นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกรณีที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่งสำนวนการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เรื่องที่มา ส.ว.โดยมิชอบ กลับไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำสำนวนมาใหม่ เนื่องจากสำนวนเดิมนั้น อ้างอิงข้อกฎหมายตาม รัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งไม่มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ที่ประชุมป.ป.ช. ก็มีมติ ให้ส่งสำนวนเดิมนั้นกลับมาให้สนช. พิจารณา ดำเนินถอดถอนอีกครั้ง ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับเรื่องดังกล่าว แต่เมื่อ ป.ป.ช. ส่งเรื่องกลับมา ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ส่วนปัญหาข้อกฎหมาย ที่ยังมีความสับสนว่า สนช. สามารถถอดถอนได้หรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ยกเลิกไปแล้วนั้น เห็นว่าเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง แต่ต้องรอดูคำร้องจากป.ป.ช.ก่อนว่า มีการแก้ไขอะไร หรือไม่ จึงจะพิจารณาได้
ส่วนการที่ นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. อาจเสนอให้ที่ประชุมใช้ มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว ปี 57 ชี้ขาดเรื่องนี้นั้น นายพรเพชร เห็นว่า มาตรา 5 จะใช้เพื่อตีความกฎหมายเท่านั้น เช่น ตีความว่าสนช. ทำหน้าที่แทนส.ว.ได้หรือไม่ แต่เรื่องการถอดถอน ยังไม่เห็นอำนาจว่าจะใช้มาตรา 5 ได้ แต่เรื่องดังกล่าวก็อาจนำเข้าจสู่ที่ประชุมให้สมาชิกสนช. ชี้ขาดว่า ถอดถอนได้หรือไม่ โดยการที่ประธานฯ นำเข้าที่ประชุมแล้ว หากสมาชิกสนช.ไม่เห็นชอบ ก็เสนอญัตติได้
ด้าน นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. คนที่ 2 ในฐานะ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. กล่าวถึง กรณีนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุว่า สนช.ไม่มีอำนาจถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีต ส.ส. และ ส.ว. รวมทั้งนายสมศักดิ์ และนายนิคม เนื่องจากการถอดถอนถูกกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ถูกยกเลิก ว่า เรื่องนี้ได้ส่งคืนให้ป.ป.ช. พิจารณาใหม่ จึงอยู่ที่ ป.ป.ช. จะพิจารณาอย่างไร และ เมื่อป.ป.ช.ส่งเรื่องกลับมายังสนช. อีกครั้ง ก็ต้องตั้งทีมงานด้านกฎหมายขึ้นมาดู จะถอดถอนได้หรือไม่ ตนไม่ขอพูด เพราะยังไม่ถึงเวลา อีกทั้งภายในสนช. ก็ยังมีความเห็น 2 ด้าน ว่า ถอดถอนได้ และไม่ได้ ถ้ามีปัญหาก็ต้องนำเข้าที่ประชุมสนช. โดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราวปี 2557 มาตรา 5 ที่บัญญัติว่า กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใด ตามความเกิดขึ้นในวงงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า สนช. จ้องถอดถอนนักการเมืองนั้น ยืนยันว่า การดำเนินการไม่มีใบสั่งอะไร หากเขามีความผิด และอำนาจหน้าที่ของ สนช.ทำได้ ก็ต้องทำ แต่ไม่ใช่ว่าป.ป.ช. ส่งเรื่องมาให้แล้วจะต้องดำเนินการทันที เพราะต้องรอบคอบ และข้อบังคับการประชุม สนช. ไม่ได้มีไว้เพื่อถอดถอน และ การถอดถอน ก็ต้องใช้เสียงของสมาชิกสนช. ที่มีอยู่จำนวน 3 ใน 5 หรือจำนวน 132 เสียง
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 กล่าวว่า ถ้าป.ป.ช. ส่งสำนวนถอดถอน กลับมายัง สนช. โดยทันทีที่ส่งกลับมา จะเริ่มต้นนับหนึ่งตามกรอบเวลาที่ข้อบังคับระบุไว้ว่า ต้องพิจารณาภายใน 30 วัน
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ยังมีข้อถกเถียงเรื่องกฎหมายว่า สนช. มีอำนาจถอดถอนหรือไม่ ซึ่งสนช.จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ แต่ไม่จำเป็นต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากภายนอกเข้าร่วมพิจารณาด้วย เพราะหากข้อปัญหาไม่ได้ข้อยุติ ก็สามารถนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม สนช. เพื่อวินิจฉัยตาม มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ได้
นายสมชาย แสวงการ วิปสนช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หลังจากประธาน สนช. บรรจุเรื่องเข้าวาระแล้ว อาจส่งให้วิปพิจารณาว่า อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือไม่ ส่งให้ที่ประชุมพิจารณาตามหมวดถอดถอน ที่กำหนดในข้อบังคับใช้เวลา 45 วัน นับจากประธาน สนช. บรรจุในระเบียบวาระ จะมีคณะกรรมาธิการซักถามแทนสมาชิก เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจง จากนั้นปิดสำนวน นัดหมายวันลงมติ
ส่วนที่มีการโต้แย้งว่า สนช.ไม่มีอำนาจถอดถอนนั้น ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 ระบุไว้ชัดเจนว่า กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยเรื่องที่เกิดในวงงานของ สนช. ให้ สนช.เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งการถอดถอนเป็นเรื่องในวงงานของ สนช. โดยตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า เรื่องที่เกิดขึ้นนอกวงงานของสนช. จึงจะสามารถขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด
ดังนั้น หากมีการยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญจริง ก็ต้องดูว่า ศาลฯ จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ แต่จะไม่มีผลต่อกระบวนการพิจารณาถอดถอนของสนช. ให้ต้องยุติ หรือชะงักการดำเนินการ แต่อย่างใด
น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส. พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนเชื่อว่า สนช. มีอำนาจที่จะถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว หรือทำความผิดที่เข้าข่ายถูกถอดถอน เพราะว่า ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า สนช. สามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. หรือทำหน้าที่เป็นเหมือนรัฐสภา ชั่วคราว ฉะนั้น หากมีคดีที่ทางป.ป.ช. ส่งมา โดยมีกฎหมายรับรอง คือ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย ป.ป.ช. ทางสนช. ก็จะสามารถทำหน้าที่สำนวนคดีที่ทางป.ป.ช. ส่งมาได้ เมื่อทางป.ป.ช. มีมติถอดถอน และได้ส่งสำนวนคดีมาให้ทางสนช. ทำหน้าที่พิจารณาถอดถอนแล้ว สนช.ก็สามารถที่จะทำหน้าเป็น ส.ว. ตามที่ได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราวปี 2557 มาตรา ที่ 6
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สนช. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ กิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ชั่วคราว) หรือ วิป สนช. กล่าวว่า ในการประชุม สนช. วันนี้ (2ต.ค.) นี้ จะมีระเบียบวาระเรื่องด่วน เลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ กับ พิจารณาตั้งคณะกมธ.สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของ พล.อ.วิทวัส รชตะนนทน์ อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และยังพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.จำนวน 9 ฉบับ
ส่วนดำเนินการการถอดถอนตามสำนวนที่ ป.ป.ช. ยืนยันกลับมายัง สนช.นั้น ทางวิปสนช. ยังไม่ได้มีการพิจารณากัน เพราะเรื่องยังส่งมาไม่ถึง แต่อย่างไรก็ตาม หากสำนวนดังกล่าวส่งถึงสนช.แล้ว นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. จะเป็นผู้วินิจฉัย เพื่อส่งให้วิป สนช. เป็นผู้จัดวาระการพิจารณาต่อไป
----------
ส่วนปัญหาข้อกฎหมาย ที่ยังมีความสับสนว่า สนช. สามารถถอดถอนได้หรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ยกเลิกไปแล้วนั้น เห็นว่าเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง แต่ต้องรอดูคำร้องจากป.ป.ช.ก่อนว่า มีการแก้ไขอะไร หรือไม่ จึงจะพิจารณาได้
ส่วนการที่ นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. อาจเสนอให้ที่ประชุมใช้ มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว ปี 57 ชี้ขาดเรื่องนี้นั้น นายพรเพชร เห็นว่า มาตรา 5 จะใช้เพื่อตีความกฎหมายเท่านั้น เช่น ตีความว่าสนช. ทำหน้าที่แทนส.ว.ได้หรือไม่ แต่เรื่องการถอดถอน ยังไม่เห็นอำนาจว่าจะใช้มาตรา 5 ได้ แต่เรื่องดังกล่าวก็อาจนำเข้าจสู่ที่ประชุมให้สมาชิกสนช. ชี้ขาดว่า ถอดถอนได้หรือไม่ โดยการที่ประธานฯ นำเข้าที่ประชุมแล้ว หากสมาชิกสนช.ไม่เห็นชอบ ก็เสนอญัตติได้
ด้าน นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. คนที่ 2 ในฐานะ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. กล่าวถึง กรณีนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุว่า สนช.ไม่มีอำนาจถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีต ส.ส. และ ส.ว. รวมทั้งนายสมศักดิ์ และนายนิคม เนื่องจากการถอดถอนถูกกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ถูกยกเลิก ว่า เรื่องนี้ได้ส่งคืนให้ป.ป.ช. พิจารณาใหม่ จึงอยู่ที่ ป.ป.ช. จะพิจารณาอย่างไร และ เมื่อป.ป.ช.ส่งเรื่องกลับมายังสนช. อีกครั้ง ก็ต้องตั้งทีมงานด้านกฎหมายขึ้นมาดู จะถอดถอนได้หรือไม่ ตนไม่ขอพูด เพราะยังไม่ถึงเวลา อีกทั้งภายในสนช. ก็ยังมีความเห็น 2 ด้าน ว่า ถอดถอนได้ และไม่ได้ ถ้ามีปัญหาก็ต้องนำเข้าที่ประชุมสนช. โดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราวปี 2557 มาตรา 5 ที่บัญญัติว่า กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใด ตามความเกิดขึ้นในวงงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า สนช. จ้องถอดถอนนักการเมืองนั้น ยืนยันว่า การดำเนินการไม่มีใบสั่งอะไร หากเขามีความผิด และอำนาจหน้าที่ของ สนช.ทำได้ ก็ต้องทำ แต่ไม่ใช่ว่าป.ป.ช. ส่งเรื่องมาให้แล้วจะต้องดำเนินการทันที เพราะต้องรอบคอบ และข้อบังคับการประชุม สนช. ไม่ได้มีไว้เพื่อถอดถอน และ การถอดถอน ก็ต้องใช้เสียงของสมาชิกสนช. ที่มีอยู่จำนวน 3 ใน 5 หรือจำนวน 132 เสียง
