คนไทยเรานี่ออกจะเชื่อคนยาก อย่างการคัดเลือก สปช.ก็หาว่ามีการล็อกสเปกหรือวิจารณ์กันว่า มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมากเกินไป แต่ที่จริงแล้ว สปช.ก็คัดเลือกจากผู้สมัครใจเข้ามา คนที่ไม่สมัครก็ไม่รู้จะไปแต่งตั้งอย่างไร ผมได้รับคำถามทำนองนี้ค่อนข้างมาก นอกจากนั้นยังมีข้อสงสัยอีกว่า สปช.นี้เป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น เพราะทหารมีพิมพ์เขียวอยู่แล้ว ผมเองเห็นว่าการจะควบคุมความคิดเห็นของคน 250 คนนี้ยาก และมีผู้มีความเป็นอิสระหลายต่อหลายคน โอกาสที่ใครคนใดคนหนึ่งจะครอบงำสภาฯ ทั้งหมด คงเป็นไปได้ยาก
ที่จริงเรื่องการปฏิรูปนี้ไม่ใช่ของใหม่ เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการเคลื่อนไหวของคณะอาจารย์หมอประเวศ วะสี และคณะกรรมการที่มีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน มีความคิดเห็นที่ตรงกันอยู่กลุ่มหนึ่ง จุดสำคัญที่มีการพูดถึงกันมากก็คือ ทำอย่างไรจึงจะมีการกระจายอำนาจให้กว้างขวางกว่านี้
หากการปฏิรูปจะมีอะไรแตกต่างออกไป ก็เห็นจะเป็นความคิดเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง และระบอบการเมืองที่ประกอบด้วยนักการเมืองเป็นใหญ่ ในอดีตการใช้อำนาจเกินขอบเขต และการทุจริตคอร์รัปชันอย่างกว้างขวาง ทำให้คนเริ่มคิดต่อต้านนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นไปได้ที่จะมีความคิดที่จะให้มีการถ่วงดุลอำนาจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง อาจเป็นไปได้ที่จะยอมให้คนที่อยู่ในรัฐบาลส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง แต่จะเป็นอย่างไรนั้นคงต้องมีการคิดรายละเอียดต่อไป เช่น ให้พรรคการเมืองจัดให้มีบัญชีรายชื่อสัก 15 คนที่จะเป็นรัฐมนตรี ส่วนที่เหลือก็ยอมให้แต่งตั้งเข้ามาได้ นอกจากนั้นประสบการณ์ด้านลบที่ผ่านมา เช่น การมีนโยบายประชานิยมสุดโต่ง ก็คงจะมีการจำกัดขอบเขตเอาไว้
ปัญหาของเมืองไทยก็คือ ทำอย่างไรเราจึงจะก้าวพ้นวงจรอุบาทว์ไปได้ เราเคยคิดว่าจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารอีก แต่ก็มีจนได้ นั่นเป็นเพราะภายในระบบการเมืองของเราเองมีความขัดแย้งแฝงตัวอยู่ พร้อมที่จะปะทุขึ้นมาได้ทุกเมื่อ แต่สาเหตุของความขัดแย้งนั้นหมดไปได้ เพราะเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากตัวบุคคล เมื่อไม่มีบุคคลที่เป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง บ้านเมืองก็จะสงบเรียบร้อย
มีคนให้ข้อคิดว่าตัวบุคคลที่ว่านี้ไม่ได้มีคนเดียว แต่มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่คนอยากให้เลิกเล่นการเมืองไปเลย ไม่ใช่จำกัดเวลาแค่ 5 ปี แต่จะมีหลักประกันได้อย่างไรว่าคนที่เข้ามาใหม่จะไม่เป็นอย่างเก่า
ปัญหาหลักของการเมืองไทยก็คือ การที่อำนาจการเงินและอำนาจทางการเมืองมากระจุกอยู่ที่คนคนเดียวหรือกลุ่มเดียวกัน ประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองของทุนนิยมก็จริง แต่ที่เป็นระบอบซึ่งคนยอมรับได้ก็เพราะความเป็นพหุนิยม กล่าวคือ แหล่งอำนาจในสังคมมีการกระจายตัวไม่รวมศูนย์อยู่แห่งเดียว อำนาจทางเศรษฐกิจก็มีอยู่หลายกลุ่มซึ่งต่างก็คอยระแวดระวังซึ่งกันเอง อำนาจทางการเมืองก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน เหมือนที่เป็นอยู่ในประเทศตะวันตกส่วนใหญ่
แต่สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมา อำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองกระจุกตัวมากกว่าจะกระจายตัว ดังนั้นผู้มีอำนาจทางการเมือง ก็สามารถใช้ทรัพยากรของรัฐในรูปงบประมาณได้อย่างเต็มที่ และสามารถออกกฎหมายและนโยบาย ตลอดจนควบคุมระบบราชการ และตำแหน่งสำคัญๆ ในวงราชการไว้ได้หมด เรียกว่าหากลงทุนในการเลือกตั้งได้ ก็สามารถควบคุมทุกอย่างในประเทศได้ เป็นสาเหตุให้เกิดสภาวการณ์ทางการเมืองแบบ “ได้หมด-เสียหมด” คือ Zero-Sum Game ฝ่ายเสียหมดก็จำเป็นต้องโค่นล้มอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้ แทนที่จะยอมเป็นฝ่ายค้าน และรอคอยเวลาการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ดังนั้น ประเด็นการปฏิรูปจึงได้แก่การหาหนทางออกให้กับการเมืองไทย ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้อำนาจกระจุกตัวรวมศูนย์อยู่ในที่เดียวกัน
ที่จริงเรื่องการปฏิรูปนี้ไม่ใช่ของใหม่ เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการเคลื่อนไหวของคณะอาจารย์หมอประเวศ วะสี และคณะกรรมการที่มีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน มีความคิดเห็นที่ตรงกันอยู่กลุ่มหนึ่ง จุดสำคัญที่มีการพูดถึงกันมากก็คือ ทำอย่างไรจึงจะมีการกระจายอำนาจให้กว้างขวางกว่านี้
หากการปฏิรูปจะมีอะไรแตกต่างออกไป ก็เห็นจะเป็นความคิดเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง และระบอบการเมืองที่ประกอบด้วยนักการเมืองเป็นใหญ่ ในอดีตการใช้อำนาจเกินขอบเขต และการทุจริตคอร์รัปชันอย่างกว้างขวาง ทำให้คนเริ่มคิดต่อต้านนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นไปได้ที่จะมีความคิดที่จะให้มีการถ่วงดุลอำนาจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง อาจเป็นไปได้ที่จะยอมให้คนที่อยู่ในรัฐบาลส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง แต่จะเป็นอย่างไรนั้นคงต้องมีการคิดรายละเอียดต่อไป เช่น ให้พรรคการเมืองจัดให้มีบัญชีรายชื่อสัก 15 คนที่จะเป็นรัฐมนตรี ส่วนที่เหลือก็ยอมให้แต่งตั้งเข้ามาได้ นอกจากนั้นประสบการณ์ด้านลบที่ผ่านมา เช่น การมีนโยบายประชานิยมสุดโต่ง ก็คงจะมีการจำกัดขอบเขตเอาไว้
ปัญหาของเมืองไทยก็คือ ทำอย่างไรเราจึงจะก้าวพ้นวงจรอุบาทว์ไปได้ เราเคยคิดว่าจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารอีก แต่ก็มีจนได้ นั่นเป็นเพราะภายในระบบการเมืองของเราเองมีความขัดแย้งแฝงตัวอยู่ พร้อมที่จะปะทุขึ้นมาได้ทุกเมื่อ แต่สาเหตุของความขัดแย้งนั้นหมดไปได้ เพราะเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากตัวบุคคล เมื่อไม่มีบุคคลที่เป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง บ้านเมืองก็จะสงบเรียบร้อย
มีคนให้ข้อคิดว่าตัวบุคคลที่ว่านี้ไม่ได้มีคนเดียว แต่มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่คนอยากให้เลิกเล่นการเมืองไปเลย ไม่ใช่จำกัดเวลาแค่ 5 ปี แต่จะมีหลักประกันได้อย่างไรว่าคนที่เข้ามาใหม่จะไม่เป็นอย่างเก่า
ปัญหาหลักของการเมืองไทยก็คือ การที่อำนาจการเงินและอำนาจทางการเมืองมากระจุกอยู่ที่คนคนเดียวหรือกลุ่มเดียวกัน ประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองของทุนนิยมก็จริง แต่ที่เป็นระบอบซึ่งคนยอมรับได้ก็เพราะความเป็นพหุนิยม กล่าวคือ แหล่งอำนาจในสังคมมีการกระจายตัวไม่รวมศูนย์อยู่แห่งเดียว อำนาจทางเศรษฐกิจก็มีอยู่หลายกลุ่มซึ่งต่างก็คอยระแวดระวังซึ่งกันเอง อำนาจทางการเมืองก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน เหมือนที่เป็นอยู่ในประเทศตะวันตกส่วนใหญ่
แต่สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมา อำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองกระจุกตัวมากกว่าจะกระจายตัว ดังนั้นผู้มีอำนาจทางการเมือง ก็สามารถใช้ทรัพยากรของรัฐในรูปงบประมาณได้อย่างเต็มที่ และสามารถออกกฎหมายและนโยบาย ตลอดจนควบคุมระบบราชการ และตำแหน่งสำคัญๆ ในวงราชการไว้ได้หมด เรียกว่าหากลงทุนในการเลือกตั้งได้ ก็สามารถควบคุมทุกอย่างในประเทศได้ เป็นสาเหตุให้เกิดสภาวการณ์ทางการเมืองแบบ “ได้หมด-เสียหมด” คือ Zero-Sum Game ฝ่ายเสียหมดก็จำเป็นต้องโค่นล้มอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้ แทนที่จะยอมเป็นฝ่ายค้าน และรอคอยเวลาการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ดังนั้น ประเด็นการปฏิรูปจึงได้แก่การหาหนทางออกให้กับการเมืองไทย ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้อำนาจกระจุกตัวรวมศูนย์อยู่ในที่เดียวกัน