ศูนย์ข่าวภูมิภาค - ฝนถล่มหนัก ทำน้ำป่าทะลักท่วมถนนหลายสายในตัวเมืองบุรีรัมย์ และจันทบุรี สถานที่ร้านราชการ ร้านค้าถูกน้ำท่วมถ้วนหน้ากว่า 200 ร้าน พ่อค้าแม่ค้าต้องพากันขนของหนีกันจ้าละหวั่น อธิบดี ปภ.เผยล่าสุดเหลืออีก 4 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบ ชี้เสียชีวิตรวมทั้งหมดแล้ว 12 ราย ด้านกรมอุตุฯ เตือนพายุไต้ฝุ่น "คัลแมกี" จ่อกระทบไทยช่วง 16-18 ก.ย.นี้ทำให้ไทยมีฝนเพิ่มขึ้น
วานนี้ (14 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมาได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องนานกว่า 1 ชั่วโมงส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังถนนหลายสายในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โดยเฉพาะถนนจิระบริเวณหน้า สภ.เมืองบุรีรัมย์ได้ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 50 เซนติเมตร (ซม.) ทำให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้
นอกจากนี้ ยังมีถนนจิระ, ธานี, สุนทรเทพ, รมย์บุรี, แสนสุข อินจันทร์ณรงค์, สุคนธมัต, พิทักษ์, ปลัดเมือง, ถนนทางเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ และถนนหน้าโรงเรียนเทศบาล 1 ข้างศาลากลางจังหวัดหลังเก่าก็ถูกน้ำท่วมสูงเฉลี่ยตั้งแต่ 30-50 ซม.ทำให้รถสัญจรผ่านไปมาด้วยความลำบาก บางช่วงต้องจอดติดยาวเหยียด ทั้งนี้ น้ำที่ท่วมขังตามถนนสายต่างๆ ยังได้ทะลักเข้าบ้านและร้านค้าที่อยู่ติดถนนได้รับความเดือดร้อนอีกด้วย
นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักยังส่งผลให้ถนนคนเดินเซราะกราว วอล์กกิ้ง สตรีท ที่บริเวณถนนรมย์บุรีตั้งแต่หน้าเทศบาลเมืองถึงหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ใกล้กับคลองละลมโบราณลูกที่ 1 ที่เปิดขายทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น. ที่เริ่มเปิดอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 30 ซม.จนทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่นำสินค้าทั้งประเภทหัตถกรรมพื้นบ้าน, เครื่องประดับ, สิ่งประดิษฐ์, ของที่ระลึก, อาหารปรุงสำเร็จ, อาหารปรุงแต่ง, เครื่องดื่มและอีกหลายประเภทมากกว่า 200 ร้านค้าไม่สามารถวางขายสินค้าได้ต้องพากันขนของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น สร้างความเดือดร้อนให้พ่อค้าแม่ค้าเป็นอย่างมาก
นายบุญส่ง สุทธิโคตร ผู้อำนวยการกองช่วงสุขาภิบาล สำนักงานเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ยอมรับว่า สาเหตุที่เกิดน้ำท่วมขังเนื่องจากท่อระบายน้ำมีขนาดเล็ก ประกอบกับมีสิ่งปฏิกูลอุดตัน จึงทำให้น้ำไหลได้ไม่สะดวกและน้ำท่วมขังครั้งนี้ถือว่าท่วมหนักในรอบกว่า 10 ปี เพราะท่วมถนนเกือบทุกสายในเขตเทศบาลฯ อย่างไรก็ตาม ทางเทศบาลฯ ได้นำเครื่องสูบน้ำมาทำการสูบน้ำออกจากจุดที่น้ำท่วม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยคาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มระดับน้ำก็จะลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ
**ฝนถล่มจันท์น้ำท่วมถนนหลายสาย
ส่วนที่ จ.จันทบุรี หลังจากที่น้ำท่วมขังผิวการจราจรตามถนนสายต่างๆ ในตัวเมืองจันทบุรี ประกอบด้วยหน้าศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ถนนภายในสนามกีฬากลางจังหวัดจันทบุรี ถนนสายรักษ์ศักดิ์ชมูล ถนนสี่แยกพระยาตรัง ถนนสายมหาราช และถนนทางเข้าหมู่บ้านพลับพลา หลังจากเมื่อคืนวันที่ 13 ก.ย.จนถึงเช้าวานนี้ ได้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมขังสาเหตุมาจากการท่อน้ำอุดตันการระบายน้ำไม่ทัน ในเบื้องต้นสถานการณ์น้ำท่วมขังผิวการจราจรหลายสายในตัวเมืองจันทบุรีได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว หลังฝนได้หยุดตกทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ 2 ฝั่งข้างทางได้เก็บกวาด ฉีดล้างทำความสะอาดน้ำที่ท่วมขัง เพื่อกลับมาเปิดทำการค้าขาย และอาศัยได้ตามปกติ
ขณะที่จุดวัดน้ำ 4 จุดหลัก ประกอบด้วยแม่น้ำจันทบุรี ฝายยาง อ.เมืองจันทบุรี ฝายท่าระม้า อ.มะขาม และสะพานกระทิง อ.เขาคิชฌกูฏ ปริมาณน้ำยังคงทรงตัว แต่ยังไม่ถึงจุดวิกฤต
อย่างไรก็ตาม นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้สั่งการให้ทางป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี ผู้นำท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เฝ้าสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชม. เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงของฤดูฝนและอาจจะยังมีฝนตกหนักอยู่
**พิษณุโลกยังเฝ้าติดตามน้ำใกล้ชิด
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วม จ.พิษณุโลก ยังคงเฝ้าติดตามในเขต อ.บางระกำ น้ำยมหลากจาก จ.สุโขทัยปีนี้ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และชาว อ.บางระกำแทบไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากพื้นที่การเกษตรนาข้าวได้เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ในทางกลับกันชาว อ.บางระกำ อ.พรหมพิราม กลับต้องการให้มีน้ำหลากท่วมทุ่งมากกว่า ด้วยต้องการเก็บน้ำไว้ใช้ในการทำนารอบต่อไป และกำจัดวัชพืช ตัดวงจรชีวิตหนูนาที่กำลังแพร่ระบาด และภาพรวมของปีนี้น้ำหลากท่วมทุ่งในเขต อ.บางระกำน้อยมาก เมื่อเทียบกับสถิติรอบ 10 ปีที่ผ่านมาที่จะมีน้ำท่วมทุ่งนาในระดับสูง วงกว้าง และท่วมขังนาน 1-3 เดือน
นายชำนาญ ชูเที่ยง ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน สำนักชลประทานที่ 3 กรมชลประทาน กล่าวถึงการส่งน้ำในระยะนี้ว่า ฤดูน้ำหลาก อ.บางระกำ จะเป็นพื้นที่รับน้ำ แต่ที่สำคัญ วิถีชีวิตชาวบางระกำ เมื่อท่วมแล้วจะได้อะไรมากกว่า ชาวบ้านได้พยายามปรับวิถีชีวิตมานานมากแล้ว แต่การส่งน้ำก็จะเป็นส่วนช่วยโดยเมื่อน้ำท่วมแล้ว ก็ต้องเอาน้ำนี้มาเก็บในทุ่ง ที่อยู่ในช่วงเว้นการทำนา ทำสวน ทำไร่ ทั้ง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย และ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ ถือว่าเป็นพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 3 แสนไร่เศษ ซึ่งแต่เดิมการทำการเกษตร หรือใช้น้ำในพื้นที่นี้ ต้องใช้น้ำจากชลประทานถึงประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร
แต่หากเมื่อเอาน้ำท่วมนี้เก็บไว้ได้ เราจะสามารถเก็บกักได้ถึง 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เราจะประหยัดน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ได้มาก แต่เมื่อพอถึงเดือนพฤศจิกายน น้ำลดลง ชาวนาบางระกำก็จะเริ่มทำนากัน โดยใช้น้ำเหลือจากท่วม ส่วนจะเริ่มประสบภัยแล้งอีกครั้งก็ประมาณ มกราคม-มีนาคม ก็จะปล่อยน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ มาช่วย นี่ถือว่าเป็นวิถีการจัดสรรน้ำในพื้นที่ อ.บางระกำ โดยชลประทานที่ 3 ได้มีการลงพื้นที่ พบปะผู้นำชุมชนทุกวัน เพื่อรับข้อมูลจากชาวบ้านจริง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือทั้งน้ำแล้งและน้ำท่วม
**น้ำยมยังไหลท่วมหลายพื้นที่พิจิตร
ด้านสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.พิจิตร ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง น้ำจากแม่น้ำยมที่ไหลผ่าน อ.สามง่าม และ อ.โพธิ์ประทับช้าง ได้ไหลเข้าสู่พื้นที่ อ.บึงนาราง โดยน้ำได้เข้าท่วมพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านจิกสามร้อย ต.บางลาย ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับ อ.โพธิ์ประทับช้าง โดยน้ำได้เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน 15 หลังคาเรือน ระดับน้ำแม้ยังจะไม่มากเหมือนปีที่ผ่านมา แต่ก็ส่งผลกระทบกับประชาชนต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทาง พร้อมกันนี้น้ำได้ท่วมพืชผักสวนครัวทั้งกะเพรา พริก ตะไคร้ ได้รับความเสียหาย