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 กล่าวว่า ถ้าป.ป.ช. ส่งสำนวนถอดถอน กลับมายัง สนช. โดยทันทีที่ส่งกลับมา จะเริ่มต้นนับหนึ่งตามกรอบเวลาที่ข้อบังคับระบุไว้ว่า ต้องพิจารณาภายใน 30 วัน
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ยังมีข้อถกเถียงเรื่องกฎหมายว่า สนช. มีอำนาจถอดถอนหรือไม่ ซึ่งสนช.จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ แต่ไม่จำเป็นต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากภายนอกเข้าร่วมพิจารณาด้วย เพราะหากข้อปัญหาไม่ได้ข้อยุติ ก็สามารถนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม สนช. เพื่อวินิจฉัยตาม มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 ได้
นายสมชาย แสวงการ วิปสนช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หลังจากประธาน สนช. บรรจุเรื่องเข้าวาระแล้ว อาจส่งให้วิปพิจารณาว่า อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือไม่ ส่งให้ที่ประชุมพิจารณาตามหมวดถอดถอน ที่กำหนดในข้อบังคับใช้เวลา 45 วัน นับจากประธาน สนช. บรรจุในระเบียบวาระ จะมีคณะกรรมาธิการซักถามแทนสมาชิก เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจง จากนั้นปิดสำนวน นัดหมายวันลงมติ
ส่วนที่มีการโต้แย้งว่า สนช.ไม่มีอำนาจถอดถอนนั้น ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 ระบุไว้ชัดเจนว่า กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยเรื่องที่เกิดในวงงานของ สนช. ให้ สนช.เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งการถอดถอนเป็นเรื่องในวงงานของ สนช. โดยตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า เรื่องที่เกิดขึ้นนอกวงงานของสนช. จึงจะสามารถขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด
ดังนั้น หากมีการยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญจริง ก็ต้องดูว่า ศาลฯ จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ แต่จะไม่มีผลต่อกระบวนการพิจารณาถอดถอนของสนช. ให้ต้องยุติ หรือชะงักการดำเนินการ แต่อย่างใด
น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส. พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนเชื่อว่า สนช. มีอำนาจที่จะถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว หรือทำความผิดที่เข้าข่ายถูกถอดถอน เพราะว่า ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า สนช. สามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. หรือทำหน้าที่เป็นเหมือนรัฐสภา ชั่วคราว ฉะนั้น หากมีคดีที่ทางป.ป.ช. ส่งมา โดยมีกฎหมายรับรอง คือ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย ป.ป.ช. ทางสนช. ก็จะสามารถทำหน้าที่สำนวนคดีที่ทางป.ป.ช. ส่งมาได้ เมื่อทางป.ป.ช. มีมติถอดถอน และได้ส่งสำนวนคดีมาให้ทางสนช. ทำหน้าที่พิจารณาถอดถอนแล้ว สนช.ก็สามารถที่จะทำหน้าเป็น ส.ว. ตามที่ได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราวปี 2557 มาตรา ที่ 6
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สนช. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ กิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ชั่วคราว) หรือ วิป สนช. กล่าวว่า ในการประชุม สนช. วันนี้ (2ต.ค.) นี้ จะมีระเบียบวาระเรื่องด่วน เลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ กับ พิจารณาตั้งคณะกมธ.สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของ พล.อ.วิทวัส รชตะนนทน์ อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และยังพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.จำนวน 9 ฉบับ
ส่วนดำเนินการการถอดถอนตามสำนวนที่ ป.ป.ช. ยืนยันกลับมายัง สนช.นั้น ทางวิปสนช. ยังไม่ได้มีการพิจารณากัน เพราะเรื่องยังส่งมาไม่ถึง แต่อย่างไรก็ตาม หากสำนวนดังกล่าวส่งถึงสนช.แล้ว นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. จะเป็นผู้วินิจฉัย เพื่อส่งให้วิป สนช. เป็นผู้จัดวาระการพิจารณาต่อไป
----------