โพลนิด้าสำรวจพุทธศาสนิกชนเรื่องทรัพย์สินวัดพระสงฆ์ ส่วนใหญ่มองว่าไม่ค่อยมีความโปร่งใส หนุนรายงานทรัพย์สินวัด-พระสงฆ์ ต่อ สนง.พระพุทธศาสนาฯ ทุกปี แต่ไม่ควรให้เสียภาษี
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ทรัพย์สินของวัดและพระสงฆ์”ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-29 ส.ค.57 จากประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรายงานทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุสงฆ์ ต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและการเสียภาษีจากรายได้แหล่งต่างๆ ของวัด
จากผลการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความโปร่งใสในการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดโดยทั่วไปในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนร้อยละ 10.69 ระบุว่า มีความโปร่งใสมาก ร้อยละ 22.89 ระบุว่าค่อนข้างมีความโปร่งใส ร้อยละ 40.19 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความโปร่งใส ร้อยละ 18.10 ระบุว่าไม่มีความโปร่งใสเลย ร้อยละ 8.13 ระบุว่าไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรายงานทรัพย์สินของวัดต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นประจำทุกปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 87.24 ระบุว่า ควร เพราะทุกวันนี้วัดมีความเป็นพุทธพาณิชย์มากขึ้น วัดควรมีการรายงานทรัพย์สินเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต ทำให้สามารถตรวจสอบและสาธารณชนทราบถึงที่มาที่ไปของทรัพย์สินเหล่านั้นได้ โดยเฉพาะวัดที่มีทรัพย์สินมากผิดปกติ ขณะที่ประชาชน ร้อยละ 9.33 ระบุว่า ไม่ควร เพราะถือว่าเป็นทรัพย์สินของผู้มีจิตศรัทธาทำบุญถวายให้กับวัด และเป็นสิทธิ์ของวัดที่สามารถบริหารจัดการทรัพย์สินได้เอง และร้อยละ 3.43 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรายงานทรัพย์สินของพระภิกษุสงฆ์ต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นประจำทุกปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.84 ระบุว่า ควร เพราะทุกวันนี้มีผู้ที่ประพฤติตนมิชอบหาผลประโยชน์ในรูปแบบของพระสงฆ์ เป็นการป้องกันมิให้ญาติโยม หรือผู้มีจิตศรัทธาทำบุญไปโดยขาดการไตร่ตรอง ควรมีการรายงานทรัพย์สินเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความสบายใจทั้งผู้ให้และผู้รับ รองลงมาร้อยละ 21.13 ระบุว่าไม่ควร เพราะถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุที่มาจากญาติโยม หรือ ผู้มีจิตศรัทธาถวายให้ อีกทั้งยังมีพระภิกษุจำนวนมาก หากจะให้มีการรายงานควรดเป็นเฉพาะรายกรณีไป และร้อยละ 5.03 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเสียภาษีของวัดจากการที่มีรายได้จากเงินบริจาค การทำบุญทุกชนิด เช่น กฐิน ผ้าป่า เงินทำบุญทั่วไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 82.62 ระบุว่า ไม่ควรมีการเสียภาษี รองลงมาร้อยละ 14.91 ระบุว่าควร และร้อยละ 2.47 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับรายได้จากการให้บูชา/ให้เช่า เครื่องรางของขลังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.50 ระบุว่า ไม่ควร รองลงมา ร้อยละ 40.19 ระบุว่าควร และร้อยละ 4.31 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ และรายได้จากการใช้ทรัพย์สินของวัด (เช่น การให้เช่าที่ดิน การจัดงานวัด เป็นต้น) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.99 ระบุว่า ไม่ควร ขณะที่ประชาชนร้อยละ 44.58 ระบุว่าควร และ ร้อยละ 3.43 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ทรัพย์สินของวัดและพระสงฆ์”ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-29 ส.ค.57 จากประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรายงานทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุสงฆ์ ต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและการเสียภาษีจากรายได้แหล่งต่างๆ ของวัด
จากผลการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความโปร่งใสในการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดโดยทั่วไปในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนร้อยละ 10.69 ระบุว่า มีความโปร่งใสมาก ร้อยละ 22.89 ระบุว่าค่อนข้างมีความโปร่งใส ร้อยละ 40.19 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความโปร่งใส ร้อยละ 18.10 ระบุว่าไม่มีความโปร่งใสเลย ร้อยละ 8.13 ระบุว่าไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรายงานทรัพย์สินของวัดต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นประจำทุกปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 87.24 ระบุว่า ควร เพราะทุกวันนี้วัดมีความเป็นพุทธพาณิชย์มากขึ้น วัดควรมีการรายงานทรัพย์สินเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต ทำให้สามารถตรวจสอบและสาธารณชนทราบถึงที่มาที่ไปของทรัพย์สินเหล่านั้นได้ โดยเฉพาะวัดที่มีทรัพย์สินมากผิดปกติ ขณะที่ประชาชน ร้อยละ 9.33 ระบุว่า ไม่ควร เพราะถือว่าเป็นทรัพย์สินของผู้มีจิตศรัทธาทำบุญถวายให้กับวัด และเป็นสิทธิ์ของวัดที่สามารถบริหารจัดการทรัพย์สินได้เอง และร้อยละ 3.43 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรายงานทรัพย์สินของพระภิกษุสงฆ์ต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นประจำทุกปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.84 ระบุว่า ควร เพราะทุกวันนี้มีผู้ที่ประพฤติตนมิชอบหาผลประโยชน์ในรูปแบบของพระสงฆ์ เป็นการป้องกันมิให้ญาติโยม หรือผู้มีจิตศรัทธาทำบุญไปโดยขาดการไตร่ตรอง ควรมีการรายงานทรัพย์สินเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความสบายใจทั้งผู้ให้และผู้รับ รองลงมาร้อยละ 21.13 ระบุว่าไม่ควร เพราะถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุที่มาจากญาติโยม หรือ ผู้มีจิตศรัทธาถวายให้ อีกทั้งยังมีพระภิกษุจำนวนมาก หากจะให้มีการรายงานควรดเป็นเฉพาะรายกรณีไป และร้อยละ 5.03 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเสียภาษีของวัดจากการที่มีรายได้จากเงินบริจาค การทำบุญทุกชนิด เช่น กฐิน ผ้าป่า เงินทำบุญทั่วไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 82.62 ระบุว่า ไม่ควรมีการเสียภาษี รองลงมาร้อยละ 14.91 ระบุว่าควร และร้อยละ 2.47 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับรายได้จากการให้บูชา/ให้เช่า เครื่องรางของขลังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.50 ระบุว่า ไม่ควร รองลงมา ร้อยละ 40.19 ระบุว่าควร และร้อยละ 4.31 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ และรายได้จากการใช้ทรัพย์สินของวัด (เช่น การให้เช่าที่ดิน การจัดงานวัด เป็นต้น) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.99 ระบุว่า ไม่ควร ขณะที่ประชาชนร้อยละ 44.58 ระบุว่าควร และ ร้อยละ 3.43 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ.