“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,564 คน ระหว่างวันที่ 4 - 6 ก.ย.57 เรื่อง สถานการณ์บ้านเมือง ณ วันนี้ ในสายตาประชาชน โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็นประเด็นสำคัญหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นกรณีที่บ้านเมืองได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ กระแสการยกเลิกกฎอัยการศึก รวมถึงกรณีที่อัยการสูงสุดยังไม่ฟ้องอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ในโครงการทุจริตรับจำนำข้าว ซึ่งประเด็นทางการเมืองเหล่านี้ต่างอยู่ในความสนใจของประชาชน ดังนั้น เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีดังกล่าว ซึ่งสรุปผลได้ดังนี้
เมื่อถามว่า “5 กระทรวง”ที่ประชาชนคิดว่า ควรเร่งแก้ปัญหามากที่สุด อันดับ 1 กระทรวงศึกษาธิการ 75.71% อันดับ 2 กระทรวงพลังงาน 70.63% อันดับ 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 68.82% อันดับ 4 กระทรวงการคลัง 68.11% และอันดับ 5 กระทรวงพาณิชย์ 67.86%
ส่วนคำถามว่า “5 กระทรวง”ที่ประชาชนสนใจติดตามการทำงานมากที่สุด อันดับ 1 กระทรวงศึกษาธิการ 72.43% อันดับ 2 กระทรวงการคลัง 72.11% อันดับ 3 กระทรวงกลาโหม 71.98% อันดับ 4 กระทรวงพลังงาน 68.36% และอันดับ 5 กระทรวงการต่างประเทศ 67.70%
คำถามว่า “5 กระทรวง” ที่ประชาชนคิดว่าน่าจะทำงานได้สมหวังมากที่สุด อันดับ 1 กระทรวงกลาโหม 75.23% อันดับ 2 กระทรวงการคลัง 68.54% อันดับ 3 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 67.67% อันดับ 4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 65.10% และอันดับ 5 กระทรวงการต่างประเทศ 64.76%
ขณะที่คำถามว่าประชาชนคิดว่า “ควรยกเลิก”หรือ “ไม่ยกเลิก”กฎอัยการศึก อันดับ 1 ควรยกเลิกบางจังหวัด 50.23% เพราะควรพิจารณารายจังหวัดตามความเหมาะสม สถานการณ์แต่ละจังหวัดแตกต่างกัน ควรนำร่องบางจังหวัดก่อน ฯลฯ อันดับ 2 ควรยกเลิกทุกจังหวัด 25.69% เพราะบ้านเมืองจะได้เข้าสู่ภาวะปกติ ประเทศเดินหน้า เศรษฐกิจดีขึ้น ต่างชาติเกิดความเชื่อมั่น คสช. น่าจะสามารถควบคุมดูแลได้ ฯลฯ และอันดับ 3 ไม่ควรยกเลิก 24.08% เพราะการประกาศกฎอัยการศึกทำให้รู้สึกปลอดภัย บ้านเมืองสงบสุข เป็นระเบียบเรียบร้อย อาจจะยังมีการต่อต้านคัดค้านในบางพื้นที่ ฯลฯ
เมื่อถามว่าประชาชนคิดอย่างไร ที่อัยการสูงสุดยังไม่ฟ้อง “อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์”กรณีโครงการทุจริตรับจำนำข้าว อันดับ 1 เป็นคดีสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ หลักฐานเอกสารต้องชัดเจน 31.51% อันดับ 2 อยากให้มีการสั่งฟ้อง และสรุปคดีโดยเร็ว อยากทราบผลการตัดสินว่าจะเป็นอย่างไร 19.57% อันดับ 3 ศาลต้องมีความยุติธรรม เป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกรงกลัวอิทธิพลต่างๆ 18.12% อันดับ 4 หากมีความผิด ก็ต้องว่าไปตามผิด และจะต้องดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วย 16.67% และอันดับ 5 เป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ เป็นคดีทุจริตระดับชาติ และมีอดีตนายกฯเกี่ยวข้อง 14.13%
**"นิด้าโพล" หนุนเลิกอัยการศึก
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน 1,250 คน ระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย. เรื่อง "การได้รับผลกระทบและการยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)" พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 87.68 ระบุว่า ไม่ได้รับความเดือดร้อน เพราะยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และรู้สึกว่าใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสบายใจและมีความปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งประชาชนเองก็มิได้กระทำการใดๆ ที่ขัดต่อกฎอัยการศึกอยู่แล้ว
ขณะที่ร้อยละ 11.84 ระบุว่า ได้รับความเดือดร้อน เพราะส่งผลกระทบต่อการเดินทางในช่วงกลางคืน การติดต่อ เจรจาประสานงาน การเข้าถึงสื่อข้อมูลข่าวสาร ขาดอิสระในการแสดงความเห็นต่างทางการเมือง เศรษฐกิจแย่ลง ผู้ประกอบการบางรายมีรายได้ลดลง และจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 43.28 ระบุ ต้องการให้ คสช. ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก เพราะจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของประเทศต่อนักลงทุน รวมถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ดีขึ้น และการใช้ชีวิตประจำวัน การเดินทาง การทำงาน กลับมาเหมือนเดิม อีกทั้งเห็นว่าสถานการณ์โดยรวมถือว่าดีขึ้นมากแล้ว ส่วนประชาชนร้อยละ 40.64 ต้องการให้คงกฎอัยการศึก เพราะเห็นว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึกทำให้รู้สึกสบายใจ และต้องการเห็นความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเช่นนี้ต่อไปอีกสักระยะ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าจะไม่มีความขัดแย้ง หรือเห็นการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ แม้ภายนอกสถานการณ์จะดูสงบดี แต่อาจมีคลื่นใต้น้ำที่รอจังหวะเพื่อสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายอีกครั้ง
ขณะเดียวกัน ประชาชนร้อยละ 11.44 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าควรยกเลิกกฎอัยการศึกหรือไม่ โดยหากจะยกเลิกควรมีการพิจารณาเป็นรายจังหวัด หรือรายพื้นที่.
