เราท่องคาถาประชาธิปไตยมากว่า 80 ปี เราใช้ตลาดเสรีมานานกว่านั้นมาก ทั้งประชาธิปไตยและตลาดเสรีในยุคนี้มีอเมริกาเป็นหัวจักรใหญ่ เราเอะใจกันบ้างไหมว่าอเมริกากำลังพาผู้เดินตามไปไหน หากไม่แน่ใจ ทนอ่านให้จบ
ขอเริ่มเรื่องตลาดเสรีก่อนเนื่องจากระบบตลาดเสรีมีมาก่อนหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ย้อนไปในประวัติศาสตร์ มนุษยชาติแบ่งปันแต่ก็แย่งชิงกันและแลกเปลี่ยนกันตลอดมา การแลกเปลี่ยนเป็นฐานของการเกิดระบบตลาดเสรี ในประวัติศาสตร์ชาติไทยย้อนไปเกือบ 800 ปี ชาวไทยใช้ระบบตลาดเสรีตลอดมาเช่นกันตามหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก “ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า”
อย่างไรก็ดี เราไม่มีตำรับตำราที่เสนอว่าจะพัฒนาระบบนั้นต่อไปอย่างไรมากนักนอกจากที่สุนทรภู่ประพันธ์ไว้ตอนหนึ่งว่า “รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” คำแนะนำนี้ตรงกับตำราซึ่งเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันในสังคมตะวันตกชื่อ An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations เขียนโดยนักคิดชาวสกอตชื่อ อดัม สมิธ ตำราเล่มนี้มักเป็นที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า The Wealth of Nations ซึ่งพิมพ์ออกมาเมื่อปี 2319 อันเป็นปีที่อเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษ ตอนนั้นเมืองไทยอยู่ในยุคกรุงธนบุรี ในเนื้อหาของตำราเล่มนั้น สมิธกับสุนทรภู่เห็นตรงกันเรื่องความสำคัญของหลัก “รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว ...” ภาษาอังกฤษเรียกหลักนี้ว่า Division of Labor หรือ Specialization
เนื่องจากคนไทยไม่มีตำราวิชาเศรษฐศาตร์เช่นเขา เมื่อเราไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยกันในยุโรปและอเมริกา เราจึงเรียนระบบตลาดเสรีในแนวที่ตำราเล่มนี้วางไว้ อย่างไรก็ตาม หลังเวลาผ่านไปกว่าสองร้อยปี ทฤษฎีและการปฏิบัติวิวัฒน์เรื่อยมาจนผู้คนส่วนใหญ่มักลืมกันไปว่าตำราเล่มนั้นมีรายละเอียดอย่างไร วางอยู่บนสมมติฐานอะไร และผู้เขียนต่อเติมไว้ที่ไหนอย่างไรบ้าง สิ่งที่ใคร่จะชี้ให้ตระหนักมีสองอย่างด้วยกันเกี่ยวสมมติฐานและการต่อเติม
สิ่งหนึ่งซึ่งระบบตลาดเสรีต้องมีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตามที่อดัม สมิธ คิดไว้ได้แก่ฐานทางจรรยาบรรณของมนุษย์เรา เรื่องนี้เขามิได้เขียนไว้ใน The Wealth of Nations โดยตรง ทั้งนี้คงเพราะเขาได้เขียนไว้แล้วในตำราทางด้านจรรยาบรรณเรื่อง The Theory of Moral Sentiments ซึ่งพิมพ์ออกมาตั้งแต่ปี 2302
ต่อมาอดัม สมิธ รู้แน่นอนว่า ระบบตลาดเสรีมีข้อบกพร่องโดยเฉพาะเรื่องการบริโภคเกินพอดีซึ่งมีผลในด้านการกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้า ทว่ามีผลร้ายในการทำลายหลายสิ่งหลายอย่าง ฉะนั้น เขาเองจึงปฏิบัติตัวแบบสมถะและแบบมีเมตตาธรรม เรื่องราวและแนวคิดของเขาในหลากหลายด้านอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ The Authentic Adam Smith: His Life and Ideas เขียนโดยเจมส์ บูชัน หากขาดเวลาหรือไม่แตกฉานภาษาอังกฤษ อาจไปอ่านบทคัดย่อภาษาไทยซึ่งดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
