เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (8ต.ค.) ที่ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (หลังใหม่) ชั้น 2 ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 2/2557 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะผู้บริหารจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะผู้บริหารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้ นายวิษณุ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า จะมีการพิจารณาเรื่องต่างๆว่าที่ผ่านมาได้ทำอะไรกันไปบ้าง โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรเงินให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 8,500 ล้านบาท ที่เป็นงบอุดหนุนทั่วไป และงบอุดหนุนเฉพาะกิจ 10,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นคณะกรรมการฯ ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นประธาน ได้เคยเสนอว่า ให้นำงบประมาณมาหารกันตามท้องถิ่น แต่อีกฝ่ายไม่เห็นด้วย พล.ต.อ.อดุลย์ จึงจะนำไปหารือกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดังนั้นก็จะมาตามเรื่องนี้
นอกจากนี้จะมีการพิจารณาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจอื่นๆ ที่สำคัญอาจจะต้องมาทบทวนว่า คณะกรรมการฯ ชุดนี้ ที่ทำหน้าที่มาเหมาะสมหรือไม่ หรือควรจะเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่อะไร อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้คณะกรรมการฯได้เคยว่าจ้างคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ให้ทำวิจัยไว้ซึ่งเสร็จแล้วว่า ควรจะปรับปรุงอะไรบ้าง ก็จะมาพูดคุยกัน รวมถึงท้องถิ่นที่อยากผลักดันให้มีกฏหมายการบริหารราชการท้องถิ่นพิเศษ ของเขาเองรวม 3 ฉบับคือ แม่สอด เกาะสมุย และแหลมฉบัง ว่าจะดำเนินอย่างไรต่อ
ผู้สื่อข่าวถามถึงข่าวการแบ่งแยกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รองนายกฯ กล่าวว่าไม่มี ไม่เป็นความจริง ตนคิดว่าคงจะเป็นผลมาจากการที่จะปฏิรูป และเสนอแนะกันมามากกว่า
"ในซีกรัฐบาลไม่มีใครคิดเรื่องนี้ อาจจะมีคิดเล่นๆ แต่ไม่ได้เป็นความจริง และไม่มีใครผลักดันอะไร ผมขอยืนยันว่าทางรัฐบาลไม่คิด และไม่ได้ทำอะไรแน่ แต่ถ้าใครจะคิด และเสนอมาโดยผลของการปฏิรูปนั้นไม่รู้ ซึ่งเมื่อวานในที่ประชุมร่วมระหว่าง ครม.และคสช. นายกฯ ก็พูดว่ามีใครก็ไม่รู้มาพูดว่า รัฐบาลจะยุบโน่น ยุบนี่ ซึ่งไม่เป็นความจริง ขอให้ทุกคนรับทราบ และช่วยทำความเข้าใจด้วย " นายวิษณุ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบเรื่อง การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และพนักงานส่วนท้องถิ่น ตามที่ คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐได้ประชุมไปเมื่อ วันที่ 9 ก.ค.57 ได้มีมติเห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป สำหรับดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และภารกิจถ่ายโอน ที่ได้กันเงินไว้เป็นค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น จำนวน 2,000 ล้านบาท ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามสัดส่วนเงินอุดหนุนทั่วไป ตามอำนาจหน้าที่ที่ อปท. แต่ละแห่งได้รับการจัดสรร โดยให้กันไว้อีกจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล แก่ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณา และมีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมอบหมาย และเร่งรัดให้กระทรวงมหาดไทย รีบดำเนินการนำ ร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ....ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการเกาะสมุย พ.ศ. .... และ ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแหลมฉบัง พ.ศ. .... เสนอ ครม. พิจารณาโดยเร็ว
ทั้งนี้ นายวิษณุได้แจ้งที่ประชุมเพิ่มเติมด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดกับประธาน ในเรื่องดังกล่าวเสมอ เพราะเห็นว่า หากดำเนินการนำ ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 เรื่องเข้าที่ประชุม ครม. พิจารณาโดยเร็ว ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจการค้าของประเทศ มีความคล่องตัวและเป็นประโยชน์กับประชาชน ในด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนเพิ่มระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่นอีกด้วย
นายชาตรี อยู่ประเสริฐ เลขาธิการสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกระแสข่าวการเปลี่ยนแปลง ปรับโครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และพื้นที่การปกครองพิเศษ ว่า เป็นการปล่อยข่าวเอาใจกระทรวงมหาดไทย ที่อยากคงอำนาจไว้ โดยเฉพาะการสกัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เพราะหากมี อบจ. จะเลือกผู้ว่าฯ โดยตรงไม่ได้ อีกทั้งหลายกระทรวงไม่ชอบ อบจ. เพราะงานใหญ่ๆ ถ่ายโอนมายังอบจ.ได้ จึงไม่อยากให้อบจ.อยู่ แต่แนวคิดดังกล่าวที่ออกมา ไม่ตอบโจทย์ เป็นเทศบาลจะกระจายอำนาจไม่ได้ ท้องถิ่นทั่วโลกมี 2 ชั้นคือ ระดับบน และระดับล่าง แล้วปัญหาที่ท้องถิ่นอ่อนแอเกือบ 90% เกิดจากส่วนกลาง ไม่จริงใจกระจายอำนาจ ไม่อยากแก้ไขระบบระเบียบให้ พูดกันตรงๆ กระทรวงมหาดไทย ไม่อยากให้ท้องถิ่นโต ไม่อยากให้เข้มแข็ง กลัวจะคุมไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ในการปฏิรูปครั้งนี้ จะต้องทำภาพโครงสร้างใหญ่ทั้งหมด หน่วยงานใดจะต้องดูแลท้องถิ่นแบบเบ็ดเสร็จ หรือจะเป็นรูปของบอร์ดที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ส่วนรายชื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านปกครองส่วนท้องถิ่น น่าพอใจ เพราะรายชื่อส่วนใหญ่อยากให้กระจายอำนาจ ดังนั้นเรื่องยุบท้องถิ่น เราไม่กลัว และไม่มีวันเป็นไปได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทราบหรือไม่ว่า ใครเป็นคนออกแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายชาตรี กล่าวว่า มีปลัดท้องถิ่น 3 –4 คน ที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมา ร่วมกับข้าราชการส่วนกลางบางคน ไปคิดโมเดลเอาใจนาย แล้วโยนหินถามทางมา แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ออกมายืนยันแล้วว่า ไม่มีการยุบ ถือว่าจบ เพียงแต่ปรับให้เข้มแข็งเท่านั้น
ทั้งนี้ นายวิษณุ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า จะมีการพิจารณาเรื่องต่างๆว่าที่ผ่านมาได้ทำอะไรกันไปบ้าง โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรเงินให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 8,500 ล้านบาท ที่เป็นงบอุดหนุนทั่วไป และงบอุดหนุนเฉพาะกิจ 10,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นคณะกรรมการฯ ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นประธาน ได้เคยเสนอว่า ให้นำงบประมาณมาหารกันตามท้องถิ่น แต่อีกฝ่ายไม่เห็นด้วย พล.ต.อ.อดุลย์ จึงจะนำไปหารือกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดังนั้นก็จะมาตามเรื่องนี้
นอกจากนี้จะมีการพิจารณาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจอื่นๆ ที่สำคัญอาจจะต้องมาทบทวนว่า คณะกรรมการฯ ชุดนี้ ที่ทำหน้าที่มาเหมาะสมหรือไม่ หรือควรจะเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่อะไร อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้คณะกรรมการฯได้เคยว่าจ้างคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ให้ทำวิจัยไว้ซึ่งเสร็จแล้วว่า ควรจะปรับปรุงอะไรบ้าง ก็จะมาพูดคุยกัน รวมถึงท้องถิ่นที่อยากผลักดันให้มีกฏหมายการบริหารราชการท้องถิ่นพิเศษ ของเขาเองรวม 3 ฉบับคือ แม่สอด เกาะสมุย และแหลมฉบัง ว่าจะดำเนินอย่างไรต่อ
ผู้สื่อข่าวถามถึงข่าวการแบ่งแยกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รองนายกฯ กล่าวว่าไม่มี ไม่เป็นความจริง ตนคิดว่าคงจะเป็นผลมาจากการที่จะปฏิรูป และเสนอแนะกันมามากกว่า