**น้ำป่าเขาใหญ่ทะลักท่วมปราจีนบุรี
นายเกียรติ ศิริวัฒภัทรา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเนินหอม (อบต.) อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี รายงายนายคมทัต ตันติยมาตร์ นายอำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เกิดน้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไหลทะลักล้นคลองจันทุ น้ำได้หลากท่วม 2 หมู่บ้านตีนเขาใหญ่คือ ธารเลาหมู่ 13 และหมู่บ้านบ่อแร่หมู่ 3 รวมกว่า 30 ครัวเรือนต้องประสบภัยน้ำท่วม ระดับน้ำสูงกว่า 80 เซ็นติเมตร
**ปภ.เผยเหลืออีก 4 จว.เดือดร้อน
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2557 ถึงปัจจุบันมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 29 จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,374ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 12 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 25 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด 10อำเภอ 45 ตำบล 241 หมู่บ้าน ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ โดยจังหวัดสุโขทัย ประชาชนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุกทกภัย 7,493 ครัวเรือน 23,579 คน มีผู้เสียชีวิต 2 รายสถานการณ์ปัจจุบันเริ่มคลี่คลาย
จังหวัดพิษณุโลก ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,082 ครัวเรือน พื้นที่ยังมีน้ำท่วมขัง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพรหมพิรามอำเภอเมืองพิษณุโลก และอำเภอบางระกำ รวม 12 ตำบล 62 หมู่บ้าน จังหวัดพิจิตร ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,207 ครัวเรือน 4,058 คน มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอสามง่าม จังหวัดนครสวรรค์ น้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ 4 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ45 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์ในอำเภอหนอบัวคลี่คลายแล้ว ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าตะโก
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ อีกทั้งตรวจสอบและสำรวจความเสียหาย ตลอดจนซ่อมแซมสาธารณูปโภคและสิ่งสาธารณประโยชน์ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว ผู้ประสบภัยสามารถแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขาในพื้นที่ หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
**เตือน"คัลแมกี"ทำไทยฝนตกเพิ่ม
ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "คัลแมกี" (Kalmaegi) บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางทะเลจีนใต้ตอนบนในวันที่ 15 ก.ย.และคาดว่าช่วงวันที่ 16-18 ก.ย.พายุนี้จะมีอิทธิพลต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ทำให้มีฝนเพิ่มมากขึ้น
**"รมว.พม."ลงตรวจน้ำท่วมพิจิตร
วันเดียว เวลา 10.00 น. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ ต.รังนก และ ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ที่ถูกแม่น้ำยมไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน โดยได้นำถุงยังชีพ ผ้าห่มจำนวน 20 ชุด พร้อมเงินช่วยเหลือสงเคราะห์อีกครอบครัวละ 2,000 บาทนำไปมอบให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ 11 บ้านปากคลอง ต.รังนก อ.สามง่าม ที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ถูกน้ำในแม่น้ำยมไหลเข้าท่วมขัง ระดับน้ำท่วมเกือบ 1 เมตร
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ลงมาในพื้นที่ ใช้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งทางกระทรวงได้วางแผนการช่วยเหลือ โดยได้กำชับให้ทางสำนักงาน พม.ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ให้การช่วยเหลือประชาชนที่ถูกน้ำท่วมโดยด่วน พร้อมทั้งให้ระมัดระวังปริมาณฝนที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มพิ่มมากขึ้นด้วย ในส่วนพื้นที่การเกษตรที่เสียหายจากน้ำท่วมนั้นทางรัฐบาลจะได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรที่ได้รับผลกระทบกับน้ำท่วมต่อไป.
วานนี้ (14 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมาได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องนานกว่า 1 ชั่วโมงส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังถนนหลายสายในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โดยเฉพาะถนนจิระบริเวณหน้า สภ.เมืองบุรีรัมย์ได้ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 50 เซนติเมตร (ซม.) ทำให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้
นอกจากนี้ ยังมีถนนจิระ, ธานี, สุนทรเทพ, รมย์บุรี, แสนสุข อินจันทร์ณรงค์, สุคนธมัต, พิทักษ์, ปลัดเมือง, ถนนทางเข้าสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ และถนนหน้าโรงเรียนเทศบาล 1 ข้างศาลากลางจังหวัดหลังเก่าก็ถูกน้ำท่วมสูงเฉลี่ยตั้งแต่ 30-50 ซม.ทำให้รถสัญจรผ่านไปมาด้วยความลำบาก บางช่วงต้องจอดติดยาวเหยียด ทั้งนี้ น้ำที่ท่วมขังตามถนนสายต่างๆ ยังได้ทะลักเข้าบ้านและร้านค้าที่อยู่ติดถนนได้รับความเดือดร้อนอีกด้วย
นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักยังส่งผลให้ถนนคนเดินเซราะกราว วอล์กกิ้ง สตรีท ที่บริเวณถนนรมย์บุรีตั้งแต่หน้าเทศบาลเมืองถึงหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ใกล้กับคลองละลมโบราณลูกที่ 1 ที่เปิดขายทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น. ที่เริ่มเปิดอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 30 ซม.จนทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่นำสินค้าทั้งประเภทหัตถกรรมพื้นบ้าน, เครื่องประดับ, สิ่งประดิษฐ์, ของที่ระลึก, อาหารปรุงสำเร็จ, อาหารปรุงแต่ง, เครื่องดื่มและอีกหลายประเภทมากกว่า 200 ร้านค้าไม่สามารถวางขายสินค้าได้ต้องพากันขนของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น สร้างความเดือดร้อนให้พ่อค้าแม่ค้าเป็นอย่างมาก
นายบุญส่ง สุทธิโคตร ผู้อำนวยการกองช่วงสุขาภิบาล สำนักงานเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ยอมรับว่า สาเหตุที่เกิดน้ำท่วมขังเนื่องจากท่อระบายน้ำมีขนาดเล็ก ประกอบกับมีสิ่งปฏิกูลอุดตัน จึงทำให้น้ำไหลได้ไม่สะดวกและน้ำท่วมขังครั้งนี้ถือว่าท่วมหนักในรอบกว่า 10 ปี เพราะท่วมถนนเกือบทุกสายในเขตเทศบาลฯ อย่างไรก็ตาม ทางเทศบาลฯ ได้นำเครื่องสูบน้ำมาทำการสูบน้ำออกจากจุดที่น้ำท่วม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยคาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มระดับน้ำก็จะลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ
**ฝนถล่มจันท์น้ำท่วมถนนหลายสาย
ส่วนที่ จ.จันทบุรี หลังจากที่น้ำท่วมขังผิวการจราจรตามถนนสายต่างๆ ในตัวเมืองจันทบุรี ประกอบด้วยหน้าศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ถนนภายในสนามกีฬากลางจังหวัดจันทบุรี ถนนสายรักษ์ศักดิ์ชมูล ถนนสี่แยกพระยาตรัง ถนนสายมหาราช และถนนทางเข้าหมู่บ้านพลับพลา หลังจากเมื่อคืนวันที่ 13 ก.ย.จนถึงเช้าวานนี้ ได้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมขังสาเหตุมาจากการท่อน้ำอุดตันการระบายน้ำไม่ทัน ในเบื้องต้นสถานการณ์น้ำท่วมขังผิวการจราจรหลายสายในตัวเมืองจันทบุรีได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว หลังฝนได้หยุดตกทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ 2 ฝั่งข้างทางได้เก็บกวาด ฉีดล้างทำความสะอาดน้ำที่ท่วมขัง เพื่อกลับมาเปิดทำการค้าขาย และอาศัยได้ตามปกติ
ขณะที่จุดวัดน้ำ 4 จุดหลัก ประกอบด้วยแม่น้ำจันทบุรี ฝายยาง อ.เมืองจันทบุรี ฝายท่าระม้า อ.มะขาม และสะพานกระทิง อ.เขาคิชฌกูฏ ปริมาณน้ำยังคงทรงตัว แต่ยังไม่ถึงจุดวิกฤต
