สอดแนมการเมือง
โดย...ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย
มนุษย์คือชีวิต ชีวิตคือละคร แต่ “อีสป” ทำให้ “ชีวิต” คือ “นิทาน” ดังไปทั้งโลก!
ผมรู้จัก “อีสป” ที่ตายไปแล้วนานกว่า 2,500 ปี บนหน้ากระดาษของหนังสือเรียนชั้นประถม
นิทานสั้นๆและเรียบง่ายมากมายเหล่านี้ “อีสป”มีคติสอนใจเด็กๆทุกเรื่อง จะว่าไปแล้ว..เด็กๆโตขึ้น..โตขึ้น..จนล่วงเข้าสู่ “วัยชรา” ก็ยังไม่เคยลืมนิทานของ“อีสป”เลย ไม่ว่าจะเรื่อง..เด็กเลี้ยงแกะ-ชาวนากับงู
เห่า-เต่ากับกระต่าย-ราชสีห์กับหนู-หมาในรางหญ้า-หมาป่ากับลูกแกะ ฯลฯ
แต่เด็กๆก็รู้จัก “อีสป” เพียงแค่ “นิทาน” เท่านั้น ความเป็นมาชีวิตของ “อีสป” นั้น เด็กๆรู้น้อยมากหรือแทบจะไม่รู้เลย
วันนี้..เวลาที่ล่วงเลยไปกว่า 63 ปี ได้มีโอกาสนั่งอ่านนิทาน “อีสป” อีกครั้ง ดูเหมือนแง่มุม “คำสอน
” ในนิทานบางเรื่อง ยังคงเหมือนดัง “อีสป” ได้สอนไว้ นั่นหมายถึงนิทานของ “อีสป” ยังใช้ได้ทั้งยุคอดีตตราบยุคปัจจุบัน
แต่นิทานบางเรื่องของ “อีสป” ถูกกาลเวลา และด้วยวัยกับประสบการณ์ที่มากขึ้น อีกทั้งสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป จึงทำให้แง่คิดมุมมองผันแปรไปไม่น้อย
วันนี้..อยากรู้จักมนุษย์ชื่อ “อีสป” มาก จึงตามล่าหาบุรุษนักเล่านิทาน “อีสป”ไว้ประดับความรู้
“อีสป” เป็นหนึ่งในนิทานโบราณ ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงลือเลื่อง จนเป็นที่รู้จักมากที่สุดของชาวโลก
มีการแปลและเผยแพร่นิทาน “อีสป” ในหลายรูปแบบและทุกภาษา อีกทั้งยังเป็นนิทานที่อ่านได้ทุกวัย
“อีสป” มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลา 560-620 ปี ก่อนคริสต์ศักราช นับเวลาถึงปัจจุบัน 2,755-2,815 ปี ในยุคที่มีนักปราชญ์ชื่อเสียงโด่งดังอย่าง อริสโตเติล เฮโรโดตัส และ พลุตาร์ค ฯลฯ
“อีสป” มาจากเมือง “เทรซ” ซึ่งปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่ง ของกรีกและบัลแกเรีย มาเป็นทาสอยู่ที่เมือง “ซาร์ดิส” บนเกาะ “ซามอส” ของประเทศกรีก เกาะนี้อยู่นอกชายฝั่งของประเทศตุรกีในปัจจุบัน
“อีสป” เป็นทาสชายที่รูปร่างพิกลพิการ และหน้าตาอัปลักษณ์ยิ่งนัก ทั้งผิวดำ-ตัวเตี้ย-พุงโต-หัวเถิก-หน้ายาว-จมูกงุ้ม-ปากหนา-ขาโก่ง-แขนสั้น-เท้าแบน และหลังค่อมอีกต่างหาก
เรียกว่า..รูปกายภายนอก”คุณอีสป”หาเพื่อนยากมาก แต่”ท่านอีสป”กลับมีเพื่อนเป็นถึงพระราชา!
