ASTV ผู้จัดการรายวัน - ตลาด mai คึกจ่อ IPO อีก 8 บริษัท “ประพันธ์” เร่งสนับสนุนให้โบรกเกอร์ทำบทวิเคราะห์บริษัทใน mai ระบุต้นปี 2558 จัดกลุ่มบริษัทใน mai แบ่งเป็น 8 กลุ่มอุตสาหกรรม แจงให้เห็นศักยภาพการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ด้านนักวิเคราะห์ ระบุการซื้อขายที่ P/E 80 เท่าแพงเกิน แต่หากมองที่ศักยภาพการทำกำไรของแต่ละบริษัทก็พร้อมปรับ เอิร์นนิงจะทำให้ P/E กลับมาเป็นปกติ คาดใช้เวลา 6 - 12 เดือน ด้าน "วรพล" เลขาฯ ก.ล.ต. ระบุ ยังไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใหม่ ดูแลหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวของราคาที่ผิดปกติ
จากการสำรวจข้อมูลบริษัทที่เตรียมเสนอ ขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) และพร้อมที่จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และตลาดเอ็มเอไอ ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ ทั้งสิ้น 6 บริษัท โดยเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ได้แก่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ส่วนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้แก่ บริษัท สมาร์ทคอนกรีต จำกัด (มหาชน) หรือ SMART บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART บริษัท ไฟร์วิคเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ FIRE บริษัท เค.ซี.เมททอลชีท จำกัด (มหาชน) หรือ KCM และ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TPCH
สำหรับบริษัทสมาร์ทคอนกรีต และ ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส ได้กำหนดวันเข้า ทำการซื้อขายวันแรกในวันที่ 2 ต.ค. และ 14 ต.ค. ตามลำดับ ส่วนอีก 4 บริษัทอยู่ในขั้นตอน การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ขณะที่นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทที่อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการจดทะเบียนในตลาดหลักทรพัย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพิ่มอีก 3 บริษัท ซึ่งจะทำให้ทั้งปี 2557 มีบริษัทจดทะเบียนเข้าตลาด mai ทั้งสิ้น 19 บริษัท
“ผมว่าการกำหนดราคาของแต่ละบริษัทมี FA ดูแลอยู่ซึ่งคงต้องเป็นราคาที่เหมาะสม ประกอบกับภาวะของตลาดที่อยู่ใน “ขาขึ้น” ทำให้ราคาของหุ้น IPO เคลื่อนไหวค่อนข้างร้อนแรงทั้งปี มีเพียง 1 บริษัทที่เข้าจดทะเบียนช่วงเดือนมกราคมเท่านั้นที่ราคาไม่เป็นเซอร์ไพรส์ตลาด” นายประพันธ์ กล่าว
พร้อมกันนี้ได้ชี้แจงกรณีค่า P/E ของตลาดหุ้น mai ในปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นกว่า 80 เท่า ซึ่งถือว่าเติบโตขึ้นมาในระดับสูงมาก โดยแบ่งหุ้นใน mai ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้ผลประกอบการปรับตัวลดลง จำนวน 27 บริษัท ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่นำมาเป็นตัวหาร ทำให้ตัวหารหายไป 27
ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่มีการเติบโตทั้งค่า P/E เฉลี่ย 30 เท่าขึ้นไป ซึ่งปรับตัวอยู่ในระดับสูง และ P/B เฉลี่ย 5 เท่าขึ้นไป โดยมีอยู่ประมาณ 15 บริษัท ซึ่งมีการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เนื่องจากการปรับตัวขึ้นมานั้นสอดคล้องต่อราคาที่เหมาะสมหรือไม่ ส่วนกลุ่มสุดท้าย คือ ที่มีค่า P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 25 เท่าซึ่งเป็นระดับการซื้อขาย และเติบโตปกติ