อเมริกานำหน้าในด้านการค้นคว้า ผลิตตำราและการใช้ระบบตลาดเสรีพร้อมทั้งมีนักเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อกันว่าอยู่แนวหน้า หรือในระดับจ่าฝูงจำนวนมาก แต่ในช่วงหลายปีมานี้ เศรษฐกิจระบบตลาดเสรีที่อเมริกาใช้ติดหล่มจนหาทางออกไม่ได้แม้จะใช้มาตรการทุกอย่างดังที่ตำราบอกว่าควรทำแล้วก็ตาม ท่ามกลางความงุนงงนี้ มีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นรางวัลโนเบลชื่อโจเซฟ สติกลิตซ์ วิเคราะห์ปัญหาออกมาว่าอยู่ที่ไหน เขาเขียนหนังสือออกมาชื่อ Freefall: America, Free Markets, and the Sinking of the World Economy หนังสือเล่มนี้มีบทสรุปและวิจารณ์อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาเช่นกัน
สติกลิตซ์สรุปว่าต้นตอของปัญหามีหลายอย่างรวมทั้งการขาดจรรยาบรรณ ความต้องการรวยทางลัด การขาดจิตสำนึก การขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกันภายในสังคม การแยกดีชั่วไม่ออกและการบริโภคแบบสุดโต่ง อเมริกาพบทางตันและการยกเครื่องทั้งระบบเท่านั้นจึงจะเดินต่อไปได้
มาถึงวันนี้สติกลิตซ์ยังไม่มีข้อเสนอว่าจะยกเครื่องประเทศอย่างไรแน่ แต่นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำชื่อเจฟฟรี แซคส์ ออกมาเสนอว่าจะทำอย่างไรในหนังสือชื่อ The Price of Civilization: Reawakening American Virtue and Prosperity เล่มนี้มีบทวิพากษ์อยู่ในเว็บไซต์ที่อ้างถึงแล้วเช่นกัน
ข้อเสนอของแซคส์วางอยู่บนฐานของความมีสติและการใช้ทางสายกลางซึ่งไม่ต่างกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นภูมิปัญญาที่มาจากมันสมองของปราชญ์ไทย ฉะนั้น ถ้าคนไทยไม่ฉลาดน้อยจนหลงเดินต้อย ๆ ตามก้นอเมริกา เราจะสามารถหลีกเลี่ยงและแก้ปัญหาที่มาจากการใช้ระบบตลาดเสรีได้โดยการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ทางด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เราเพิ่งจะคิดนำมาใช้เมื่อไม่นานมานี้ หรือเมื่อปี 2475 นี่เอง แต่เท่าที่ผ่านมา เราไม่เคยเป็นประชาธิปไตยแม้จะตะโกนโพนทะนาสักเท่าไรก็ตาม แต่ระบอบประชาธิปไตยก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหารวมทั้งในอเมริกาเองด้วย ปัญหาของอเมริกาหนักหนาสาหัสมาก เราดูได้จากความคิดของฝ่ายที่เรียกว่าเป็น “อเมริกานิยม” ซึ่งอ่านว่าปัญหาของเขาหนักหนาสาหัสจนอาจทำให้ประเทศล่มสลาย ฝ่ายนี้มีทั้งนักวิชาการ นักการเมือง นักธุรกิจ และนักการทหารที่ร่วมหัวกันชักใยรัฐบาลให้รุกรานต่างชาติในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการทหาร
ภายในฝ่ายนี้มีกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่เรียกตนเองว่า “สภาความสัมพันธ์ต่างประเทศ” (Council on Foreign Relations) สภาฯ นี้เป็นที่เกลียดชังของชาวโลกจำนวนมากรวมทั้งคนไทยซึ่งคงไม่อ่านวารสารของสภาฯ ชื่อ Foreign Affairs วารสารเล่มล่าสุดซึ่งครอบคลุมเดือนกันยายนและตุลาคมของปีนี้มีปัญหาของอเมริกาเป็นประเด็นหลักโดยมีนักวิชาการชั้นแนวหน้ารวมทั้ง ฟรานซิส ฟูกุยามา เขียนบทความเกี่ยวกับความเสื่อมทรามของระบอบประชาธิปไตยในแนวอเมริกัน
สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาติดตามความคิดทางด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศของอเมริกา ขอเรียนว่าฟูกุยามาเป็นนักวิชาการสายอเมริกันนิยม ชื่อเสียงของเขาโด่งดังจากการเขียนหนังสือชื่อ The End of History and the Last Man เมื่อปี 2535 หลังสหภาพโซเวียตแตกสลายจากการพ่ายแพ้สงครามเย็น แก่นของหนังสือคือการตีปีกตะโกนว่า ระบอบประชาธิปไตยเป็นฝ่ายชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและระบอบประชาธิปไตยคือคำตอบสุดท้ายสำหรับชาวโลกซึ่งต่อไปนี้จะมีแต่ความสันติสุข หลังเวลาผ่านไปไม่นาน เหตุการณ์ได้พิสูจน์ว่าฟูกุยามาตีปีกเร็วเกินไป ตอนนี้เขาคงเปลี่ยนใจอย่างสมบูรณ์แล้วเพราะในวารสารดังกล่าว เขาเขียนบทความชื่อ America in Decay: The Sources of Political Dysfunction ซึ่งคงแปลว่า “อเมริกาในภาวะเสื่อมสลาย : เหตุปัจจัยของความล้มเหลวทางการเมือง”
ฟูกุยามายอมรับว่าระบอบประชาธิปไตยในอเมริกาทำงานไม่ได้ตามอุดมการณ์เพราะมันได้กลายเป็นระบบที่ถูกครอบงำโดยกลุ่มผลประโยชน์ที่มีเงินมากและกลุ่มที่มักมีแนวคิดตกขอบ เขามองว่าอเมริกาคงจะเสื่อมต่อไปเนื่องจากในขณะนี้ไม่มีอะไรที่จะจูงใจให้เกิดการปฏิรูปอย่างจริงจัง สิ่งที่อาจจะผลักดันให้ชาวอเมริกันร่วมมือกันปฏิรูปประเทศคงเป็นเหตุการณ์ใหญ่ๆ จากภายนอก เขาไม่ได้บอกว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นอะไร แต่น่าจะเป็นจำพวกความท้าทายจากขั้วอำนาจใหม่ที่กำลังแข็งแกร่งขึ้น
อันที่จริงความท้าทายอาจมองเห็นได้แล้ว มันมิใช่เรื่องใหม่ แต่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่คงเลือกที่จะไม่มอง ย้อนไปไม่กี่ปีหลังจากที่ฟูกุยามาเขียนหนังสือเรื่อง The End of History and the Last Man แซมวล ฮันติงตัน ซึ่งเป็นอาจารย์ของฟูกุยามาเขียนหนังสือชื่อ The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order หนังสือเล่มนี้มีบทคัดย่อภาษาไทยซึ่งอาจดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาเช่นกัน
แก่นของสื่อคือผู้เขียนมองว่าต่อไปโลกจะไม่สงบเพราะประชาธิปไตยเป็นคำตอบให้ชาวโลกดังที่ฟูกุยามาคิด หากจะเป็นการต่อสู้กันระหว่างผู้ยึดมั่นในความสำคัญวัฒนธรรมของตน เหตุการณ์ในช่วงทศวรรษกว่าๆ มานี้บ่งชี้ว่าฮันติงตันมองถูก อเมริกากำลังถูกท้าทายจากหลายขั้ววัฒนธรรมโดยเฉพาะจากจีน รัสเซีย และโลกมุสลิม ในบรรดาขั้วเหล่านี้ เขามองว่าโลกมุสลิมจะเป็นขั้วที่ท้าทายที่สุด
อเมริกาจะไปทางไหนท่ามกลางความท้าทายซึ่งชาวอเมริกันยังมองไม่เห็นว่าสำคัญจนถึงกับรวมตัวกันออกมาต่อสู้?
ประเด็นนี้คงมองได้จากหลากหลายมุม เราอาจมองอย่างกว้างๆ ว่าความเป็นมหาอำนาจก็เป็นอนิจจัง ฉะนั้น มันจะต้องล่มสลายไปในวันหนึ่งข้างหน้าอย่างแน่นอน แต่นั่นอาจง่ายเกินไป เราอาจมองในแนวที่พอล เคนเนดี เขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Rise and Fall of the Great Powers ก็ได้ (หนังสือเล่มนี้มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ดังกล่าว)
เคนเนดีศึกษาการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจและการเสื่อมสลายของมหาอำนาจในช่วงเวลา 500 ปีที่ผ่านมา เขาสรุปว่ามหาอำนาจทางทหารเกิดและอยู่คู่กับความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อใดเศรษฐกิจอ่อนแอจนไม่สามารถสนับสนุนกิจการทางด้านการทหารได้ เมื่อนั้นมหาอำนาจจะเสื่อม มุมมองนี้เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นเนื่องจากอเมริกามีปัญหาเศรษฐกิจยืดเยื้อมานานในขณะที่กิจการทหารแผ่ขยายออกไปไล่ล่าผู้ที่อเมริกาคิดว่าเป็นศัตรูทั่วโลก
มุมมองหลังนี้น่าสนใจ อย่างไรก็ดี คัลเลน เมอร์ฟี่ มองย้อนไปไกลกว่าเคนเนดีจนถึงปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรโรมันล่มสลายและพิมพ์หนังสือออกมาชื่อ Are We Rome? (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ดังที่อ้างถึงแล้ว) เขาสรุปว่าอเมริกาในช่วงนี้มีความคล้ายกับอาณาจักรโรมันก่อนล่มสลาย ทั้งในด้านการมีความฉ้อฉลสูง ความไม่เข้าใจโลกภายนอกและความล้มเหลวทางด้านการเมืองของตนเอง
เมื่อรวมเรื่องราวที่เล่ามานี้เข้าด้วยกัน ภาพที่ออกมาชี้บ่งว่าอเมริกาคงจะเดินเข้าป่าเข้ารกจนตกเหวแน่นอนหากไม่เปลี่ยนทางเสียตั้งแต่วันนี้ เราจะทำอย่างไรดีในเมื่อทั้งประชาธิปไตยและตลาดเสรีต่างก็มีปัญหาสาหัส ประเด็นนี้ตอบไม่ยากหากเราศึกษาให้แจ้งชัดว่าอเมริกามีปัญหาเพราะอะไรแล้วนำมาใช้เป็นบทเรียน ข้อเสนอสั้นๆ ง่ายๆ คือ เราใช้ระบอบประชาธิปไตยต่อไป แต่จะไม่ฉ้อโกง และใช้ระบบตลาดเสรี แต่มีความพอประมาณควบคู่กันไปด้วย สมาชิกในรัฐบาลนี้น่าจะเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะล้วนแต่มีการศึกษาสูงกันทั้งนั้น ส่วนจะมีความกล้าหาญทางจรรยาบรรณและรู้จักใช้ความพอประมาณในด้านความต้องการของตนเองด้วยหรือไม่คือประเด็นใหญ่ที่จะต้องดูกันต่อไปอีกชั่วระยะหนึ่ง
ขอเริ่มเรื่องตลาดเสรีก่อนเนื่องจากระบบตลาดเสรีมีมาก่อนหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ย้อนไปในประวัติศาสตร์ มนุษยชาติแบ่งปันแต่ก็แย่งชิงกันและแลกเปลี่ยนกันตลอดมา การแลกเปลี่ยนเป็นฐานของการเกิดระบบตลาดเสรี ในประวัติศาสตร์ชาติไทยย้อนไปเกือบ 800 ปี ชาวไทยใช้ระบบตลาดเสรีตลอดมาเช่นกันตามหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก “ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า”
อย่างไรก็ดี เราไม่มีตำรับตำราที่เสนอว่าจะพัฒนาระบบนั้นต่อไปอย่างไรมากนักนอกจากที่สุนทรภู่ประพันธ์ไว้ตอนหนึ่งว่า “รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” คำแนะนำนี้ตรงกับตำราซึ่งเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันในสังคมตะวันตกชื่อ An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations เขียนโดยนักคิดชาวสกอตชื่อ อดัม สมิธ ตำราเล่มนี้มักเป็นที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า The Wealth of Nations ซึ่งพิมพ์ออกมาเมื่อปี 2319 อันเป็นปีที่อเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษ ตอนนั้นเมืองไทยอยู่ในยุคกรุงธนบุรี ในเนื้อหาของตำราเล่มนั้น สมิธกับสุนทรภู่เห็นตรงกันเรื่องความสำคัญของหลัก “รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว ...” ภาษาอังกฤษเรียกหลักนี้ว่า Division of Labor หรือ Specialization
เนื่องจากคนไทยไม่มีตำราวิชาเศรษฐศาตร์เช่นเขา เมื่อเราไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยกันในยุโรปและอเมริกา เราจึงเรียนระบบตลาดเสรีในแนวที่ตำราเล่มนี้วางไว้ อย่างไรก็ตาม หลังเวลาผ่านไปกว่าสองร้อยปี ทฤษฎีและการปฏิบัติวิวัฒน์เรื่อยมาจนผู้คนส่วนใหญ่มักลืมกันไปว่าตำราเล่มนั้นมีรายละเอียดอย่างไร วางอยู่บนสมมติฐานอะไร และผู้เขียนต่อเติมไว้ที่ไหนอย่างไรบ้าง สิ่งที่ใคร่จะชี้ให้ตระหนักมีสองอย่างด้วยกันเกี่ยวสมมติฐานและการต่อเติม
สิ่งหนึ่งซึ่งระบบตลาดเสรีต้องมีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตามที่อดัม สมิธ คิดไว้ได้แก่ฐานทางจรรยาบรรณของมนุษย์เรา เรื่องนี้เขามิได้เขียนไว้ใน The Wealth of Nations โดยตรง ทั้งนี้คงเพราะเขาได้เขียนไว้แล้วในตำราทางด้านจรรยาบรรณเรื่อง The Theory of Moral Sentiments ซึ่งพิมพ์ออกมาตั้งแต่ปี 2302
ต่อมาอดัม สมิธ รู้แน่นอนว่า ระบบตลาดเสรีมีข้อบกพร่องโดยเฉพาะเรื่องการบริโภคเกินพอดีซึ่งมีผลในด้านการกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้า ทว่ามีผลร้ายในการทำลายหลายสิ่งหลายอย่าง ฉะนั้น เขาเองจึงปฏิบัติตัวแบบสมถะและแบบมีเมตตาธรรม เรื่องราวและแนวคิดของเขาในหลากหลายด้านอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ The Authentic Adam Smith: His Life and Ideas เขียนโดยเจมส์ บูชัน หากขาดเวลาหรือไม่แตกฉานภาษาอังกฤษ อาจไปอ่านบทคัดย่อภาษาไทยซึ่งดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
อเมริกานำหน้าในด้านการค้นคว้า ผลิตตำราและการใช้ระบบตลาดเสรีพร้อมทั้งมีนักเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อกันว่าอยู่แนวหน้า หรือในระดับจ่าฝูงจำนวนมาก แต่ในช่วงหลายปีมานี้ เศรษฐกิจระบบตลาดเสรีที่อเมริกาใช้ติดหล่มจนหาทางออกไม่ได้แม้จะใช้มาตรการทุกอย่างดังที่ตำราบอกว่าควรทำแล้วก็ตาม ท่ามกลางความงุนงงนี้ มีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นรางวัลโนเบลชื่อโจเซฟ สติกลิตซ์ วิเคราะห์ปัญหาออกมาว่าอยู่ที่ไหน เขาเขียนหนังสือออกมาชื่อ Freefall: America, Free Markets, and the Sinking of the World Economy หนังสือเล่มนี้มีบทสรุปและวิจารณ์อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาเช่นกัน
สติกลิตซ์สรุปว่าต้นตอของปัญหามีหลายอย่างรวมทั้งการขาดจรรยาบรรณ ความต้องการรวยทางลัด การขาดจิตสำนึก การขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกันภายในสังคม การแยกดีชั่วไม่ออกและการบริโภคแบบสุดโต่ง อเมริกาพบทางตันและการยกเครื่องทั้งระบบเท่านั้นจึงจะเดินต่อไปได้
มาถึงวันนี้สติกลิตซ์ยังไม่มีข้อเสนอว่าจะยกเครื่องประเทศอย่างไรแน่ แต่นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำชื่อเจฟฟรี แซคส์ ออกมาเสนอว่าจะทำอย่างไรในหนังสือชื่อ The Price of Civilization: Reawakening American Virtue and Prosperity เล่มนี้มีบทวิพากษ์อยู่ในเว็บไซต์ที่อ้างถึงแล้วเช่นกัน
ข้อเสนอของแซคส์วางอยู่บนฐานของความมีสติและการใช้ทางสายกลางซึ่งไม่ต่างกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นภูมิปัญญาที่มาจากมันสมองของปราชญ์ไทย ฉะนั้น ถ้าคนไทยไม่ฉลาดน้อยจนหลงเดินต้อย ๆ ตามก้นอเมริกา เราจะสามารถหลีกเลี่ยงและแก้ปัญหาที่มาจากการใช้ระบบตลาดเสรีได้โดยการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ทางด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เราเพิ่งจะคิดนำมาใช้เมื่อไม่นานมานี้ หรือเมื่อปี 2475 นี่เอง แต่เท่าที่ผ่านมา เราไม่เคยเป็นประชาธิปไตยแม้จะตะโกนโพนทะนาสักเท่าไรก็ตาม แต่ระบอบประชาธิปไตยก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหารวมทั้งในอเมริกาเองด้วย ปัญหาของอเมริกาหนักหนาสาหัสมาก เราดูได้จากความคิดของฝ่ายที่เรียกว่าเป็น “อเมริกานิยม” ซึ่งอ่านว่าปัญหาของเขาหนักหนาสาหัสจนอาจทำให้ประเทศล่มสลาย ฝ่ายนี้มีทั้งนักวิชาการ นักการเมือง นักธุรกิจ และนักการทหารที่ร่วมหัวกันชักใยรัฐบาลให้รุกรานต่างชาติในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการทหาร
ภายในฝ่ายนี้มีกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่เรียกตนเองว่า “สภาความสัมพันธ์ต่างประเทศ” (Council on Foreign Relations) สภาฯ นี้เป็นที่เกลียดชังของชาวโลกจำนวนมากรวมทั้งคนไทยซึ่งคงไม่อ่านวารสารของสภาฯ ชื่อ Foreign Affairs วารสารเล่มล่าสุดซึ่งครอบคลุมเดือนกันยายนและตุลาคมของปีนี้มีปัญหาของอเมริกาเป็นประเด็นหลักโดยมีนักวิชาการชั้นแนวหน้ารวมทั้ง ฟรานซิส ฟูกุยามา เขียนบทความเกี่ยวกับความเสื่อมทรามของระบอบประชาธิปไตยในแนวอเมริกัน
สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาติดตามความคิดทางด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศของอเมริกา ขอเรียนว่าฟูกุยามาเป็นนักวิชาการสายอเมริกันนิยม ชื่อเสียงของเขาโด่งดังจากการเขียนหนังสือชื่อ The End of History and the Last Man เมื่อปี 2535 หลังสหภาพโซเวียตแตกสลายจากการพ่ายแพ้สงครามเย็น แก่นของหนังสือคือการตีปีกตะโกนว่า ระบอบประชาธิปไตยเป็นฝ่ายชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและระบอบประชาธิปไตยคือคำตอบสุดท้ายสำหรับชาวโลกซึ่งต่อไปนี้จะมีแต่ความสันติสุข หลังเวลาผ่านไปไม่นาน เหตุการณ์ได้พิสูจน์ว่าฟูกุยามาตีปีกเร็วเกินไป ตอนนี้เขาคงเปลี่ยนใจอย่างสมบูรณ์แล้วเพราะในวารสารดังกล่าว เขาเขียนบทความชื่อ America in Decay: The Sources of Political Dysfunction ซึ่งคงแปลว่า “อเมริกาในภาวะเสื่อมสลาย : เหตุปัจจัยของความล้มเหลวทางการเมือง”
ฟูกุยามายอมรับว่าระบอบประชาธิปไตยในอเมริกาทำงานไม่ได้ตามอุดมการณ์เพราะมันได้กลายเป็นระบบที่ถูกครอบงำโดยกลุ่มผลประโยชน์ที่มีเงินมากและกลุ่มที่มักมีแนวคิดตกขอบ เขามองว่าอเมริกาคงจะเสื่อมต่อไปเนื่องจากในขณะนี้ไม่มีอะไรที่จะจูงใจให้เกิดการปฏิรูปอย่างจริงจัง สิ่งที่อาจจะผลักดันให้ชาวอเมริกันร่วมมือกันปฏิรูปประเทศคงเป็นเหตุการณ์ใหญ่ๆ จากภายนอก เขาไม่ได้บอกว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นอะไร แต่น่าจะเป็นจำพวกความท้าทายจากขั้วอำนาจใหม่ที่กำลังแข็งแกร่งขึ้น
อันที่จริงความท้าทายอาจมองเห็นได้แล้ว มันมิใช่เรื่องใหม่ แต่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่คงเลือกที่จะไม่มอง ย้อนไปไม่กี่ปีหลังจากที่ฟูกุยามาเขียนหนังสือเรื่อง The End of History and the Last Man แซมวล ฮันติงตัน ซึ่งเป็นอาจารย์ของฟูกุยามาเขียนหนังสือชื่อ The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order หนังสือเล่มนี้มีบทคัดย่อภาษาไทยซึ่งอาจดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาเช่นกัน
แก่นของสื่อคือผู้เขียนมองว่าต่อไปโลกจะไม่สงบเพราะประชาธิปไตยเป็นคำตอบให้ชาวโลกดังที่ฟูกุยามาคิด หากจะเป็นการต่อสู้กันระหว่างผู้ยึดมั่นในความสำคัญวัฒนธรรมของตน เหตุการณ์ในช่วงทศวรรษกว่าๆ มานี้บ่งชี้ว่าฮันติงตันมองถูก อเมริกากำลังถูกท้าทายจากหลายขั้ววัฒนธรรมโดยเฉพาะจากจีน รัสเซีย และโลกมุสลิม ในบรรดาขั้วเหล่านี้ เขามองว่าโลกมุสลิมจะเป็นขั้วที่ท้าทายที่สุด
อเมริกาจะไปทางไหนท่ามกลางความท้าทายซึ่งชาวอเมริกันยังมองไม่เห็นว่าสำคัญจนถึงกับรวมตัวกันออกมาต่อสู้?
ประเด็นนี้คงมองได้จากหลากหลายมุม เราอาจมองอย่างกว้างๆ ว่าความเป็นมหาอำนาจก็เป็นอนิจจัง ฉะนั้น มันจะต้องล่มสลายไปในวันหนึ่งข้างหน้าอย่างแน่นอน แต่นั่นอาจง่ายเกินไป เราอาจมองในแนวที่พอล เคนเนดี เขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Rise and Fall of the Great Powers ก็ได้ (หนังสือเล่มนี้มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ดังกล่าว)
เคนเนดีศึกษาการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจและการเสื่อมสลายของมหาอำนาจในช่วงเวลา 500 ปีที่ผ่านมา เขาสรุปว่ามหาอำนาจทางทหารเกิดและอยู่คู่กับความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อใดเศรษฐกิจอ่อนแอจนไม่สามารถสนับสนุนกิจการทางด้านการทหารได้ เมื่อนั้นมหาอำนาจจะเสื่อม มุมมองนี้เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นเนื่องจากอเมริกามีปัญหาเศรษฐกิจยืดเยื้อมานานในขณะที่กิจการทหารแผ่ขยายออกไปไล่ล่าผู้ที่อเมริกาคิดว่าเป็นศัตรูทั่วโลก
มุมมองหลังนี้น่าสนใจ อย่างไรก็ดี คัลเลน เมอร์ฟี่ มองย้อนไปไกลกว่าเคนเนดีจนถึงปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรโรมันล่มสลายและพิมพ์หนังสือออกมาชื่อ Are We Rome? (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ดังที่อ้างถึงแล้ว) เขาสรุปว่าอเมริกาในช่วงนี้มีความคล้ายกับอาณาจักรโรมันก่อนล่มสลาย ทั้งในด้านการมีความฉ้อฉลสูง ความไม่เข้าใจโลกภายนอกและความล้มเหลวทางด้านการเมืองของตนเอง
เมื่อรวมเรื่องราวที่เล่ามานี้เข้าด้วยกัน ภาพที่ออกมาชี้บ่งว่าอเมริกาคงจะเดินเข้าป่าเข้ารกจนตกเหวแน่นอนหากไม่เปลี่ยนทางเสียตั้งแต่วันนี้ เราจะทำอย่างไรดีในเมื่อทั้งประชาธิปไตยและตลาดเสรีต่างก็มีปัญหาสาหัส ประเด็นนี้ตอบไม่ยากหากเราศึกษาให้แจ้งชัดว่าอเมริกามีปัญหาเพราะอะไรแล้วนำมาใช้เป็นบทเรียน ข้อเสนอสั้นๆ ง่ายๆ คือ เราใช้ระบอบประชาธิปไตยต่อไป แต่จะไม่ฉ้อโกง และใช้ระบบตลาดเสรี แต่มีความพอประมาณควบคู่กันไปด้วย สมาชิกในรัฐบาลนี้น่าจะเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะล้วนแต่มีการศึกษาสูงกันทั้งนั้น ส่วนจะมีความกล้าหาญทางจรรยาบรรณและรู้จักใช้ความพอประมาณในด้านความต้องการของตนเองด้วยหรือไม่คือประเด็นใหญ่ที่จะต้องดูกันต่อไปอีกชั่วระยะหนึ่ง