ทั้งนี้เพราะ “อีสป” มีปัญญาเฉลียวฉลาดหลักแหลม และเล่านิทานที่มีคติสอนใจเก่งมาก โดยใช้มนุษย์-สัตว์-วัตถุ-ธรรมชาติ ฯลฯ มาเป็นสื่อในการเล่านิทานที่มีคติสอนใจ จน“นิทานอีสป” เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ทำให้ชื่อเสียง “อีสป” โด่งดังไปทุกหัวระแหง
การเล่านิทานของ “อีสป” ยังมีอิทธิพลเข้าไปถึงในราชสำนักของกรีก ซึ่งมีส่วนทำให้ “เอียดมอน” ผู้เป็นนายทาส จำต้องปล่อย “อีสป” ให้พ้นจากความเป็นทาส หลังจากนั้น “อีสป” จึงได้เข้าไปรับใช้ราชสำ
นัก เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ “เครซุส” ซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้าย แห่งราชอาณาจักร “ลิเดีย” ของเอเซีย
ไมเนอร์ ซึ่งมีปราชญ์หลายคนทำงานอยู่ เช่น“โซลอน” แห่งกรุงเอเธนส์ และ “เทลีส” แห่งมิเลทัส เป็นต้น
กษิตริย์เครซุสทรงโปรดปราน “อีสป”มาก เพราะ “อีสป” มีสติปัญญาเฉียบแหลม และมีไหวพริบพลิกแพลงในการแก้ปัญหา จึงมีแง่คิดในด้านต่างๆ ถวายกษัตริย์เครซุสอยู่เนืองๆ อีกทั้งยังทำให้พระองค์สนุกสนาน กับลีลาการเล่านิทานที่มีคติสอนใจให้ฟังมิรู้จบ
ที่สำคัญทำให้กษัตริย์แห่งลิเดีย ได้รับรู้ความจริงอย่างมากมายในราชอาณาจักร ที่ทรงปกครองจากเรื่องราวในนิทานอีกด้วย
หลายครั้งที่กษัตริย์เครซุสส่ง “”อีสป” ไปเป็นราชทูต ในเมืองหลวงของแคว้นเล็กๆที่ทรงปกครองอยู่ ซึ่ง “อีสป” ก็ชาญฉลาดในการหยิบยก นิทานเรื่องต่างๆมาถ่ายทอด ให้สอดคล้องกับปัญหาและการแก้
ปัญหา จนงานการที่กษัตริย์เครซุสใช้ให้ไปทำ สำเร็จลุล่วงด้วยดีมาโดยตลอด เช่น
ที่เมืองโครินธ์ “อีสป” ใช้นิทาน เรื่อง “กบเลือกนาย” มาเตือนภยันอันตรายของกฏหมู่ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในกรุงเอเธนส์ ทำให้ชาวเมืองโครินธ์ยังคงเลื่อมใส การปกครองของกษัตริย์เครซุสได้สำเร็จ
ก่อนช่วงสุดท้ายของชีวิต “อีสป” ได้ไปอยู่ใน “อียิปต์” ระยะหนึ่ง ก่อนจะเดินทางมายังเมือง “บาบิโลน” ซึ่งรู้จักชื่อเสียงของนักเล่านิทาน “อีสป” เป็นอย่างดี “อีสป” จึงได้รับการต้อนรับจากชาวเมืองอย่างเอิกเกริก ถึงขั้นพระราชาแห่งกรุงบาบิโลน ทรงให้เกียรติยศอันสูงส่งแก่ “อีสป” ผู้เป็นนักเล่านิทานที่ยิ่งใหญ่ของโลก ด้วยการสั่งปั้นอนุสาวรีย์ “อีสป” ตั้งไว้ใจกลางกรุงบาบิโลนอีกด้วย
วันที่ “อีสป” จะอำลากรุงบาบิโลน กลับกรีกเมืองที่ “อีสป” เคยเป็นทาส พระราชาแห่งบาบิโลนได้ขอร้องให้ “อีสป” ที่เป็นพระสหายให้กลับมาเป็นที่ปรึกษา และได้จัดริ้วขบวนใหญ่โตส่ง “อีสป”อย่างสม