อย่างไรก็ตาม นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้สั่งการให้ทางป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี ผู้นำท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เฝ้าสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชม. เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงของฤดูฝนและอาจจะยังมีฝนตกหนักอยู่
**พิษณุโลกยังเฝ้าติดตามน้ำใกล้ชิด
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วม จ.พิษณุโลก ยังคงเฝ้าติดตามในเขต อ.บางระกำ น้ำยมหลากจาก จ.สุโขทัยปีนี้ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และชาว อ.บางระกำแทบไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากพื้นที่การเกษตรนาข้าวได้เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ในทางกลับกันชาว อ.บางระกำ อ.พรหมพิราม กลับต้องการให้มีน้ำหลากท่วมทุ่งมากกว่า ด้วยต้องการเก็บน้ำไว้ใช้ในการทำนารอบต่อไป และกำจัดวัชพืช ตัดวงจรชีวิตหนูนาที่กำลังแพร่ระบาด และภาพรวมของปีนี้น้ำหลากท่วมทุ่งในเขต อ.บางระกำน้อยมาก เมื่อเทียบกับสถิติรอบ 10 ปีที่ผ่านมาที่จะมีน้ำท่วมทุ่งนาในระดับสูง วงกว้าง และท่วมขังนาน 1-3 เดือน
นายชำนาญ ชูเที่ยง ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน สำนักชลประทานที่ 3 กรมชลประทาน กล่าวถึงการส่งน้ำในระยะนี้ว่า ฤดูน้ำหลาก อ.บางระกำ จะเป็นพื้นที่รับน้ำ แต่ที่สำคัญ วิถีชีวิตชาวบางระกำ เมื่อท่วมแล้วจะได้อะไรมากกว่า ชาวบ้านได้พยายามปรับวิถีชีวิตมานานมากแล้ว แต่การส่งน้ำก็จะเป็นส่วนช่วยโดยเมื่อน้ำท่วมแล้ว ก็ต้องเอาน้ำนี้มาเก็บในทุ่ง ที่อยู่ในช่วงเว้นการทำนา ทำสวน ทำไร่ ทั้ง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย และ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ ถือว่าเป็นพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 3 แสนไร่เศษ ซึ่งแต่เดิมการทำการเกษตร หรือใช้น้ำในพื้นที่นี้ ต้องใช้น้ำจากชลประทานถึงประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร
แต่หากเมื่อเอาน้ำท่วมนี้เก็บไว้ได้ เราจะสามารถเก็บกักได้ถึง 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เราจะประหยัดน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ได้มาก แต่เมื่อพอถึงเดือนพฤศจิกายน น้ำลดลง ชาวนาบางระกำก็จะเริ่มทำนากัน โดยใช้น้ำเหลือจากท่วม ส่วนจะเริ่มประสบภัยแล้งอีกครั้งก็ประมาณ มกราคม-มีนาคม ก็จะปล่อยน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ มาช่วย นี่ถือว่าเป็นวิถีการจัดสรรน้ำในพื้นที่ อ.บางระกำ โดยชลประทานที่ 3 ได้มีการลงพื้นที่ พบปะผู้นำชุมชนทุกวัน เพื่อรับข้อมูลจากชาวบ้านจริง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือทั้งน้ำแล้งและน้ำท่วม
**น้ำยมยังไหลท่วมหลายพื้นที่พิจิตร
ด้านสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.พิจิตร ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง น้ำจากแม่น้ำยมที่ไหลผ่าน อ.สามง่าม และ อ.โพธิ์ประทับช้าง ได้ไหลเข้าสู่พื้นที่ อ.บึงนาราง โดยน้ำได้เข้าท่วมพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านจิกสามร้อย ต.บางลาย ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับ อ.โพธิ์ประทับช้าง โดยน้ำได้เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน 15 หลังคาเรือน ระดับน้ำแม้ยังจะไม่มากเหมือนปีที่ผ่านมา แต่ก็ส่งผลกระทบกับประชาชนต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทาง พร้อมกันนี้น้ำได้ท่วมพืชผักสวนครัวทั้งกะเพรา พริก ตะไคร้ ได้รับความเสียหาย
**น้ำป่าเขาใหญ่ทะลักท่วมปราจีนบุรี
นายเกียรติ ศิริวัฒภัทรา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเนินหอม (อบต.) อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี รายงายนายคมทัต ตันติยมาตร์ นายอำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เกิดน้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไหลทะลักล้นคลองจันทุ น้ำได้หลากท่วม 2 หมู่บ้านตีนเขาใหญ่คือ ธารเลาหมู่ 13 และหมู่บ้านบ่อแร่หมู่ 3 รวมกว่า 30 ครัวเรือนต้องประสบภัยน้ำท่วม ระดับน้ำสูงกว่า 80 เซ็นติเมตร