เมื่อถามว่า “5 กระทรวง”ที่ประชาชนคิดว่า ควรเร่งแก้ปัญหามากที่สุด อันดับ 1 กระทรวงศึกษาธิการ 75.71% อันดับ 2 กระทรวงพลังงาน 70.63% อันดับ 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 68.82% อันดับ 4 กระทรวงการคลัง 68.11% และอันดับ 5 กระทรวงพาณิชย์ 67.86%
ส่วนคำถามว่า “5 กระทรวง”ที่ประชาชนสนใจติดตามการทำงานมากที่สุด อันดับ 1 กระทรวงศึกษาธิการ 72.43% อันดับ 2 กระทรวงการคลัง 72.11% อันดับ 3 กระทรวงกลาโหม 71.98% อันดับ 4 กระทรวงพลังงาน 68.36% และอันดับ 5 กระทรวงการต่างประเทศ 67.70%
คำถามว่า “5 กระทรวง” ที่ประชาชนคิดว่าน่าจะทำงานได้สมหวังมากที่สุด อันดับ 1 กระทรวงกลาโหม 75.23% อันดับ 2 กระทรวงการคลัง 68.54% อันดับ 3 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 67.67% อันดับ 4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 65.10% และอันดับ 5 กระทรวงการต่างประเทศ 64.76%
ขณะที่คำถามว่าประชาชนคิดว่า “ควรยกเลิก”หรือ “ไม่ยกเลิก”กฎอัยการศึก อันดับ 1 ควรยกเลิกบางจังหวัด 50.23% เพราะควรพิจารณารายจังหวัดตามความเหมาะสม สถานการณ์แต่ละจังหวัดแตกต่างกัน ควรนำร่องบางจังหวัดก่อน ฯลฯ อันดับ 2 ควรยกเลิกทุกจังหวัด 25.69% เพราะบ้านเมืองจะได้เข้าสู่ภาวะปกติ ประเทศเดินหน้า เศรษฐกิจดีขึ้น ต่างชาติเกิดความเชื่อมั่น คสช. น่าจะสามารถควบคุมดูแลได้ ฯลฯ และอันดับ 3 ไม่ควรยกเลิก 24.08% เพราะการประกาศกฎอัยการศึกทำให้รู้สึกปลอดภัย บ้านเมืองสงบสุข เป็นระเบียบเรียบร้อย อาจจะยังมีการต่อต้านคัดค้านในบางพื้นที่ ฯลฯ
เมื่อถามว่าประชาชนคิดอย่างไร ที่อัยการสูงสุดยังไม่ฟ้อง “อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์”กรณีโครงการทุจริตรับจำนำข้าว อันดับ 1 เป็นคดีสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ หลักฐานเอกสารต้องชัดเจน 31.51% อันดับ 2 อยากให้มีการสั่งฟ้อง และสรุปคดีโดยเร็ว อยากทราบผลการตัดสินว่าจะเป็นอย่างไร 19.57% อันดับ 3 ศาลต้องมีความยุติธรรม เป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกรงกลัวอิทธิพลต่างๆ 18.12% อันดับ 4 หากมีความผิด ก็ต้องว่าไปตามผิด และจะต้องดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วย 16.67% และอันดับ 5 เป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ เป็นคดีทุจริตระดับชาติ และมีอดีตนายกฯเกี่ยวข้อง 14.13%
**"นิด้าโพล" หนุนเลิกอัยการศึก
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน 1,250 คน ระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย. เรื่อง "การได้รับผลกระทบและการยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)" พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 87.68 ระบุว่า ไม่ได้รับความเดือดร้อน เพราะยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และรู้สึกว่าใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสบายใจและมีความปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งประชาชนเองก็มิได้กระทำการใดๆ ที่ขัดต่อกฎอัยการศึกอยู่แล้ว
ขณะที่ร้อยละ 11.84 ระบุว่า ได้รับความเดือดร้อน เพราะส่งผลกระทบต่อการเดินทางในช่วงกลางคืน การติดต่อ เจรจาประสานงาน การเข้าถึงสื่อข้อมูลข่าวสาร ขาดอิสระในการแสดงความเห็นต่างทางการเมือง เศรษฐกิจแย่ลง ผู้ประกอบการบางรายมีรายได้ลดลง และจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 43.28 ระบุ ต้องการให้ คสช. ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก เพราะจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของประเทศต่อนักลงทุน รวมถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ดีขึ้น และการใช้ชีวิตประจำวัน การเดินทาง การทำงาน กลับมาเหมือนเดิม อีกทั้งเห็นว่าสถานการณ์โดยรวมถือว่าดีขึ้นมากแล้ว ส่วนประชาชนร้อยละ 40.64 ต้องการให้คงกฎอัยการศึก เพราะเห็นว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึกทำให้รู้สึกสบายใจ และต้องการเห็นความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเช่นนี้ต่อไปอีกสักระยะ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าจะไม่มีความขัดแย้ง หรือเห็นการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ แม้ภายนอกสถานการณ์จะดูสงบดี แต่อาจมีคลื่นใต้น้ำที่รอจังหวะเพื่อสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายอีกครั้ง
ขณะเดียวกัน ประชาชนร้อยละ 11.44 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าควรยกเลิกกฎอัยการศึกหรือไม่ โดยหากจะยกเลิกควรมีการพิจารณาเป็นรายจังหวัด หรือรายพื้นที่.