เกียรติ จนสุดเขตแดนของเมืองบาบิโลน
ระหว่างทางกลับสู่นครกรีก “อีสป”เดินทางผ่านเมืองเดลฟิ มีชาวเมืองออกมาต้อนรับนักเล่านิทานผู้นี้อย่างมากมาย “อีสป” จึงได้เล่านิทานโดยใช้สัตว์เป็นสัญลักษณ์ สื่อสารให้ชาวเมืองได้รับรู้ ถึงความไม่ดีของนักการเมืองในเมืองเดลฟิ ทำให้พวกนักการเมืองโกรธแค้น “อีสป”อย่างยิ่ง
นักการเมืองจึงแก้แค้นด้วยการขโมย “ขันทองคำ” ของวิหารเทพอะพอลโล ไปแอบใส่ไว้ในกระเป๋าสัมภาระของ “อีสป” แล้วให้ร้าย “อีสป” เป็นผู้ขโมย ก่อนจะตั้งข้อกล่าวหา “อีสป”ว่า จงใจลบหลู่สิ่งศักดิ์
สิทธิ์ เพื่อหวังทำลายชาวเดลฟิให้พินาศ แม้ “อีสป” จะปฏิเสธอย่างไรก็ไม่มีใครฟัง
ก่อนสิ้นชีวิต “อีสป”ได้เล่านิทาน เรื่องกบกับหนูผูกขาติดกัน ว่ายน้ำไปสู่ที่อยู่ของกบ แต่ถูกเหยี่ยวบินมาโฉบทั้งกบและหนูไปกิน เปรียบชาวเมืองเดลฟิที่ยัดข้อหาให้เขา ไม่ช้าจะมีชะตากรรมเหมือนกบกับหนู คือ จะถูกเมืองที่อำนาจมากกว่าลงโทษ
“อีสป” ถูกตัดสินประหารชีวิต ด้วยการถูกโยนจากหน้าผาสูงลงมาตาย!
หลัง “อีสป” ตายไม่นาน เมืองเดลฟิก็เกิดโรคระบาด มีคนตายเหมือนดั่งใบไม่ร่วง นักบวชแนะให้ผู้มีอำนาจเมืองเดลฟิ ขออภัยจากดวงวิญญาณและสร้างสุสานให้ “อีสป” แต่ช้าเกินไปเพราะข่าวการตาย ของ “อีสป”ได้ไปถึงกรุงบาบิโลนแล้ว
พระราชาบาบิโลนได้ส่งกองทัพ มาบดขยี้ชาวเมืองเดลฟิที่รอดชีวิต จากโรคระบาดจนไม่มีเหลือ ทำ ให้เมืองเดลฟิที่เคยรุ่งเรืองล่มสลายลง
หลัง “อีสป” ตายไปไม่นาน ได้มีการแกะสลักรูป “อีสป”ด้วยหินอ่อน ตั้งไว้ที่หมู่บ้าน“อัลบานิ”ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยฝีมือของศิลปิน “ลิซิปุส” เพื่อเป็นที่รำลึกถึงนักเล่านิทาน ที่มีผลงานอันอมตะนิรันดร์กาลมากมาย
ที่น่าทึ่งจากหลักฐานของกรีกพบว่า “อีสป”ไม่เคยเขียนนิทานเลย เขาเล่านิทานด้วย “ปาก” ของเขาแล้วประชาชนที่ได้ฟังก็จำเอาไปเล่าต่อ หลัง “อีสป” เสียชีวิตไม่นาน นักเขียนชาวกรีกได้นำนิทานของ “อี
สป” มาเขียนเป็นหนังสือให้ผู้คนได้อ่าน แต่นิทาน “อีสป” ก็ได้เลือนหายไปอีกครั้งนานนับร้อยๆ ปี
จนปี ค.ศ.1844 จึงมีผู้ค้นพบนิทาน “อีสป” ในวิหารวัดเขา “เอธอส” หลังจากนั้นจึงมีการเผยแพร่นิ
ทาน ที่สอนให้ผู้คนมีคุณธรรมทำความดี ให้ชาวโลกได้อ่านกันมาตราบจนทุกวันนี้
เชื่อไหมว่า..นิทาน “อีสป” มากมายหลายเรื่อง เป็นนิทานที่คนทั้งโลกไม่มีวันลืมเลือน เพราะนิทาน “อีสป” เป็นวรรณกรรมอมตะที่ทรงคุณค่ายิ่งของโลก
ในประเทศไทย“นิทานอีสป” ได้ถูกนำมาบรรจุไว้ในตำรา ให้เด็กๆได้เรียนได้รู้จนทุกวันนี้!