“เบื้องต้นทาง mai ได้เซ็น mou กับ 11 บริษัทหลักทรพัย์ไปเมื่อเดือนต.ค.เพื่อให้เข้ามาทำบทวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียนใน mai ให้ได้ 50 บริษัทจาก 104 บริษัทในปัจจุบัน เพื่อให้มีฐานข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน รวมถึงอยู่ระหว่างแบ่งรายกลุ่มอุตสาหกรรม โดยจะแบ่งเป็น 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่ง ณ สิ้นปี 2557 เราจะมีบริษัทจดทะเบียนใน mai ทั้งสิ้น 123 บริษัทพอจะแบ่งกลุ่มได้แล้ว ก็จะได้เห็นต้นปี 2558 ซึ่งก็จะมี P/E แต่ละกลุ่มที่ชัดเจนขึ้น ส่วน ณ เวลานี้การที่ตัวหารหายไปถึง 27 บ.การที่ P/E สูงถึง 80 เท่าก็ต้องเข้าในส่วนการที่จะปรับ Earning เอิร์นนิงขึ้น คงต้องรอการรายงานผลการดำเนินงานให้ครบ 4 ไตรมาส ก็คาดว่ากลางปี 2558 และเมื่อคำนวณเอิร์นนิ่งใหม่ P/E ก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ” นายประพันธ์ กล่าว
ด้านนางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป คาดวันนี้ดัชนี น่าจะยังเคลื่อนไหวในแดนลบ แต่เริ่มมีกรอบแคบลงเพราะแม้ว่าจะมีทริกเกอร์ ฟันด์ที่ครบกำหนดทะยอยขายออกมา กว่า พันล้านบาท แต่ก็มีการตั้งทริกเกอร์ ฟันด์ใหม่หลายกองรวมวงเงินเท่ากันจะเข้ามากำหนด down side ของดัชนีได้ พร้อมให้แนวรับ 1,575 - 1,580 จุด ส่วนแนวต้าน 1,600 จุด
พร้อมกันนี้ได้กล่าวถึงความเคลื่อนไหวที่ร้อนแรงของหุ้น IPO ในตลาด mai ว่าเป็นไปตามภาพรวมของตลาดที่อยู่ในทิศทางปรับตัวขึ้น ส่วนการทำบทวิเคราะห์นั้นหากได้รับเชิญ หรือมีการส่งข้อมูลบริษัทให้นักวิเคราะห์ก็พร้อมที่จะวิเคราะห์ภาพรวมของบริษัทจดทะเบียนทุกแห่ง
“การปรับ Earning เอิร์นนิงขึ้นจะทำให้ P/E ตลาดปรับลดลงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละบริษัทหลักทรพัย์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการทำบทวิเคราะห์และการนำหุ้นแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมาประเมิน” นางสาวธีรดา กล่าว
ขณะที่นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)กล่าวว่า ยังไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใหม่ๆเพื่อใช้ดูแลหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวของราคาที่ผิดปกติ เนื่องจากมองว่ามาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังเพียงพอและใช้ได้ผล ขณะที่ ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ก็มีความเข้มงวดมากขึ้นและติดตามความเคลื่อนไหวของหลักทรัพย์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติก็จะขอข้อมูลจากบริษัทหลักทรัพย์และขอคำชี้แจงจากบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ โดยเร็ว เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป
จากการสำรวจข้อมูลบริษัทที่เตรียมเสนอ ขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) และพร้อมที่จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และตลาดเอ็มเอไอ ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ ทั้งสิ้น 6 บริษัท โดยเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ได้แก่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ส่วนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้แก่ บริษัท สมาร์ทคอนกรีต จำกัด (มหาชน) หรือ SMART บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART บริษัท ไฟร์วิคเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ FIRE บริษัท เค.ซี.เมททอลชีท จำกัด (มหาชน) หรือ KCM และ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TPCH
สำหรับบริษัทสมาร์ทคอนกรีต และ ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส ได้กำหนดวันเข้า ทำการซื้อขายวันแรกในวันที่ 2 ต.ค. และ 14 ต.ค. ตามลำดับ ส่วนอีก 4 บริษัทอยู่ในขั้นตอน การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ขณะที่นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทที่อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการจดทะเบียนในตลาดหลักทรพัย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพิ่มอีก 3 บริษัท ซึ่งจะทำให้ทั้งปี 2557 มีบริษัทจดทะเบียนเข้าตลาด mai ทั้งสิ้น 19 บริษัท
“ผมว่าการกำหนดราคาของแต่ละบริษัทมี FA ดูแลอยู่ซึ่งคงต้องเป็นราคาที่เหมาะสม ประกอบกับภาวะของตลาดที่อยู่ใน “ขาขึ้น” ทำให้ราคาของหุ้น IPO เคลื่อนไหวค่อนข้างร้อนแรงทั้งปี มีเพียง 1 บริษัทที่เข้าจดทะเบียนช่วงเดือนมกราคมเท่านั้นที่ราคาไม่เป็นเซอร์ไพรส์ตลาด” นายประพันธ์ กล่าว
พร้อมกันนี้ได้ชี้แจงกรณีค่า P/E ของตลาดหุ้น mai ในปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นกว่า 80 เท่า ซึ่งถือว่าเติบโตขึ้นมาในระดับสูงมาก โดยแบ่งหุ้นใน mai ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้ผลประกอบการปรับตัวลดลง จำนวน 27 บริษัท ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่นำมาเป็นตัวหาร ทำให้ตัวหารหายไป 27
ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่มีการเติบโตทั้งค่า P/E เฉลี่ย 30 เท่าขึ้นไป ซึ่งปรับตัวอยู่ในระดับสูง และ P/B เฉลี่ย 5 เท่าขึ้นไป โดยมีอยู่ประมาณ 15 บริษัท ซึ่งมีการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เนื่องจากการปรับตัวขึ้นมานั้นสอดคล้องต่อราคาที่เหมาะสมหรือไม่ ส่วนกลุ่มสุดท้าย คือ ที่มีค่า P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 25 เท่าซึ่งเป็นระดับการซื้อขาย และเติบโตปกติ
“เบื้องต้นทาง mai ได้เซ็น mou กับ 11 บริษัทหลักทรพัย์ไปเมื่อเดือนต.ค.เพื่อให้เข้ามาทำบทวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียนใน mai ให้ได้ 50 บริษัทจาก 104 บริษัทในปัจจุบัน เพื่อให้มีฐานข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน รวมถึงอยู่ระหว่างแบ่งรายกลุ่มอุตสาหกรรม โดยจะแบ่งเป็น 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่ง ณ สิ้นปี 2557 เราจะมีบริษัทจดทะเบียนใน mai ทั้งสิ้น 123 บริษัทพอจะแบ่งกลุ่มได้แล้ว ก็จะได้เห็นต้นปี 2558 ซึ่งก็จะมี P/E แต่ละกลุ่มที่ชัดเจนขึ้น ส่วน ณ เวลานี้การที่ตัวหารหายไปถึง 27 บ.การที่ P/E สูงถึง 80 เท่าก็ต้องเข้าในส่วนการที่จะปรับ Earning เอิร์นนิงขึ้น คงต้องรอการรายงานผลการดำเนินงานให้ครบ 4 ไตรมาส ก็คาดว่ากลางปี 2558 และเมื่อคำนวณเอิร์นนิ่งใหม่ P/E ก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ” นายประพันธ์ กล่าว
ด้านนางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป คาดวันนี้ดัชนี น่าจะยังเคลื่อนไหวในแดนลบ แต่เริ่มมีกรอบแคบลงเพราะแม้ว่าจะมีทริกเกอร์ ฟันด์ที่ครบกำหนดทะยอยขายออกมา กว่า พันล้านบาท แต่ก็มีการตั้งทริกเกอร์ ฟันด์ใหม่หลายกองรวมวงเงินเท่ากันจะเข้ามากำหนด down side ของดัชนีได้ พร้อมให้แนวรับ 1,575 - 1,580 จุด ส่วนแนวต้าน 1,600 จุด
พร้อมกันนี้ได้กล่าวถึงความเคลื่อนไหวที่ร้อนแรงของหุ้น IPO ในตลาด mai ว่าเป็นไปตามภาพรวมของตลาดที่อยู่ในทิศทางปรับตัวขึ้น ส่วนการทำบทวิเคราะห์นั้นหากได้รับเชิญ หรือมีการส่งข้อมูลบริษัทให้นักวิเคราะห์ก็พร้อมที่จะวิเคราะห์ภาพรวมของบริษัทจดทะเบียนทุกแห่ง
“การปรับ Earning เอิร์นนิงขึ้นจะทำให้ P/E ตลาดปรับลดลงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละบริษัทหลักทรพัย์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการทำบทวิเคราะห์และการนำหุ้นแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมาประเมิน” นางสาวธีรดา กล่าว
ขณะที่นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)กล่าวว่า ยังไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใหม่ๆเพื่อใช้ดูแลหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวของราคาที่ผิดปกติ เนื่องจากมองว่ามาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังเพียงพอและใช้ได้ผล ขณะที่ ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ก็มีความเข้มงวดมากขึ้นและติดตามความเคลื่อนไหวของหลักทรัพย์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติก็จะขอข้อมูลจากบริษัทหลักทรัพย์และขอคำชี้แจงจากบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ โดยเร็ว เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป