วานนี้ (19ส.ค.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงานป.ป.ช. ได้แจ้งมติการประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. เกี่ยวกับกรณีกล่าวหา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)ว่ามีพฤติการณ์ทุจริต เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี
เรื่องนี้ประธานวุฒิสภา ส่งเรื่องถอดถอน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มาให้คณะกรรมการป.ป.ช. ดำเนินการตามมาตรา 63 และเป็นกรณีมีผู้กล่าวหาจำนวนหลายราย ส่งเรื่องมาตาม มาตรา 84 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าว กล่าวหา
1. พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม 2. นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม 3. นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคม 4 . พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกิจการโทรคมนาคม โดยกล่าวหาว่า
1) ออกประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 3 จี เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ราย ทำให้ไม่มีการแข่งขันเสนอราคากันอย่างแท้จริงในการประมูล
2) บริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ก จำกัด มีผู้จัดการเป็นคนต่างด้าว ขาดคุณสมบัติในการเข้าร่วมประมูล (3 จี)
3) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ไม่มีอำนาจจัดการประมูลคลื่น 3 จี
4) ผู้เข้าประมูลทั้ง 3 ราย มีการสมยอมกัน (ฮั้ว) ในการประมูลคลื่น 3 จี
5) กทค. ทั้ง 4 ราย ละเว้นไม่ดำเนินการยกเลิกการประมูล ทั้งที่ทราบว่า การประมูล ผู้เข้าร่วมประมูลไม่มีการแข่งขันเสนอราคากันอย่างแท้จริง
คณะกรรมการป.ป.ช. พิจารณาแล้ว เห็นว่า
ข้อกล่าวหาที่ 1 จากการไต่สวนพบว่า ขณะออกประกาศหลักเกณฑ์ มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าประมูลได้จำนวน 20 ราย การออกประกาศหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการเอื้อให้กับผู้ประกอบการ ทั้ง 3 ราย ที่เข้าประมูลในครั้งนี้ ตามที่มีการกล่าวหาแต่อย่างใด จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
ข้อกล่าวหาที่ 2 จากการตรวจสอบจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ก มีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยทั้งหมด จึงไม่ขาดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต ตามประกาศฯ จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาจึงไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป
ข้อกล่าวหาที่ 3 จากการไต่สวนพบว่า การจัดประมูลคลื่น 3 จี ของ กทค. เป็นการดำเนินการแทน กสทช. ตามมาตรา 40 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
ข้อกล่าวหาที่ 4 จากการไต่สวนพบว่า การเสนอราคาของผู้เข้าประมูลทั้ง 3 ราย เป็นไปโดยถูกต้องตามประกาศหลักเกณฑ์ฯ ไม่ปรากฏพฤติการณ์หรือพยานหลักฐานว่ามีการสมยอมกันในการเสนอราคา จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
ข้อกล่าวหาที่ 5 จากการไต่สวนพบว่า การประมูลครั้งนี้ ตามประกาศฯ ได้แบ่งคลื่นออกเป็น 9 ชุด มีผู้เข้าร่วมประมูลจำนวน 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค จำกัด (AIS) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด (DTAC) และบริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด (TRUE) นั้น เป็นดำเนินการประมูลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่ กสทช. ประกาศกำหนด มิได้นำหลักการประมูลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-auction) มาใช้ ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค การประมูลก็มีการแข่งขันเสนอราคากันถึง 7 รอบ ผลการประมูลได้ราคาสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีรายได้ต่อหัวใกล้เคียงกับประเทศไทย และได้รับการยอมรับจาก สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งเป็นองค์กรของสหประชาชาติด้านโทรคมนาคม การประมูลครั้งนี้ เป็นการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยแบบ ก้าวกระโดด ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก
กรณีนี้จึงไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 ราย ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณีที่ ป.ป.ช.ยกคำร้องประมูล 3G ไม่โปร่งใส ว่า เห็นมติ ป.ป.ช.ชุดใหญ่แล้ว แปลกใจ และแคลงใจมากทีเดียว เพราะกรณีประมูล 3G เต็มไปด้วยปัญหาสารพัด ทั้งความไม่โปร่งใส เข้าข่ายฮั้วประมูล รายได้รัฐที่หายไป กฎกติกาที่มีปัญหา ฯลฯ โดยเฉพาะความน่าจะเป็นในการฮั้วกัน จากเกณฑ์ประมูลที่ กสทช. ออกแบบ ที่ผิดปกติมากๆ มี 6 ใบ จากทั้งหมด 9 ใบอนุญาต ไม่มีการแข่งขันใดๆ โดยราคาประมูลอยู่ที่ราคาเริ่มต้น คือ 4,500 ล้านบาทเท่านั้น ที่แข่งกันมีแค่ 3 ใบ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าแข่งกันจริงหรือไม่ ที่น่าตกใจมาก คือ เมื่อรวมมูลค่าการประมูลทั้งหมดได้เพียงแค่ 41,625 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นแค่ 2.77% ทั้งที่ใบ
อนุญาตมีอายุตั้ง 15 ปี ทั้งนี้หากเทียบเคียงกับรายได้ที่รัฐได้ค่าสัมปทานจากเอกชน 3 ราย คือ AIS, Dtac,True แค่ปีเดียวในปี 2554 ตั้ง 47,786 ล้านบาท ทำให้ประเทศเสียรายได้มหาศาล และคนที่ได้มากที่สุดกลายเป็นเอกชนผู้ประกอบการ
"ผมว่ามันเป็นการประมูลที่ตลกที่สุดในโลก จนสังคมเรียกการประมูลครั้งนั้นว่า เป็นการ "ประเคน" มากกว่า ต่อมามีการร้องต่อป.ป.ช. หลายราย เบื้องต้นก่อนหน้านี้มีข่าวว่า อนุ ป.ป.ช. มีมติว่าไม่โปร่งใส แต่พอเข้าชุดใหญ่ มติไปอีกทาง ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น ทั้งที่เรื่องนี้ ไม่ได้ต่างจากจำนำข้าว โจ่งแจ้งกว่าด้วยซ้ำไป" นายสุริยะใส ระบุ
เรื่องนี้ประธานวุฒิสภา ส่งเรื่องถอดถอน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มาให้คณะกรรมการป.ป.ช. ดำเนินการตามมาตรา 63 และเป็นกรณีมีผู้กล่าวหาจำนวนหลายราย ส่งเรื่องมาตาม มาตรา 84 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าว กล่าวหา
1. พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม 2. นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม 3. นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคม 4 . พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกิจการโทรคมนาคม โดยกล่าวหาว่า
1) ออกประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 3 จี เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ราย ทำให้ไม่มีการแข่งขันเสนอราคากันอย่างแท้จริงในการประมูล
2) บริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ก จำกัด มีผู้จัดการเป็นคนต่างด้าว ขาดคุณสมบัติในการเข้าร่วมประมูล (3 จี)
3) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ไม่มีอำนาจจัดการประมูลคลื่น 3 จี
4) ผู้เข้าประมูลทั้ง 3 ราย มีการสมยอมกัน (ฮั้ว) ในการประมูลคลื่น 3 จี
5) กทค. ทั้ง 4 ราย ละเว้นไม่ดำเนินการยกเลิกการประมูล ทั้งที่ทราบว่า การประมูล ผู้เข้าร่วมประมูลไม่มีการแข่งขันเสนอราคากันอย่างแท้จริง
คณะกรรมการป.ป.ช. พิจารณาแล้ว เห็นว่า
ข้อกล่าวหาที่ 1 จากการไต่สวนพบว่า ขณะออกประกาศหลักเกณฑ์ มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าประมูลได้จำนวน 20 ราย การออกประกาศหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการเอื้อให้กับผู้ประกอบการ ทั้ง 3 ราย ที่เข้าประมูลในครั้งนี้ ตามที่มีการกล่าวหาแต่อย่างใด จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
ข้อกล่าวหาที่ 2 จากการตรวจสอบจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัท ดีแทค เน็ตเวิร์ก มีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยทั้งหมด จึงไม่ขาดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต ตามประกาศฯ จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาจึงไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป
ข้อกล่าวหาที่ 3 จากการไต่สวนพบว่า การจัดประมูลคลื่น 3 จี ของ กทค. เป็นการดำเนินการแทน กสทช. ตามมาตรา 40 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
ข้อกล่าวหาที่ 4 จากการไต่สวนพบว่า การเสนอราคาของผู้เข้าประมูลทั้ง 3 ราย เป็นไปโดยถูกต้องตามประกาศหลักเกณฑ์ฯ ไม่ปรากฏพฤติการณ์หรือพยานหลักฐานว่ามีการสมยอมกันในการเสนอราคา จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
ข้อกล่าวหาที่ 5 จากการไต่สวนพบว่า การประมูลครั้งนี้ ตามประกาศฯ ได้แบ่งคลื่นออกเป็น 9 ชุด มีผู้เข้าร่วมประมูลจำนวน 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค จำกัด (AIS) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด (DTAC) และบริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด (TRUE) นั้น เป็นดำเนินการประมูลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่ กสทช. ประกาศกำหนด มิได้นำหลักการประมูลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-auction) มาใช้ ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค การประมูลก็มีการแข่งขันเสนอราคากันถึง 7 รอบ ผลการประมูลได้ราคาสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีรายได้ต่อหัวใกล้เคียงกับประเทศไทย และได้รับการยอมรับจาก สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งเป็นองค์กรของสหประชาชาติด้านโทรคมนาคม การประมูลครั้งนี้ เป็นการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยแบบ ก้าวกระโดด ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก
กรณีนี้จึงไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 ราย ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณีที่ ป.ป.ช.ยกคำร้องประมูล 3G ไม่โปร่งใส ว่า เห็นมติ ป.ป.ช.ชุดใหญ่แล้ว แปลกใจ และแคลงใจมากทีเดียว เพราะกรณีประมูล 3G เต็มไปด้วยปัญหาสารพัด ทั้งความไม่โปร่งใส เข้าข่ายฮั้วประมูล รายได้รัฐที่หายไป กฎกติกาที่มีปัญหา ฯลฯ โดยเฉพาะความน่าจะเป็นในการฮั้วกัน จากเกณฑ์ประมูลที่ กสทช. ออกแบบ ที่ผิดปกติมากๆ มี 6 ใบ จากทั้งหมด 9 ใบอนุญาต ไม่มีการแข่งขันใดๆ โดยราคาประมูลอยู่ที่ราคาเริ่มต้น คือ 4,500 ล้านบาทเท่านั้น ที่แข่งกันมีแค่ 3 ใบ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าแข่งกันจริงหรือไม่ ที่น่าตกใจมาก คือ เมื่อรวมมูลค่าการประมูลทั้งหมดได้เพียงแค่ 41,625 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นแค่ 2.77% ทั้งที่ใบ
อนุญาตมีอายุตั้ง 15 ปี ทั้งนี้หากเทียบเคียงกับรายได้ที่รัฐได้ค่าสัมปทานจากเอกชน 3 ราย คือ AIS, Dtac,True แค่ปีเดียวในปี 2554 ตั้ง 47,786 ล้านบาท ทำให้ประเทศเสียรายได้มหาศาล และคนที่ได้มากที่สุดกลายเป็นเอกชนผู้ประกอบการ
"ผมว่ามันเป็นการประมูลที่ตลกที่สุดในโลก จนสังคมเรียกการประมูลครั้งนั้นว่า เป็นการ "ประเคน" มากกว่า ต่อมามีการร้องต่อป.ป.ช. หลายราย เบื้องต้นก่อนหน้านี้มีข่าวว่า อนุ ป.ป.ช. มีมติว่าไม่โปร่งใส แต่พอเข้าชุดใหญ่ มติไปอีกทาง ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น ทั้งที่เรื่องนี้ ไม่ได้ต่างจากจำนำข้าว โจ่งแจ้งกว่าด้วยซ้ำไป" นายสุริยะใส ระบุ