นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า เดือนก.ค. 57 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 9.41 แสนตัน เพิ่มขึ้น 39.5% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค. 56 มีมูลค่า 1.44 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.5% ซึ่งเป็นการส่งออกสูงสุดในรอบปีนี้ และสูงสุดนับจากเดือนส.ค.54 หรือสูงสุดในรอบ 35 เดือน ที่เคยส่งออกได้ถึง 1 ล้านตัน ส่วนการส่งออกข้าวช่วง 7 เดือนของปี 57 (ม.ค.-ก.ค.) มีปริมาณรวม 5.62
ล้านตัน เพิ่มขึ้น 55.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่า 9.08 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.6%
ทั้งนี้ สมาคมฯ คาดว่าการส่งออกในเดือนส.ค.57 ไทยจะส่งออกได้ถึง 9 แสนตัน เนื่องจากราคาข้าวของไทยยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับคู่แข่ง ทำให้สามารถแข่งขันได้ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการระบายข้าวในสต๊อก รวมถึงการเร่งเจรจาขายข้าวให้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และคาดว่าทั้งปีการส่งออกข้าวไทยจะอยู่ที่ 10 ล้านตัน โดยไทยจะสามารถทวงแชมป์ส่งออกข้าวสูงสุดได้
สำหรับราคาข้าวเปลือกภายในประเทศขณะนี้ ได้ปรับตัวลดลงมา จากการเร่งเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนา เพราะเข้าสู่ช่วงหน้าฝน และข้าวมีความชื้นสูง ทำให้ราคาลดลง แต่เชื่อว่ากระทรวงพาณิชย์ โดยพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์คนใหม่ จะสามารถดูแลสถานการณ์ราคาข้าวได้ เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเท่าที่ได้ร่วมงาน พบว่ามีความเข้าใจเรื่องสินค้าข้าวเป็นอย่างดี
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า สถานการณ์ราคาข้าวเปลือกในตลาดกำลังอยู่ภาวะน่าเป็นห่วง หลังจากที่ราคาข้าวเปลือกเจ้า (ความชื้น 15%) ในช่วงส.ค.ที่ผ่านมา ตกลงมาเฉลี่ยที่ตันละ 8,000 บาท หลังจากที่ก่อนหน้านี้ขึ้นไปสูงถึงตันละ 8,800 บาท ทั้งที่การส่งออกข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นและข้าวเปลือกฤดูกาลใหม่ยังไม่ออกสู่ตลาด
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ ได้เรียกสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี และแมคโคร มาหารือ เพื่อหาแนวทางลดความเดือดร้อนของผู้ประกอบการข้าวถุง หลังจากได้ร้องเรียนและขอให้กรมฯ เป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา 3 ประเด็น ได้แก่ การจัดเก็บเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย การเก็บค่าประชาสัมพันธ์และโฆษณา และการจัดเก็บค่าใช้จ่ายกระจายสินค้า
ทั้งนี้ ในประเด็นการจัดเก็บเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ขอให้จัดเก็บให้เหมาะสม ซึ่งปกติค้าปลีกจะจัดเก็บเมื่อยอดขายสินค้าที่วางขายถึงเป้าหมายและมักจัดเก็บเหมาทั้งปี ก็ขอให้แยกจัดเก็บแบบรายเดือนแทน และหากทั้งปีไม่ถึงเป้าหมายก็ไม่ควรมีการจัดเก็บ ส่วนค่าประชาสัมพันธ์และโฆษณา ให้มีแจงรายละเอียดให้กับเจ้าของสินค้ารับทราบก่อน เพื่อได้วางแผนให้สอดคล้อง และจัดเก็บค่าใช้จ่ายตามที่ได้ตกลงกันไว้ ขณะที่การจัดเก็บค่าใช้จ่ายการกระจายสินค้าแบบเหมารวม เพื่อกระจายทุกสาขาของค้าปลีก ขอให้แยกจัดเก็บเฉพาะสาขาที่วางขายสินค้านั้นๆ
“ห้างได้รับปากที่จะนำไปทบทวนและดำเนินการ โดยจะหารือกับผู้ผลิตข้าวถุงแต่ละรายโดยตรง ซึ่งกรมฯ จะให้เวลาถึงต้นปี 2558 เพราะเป็นช่วงที่มีการทบทวนค่าใช้จ่ายประจำปี แต่หากมีการร้องเรียนเข้ามาอีก ก็จะถือว่าทำการค้าไม่เป็นธรรม กรมฯ สามารถดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าได้”นายสันติชัยกล่าว
ล้านตัน เพิ่มขึ้น 55.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่า 9.08 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.6%
ทั้งนี้ สมาคมฯ คาดว่าการส่งออกในเดือนส.ค.57 ไทยจะส่งออกได้ถึง 9 แสนตัน เนื่องจากราคาข้าวของไทยยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับคู่แข่ง ทำให้สามารถแข่งขันได้ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการระบายข้าวในสต๊อก รวมถึงการเร่งเจรจาขายข้าวให้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และคาดว่าทั้งปีการส่งออกข้าวไทยจะอยู่ที่ 10 ล้านตัน โดยไทยจะสามารถทวงแชมป์ส่งออกข้าวสูงสุดได้
สำหรับราคาข้าวเปลือกภายในประเทศขณะนี้ ได้ปรับตัวลดลงมา จากการเร่งเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนา เพราะเข้าสู่ช่วงหน้าฝน และข้าวมีความชื้นสูง ทำให้ราคาลดลง แต่เชื่อว่ากระทรวงพาณิชย์ โดยพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์คนใหม่ จะสามารถดูแลสถานการณ์ราคาข้าวได้ เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเท่าที่ได้ร่วมงาน พบว่ามีความเข้าใจเรื่องสินค้าข้าวเป็นอย่างดี
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า สถานการณ์ราคาข้าวเปลือกในตลาดกำลังอยู่ภาวะน่าเป็นห่วง หลังจากที่ราคาข้าวเปลือกเจ้า (ความชื้น 15%) ในช่วงส.ค.ที่ผ่านมา ตกลงมาเฉลี่ยที่ตันละ 8,000 บาท หลังจากที่ก่อนหน้านี้ขึ้นไปสูงถึงตันละ 8,800 บาท ทั้งที่การส่งออกข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นและข้าวเปลือกฤดูกาลใหม่ยังไม่ออกสู่ตลาด
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ ได้เรียกสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี และแมคโคร มาหารือ เพื่อหาแนวทางลดความเดือดร้อนของผู้ประกอบการข้าวถุง หลังจากได้ร้องเรียนและขอให้กรมฯ เป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา 3 ประเด็น ได้แก่ การจัดเก็บเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย การเก็บค่าประชาสัมพันธ์และโฆษณา และการจัดเก็บค่าใช้จ่ายกระจายสินค้า
ทั้งนี้ ในประเด็นการจัดเก็บเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ขอให้จัดเก็บให้เหมาะสม ซึ่งปกติค้าปลีกจะจัดเก็บเมื่อยอดขายสินค้าที่วางขายถึงเป้าหมายและมักจัดเก็บเหมาทั้งปี ก็ขอให้แยกจัดเก็บแบบรายเดือนแทน และหากทั้งปีไม่ถึงเป้าหมายก็ไม่ควรมีการจัดเก็บ ส่วนค่าประชาสัมพันธ์และโฆษณา ให้มีแจงรายละเอียดให้กับเจ้าของสินค้ารับทราบก่อน เพื่อได้วางแผนให้สอดคล้อง และจัดเก็บค่าใช้จ่ายตามที่ได้ตกลงกันไว้ ขณะที่การจัดเก็บค่าใช้จ่ายการกระจายสินค้าแบบเหมารวม เพื่อกระจายทุกสาขาของค้าปลีก ขอให้แยกจัดเก็บเฉพาะสาขาที่วางขายสินค้านั้นๆ
“ห้างได้รับปากที่จะนำไปทบทวนและดำเนินการ โดยจะหารือกับผู้ผลิตข้าวถุงแต่ละรายโดยตรง ซึ่งกรมฯ จะให้เวลาถึงต้นปี 2558 เพราะเป็นช่วงที่มีการทบทวนค่าใช้จ่ายประจำปี แต่หากมีการร้องเรียนเข้ามาอีก ก็จะถือว่าทำการค้าไม่เป็นธรรม กรมฯ สามารถดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าได้”นายสันติชัยกล่าว