อดีตส่องปัจจุบัน ปัจจุบันส่องอนาคต หมายความว่า จะคิดจะทำอะไรในปัจจุบัน ให้รู้จักเหลียวหลัง (ดูอดีต) แลหน้า (คาดการณ์อนาคต) ถ้าอดีตมีเหตุชั่วผลชั่ว ก็อย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย คืออย่านำมาทำอีก หากอดีตมีเหตุดีผลดี ก็จงนำมาทำอีก เมื่อปัจจุบันทำเหตุดี ผลดีก็จะเกิดขึ้นในอนาคตค่อนข้างแน่นอน ถ้าปัจจุบันยังดันทุรังทำเหตุชั่ว ผลชั่วก็จะตกเป็นของอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่คือการคาดการณ์อนาคตแบบอาศัยสติปัญญา มีเหตุและมีผล
เบิ่งฮีตสิบสอง แลครองสิบสี่ คืออดีตที่ต้องเรียนรู้ และดูให้เห็น คนในยุคนั้นสมัยนั้น มีความเป็นอยู่อย่างไร มีหลักยึดอะไร มีเหตุดีผลดีหรือไม่อย่างไร ประเพณีอีสานจะให้คำตอบ
ประเพณีที่เป็นหลักเดิมของชาวอีสาน คือ “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” ซึ่งปัจจุบันยังมีการปฏิบัติอยู่บ้าง และมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
คำว่า “ฮีต” มาจาก “จารีต” หมายถึงขนบธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นประเพณีจารีต 12 ข้อนี้ ถือกันมานานแล้ว โดยมีเงื่อนเค้ามาจากเวียงจันทน์ เป็นจารีตเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แต่ละข้อมีพิธีการทางศาสนาทั้งสิ้น คือ...
1. บุญเข้ากรรม เป็นพิธีออกจากอาบัติสังฆาทิเสสของสงฆ์ ทำในเดือนอ้าย ชาวบ้านจะถวายจตุปัจจัยและอาหารบิณฑบาตตลอดเวลาที่พระสงฆ์อยู่กรรม
2. บุญคูณลาน ทำในเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวมารวมไว้ที่ลานก่อนฟาด (นวดข้าว) มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์และฟังเทศน์ ถวายอาหารบิณฑบาต ณ บริเวณลาน แล้วประพรมข้าวหรือสัตว์เลี้ยงด้วยน้ำมนต์ บุญนี้ทำกันในเดือนยี่
3. บุญข้าวจี่ คือบุญถวายข้าวเหนียวเผาแด่พระสงฆ์ มักไปทำกันที่วัด บางทีข้าวที่เผาทาด้วยไข่ทำให้อร่อยยิ่งขึ้น เสร็จแล้วนำไปถวายสงฆ์ กล่าวคำถวายข้าวจี่เป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ถวายพระสงฆ์ บุญนี้ทำกันในเดือน 3 และการทำบุญมาฆบูชาก็ทำในเดือนนี้
4. บุญพระเวส คือบุญเทศน์มหาชาติ ทำกันในเดือน 4
5. บุญสรงน้ำ คือบุญสงกรานต์นั่นเอง มีการสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ ผู้เฒ่าผู้แก่ มีการก่อปะทาย (พระเจดีย์ทราย) ด้วย ทำในเดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำของทุกปี
6. บุญบั้งไฟ มูลเหตุที่ทำก็เพื่อบูชาเทพอารักษ์เพื่อขอฝน มีพิธีทางศาสนาเข้าไปเกี่ยว คือมีการบวชนาค นิมนต์พระสงฆ์ต่างบ้านมาสวดมนต์ ถวายทาน ฝ่ายชาวบ้านมีการแห่บั้งไฟอย่างสนุกสนาน บางทีก็มีการ “เส็งกลอง” (แข่งกลอง) ด้วย บุญนี้ทำกันในเดือน 6 และเดือนนี้ก็มีการทำบุญวิสาขบูชาด้วย
7. บุญชำฮะ (ชำระ) คือการทำความสะอาดบ้านเรือน ลานหมู่บ้านให้สะอาด โดยปลูกโรงพิธีขึ้นกลางหมู่บ้าน แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ถวายทาน ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ขับไล่เสนียดจัญไร บุญนี้ทำกันในเดือน 7
8. บุญเข้าพรรษา ทำกันเดือน 8 เช่นเดียวกับภาคอื่นทั่วไป
9. บุญข้าวประดับดิน คือการทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ ทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 วิธีทำโดยย่อคือ จัดอาหารคาวหวานแล้วแบ่งเป็น 4 ส่วนเลี้ยงดูกันส่วนหนึ่ง แจกญาติพี่น้องส่วนหนึ่ง อุทิศให้ผู้ตายส่วนหนึ่ง นำไปถวายพระสงฆ์ส่วนหนึ่ง ส่วนที่จะอุทิศให้ผู้ตายนั้น ใช้ใบกล้วยห่อไปวางไว้ตามดิน หรือแขวนไว้ตามต้นไม้
10. บุญข้าวสาก (สลากภัต) ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 มีวิธีการเช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน แต่ส่วนที่นำไปถวายสงฆ์นั้น ถวายโดยวิธีการจับฉลาก แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว
11. บุญออกพรรษา ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วิธีทำเหมือนกับภาคอื่น บุญย่อยๆ อื่นๆ ที่มักทำในเดือนนี้คือ ไต้ประทีป คือเอาธูปเทียนตั้งไว้บนเรือ หรือกาบกล้วย จุดเป็นพุทธบูชา (เหมือนลอยกระทงของภาคอื่น) ปล่อยเฮือไฟ (ปล่อยเรือไฟ) เหมือนลอยกระทงเช่นกัน ตันดอกเผิ่ง (ผาสารทเผิ่ง-ปราสาทผึ้ง) เอาขี้ผึ้งแผ่เป็นแผ่นติดตามกาบกล้วยซึ่งทำเป็นโครงคล้ายรู้ปราสาท แล้วแห่ไปถวายพระ ขี้ผึ้งใช้หล่อเป็นเทียน ส่องเฮือ (แข่งเรือ) แข่งในฤดูน้ำมาก เรือที่แข่งมักเป็นเรือวัด
12. บุญกฐิน ทำในเดือน 12 มีวิธีเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ มีกฐินอย่างเดียวเรียกว่า “จุลกฐิน” หรือ “กฐินด่วน” วิธีทำก็คือ ต้องทำผ้าให้เป็นจีวรให้เสร็จภายในวันเดียว เริ่มตั้งแต่เก็บดอกฝ้ายมาจากต้น จนถึงทำเป็นผืน ถือว่ากฐินเช่นนี้มีอานิสงส์มาก แต่ปัจจุบันไม่ค่อยทำกัน
ครองสิบสี่ ถือว่าครองเรือนทุกคนจะต้องรู้ เป็นธรรมเกี่ยวกับการครองเรือน มีดังนี้...
1. เดือนหกให้ขนเอาดินทรายเข้าวัด เพื่อก่อพระทรายทุกปี
2. เดือนห้าปีใหม่ให้เกณฑ์คนไปสาบานตน ทำความซื่อสัตย์ต่อกันทุกคน
3. ถึงฤดูจะทำนา คราด หว่าน ปัก ดำ ให้เลี้ยงตาแฮก (ยักษ์ที่รักษาที่นาและเป็นผู้มีอำนาจเหนือฝน) แล้วจึงเริ่มทำนาตามประเพณี
4. ให้พากันทำบุญหาญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
5. เดือนสิบสองให้พิจารณาทำกฐินทุกปี
6. ให้พากันทำบุญพระเวสฟังเทศน์ทุกปี
7. ให้พากันเลี้ยงพ่อแม่ที่ท่านแก่เฒ่าแล้ว เป็นการตอบแทนที่ท่านเลี้ยงเรามา
8. ให้รู้จักการปฏิบัติจัดแจงเรือนชานบ้านช่องให้แก่บุตรที่เลี้ยงเรามา
9. ถ้าเป็นเขยเขาอย่าดูถูกลูกเมีย อย่าดีตีเสียดสีพ่อตาแม่ยายให้เกรงกลัว
10. ให้รู้จักทำบุญให้ทาน รักษาศีล ไม่พูดปด ล่อลวง
11. เป็นพ่อบ้าน ให้มีพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เสมอ
12. เป็นพระยามหากษัตริย์ ต้องรักษาทศพิธราชธรรม 10 ประการ
13. ถ้าพ่อตาแม่ยายได้ลูกเขยมาสมสู่ ให้สำรวมวาจา อย่าด่าโคตรเชื้อพงศ์พันธุ์อันไม่ดี
14. ถ้าเอามัดข้าวมารวมในลานกอง ก่อนจะปลงข้าวให้ทำตาแหลว (ทำลานที่จะฟาดข้าว) ให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงจะดีแท้
(ที่มา : เฉลิม จันปฐมพงศ์ และคณะ, ประวัติศาสตร์สังคมไทย, สนพ.เสถียรไทย, 2520)
ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ มีหลายเวอร์ชั่น (Version) แตกต่างกันไป อย่างคำว่า “ครอง” บางฉบับก็ว่า “คลอง” บางฉบับก็ “คอง” แตกต่างกันไป
ครอง หมายถึงปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่, ดำรงไว้, คงไว้. นุ่งห่ม, ถือสิทธิเป็นเจ้าของ
คลอง หมายถึง ทางหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดขึ้น, ทาง, แนว, แบบ
คอง ก็คือครอง หรือคลอง เป็นคำพูดชาวอีสาน ที่ไม่นิยมออกเสียงตัวกล้ำ ล หรือ ร เป็นต้น
ส่วนเนื้อหา ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ ไม่ต้องห่วงแตกต่างกันอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่สิ่งที่เหมือนกัน ฮีตสิบสองคือการทำบุญทุกเดือน บางครั้งเดือนหนึ่งๆ ก็หลายครั้ง ส่วนครองสิบสี่ เป็นหลักในการครองตน และครองสังคม
โดยภาพรวมแต่ละชุมชนหรือแต่ละหมู่บ้านจะมีการพบปะสังสรรค์อยู่เสมอ กระชับสัมพันธ์แนบแน่นทำให้เกิดความสามัคคี
เป็นกฎนิ่มๆ ใครไม่ปฏิบัติก็ได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่จะถูกสังคมบอยคอตหรือคว่ำบาตร (Boycott) หากไม่แก้ไขปรับปรุงตัว อาจต้องย้ายบ้านหนี
ปู่ย่าวิถี อยู่ดีมีเฮง คนสมัยก่อนเขาเคารพนับถือปู่ย่าตายายมาก ตายไปแล้วยังกราบไหว้บูชาอยู่ จนเกิดคำว่า “ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี”
ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี ตามตำนานและความเชื่อของชาวอีสานสมัยก่อน คือผีบรรพบุรุษผู้สร้างโลก ให้กำเนิดลูกหลานมนุษย์ทั้งหลายขึ้นมา เชื่อว่าตนสืบเชื้อสายมาจากต้นบรรพบุรุษนี้ จึงเรียกว่า ปู่-ย่า
ซึ่งความจริง ปู่สังกะสา ยาสังกะสี ตามความเชื่อแล้ว จัดเป็นเทพ ไม่ใช่ผี แต่เมื่อเรามองไม่เห็น และน่าจะตายไปนานแล้ว ก็เลยเรียกว่า ผี หรือ สัง
เมื่อจะพูดถึงคนที่ตายไปแล้ว เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจว่าตายแล้ว และเป็นการให้เกียรติด้วย ก็จะมีคำนำหน้าชื่อผู้ตาย คือ “สัง” หรือ “สาง” เช่น “สังพ่อใหญ่ลี” “สังบักลา” “สังอีลุน” เป็นต้น
(ที่มา : www.isan.clubs.chula.ac.th)
ปู่ย่าตายายในอดีต ถือว่าเป็นหลักบ้านหลักเมือง ที่ลูกหลานให้ความเคารพนับถือ มีปัญหาอะไรก็เข้าหาปู่ย่าตายายให้ช่วยเหลือ
ปู่ย่าตายายหรือผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งปวง มีอาวุธสำคัญที่จะช่วยเหลือลูกหลานได้ นั่นคือ “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” ท่านผู้เฒ่าทำเป็นตัวอย่าง ลูกหลานก็ทำตาม หมู่บ้าน ชุมชน หรือสังคมก็เกิดความสงบสุข หากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา ก็ช่วยกันแก้ไขทันท่วงที เพราะมีพลังอันไพศาลคือความสามัคคีนั่นเอง
ทุกผู้ทุกคนในบ้านในเมืองก็เลย “อยู่ดีมีแฮง” โดยถ้วนทั่ว
สภาพบ้านเมืองในสมัยโบราณ แม้จะไม่โชติช่วงชัชวาลเยี่ยงอารยประเทศตะวันตก แต่เราก็อยู่มาได้อย่างสันติสุข ไม่ขายทรัพยากรของตนให้ต่างชาติในราคาถูกเหมือนได้เปล่า คนโบราณยังรักษาแผ่นดินจนมีแผ่นดินและทรัพยากรธรรมชาติให้ลูกหลานได้ทำกิน อยู่ดีมีความสุขตราบเท่าทุกวันนี้
เรื่องอดีต หากไม่เล่ามันก็ลืม สังคมทุกวันนี้ดูเหมือนจะลืมอดีต ไม่ยอมเหลียวหลังไปดู มีแต่จะเดินหน้าตะพึดตะพือ ไม่แน่ใจว่า จะพาลูกหลานไปสู่สวรรค์หรือนรกกันแน่
ถ้าผู้นำผู้มีอำนาจ มีความซื่อสัตย์ใจบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนปู่ย่าตายายสมัยก่อน ก็พอจะวางใจได้ว่า มีความสุขความสงบ อยู่ดีมีแฮงได้ หากผู้นำผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง ตัวเป็นไทยแต่ใจเป็นทาส ทำอะไรเพื่อตัวเองและพวกพ้องเป็นที่ตั้งแล้วไซร้ การเดินหน้าประเทศไทย ก็คงจะพากันลงเหวลงนรกเป็นแน่แท้
สถานศึกษา ซึ่งเป็นเบ้าหลอมผลิตคนดีคนกล้าออกสู่สังคม ก็ไม่สนใจเหลียวหลังแลหน้าเลย เอาแต่เหลียวดูตัวเอง เมื่อไหร่นะจะได้มี ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขเกินคนอื่น ลูกศิษย์ลูกหา จะเป็นอย่างไร ช่างมันฉันไม่แคร์ ขอให้ฉันเหนือคนอื่นเป็นพอ
พอดีเจอโรงเรียนแห่งหนึ่ง รู้จักเหลียวหลังดูอดีต ดูปัจจุบัน ก่อนที่จะเดินหน้าหาความถูกต้องในอนาคต...
เขามีชุมนุมหนังสั้น มีผลงานหลายเรื่อง ปีที่ผ่านๆ มา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1, 2, 3 ระดับประเทศ ปีนี้ส่งหนังสั้นเข้าประกวดอีก และกำลังถ่ายทำอยู่เรื่องหนึ่งน่าสนใจคือ “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” นักแสดงเป็นนักเรียนในชุมนุมหนังสั้น 60 คน อำนวยการสร้างโดย ดร.มนูญ เพชรมีแก้ว ผอ.ทีมงานในการถ่ายทำ ควบคุม ดูแล กำกับ ก็มี อ.ทรงเกียรติ ปักเคทา หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อ.จิรพรรณ บุณยเพ็ญ ที่ปรึกษากลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ อ.สนธยา พลรัตน์ ที่ปรึกษาชุมนุมหนังสั้น นายสิทธิชัย ปักษา ม. 6/7 หัวหน้าและผู้ประสานงานชุมนุมหนังสั้น และปีนี้หนังสั้นสาระสังคมศึกษาและวัฒนธรรม ประกวดโรงเรียนคุณธรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศของ สพม.ที่ 26 (จ.มหาสารคาม) สนง.เขตพื้นที่มัธยมศึกษาที่ 26
เห็นว่าโรงเรียนแห่งนี้ ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน มีความตั้งใจดีในการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยก้าวหน้า กล้าเอาเรื่องเก่าแก่ในอดีต อันเป็นรากเหง้าของตน-ประเทศของตนมานำเสนอ เพื่อให้คนยุคใหม่สมัยนี้รู้จักตนเองดีขึ้น ขอชื่นชม และขอให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งๆ ขึ้นไป
โรงเรียนแห่งนั้น คือ...โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร สพม.26 มหาสารคาม
“เบิ่งฮีตสิบสอง
แลครองสิบสี่
ปู่ย่าวิถี
อยู่ดีมีแฮง”
เปลี่ยนเบิ่งเปลี่ยนแล ตามกระแสโลก สังคมก้มหน้า สังคมสัมผัสจอ มาเป็นรู้จัก ทำอยู่ทำกิน อยู่ง่ายกินง่าย อยู่แบบพอเพียง ความสุขหรือความมีแฮง ก็จะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หรือด้วยตัวของตัวเอง
เบิ่งฮีตสิบสอง แลครองสิบสี่ คืออดีตที่ต้องเรียนรู้ และดูให้เห็น คนในยุคนั้นสมัยนั้น มีความเป็นอยู่อย่างไร มีหลักยึดอะไร มีเหตุดีผลดีหรือไม่อย่างไร ประเพณีอีสานจะให้คำตอบ
ประเพณีที่เป็นหลักเดิมของชาวอีสาน คือ “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” ซึ่งปัจจุบันยังมีการปฏิบัติอยู่บ้าง และมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
คำว่า “ฮีต” มาจาก “จารีต” หมายถึงขนบธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นประเพณีจารีต 12 ข้อนี้ ถือกันมานานแล้ว โดยมีเงื่อนเค้ามาจากเวียงจันทน์ เป็นจารีตเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แต่ละข้อมีพิธีการทางศาสนาทั้งสิ้น คือ...
1. บุญเข้ากรรม เป็นพิธีออกจากอาบัติสังฆาทิเสสของสงฆ์ ทำในเดือนอ้าย ชาวบ้านจะถวายจตุปัจจัยและอาหารบิณฑบาตตลอดเวลาที่พระสงฆ์อยู่กรรม
2. บุญคูณลาน ทำในเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวมารวมไว้ที่ลานก่อนฟาด (นวดข้าว) มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์และฟังเทศน์ ถวายอาหารบิณฑบาต ณ บริเวณลาน แล้วประพรมข้าวหรือสัตว์เลี้ยงด้วยน้ำมนต์ บุญนี้ทำกันในเดือนยี่
3. บุญข้าวจี่ คือบุญถวายข้าวเหนียวเผาแด่พระสงฆ์ มักไปทำกันที่วัด บางทีข้าวที่เผาทาด้วยไข่ทำให้อร่อยยิ่งขึ้น เสร็จแล้วนำไปถวายสงฆ์ กล่าวคำถวายข้าวจี่เป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ถวายพระสงฆ์ บุญนี้ทำกันในเดือน 3 และการทำบุญมาฆบูชาก็ทำในเดือนนี้
4. บุญพระเวส คือบุญเทศน์มหาชาติ ทำกันในเดือน 4
5. บุญสรงน้ำ คือบุญสงกรานต์นั่นเอง มีการสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ ผู้เฒ่าผู้แก่ มีการก่อปะทาย (พระเจดีย์ทราย) ด้วย ทำในเดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำของทุกปี
6. บุญบั้งไฟ มูลเหตุที่ทำก็เพื่อบูชาเทพอารักษ์เพื่อขอฝน มีพิธีทางศาสนาเข้าไปเกี่ยว คือมีการบวชนาค นิมนต์พระสงฆ์ต่างบ้านมาสวดมนต์ ถวายทาน ฝ่ายชาวบ้านมีการแห่บั้งไฟอย่างสนุกสนาน บางทีก็มีการ “เส็งกลอง” (แข่งกลอง) ด้วย บุญนี้ทำกันในเดือน 6 และเดือนนี้ก็มีการทำบุญวิสาขบูชาด้วย
7. บุญชำฮะ (ชำระ) คือการทำความสะอาดบ้านเรือน ลานหมู่บ้านให้สะอาด โดยปลูกโรงพิธีขึ้นกลางหมู่บ้าน แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ถวายทาน ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ขับไล่เสนียดจัญไร บุญนี้ทำกันในเดือน 7
8. บุญเข้าพรรษา ทำกันเดือน 8 เช่นเดียวกับภาคอื่นทั่วไป
9. บุญข้าวประดับดิน คือการทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ ทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 วิธีทำโดยย่อคือ จัดอาหารคาวหวานแล้วแบ่งเป็น 4 ส่วนเลี้ยงดูกันส่วนหนึ่ง แจกญาติพี่น้องส่วนหนึ่ง อุทิศให้ผู้ตายส่วนหนึ่ง นำไปถวายพระสงฆ์ส่วนหนึ่ง ส่วนที่จะอุทิศให้ผู้ตายนั้น ใช้ใบกล้วยห่อไปวางไว้ตามดิน หรือแขวนไว้ตามต้นไม้
10. บุญข้าวสาก (สลากภัต) ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 มีวิธีการเช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน แต่ส่วนที่นำไปถวายสงฆ์นั้น ถวายโดยวิธีการจับฉลาก แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว
11. บุญออกพรรษา ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วิธีทำเหมือนกับภาคอื่น บุญย่อยๆ อื่นๆ ที่มักทำในเดือนนี้คือ ไต้ประทีป คือเอาธูปเทียนตั้งไว้บนเรือ หรือกาบกล้วย จุดเป็นพุทธบูชา (เหมือนลอยกระทงของภาคอื่น) ปล่อยเฮือไฟ (ปล่อยเรือไฟ) เหมือนลอยกระทงเช่นกัน ตันดอกเผิ่ง (ผาสารทเผิ่ง-ปราสาทผึ้ง) เอาขี้ผึ้งแผ่เป็นแผ่นติดตามกาบกล้วยซึ่งทำเป็นโครงคล้ายรู้ปราสาท แล้วแห่ไปถวายพระ ขี้ผึ้งใช้หล่อเป็นเทียน ส่องเฮือ (แข่งเรือ) แข่งในฤดูน้ำมาก เรือที่แข่งมักเป็นเรือวัด
12. บุญกฐิน ทำในเดือน 12 มีวิธีเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ มีกฐินอย่างเดียวเรียกว่า “จุลกฐิน” หรือ “กฐินด่วน” วิธีทำก็คือ ต้องทำผ้าให้เป็นจีวรให้เสร็จภายในวันเดียว เริ่มตั้งแต่เก็บดอกฝ้ายมาจากต้น จนถึงทำเป็นผืน ถือว่ากฐินเช่นนี้มีอานิสงส์มาก แต่ปัจจุบันไม่ค่อยทำกัน
ครองสิบสี่ ถือว่าครองเรือนทุกคนจะต้องรู้ เป็นธรรมเกี่ยวกับการครองเรือน มีดังนี้...
1. เดือนหกให้ขนเอาดินทรายเข้าวัด เพื่อก่อพระทรายทุกปี
2. เดือนห้าปีใหม่ให้เกณฑ์คนไปสาบานตน ทำความซื่อสัตย์ต่อกันทุกคน
3. ถึงฤดูจะทำนา คราด หว่าน ปัก ดำ ให้เลี้ยงตาแฮก (ยักษ์ที่รักษาที่นาและเป็นผู้มีอำนาจเหนือฝน) แล้วจึงเริ่มทำนาตามประเพณี
4. ให้พากันทำบุญหาญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
5. เดือนสิบสองให้พิจารณาทำกฐินทุกปี
6. ให้พากันทำบุญพระเวสฟังเทศน์ทุกปี
7. ให้พากันเลี้ยงพ่อแม่ที่ท่านแก่เฒ่าแล้ว เป็นการตอบแทนที่ท่านเลี้ยงเรามา
8. ให้รู้จักการปฏิบัติจัดแจงเรือนชานบ้านช่องให้แก่บุตรที่เลี้ยงเรามา
9. ถ้าเป็นเขยเขาอย่าดูถูกลูกเมีย อย่าดีตีเสียดสีพ่อตาแม่ยายให้เกรงกลัว
10. ให้รู้จักทำบุญให้ทาน รักษาศีล ไม่พูดปด ล่อลวง
11. เป็นพ่อบ้าน ให้มีพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เสมอ
12. เป็นพระยามหากษัตริย์ ต้องรักษาทศพิธราชธรรม 10 ประการ
13. ถ้าพ่อตาแม่ยายได้ลูกเขยมาสมสู่ ให้สำรวมวาจา อย่าด่าโคตรเชื้อพงศ์พันธุ์อันไม่ดี
14. ถ้าเอามัดข้าวมารวมในลานกอง ก่อนจะปลงข้าวให้ทำตาแหลว (ทำลานที่จะฟาดข้าว) ให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงจะดีแท้
(ที่มา : เฉลิม จันปฐมพงศ์ และคณะ, ประวัติศาสตร์สังคมไทย, สนพ.เสถียรไทย, 2520)
ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ มีหลายเวอร์ชั่น (Version) แตกต่างกันไป อย่างคำว่า “ครอง” บางฉบับก็ว่า “คลอง” บางฉบับก็ “คอง” แตกต่างกันไป
ครอง หมายถึงปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่, ดำรงไว้, คงไว้. นุ่งห่ม, ถือสิทธิเป็นเจ้าของ
คลอง หมายถึง ทางหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดขึ้น, ทาง, แนว, แบบ
คอง ก็คือครอง หรือคลอง เป็นคำพูดชาวอีสาน ที่ไม่นิยมออกเสียงตัวกล้ำ ล หรือ ร เป็นต้น
ส่วนเนื้อหา ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ ไม่ต้องห่วงแตกต่างกันอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่สิ่งที่เหมือนกัน ฮีตสิบสองคือการทำบุญทุกเดือน บางครั้งเดือนหนึ่งๆ ก็หลายครั้ง ส่วนครองสิบสี่ เป็นหลักในการครองตน และครองสังคม
โดยภาพรวมแต่ละชุมชนหรือแต่ละหมู่บ้านจะมีการพบปะสังสรรค์อยู่เสมอ กระชับสัมพันธ์แนบแน่นทำให้เกิดความสามัคคี
เป็นกฎนิ่มๆ ใครไม่ปฏิบัติก็ได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่จะถูกสังคมบอยคอตหรือคว่ำบาตร (Boycott) หากไม่แก้ไขปรับปรุงตัว อาจต้องย้ายบ้านหนี
ปู่ย่าวิถี อยู่ดีมีเฮง คนสมัยก่อนเขาเคารพนับถือปู่ย่าตายายมาก ตายไปแล้วยังกราบไหว้บูชาอยู่ จนเกิดคำว่า “ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี”
ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี ตามตำนานและความเชื่อของชาวอีสานสมัยก่อน คือผีบรรพบุรุษผู้สร้างโลก ให้กำเนิดลูกหลานมนุษย์ทั้งหลายขึ้นมา เชื่อว่าตนสืบเชื้อสายมาจากต้นบรรพบุรุษนี้ จึงเรียกว่า ปู่-ย่า
ซึ่งความจริง ปู่สังกะสา ยาสังกะสี ตามความเชื่อแล้ว จัดเป็นเทพ ไม่ใช่ผี แต่เมื่อเรามองไม่เห็น และน่าจะตายไปนานแล้ว ก็เลยเรียกว่า ผี หรือ สัง
เมื่อจะพูดถึงคนที่ตายไปแล้ว เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจว่าตายแล้ว และเป็นการให้เกียรติด้วย ก็จะมีคำนำหน้าชื่อผู้ตาย คือ “สัง” หรือ “สาง” เช่น “สังพ่อใหญ่ลี” “สังบักลา” “สังอีลุน” เป็นต้น
(ที่มา : www.isan.clubs.chula.ac.th)
ปู่ย่าตายายในอดีต ถือว่าเป็นหลักบ้านหลักเมือง ที่ลูกหลานให้ความเคารพนับถือ มีปัญหาอะไรก็เข้าหาปู่ย่าตายายให้ช่วยเหลือ
ปู่ย่าตายายหรือผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งปวง มีอาวุธสำคัญที่จะช่วยเหลือลูกหลานได้ นั่นคือ “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” ท่านผู้เฒ่าทำเป็นตัวอย่าง ลูกหลานก็ทำตาม หมู่บ้าน ชุมชน หรือสังคมก็เกิดความสงบสุข หากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา ก็ช่วยกันแก้ไขทันท่วงที เพราะมีพลังอันไพศาลคือความสามัคคีนั่นเอง
ทุกผู้ทุกคนในบ้านในเมืองก็เลย “อยู่ดีมีแฮง” โดยถ้วนทั่ว
สภาพบ้านเมืองในสมัยโบราณ แม้จะไม่โชติช่วงชัชวาลเยี่ยงอารยประเทศตะวันตก แต่เราก็อยู่มาได้อย่างสันติสุข ไม่ขายทรัพยากรของตนให้ต่างชาติในราคาถูกเหมือนได้เปล่า คนโบราณยังรักษาแผ่นดินจนมีแผ่นดินและทรัพยากรธรรมชาติให้ลูกหลานได้ทำกิน อยู่ดีมีความสุขตราบเท่าทุกวันนี้
เรื่องอดีต หากไม่เล่ามันก็ลืม สังคมทุกวันนี้ดูเหมือนจะลืมอดีต ไม่ยอมเหลียวหลังไปดู มีแต่จะเดินหน้าตะพึดตะพือ ไม่แน่ใจว่า จะพาลูกหลานไปสู่สวรรค์หรือนรกกันแน่
ถ้าผู้นำผู้มีอำนาจ มีความซื่อสัตย์ใจบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนปู่ย่าตายายสมัยก่อน ก็พอจะวางใจได้ว่า มีความสุขความสงบ อยู่ดีมีแฮงได้ หากผู้นำผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง ตัวเป็นไทยแต่ใจเป็นทาส ทำอะไรเพื่อตัวเองและพวกพ้องเป็นที่ตั้งแล้วไซร้ การเดินหน้าประเทศไทย ก็คงจะพากันลงเหวลงนรกเป็นแน่แท้
สถานศึกษา ซึ่งเป็นเบ้าหลอมผลิตคนดีคนกล้าออกสู่สังคม ก็ไม่สนใจเหลียวหลังแลหน้าเลย เอาแต่เหลียวดูตัวเอง เมื่อไหร่นะจะได้มี ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขเกินคนอื่น ลูกศิษย์ลูกหา จะเป็นอย่างไร ช่างมันฉันไม่แคร์ ขอให้ฉันเหนือคนอื่นเป็นพอ
พอดีเจอโรงเรียนแห่งหนึ่ง รู้จักเหลียวหลังดูอดีต ดูปัจจุบัน ก่อนที่จะเดินหน้าหาความถูกต้องในอนาคต...
เขามีชุมนุมหนังสั้น มีผลงานหลายเรื่อง ปีที่ผ่านๆ มา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1, 2, 3 ระดับประเทศ ปีนี้ส่งหนังสั้นเข้าประกวดอีก และกำลังถ่ายทำอยู่เรื่องหนึ่งน่าสนใจคือ “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” นักแสดงเป็นนักเรียนในชุมนุมหนังสั้น 60 คน อำนวยการสร้างโดย ดร.มนูญ เพชรมีแก้ว ผอ.ทีมงานในการถ่ายทำ ควบคุม ดูแล กำกับ ก็มี อ.ทรงเกียรติ ปักเคทา หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อ.จิรพรรณ บุณยเพ็ญ ที่ปรึกษากลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ อ.สนธยา พลรัตน์ ที่ปรึกษาชุมนุมหนังสั้น นายสิทธิชัย ปักษา ม. 6/7 หัวหน้าและผู้ประสานงานชุมนุมหนังสั้น และปีนี้หนังสั้นสาระสังคมศึกษาและวัฒนธรรม ประกวดโรงเรียนคุณธรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศของ สพม.ที่ 26 (จ.มหาสารคาม) สนง.เขตพื้นที่มัธยมศึกษาที่ 26
เห็นว่าโรงเรียนแห่งนี้ ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน มีความตั้งใจดีในการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยก้าวหน้า กล้าเอาเรื่องเก่าแก่ในอดีต อันเป็นรากเหง้าของตน-ประเทศของตนมานำเสนอ เพื่อให้คนยุคใหม่สมัยนี้รู้จักตนเองดีขึ้น ขอชื่นชม และขอให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งๆ ขึ้นไป
โรงเรียนแห่งนั้น คือ...โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร สพม.26 มหาสารคาม
“เบิ่งฮีตสิบสอง
แลครองสิบสี่
ปู่ย่าวิถี
อยู่ดีมีแฮง”
เปลี่ยนเบิ่งเปลี่ยนแล ตามกระแสโลก สังคมก้มหน้า สังคมสัมผัสจอ มาเป็นรู้จัก ทำอยู่ทำกิน อยู่ง่ายกินง่าย อยู่แบบพอเพียง ความสุขหรือความมีแฮง ก็จะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หรือด้วยตัวของตัวเอง