการศึกษา
เรื่องที่ผมนำมาเล่ามาจาก http://www.dw.de/blog-nobel-prize-in-physics/a-17979944 ท่านสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้นะครับ
คนที่ผมจะพูดถึงคือศาสตราจารย์ ShujiNakamura ซึ่งได้ย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกาหลายปีแล้วหลังจากรู้สึกเบื่อกับการทำงานในบริษัทเล็กๆ ในญี่ปุ่น
ความน่าสนใจอยู่ตรงไหน?
ผมได้สาระมาจากคำสัมภาษณ์นะครับ ผมจะพยายามเล่าดังนี้ครับ
Q: คุณต้องการจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยังวัยเยาว์เลยหรือ
A: ผมอ่านหนังสือการ์ตูนเยอะมาก ในญี่ปุ่นคุณก็รู้ว่าหนังสือการ์ตูนได้รับนิยมมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมชอบมาก คือ Mighty Atom (อะตอม ผู้ทรงพลัง) ซึ่งพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง อะตอม เป็นมนุษย์หุ่นยนต์ที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความยุติธรรมและความกล้าหาญ และมีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์อะตอมได้รับพลังงานอะตอมเป็นฮีโรของทุกสิ่งเพื่อต่อสู่กับปีศาจร้าย ตั้งแต่ตอนนั้นความฝันของผมก็คืออยากเป็นนักวิทาศาสตร์ที่สามารถสร้าง Mighty Atom ฮีโรของผม
เขาได้เล่าความของตนเองต่อไปว่า
“ผมต้องการจะเรียนฟิสิกส์กับคณิตศาสตร์แต่เมื่อผมจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว ครูของผมบอกว่า วิชาเอกของเธอต้องไม่ใช่ฟิสิกส์ ถ้าเธอต้องการจะเรียนฟิสิกส์ต่อไป เธอจะไม่สามารถหางานทำได้ เพราะในญี่ปุ่นคนที่จบฟิสิกส์จะหางานทำได้ยาก ดังนั้นเธอควรจะเรียนวิศวะประกอบกับผลการศึกษาของผมก็ไม่ได้เกรดที่สูงมากนัก”
แล้วเขาก็ได้เรียนวิศวะตามคำแนะนำของครู ในมหาวิทยาลัย โตกูชิมะ (The University of Tokushima) ที่เขาเรียกเองพร้อมกับแถมเสียงหัวเราะว่า “เป็นมหาวิทยาลัยที่ต้องถิ่นมากๆ และเป็นมหาวิทยาลัยระดับล่างซึ่งก่อตั้งปี 2492”
“หลังจากได้เข้าไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์แล้ว ผมรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างมาก เพราะวิศวกรรมศาสตร์ไม่เหมาะสำหรับผม ดังนั้นผมยังมีความต้องการที่จะศึกษาฟิสิกส์อยู่ดี ”
“ฟิสิกส์เป็นวิชาพื้นฐานสำหรับนักวิทยาศาสตร์ นั่นเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของผม และผมยังคงคิดมันอยู่เสมอ”
“ความฝันของนักศึกษามหาวิทยาลัยคือการได้เข้าไปทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวผมต้องอยู่ในเมืองท้องถิ่นในโตกูชิมะ และทำงานในบริษัท Nichia Chemical Industries ในแผนกวิจัยและพัฒนาในช่วง 10 ปีแรกผมทำเกี่ยวกับหลอดแอลอีดีสีแดงแบบเดิม บริษัทของผมเล็กมากและไม่มีชื่อเสียง ผมไม่สามารถสำเร็จในการทำให้บริษัทมีกำไรได้ เพราะบริษัทมีบริษัทขนาดใหญ่เป็นคู่แข่งและเขาขายหลอดแอลอีดีได้เป็นจำนวนมาก”
“หลังจาก 10 ปีผ่านไป ผมท้าทายตนเองว่าจะทำหลอดแอลอีดีสีน้ำเงิน (ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับรางวัล) ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วทุกบริษัทขนาดใหญ่และทุกมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงใช้สารชนิดหนึ่ง (คือ Zinc Selenide-ขออภัยผมไม่มีเวลาค้นว่าคืออะไร) ในการผลิตแอลอีดีสีน้ำเงิน แต่ผมท้าทายตนเองด้วยการใช้สารชนิดอื่นที่เรียกว่า Gallium Nitride ซึ่งถือว่าโชคดีมากสำหรับผม เพราะว่าไม่มีคู่แข่ง และสุดท้ายผมก็ทำได้สำเร็จ”
“และนับตั้งแต่ปี 1993 ผมกลายเป็นผู้มีชื่อเสียงมาก เพราะว่าผมสำมารถพัฒนาแอลอีดีสีน้ำเงินได้ในบริษัทเล็กๆ ผมไม่มีดีกรีระดับด็อกเตอร์ ผมจบแค่ปริญญาโทเท่านั้น และในปี 1995 ผมสามารถพัฒนาแอลอีดีสีเชียวที่มีความสดใสสูง และหลังจากนั้นเราสามารถพัฒนาได้ทุกสีโดยใช้แอลอีดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีขาว”
“หลังจากนั้น ผมก็รู้สึกเบื่อมากเพราะไม่มีโครงการวิจัยขนาดใหญ่อีกแล้ว ผมจึงต้องการหาสิ่งท้าทายใหม่ ในขณะเดียวกันทาง UCLA ก็พยายามจะจ้างผมในตำแหน่งศาสตราจารย์”
เมื่อคำถามว่า “ในความคิดของคุณ อะไรคือคุณสมบัติที่สำคัญของนักประดิษฐ์”
ศาสตราจารย์ผู้กลับมาโด่งดังในระดับโลกตอบว่า
“Gambling หรือการพนันประชาชนต้องเล่นการพนัน”
แต่เมื่อมีเสียงหัวเราะจากผู้ถาม เขาตอบว่า
“ไม่ใช่การไปลาสเวกัส ผมไม่ได้หมายถึงอย่างนั้น แต่เป็น Research Gambling (ความเสี่ยงในการวิจัย) เราต้องพยายามในสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครพยายามมาก่อนนั่นคือสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดแต่ความเป็นไปได้ที่จะปราบผลสำเร็จก็น้อยมาก แต่เราจำเป็นต้องทำเช่นนั้น”
“มีคนถามผมมากว่า งานอดิเรกของผมคืออะไร”
ผมตอบว่า “คือการคิดอยู่เสมอในกรณีของผม ผมไม่ชอบการอ่าน ผมชอบคิดทุกอย่างด้วยตัวของผมเอง ผมคิดถึงปัญหาเหล่านั้นอยู่สม่ำเสมอ โดยไม่อ่านอะไรเลย”
แล้วจบด้วยเสียงหัวเราะที่ดังกว่าทุกครั้ง
ผมเองรู้สึกทึ่งกับประโยคสุดท้ายของท่านมาก!
ผมอยากจะเข้าไปดูเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งทั้งที่ท่านเรียนและทำงานว่าเขาจะกล่าวถึงท่านว่าอย่างไร แต่ด้วยภารกิจผมทำไม่ทันครับ