“หมอประเวศ” ชี้กรณี “หมอรัชตะ” นั่งควบ 2 ตำแหน่ง เกิดจากความขัดแย้งทางกฎหมาย ขณะที่ฝ่ายการเมืองไม่กล้าให้ออกเกรงกระทบรัฐมนตรีคนอื่นที่นั่งควบเช่นกัน แนะหาทางออกด้วยหลักประชาธิปไตยแบบสุนทรียสนทนา เน้นพูดคุยหารือมีสัมมาวาจา และเหตุผล
วันนี้ (17 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ดำรงตำแหน่งควบระหว่างอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จนเกิดความขัดแย้งขึ้น โดยเฉพาะในประชาคมมหิดลที่มีอาจารย์และนักศึกษาออกมาคัดค้านการดำรงควบ 2 ตำแหน่งดังกล่าว โดยอยากให้เลือกตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งนั้น ล่าสุด ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้เขียนบทความเรื่อง “ทางออกกรณีความขัดแย้งเรื่องหมอรัชตะ” โดยระบุว่าเดิมทีไม่มีกรณีเช่นนี้ เพราะ พ.ร.บ.และข้อบังคับมหาวิทยาลัยกำหนดให้อธิการบดีเป็นผู้ทำงานเต็มเวลา แต่รัฐธรรมนูญ คสช. กำหนดข้อยกเว้นทำให้เกิดความขัดแย้งหลายมิติ ทั้งมิติทางกฎหมาย ความรู้สึกของประชาคมในมหาวิทยาลัยที่คัดค้านการควบตำแหน่ง รวมไปถึงมิติทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลและ คสช. คงไม่ต้องการให้อธิการฯออกจากตำแหน่ง เพราะกลัวเป็นไฟลามทุ่งไปยังรัฐมนตรีอื่นๆ อีกหลายคนที่ควบตำแหน่ง จึงอ้างรัฐธรรมนูญมีฐานะสูงกว่า พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล
ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยคำตอบสำเร็จรูปแบบ Yes หรือ No เพราะไม่ว่าคำตอบใดก็ตามความขัดแย้งยังคงมีอยู่และอาจบานปลายมากขึ้น ส่วนทางออกนั้นในบทความ ศ.นพ.ประเวศ เสนอว่าให้ใช้หลักประชาธิปไตยแบบสุนทรียสนทนา (Deliberative Democracy) คือต้องรู้จักกระบวนการประชาธิปไตยที่ผ่านการพูดคุยปรึกษาหารือกันด้วยวิจารณญาณ ซึ่งมีคุณภาพมากกว่าประชาธิปไตยแบบใช้อำนาจ เพราะเป็นการใช้ปัญญาด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน ใช้สัมมาวาจา ใช้เหตุผล ข้อมูลความรู้ โดยอาจใช้คำของท่านพุทธทาสว่า “สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ” คือใช้ความบริสุทธิ์และปัญญา ร่วมกับเมตตาและขันติ ซึ่งสุดท้ายจะนำไปสู่ทางออกร่วมกัน ซึ่งบอกไม่ได้ล่วงหน้าว่าทางออกจะเป็นอย่างไร แต่กระบวนการนั้นออกมาด้วยหลักโยนิโสมนสิการ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (17 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ดำรงตำแหน่งควบระหว่างอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จนเกิดความขัดแย้งขึ้น โดยเฉพาะในประชาคมมหิดลที่มีอาจารย์และนักศึกษาออกมาคัดค้านการดำรงควบ 2 ตำแหน่งดังกล่าว โดยอยากให้เลือกตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งนั้น ล่าสุด ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้เขียนบทความเรื่อง “ทางออกกรณีความขัดแย้งเรื่องหมอรัชตะ” โดยระบุว่าเดิมทีไม่มีกรณีเช่นนี้ เพราะ พ.ร.บ.และข้อบังคับมหาวิทยาลัยกำหนดให้อธิการบดีเป็นผู้ทำงานเต็มเวลา แต่รัฐธรรมนูญ คสช. กำหนดข้อยกเว้นทำให้เกิดความขัดแย้งหลายมิติ ทั้งมิติทางกฎหมาย ความรู้สึกของประชาคมในมหาวิทยาลัยที่คัดค้านการควบตำแหน่ง รวมไปถึงมิติทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลและ คสช. คงไม่ต้องการให้อธิการฯออกจากตำแหน่ง เพราะกลัวเป็นไฟลามทุ่งไปยังรัฐมนตรีอื่นๆ อีกหลายคนที่ควบตำแหน่ง จึงอ้างรัฐธรรมนูญมีฐานะสูงกว่า พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล
ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยคำตอบสำเร็จรูปแบบ Yes หรือ No เพราะไม่ว่าคำตอบใดก็ตามความขัดแย้งยังคงมีอยู่และอาจบานปลายมากขึ้น ส่วนทางออกนั้นในบทความ ศ.นพ.ประเวศ เสนอว่าให้ใช้หลักประชาธิปไตยแบบสุนทรียสนทนา (Deliberative Democracy) คือต้องรู้จักกระบวนการประชาธิปไตยที่ผ่านการพูดคุยปรึกษาหารือกันด้วยวิจารณญาณ ซึ่งมีคุณภาพมากกว่าประชาธิปไตยแบบใช้อำนาจ เพราะเป็นการใช้ปัญญาด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน ใช้สัมมาวาจา ใช้เหตุผล ข้อมูลความรู้ โดยอาจใช้คำของท่านพุทธทาสว่า “สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ” คือใช้ความบริสุทธิ์และปัญญา ร่วมกับเมตตาและขันติ ซึ่งสุดท้ายจะนำไปสู่ทางออกร่วมกัน ซึ่งบอกไม่ได้ล่วงหน้าว่าทางออกจะเป็นอย่างไร แต่กระบวนการนั้นออกมาด้วยหลักโยนิโสมนสิการ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่