ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานคณะทำงานการปฏิรูปด้านการเมือง ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะทำงานการปฏิรูปฯ เมื่อเร็วๆ นี้ นายบุญสม อัครธรรมกุล ผู้ช่วยอธิการบดี มธ. ได้นำเสนอแนวทางปฏิรูปการเมืองให้ที่ประชุมช่วยกันคิด ซึ่งเป็นข้อเสนอใหม่ เช่น พรรคการเมืองไม่ควรให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ต้องสังกัดพรรค ควรยกเลิกระบบปาร์ตี้ลิสต์ ควรให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และควรให้ผู้สมัครต้องแสดงทรัพย์สินย้อนหลัง 3 ปี ไม่ใช่แสดงทรัพย์สินในขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติ แต่ได้มอบให้ นายบุญสม ไปรวบรวมข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองของสถาบัน และองค์กรต่างๆ ที่มีชื่อเสียงด้วย เช่น สถาบันพระปกเกล้า มานำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งหน้า เพื่อนำมาพิจารณาประกอบแนวทางการปฏิรูปฯเพิ่มเติม
“แนวทางนี้เป็นแค่ตุ๊กตาที่เสนอให้ที่ประชุมร่วมกันคิดเท่านั้นยังไม่ใช่ข้อยุติ ซึ่งผมคิดว่าข้อเสนอที่ดี และจะมีการนัดประชุมคณะทำงานเพื่อหารือกันอีกครั้งในวันที่ 26 กันยายนนี้ ที่ มธ. โดยผมได้กำหนดกรอบเวลาว่าจะต้องจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองให้แล้วเสร็จ และเสนอความคิดเห็นไปยัง ทปอ. ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ เพื่อให้ได้เป็นข้อสรุปของ ทปอ. ก่อนเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ต่อไป ทั้งนี้ผมเข้าใจดีว่า ทปอ. มีสมาชิกมาจากหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งความเห็นเรื่องการปฏิรูปการเมืองก็จะไม่ตรงกันอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงต้องยึดมติจากเสียงส่วนใหญ่เป็นหลักศ.ดร.สมคิด กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาในการจัดทำข้อเสนอดังกล่าวนั้น จะสอดคล้องกับกรอบเวลาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2557 ที่กำหนดว่า สปช. จะเกิดขึ้นประมาณเดือนตุลาคม และจะมีเวลาประมาณ 45-60 วันในการจัดทำกรอบความคิด เพื่อเสนอคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
“แนวทางนี้เป็นแค่ตุ๊กตาที่เสนอให้ที่ประชุมร่วมกันคิดเท่านั้นยังไม่ใช่ข้อยุติ ซึ่งผมคิดว่าข้อเสนอที่ดี และจะมีการนัดประชุมคณะทำงานเพื่อหารือกันอีกครั้งในวันที่ 26 กันยายนนี้ ที่ มธ. โดยผมได้กำหนดกรอบเวลาว่าจะต้องจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองให้แล้วเสร็จ และเสนอความคิดเห็นไปยัง ทปอ. ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ เพื่อให้ได้เป็นข้อสรุปของ ทปอ. ก่อนเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ต่อไป ทั้งนี้ผมเข้าใจดีว่า ทปอ. มีสมาชิกมาจากหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งความเห็นเรื่องการปฏิรูปการเมืองก็จะไม่ตรงกันอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงต้องยึดมติจากเสียงส่วนใหญ่เป็นหลักศ.ดร.สมคิด กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาในการจัดทำข้อเสนอดังกล่าวนั้น จะสอดคล้องกับกรอบเวลาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2557 ที่กำหนดว่า สปช. จะเกิดขึ้นประมาณเดือนตุลาคม และจะมีเวลาประมาณ 45-60 วันในการจัดทำกรอบความคิด เพื่อเสนอคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป