วานนี้ (2ต.ค.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้มีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การค้างาช้าง พ.ศ... โดยมีหลักการ และเหตุผล คือ ประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมการค้า การครอบครองงาช้าง หรือผิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้าง ตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า แต่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมการค้า และการครอบครองงาช้าง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ จึงมีการนำช้างป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาสวมสิทธิ และจดทะเบียนเป็นสัตว์พาหนะเพื่อตัดงาช้าง รวมถึงลักลอบนำเข้างาช้างแอฟริกา เพื่อนำมาค้า หรือ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้าง ประกอบกับไทยมีได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) จึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาที่กำหนดให้ประเทศสมาชิก ต้องมีมาตรการควบคุมการค้างาช้าง หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแปรรูปงาช้างภายในประเทศ มิให้ปะปนกับงาช้างที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าว มีการกำหนดให้ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้ผู้ประกอบกิจการค้างาช้าง ต้องยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การประกอบกิจการ และการพักใช้หรือเพิกถอนในอนุญาต ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ห้ามผู้ใดส่งออก หรือนำเข้างาช้าง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ผู้ใดที่มีงาช้างไว้ครอบครองต้องมาแจ้งต่ออธิบดี เพื่อออกเอกสารการครอบครองไว้เป็นหลักฐาน หากกรณีใดน่าสงสัย ให้ผู้ครอบครองนำเอกสารมายืนยันว่า ได้งาช้างมาถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าไม่สามารถพิสูจน์ได้ ก็ให้ยึดตกเป็นของแผ่นดินภายใน 30 วัน แต่เจ้าของมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายใน 15 วัน โดยให้คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีเป็นอันสิ้นสุด
นอกจากนี้ หากผู้ครอบครองช้างต้องการโอนการครอบครอง เปลี่ยนแปลงสถานที่ แปรสภาพ หรือเปลี่ยนรูปร่างงาช้างที่อยู่ในความครอบครอง ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่ออธิการบดีก่อนวันดำเนินการ โดยกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงาน (ตำรวจ) สามารถเข้าไปตรวจสอบสถานที่ประกอบกิจการในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น จนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่เพื่อตรวจสอบ
ส่วนการกำหนดบทลงโทษ หากไม่มีการแจ้งประกอบการกับอธิบดี หรือนำเข้า ส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หากมีไว้ครอบครองแล้วไม่มีการแจ้ง หรือโอนการครอบครอง เคลื่อนย้าย แปรสภาพงาช้าง โดยไม่แจ้งก่อนล่วงหน้า มีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท และหากไม่อำนวยความสะดวกให้กับเจ้าพนักงานโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนร่างดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า ขณะนี้มีปัญหาเกี่ยวกับการลักลอบซื้อขายงาช้างจำนวนมาก แต่แสดงความเป็นห่วงต่อการจำแนกช้างไทย ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้มีการทำอย่างเป็นระบบ และรัดกุมเพียงพอ อาจก่อให้เกิดช่องโหว่ให้เจ้าหน้ารัฐแสวงหาประโยชน์ หรือกลายเป็นเหตุถูกฟ้องร้อง
จากนั้นได้ลงมติเอกฉันท์ 197 เสียง รับหลักการ วาระ1 พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาจำนวน 15 คน อีกทั้งยังมีการรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ..ด้วย มติเอกฉันท์ จำนวน 196 คน โดยใช้คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดเดียวกับร่างพ.ร.บ.การค้างาช้าง
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าว มีการกำหนดให้ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้ผู้ประกอบกิจการค้างาช้าง ต้องยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การประกอบกิจการ และการพักใช้หรือเพิกถอนในอนุญาต ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ห้ามผู้ใดส่งออก หรือนำเข้างาช้าง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ผู้ใดที่มีงาช้างไว้ครอบครองต้องมาแจ้งต่ออธิบดี เพื่อออกเอกสารการครอบครองไว้เป็นหลักฐาน หากกรณีใดน่าสงสัย ให้ผู้ครอบครองนำเอกสารมายืนยันว่า ได้งาช้างมาถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าไม่สามารถพิสูจน์ได้ ก็ให้ยึดตกเป็นของแผ่นดินภายใน 30 วัน แต่เจ้าของมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายใน 15 วัน โดยให้คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีเป็นอันสิ้นสุด
นอกจากนี้ หากผู้ครอบครองช้างต้องการโอนการครอบครอง เปลี่ยนแปลงสถานที่ แปรสภาพ หรือเปลี่ยนรูปร่างงาช้างที่อยู่ในความครอบครอง ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่ออธิการบดีก่อนวันดำเนินการ โดยกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงาน (ตำรวจ) สามารถเข้าไปตรวจสอบสถานที่ประกอบกิจการในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น จนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่เพื่อตรวจสอบ
ส่วนการกำหนดบทลงโทษ หากไม่มีการแจ้งประกอบการกับอธิบดี หรือนำเข้า ส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หากมีไว้ครอบครองแล้วไม่มีการแจ้ง หรือโอนการครอบครอง เคลื่อนย้าย แปรสภาพงาช้าง โดยไม่แจ้งก่อนล่วงหน้า มีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท และหากไม่อำนวยความสะดวกให้กับเจ้าพนักงานโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนร่างดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า ขณะนี้มีปัญหาเกี่ยวกับการลักลอบซื้อขายงาช้างจำนวนมาก แต่แสดงความเป็นห่วงต่อการจำแนกช้างไทย ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้มีการทำอย่างเป็นระบบ และรัดกุมเพียงพอ อาจก่อให้เกิดช่องโหว่ให้เจ้าหน้ารัฐแสวงหาประโยชน์ หรือกลายเป็นเหตุถูกฟ้องร้อง
จากนั้นได้ลงมติเอกฉันท์ 197 เสียง รับหลักการ วาระ1 พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาจำนวน 15 คน อีกทั้งยังมีการรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ..ด้วย มติเอกฉันท์ จำนวน 196 คน โดยใช้คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดเดียวกับร่างพ.ร.บ.การค้างาช้าง