วานนี้ (24ส.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ นายสมพร ใช้บางยาง ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ( สำนัก 3 ) สสส. ได้จัดการประชุมทบทวนข้อเสนอด้านการกระจายอำนาจเพื่อคืนความสุขให้ประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วม 200 คน จาก 120 อปท. ร่วมประกาศปฏิญญาเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมสนับสนุนการปฏิรูปการกระจายอำนาจ ดังนี้
ด้านการสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ 5 ประการ คือ 1. ใช้ทุนทางสังคมและศักยภาพของพื้นที่ในการจัดการตนเอง 2. จัดบริการสาธารณะ และการพัฒนาพื้นที่ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและลดความเหลื่อมล้ำ 3. ประสานแผนและกิจกรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ระหว่างหน่วยงานองค์กรและกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเติมเต็มกิจกรรมและโครงการต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส 4 . ร่วมกันเกื้อกูลและพัฒนาศักยภาพของประชากรในชุมชนที่เป็นพื้นที่ ที่มีความยากลำบาก 5 . มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกระบวนการทำงาน โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
ส่วนด้านการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น 3 ประการ คือ 1. ทบทวนโครงสร้าง และกระบวนการทำงานให้ภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับ อปท. 2 . สนับสนุนให้การจัดตั้งกลไกตรวจสอบ และเฝ้าระวังการทุกจริตคอร์รัปชัน และร่วมเป็นสมาชิกภาคีเครือข่าย ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน 3. สร้างกิจกรรมเพื่อยกระดับประชาชนให้เป็นพลเมืองที่มีขีดความสามารถในการจัดการตนเอง ทั้งในระดับครอบครัว กลุ่ม ชุมชน ตำบล เครือข่าย รวมถึงเป็นพลังชุมชนท้องถิ่นร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย
นายสมพร กล่าวว่า ที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ กว่า 2,200 แห่ง ได้ทำงานขับเคลื่อนแก้ปัญหาต่างๆ ในท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน โดยมี 2 ประเด็นใหญ่ ที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วนและให้เป็นรูปธรรม คือ
1. การสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ ที่ปัจจุบันมีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น
2 การป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งอปท.ถูกมองว่ามีการทุจริต คอร์รัปชันมาก แต่หลังจากลงไปทำงานร่วมกัน พบว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การร่วมคิดร่วมแก้ไข และสร้างศรัทธาคืนกลับมา
ทั้งนี้ จะนำข้อเสนอของเครือข่ายเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เสนอผ่านคณะกรรมการสรรหา สมาชิกสภาปฏิรูป
แห่งชาติ (สปช.) ไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อไป
ด้าน น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. กล่าวว่า สสส. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ทำการสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ระหว่างวันที่ 13-20 สิงหาคม 2557 จำนวน 1,736 อปท. 385,565 คน โดยสำรวจเฉพาะ 4 ด้านสำคัญ ที่ส่งกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สิทธิและโอกาส และการเข้าถึงข้อมูลความรู้ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ความพึงพอใจโดยรวม พอใจมาก 44.1% ค่อนข้างพอใจ 51.1% พอใจน้อย 3.9% และไม่พอใจ 0.4%
เมื่อแยกรายด้านพบด้านเศรษฐกิจ พอใจมาก 57.7% ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมพอใจมาก 43.7% ด้านสิทธิและโอกาสพอใจมาก 45% ด้านการเข้าถึงข้อมูลและความรู้พอใจมาก 52.3%
นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อ.เมืองฯ จ.เพชรบุรี กล่าวถึง แนวทางการบริหารงานท้องถิ่นที่โปร่งใสและเป็นธรรม รวมถึงการลดความเหลื่อมล้ำ ว่า เราต้องพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดราคากลางต่างๆ ซึ่งหากเป็นไปได้ ควรจะมีการตั้งคณะทำงานกำหนดราคากลางระดับพื้นที่ ขณะที่เรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องแก้ไขเพื่อให้ท้องถิ่น บริหารงานด้วยธรรมภิบาล และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้
ส่วนการประเมินผลการทำงานของหน่วยกำกับดูแลท้องถิ่น ควรมีภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปแบบของคณะกรรมการด้วย สำหรับแนวทางการสร้างระบบการตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุจริตมีดังนี้ 1. ควรให้ท้องถิ่นมีการปรับโครงสร้างและกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น 2. ให้มีสำนักงานตรวจสอบการคลังท้องถิ่นประจำจังหวัดและรับรองผลกระตรวจสอบ 3 จัดตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังและต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน และ 4. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของท้องถิ่นให้มากที่สุด
ด้านการสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ 5 ประการ คือ 1. ใช้ทุนทางสังคมและศักยภาพของพื้นที่ในการจัดการตนเอง 2. จัดบริการสาธารณะ และการพัฒนาพื้นที่ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและลดความเหลื่อมล้ำ 3. ประสานแผนและกิจกรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ระหว่างหน่วยงานองค์กรและกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเติมเต็มกิจกรรมและโครงการต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส 4 . ร่วมกันเกื้อกูลและพัฒนาศักยภาพของประชากรในชุมชนที่เป็นพื้นที่ ที่มีความยากลำบาก 5 . มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกระบวนการทำงาน โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
ส่วนด้านการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น 3 ประการ คือ 1. ทบทวนโครงสร้าง และกระบวนการทำงานให้ภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับ อปท. 2 . สนับสนุนให้การจัดตั้งกลไกตรวจสอบ และเฝ้าระวังการทุกจริตคอร์รัปชัน และร่วมเป็นสมาชิกภาคีเครือข่าย ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน 3. สร้างกิจกรรมเพื่อยกระดับประชาชนให้เป็นพลเมืองที่มีขีดความสามารถในการจัดการตนเอง ทั้งในระดับครอบครัว กลุ่ม ชุมชน ตำบล เครือข่าย รวมถึงเป็นพลังชุมชนท้องถิ่นร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย
นายสมพร กล่าวว่า ที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ กว่า 2,200 แห่ง ได้ทำงานขับเคลื่อนแก้ปัญหาต่างๆ ในท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน โดยมี 2 ประเด็นใหญ่ ที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วนและให้เป็นรูปธรรม คือ
1. การสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ ที่ปัจจุบันมีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น
2 การป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งอปท.ถูกมองว่ามีการทุจริต คอร์รัปชันมาก แต่หลังจากลงไปทำงานร่วมกัน พบว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การร่วมคิดร่วมแก้ไข และสร้างศรัทธาคืนกลับมา
ทั้งนี้ จะนำข้อเสนอของเครือข่ายเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เสนอผ่านคณะกรรมการสรรหา สมาชิกสภาปฏิรูป
แห่งชาติ (สปช.) ไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อไป
ด้าน น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. กล่าวว่า สสส. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ทำการสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ระหว่างวันที่ 13-20 สิงหาคม 2557 จำนวน 1,736 อปท. 385,565 คน โดยสำรวจเฉพาะ 4 ด้านสำคัญ ที่ส่งกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สิทธิและโอกาส และการเข้าถึงข้อมูลความรู้ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ความพึงพอใจโดยรวม พอใจมาก 44.1% ค่อนข้างพอใจ 51.1% พอใจน้อย 3.9% และไม่พอใจ 0.4%
เมื่อแยกรายด้านพบด้านเศรษฐกิจ พอใจมาก 57.7% ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมพอใจมาก 43.7% ด้านสิทธิและโอกาสพอใจมาก 45% ด้านการเข้าถึงข้อมูลและความรู้พอใจมาก 52.3%
นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อ.เมืองฯ จ.เพชรบุรี กล่าวถึง แนวทางการบริหารงานท้องถิ่นที่โปร่งใสและเป็นธรรม รวมถึงการลดความเหลื่อมล้ำ ว่า เราต้องพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดราคากลางต่างๆ ซึ่งหากเป็นไปได้ ควรจะมีการตั้งคณะทำงานกำหนดราคากลางระดับพื้นที่ ขณะที่เรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องแก้ไขเพื่อให้ท้องถิ่น บริหารงานด้วยธรรมภิบาล และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้
ส่วนการประเมินผลการทำงานของหน่วยกำกับดูแลท้องถิ่น ควรมีภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปแบบของคณะกรรมการด้วย สำหรับแนวทางการสร้างระบบการตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุจริตมีดังนี้ 1. ควรให้ท้องถิ่นมีการปรับโครงสร้างและกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น 2. ให้มีสำนักงานตรวจสอบการคลังท้องถิ่นประจำจังหวัดและรับรองผลกระตรวจสอบ 3 จัดตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังและต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน และ 4. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของท้องถิ่นให้มากที่สุด