**ปภ.เผยเหลืออีก 4 จว.เดือดร้อน
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2557 ถึงปัจจุบันมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 29 จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,374ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 12 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 25 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด 10อำเภอ 45 ตำบล 241 หมู่บ้าน ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ โดยจังหวัดสุโขทัย ประชาชนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุกทกภัย 7,493 ครัวเรือน 23,579 คน มีผู้เสียชีวิต 2 รายสถานการณ์ปัจจุบันเริ่มคลี่คลาย
จังหวัดพิษณุโลก ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,082 ครัวเรือน พื้นที่ยังมีน้ำท่วมขัง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพรหมพิรามอำเภอเมืองพิษณุโลก และอำเภอบางระกำ รวม 12 ตำบล 62 หมู่บ้าน จังหวัดพิจิตร ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,207 ครัวเรือน 4,058 คน มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอสามง่าม จังหวัดนครสวรรค์ น้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ 4 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ45 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์ในอำเภอหนอบัวคลี่คลายแล้ว ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าตะโก
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ อีกทั้งตรวจสอบและสำรวจความเสียหาย ตลอดจนซ่อมแซมสาธารณูปโภคและสิ่งสาธารณประโยชน์ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว ผู้ประสบภัยสามารถแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขาในพื้นที่ หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
**เตือน"คัลแมกี"ทำไทยฝนตกเพิ่ม
ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "คัลแมกี" (Kalmaegi) บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางทะเลจีนใต้ตอนบนในวันที่ 15 ก.ย.และคาดว่าช่วงวันที่ 16-18 ก.ย.พายุนี้จะมีอิทธิพลต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ทำให้มีฝนเพิ่มมากขึ้น
**"รมว.พม."ลงตรวจน้ำท่วมพิจิตร
วันเดียว เวลา 10.00 น. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ ต.รังนก และ ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ที่ถูกแม่น้ำยมไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน โดยได้นำถุงยังชีพ ผ้าห่มจำนวน 20 ชุด พร้อมเงินช่วยเหลือสงเคราะห์อีกครอบครัวละ 2,000 บาทนำไปมอบให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ 11 บ้านปากคลอง ต.รังนก อ.สามง่าม ที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ถูกน้ำในแม่น้ำยมไหลเข้าท่วมขัง ระดับน้ำท่วมเกือบ 1 เมตร
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ลงมาในพื้นที่ ใช้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งทางกระทรวงได้วางแผนการช่วยเหลือ โดยได้กำชับให้ทางสำนักงาน พม.ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ให้การช่วยเหลือประชาชนที่ถูกน้ำท่วมโดยด่วน พร้อมทั้งให้ระมัดระวังปริมาณฝนที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มพิ่มมากขึ้นด้วย ในส่วนพื้นที่การเกษตรที่เสียหายจากน้ำท่วมนั้นทางรัฐบาลจะได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรที่ได้รับผลกระทบกับน้ำท่วมต่อไป.