"ในซีกรัฐบาลไม่มีใครคิดเรื่องนี้ อาจจะมีคิดเล่นๆ แต่ไม่ได้เป็นความจริง และไม่มีใครผลักดันอะไร ผมขอยืนยันว่าทางรัฐบาลไม่คิด และไม่ได้ทำอะไรแน่ แต่ถ้าใครจะคิด และเสนอมาโดยผลของการปฏิรูปนั้นไม่รู้ ซึ่งเมื่อวานในที่ประชุมร่วมระหว่าง ครม.และคสช. นายกฯ ก็พูดว่ามีใครก็ไม่รู้มาพูดว่า รัฐบาลจะยุบโน่น ยุบนี่ ซึ่งไม่เป็นความจริง ขอให้ทุกคนรับทราบ และช่วยทำความเข้าใจด้วย " นายวิษณุ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบเรื่อง การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และพนักงานส่วนท้องถิ่น ตามที่ คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐได้ประชุมไปเมื่อ วันที่ 9 ก.ค.57 ได้มีมติเห็นชอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป สำหรับดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และภารกิจถ่ายโอน ที่ได้กันเงินไว้เป็นค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น จำนวน 2,000 ล้านบาท ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามสัดส่วนเงินอุดหนุนทั่วไป ตามอำนาจหน้าที่ที่ อปท. แต่ละแห่งได้รับการจัดสรร โดยให้กันไว้อีกจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล แก่ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณา และมีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมอบหมาย และเร่งรัดให้กระทรวงมหาดไทย รีบดำเนินการนำ ร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ....ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการเกาะสมุย พ.ศ. .... และ ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแหลมฉบัง พ.ศ. .... เสนอ ครม. พิจารณาโดยเร็ว
ทั้งนี้ นายวิษณุได้แจ้งที่ประชุมเพิ่มเติมด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดกับประธาน ในเรื่องดังกล่าวเสมอ เพราะเห็นว่า หากดำเนินการนำ ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 เรื่องเข้าที่ประชุม ครม. พิจารณาโดยเร็ว ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจการค้าของประเทศ มีความคล่องตัวและเป็นประโยชน์กับประชาชน ในด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนเพิ่มระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่นอีกด้วย
นายชาตรี อยู่ประเสริฐ เลขาธิการสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกระแสข่าวการเปลี่ยนแปลง ปรับโครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และพื้นที่การปกครองพิเศษ ว่า เป็นการปล่อยข่าวเอาใจกระทรวงมหาดไทย ที่อยากคงอำนาจไว้ โดยเฉพาะการสกัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เพราะหากมี อบจ. จะเลือกผู้ว่าฯ โดยตรงไม่ได้ อีกทั้งหลายกระทรวงไม่ชอบ อบจ. เพราะงานใหญ่ๆ ถ่ายโอนมายังอบจ.ได้ จึงไม่อยากให้อบจ.อยู่ แต่แนวคิดดังกล่าวที่ออกมา ไม่ตอบโจทย์ เป็นเทศบาลจะกระจายอำนาจไม่ได้ ท้องถิ่นทั่วโลกมี 2 ชั้นคือ ระดับบน และระดับล่าง แล้วปัญหาที่ท้องถิ่นอ่อนแอเกือบ 90% เกิดจากส่วนกลาง ไม่จริงใจกระจายอำนาจ ไม่อยากแก้ไขระบบระเบียบให้ พูดกันตรงๆ กระทรวงมหาดไทย ไม่อยากให้ท้องถิ่นโต ไม่อยากให้เข้มแข็ง กลัวจะคุมไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ในการปฏิรูปครั้งนี้ จะต้องทำภาพโครงสร้างใหญ่ทั้งหมด หน่วยงานใดจะต้องดูแลท้องถิ่นแบบเบ็ดเสร็จ หรือจะเป็นรูปของบอร์ดที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ส่วนรายชื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านปกครองส่วนท้องถิ่น น่าพอใจ เพราะรายชื่อส่วนใหญ่อยากให้กระจายอำนาจ ดังนั้นเรื่องยุบท้องถิ่น เราไม่กลัว และไม่มีวันเป็นไปได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทราบหรือไม่ว่า ใครเป็นคนออกแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายชาตรี กล่าวว่า มีปลัดท้องถิ่น 3 –4 คน ที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมา ร่วมกับข้าราชการส่วนกลางบางคน ไปคิดโมเดลเอาใจนาย แล้วโยนหินถามทางมา แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ออกมายืนยันแล้วว่า ไม่มีการยุบ ถือว่าจบ เพียงแต่ปรับให้เข้มแข็งเท่านั้น