วานนี้ (17 ส.ค.) นายประสิทธิชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องพื้นที่แหล่งผลิตอาหารภาคใต้ เปิดเผยว่า เครือข่ายและนายประสาท มีแต้ม อดีตอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ แกนนำกลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทย (Thai Energy Reform Watch)จัดโครงการ "เดินวันละโยชน์ เพื่อประโยชน์คนทั้งชาติ" โดยจัดขบวน"ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน" ประมาณ 50 คน ออกเดินเท้าจากหน้าหอนาฬิกาหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ 19 สิงหาคม เวลา 09.00 น. เข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อรณรงค์การปฏิรูปพลังงาน รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชนตลอดทาง ในประเด็นราคาน้ำมันและก๊าซต้องเป็นธรรม เปลี่ยนระบบสัมปทานปิโตรเลียมเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต และชะลอการสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21
นายประสิทธิชัย กล่าวว่า เป้าหมายหลัก คือ เดินเท้าระยะทางประมาณ 1,400 กิโลเมตร ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยจะเดินวันละ 1 โยชน์ หรือประมาณ 16 กิโลเมตร เพื่อรณรงค์ให้คนทั้งประเทศ ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรท้องถิ่นภาคใต้ แหล่งผลิตอาหารของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปพลังงาน โดยจะนำเสนอข้อมูลให้ชาวบ้าน 2 ข้างทางได้ทราบ
"เราจะพูดถึงการปฏิรูปพลังงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ และผลประโยชน์ของคนใต้ ที่พึ่งพาทรัพยากรจากอ่าวไทยและอันดามัน แหล่งทำมาหากินหลัก แต่ขณะนี้กำลังถูกครอบครองทั้งจากธุรกิจพลังงาน และธุรกิจประมงทำลายล้าง ซึ่งส่งผลกระทบในระยะยาว"
นายประสิทธิชัย กล่าวว่า เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิตภาคใต้ ซึ่งเป็น 1 ในเครือข่ายภาคประชาชนที่ประกาศเข้าร่วมกิจกรรม ได้แต่งเพลง "โบ๋ไม่บาย"(หมายถึงผู้เดือดร้อนจากนโยบายรัฐ) ขับร้องโดย "แสง ธรรมดา-จ๊อบ บรรจบ-ตุด นาคอน" พร้อมจัดทำมิวสิกวิดีโอเผยแพร่ด้วย เนื้อหาเน้นภาษาถิ่นปักษ์ใต้ ชื่อเพลงหมายถึงหมู่คนที่ไม่สบาย ในที่นี้หมายถึงประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากการพัฒนาของภาครัฐ ทำให้ต้องรวมตัวกันเดินจากภาคใต้ขึ้นไปกรุงเทพฯ เพื่อบอกให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทบทวนวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องการให้ประชาชนทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศทุกด้านในเวลานี้
***ปตท.ล้มไอเดียสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)คัดค้านข้อเสนอของปตท.ในการปรับเปลี่ยนการเก็บเงินสำรองระหว่างประเทศมาอยู่ในรูปของน้ำมันเพื่อสำรองเชิงยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงานว่า การสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เป็นหน้าที่ภาครัฐ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก หากธปท.ไม่เห็นด้วยกับการที่จะนำเงินสำรองระหว่างประเทศมาอยู่ในรูปสำรองน้ำมัน โดยปตท.เองก็คงไม่นำเงินจากการดำเนินงานมาใช้ในการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เช่นกันเนื่องจากการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการทำคลังน้ำมัน ท่าเทียบเรือและสำรองน้ำมัน แม้ว่าปตท.เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติต้องดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน แต่ก็มีผู้ถือหุ้นที่ปตท.ต้องดูแลทุกฝ่ายด้วยเช่นกัน ซึ่งแต่ละปีปตท.มีการลงทุนโครงการต่างๆ คิดเป็นวงเงินถึงปีละ 6-8 หมื่นล้านบาท
โดยก่อนหน้านี้ ทางปตท.ได้เสนอคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ให้ธปท.ปรับเปลี่ยนเงินสำรองระหว่างประเทศมาอยู่ในรูปน้ำมันยุทธศาสตร์ แต่ผู้ว่าการธปท.ไม่เห็นด้วย เพราะชัดกับกฎระเบียบซึ่งหน้าที่หลักของเงินสำรองระหว่างประเทศจะใช้เพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงิน และเก็บในรูปสินทรัพย์ที่มั่นคงและมีสภาพคล่องสูง
การสำรองในรูปของน้ำมันที่มีความผันผวนสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านความน่าเชื่อถือ ดังนั้นหากปตท.เห็นว่าประเทศควรมีการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานก็ควรใช้เงินบาทของบริษัทมาซื้อดอลลาร์จากธปท.เพื่อไปซื้อน้ำมันสำรองไว้
นายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) กล่าวถึงแผนการลงทุนในต่างประเทศว่า กลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศจะมองหาโอกาสการลงทุนธุรกิจการกลั่นน้ำมันที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ โดยมองโอกาสการลงทุนที่เมียนมาร์และอินโดนีเซีย เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศนี้ยังต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ส่วนการลงทุนในไทยจะเน้นการต่อยอดธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิโครงการผลิต LAB ที่ใช้วัตถุดิบ คือเบนซีนและน้ำมันก๊าด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในเครือไทยออยล์มาผลิต คาดว่าจะแล้วเสร็จในครึ่งปีหลัง 2558
ส่วนการลงทุนในเมียนมาร์นั้น ปตท.กับไทยออยล์จะยื่นข้อเสนอร่วมกันในโครงการปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันเดิมทื่ชื่อ Thanlyin ซึ่งมีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 1.5 หมื่น บาร์เรล/วัน รวมทั้งจะเสนอพัฒนาโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีใหม่เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันประเทศเมียนมาร์ในอนาคต ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้เมียนมาร์ คาดว่าในปลายปีนี้จะรู้ผลว่าจะได้รับเลือกให้เข้ามาปรับปรุงโรงกลั่นหรือไม่
สำหรับอินโดนีเซีย บริษัทได้ลงนามบันทึกช่วยจำ (เอ็มโอยู)กับเปอร์ตามิน่า ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติของอินโดนีเซีย ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำวัตถุดิบจากโรงกลั่น คือ Slack Wax มาเพิ่มมูลค่าผลิตเป็นพาราฟิน Wax ที่ใช้ในการทำผ้าบาติก ยางรถยนต์และเฟอร์นิเจอร์ คาดว่าจะตัดสินใจลงทุนได้ในปลายปี 2557 ส่วนการเข้าไปปรับปรุงโรง กลั่นน้ำมันและขยายกำลังการผลิตเพิ่มในโรงกลั่นบาลองกัน ที่อินโดนีเซียนั้น ไทยออยล์ก็มีความสนใจแต่ขึ้นอยู่กับปตท.ในฐานะบริษัทแม่ที่ต้องศึกษาอย่างละเอียด เนื่องจากโครงการดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่อินโดนีเซีย ซึ่งบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล กับเปอร์ตามิน่าได้ร่วมลงทุนกัน.
นายประสิทธิชัย กล่าวว่า เป้าหมายหลัก คือ เดินเท้าระยะทางประมาณ 1,400 กิโลเมตร ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยจะเดินวันละ 1 โยชน์ หรือประมาณ 16 กิโลเมตร เพื่อรณรงค์ให้คนทั้งประเทศ ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรท้องถิ่นภาคใต้ แหล่งผลิตอาหารของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปพลังงาน โดยจะนำเสนอข้อมูลให้ชาวบ้าน 2 ข้างทางได้ทราบ
"เราจะพูดถึงการปฏิรูปพลังงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ และผลประโยชน์ของคนใต้ ที่พึ่งพาทรัพยากรจากอ่าวไทยและอันดามัน แหล่งทำมาหากินหลัก แต่ขณะนี้กำลังถูกครอบครองทั้งจากธุรกิจพลังงาน และธุรกิจประมงทำลายล้าง ซึ่งส่งผลกระทบในระยะยาว"
นายประสิทธิชัย กล่าวว่า เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิตภาคใต้ ซึ่งเป็น 1 ในเครือข่ายภาคประชาชนที่ประกาศเข้าร่วมกิจกรรม ได้แต่งเพลง "โบ๋ไม่บาย"(หมายถึงผู้เดือดร้อนจากนโยบายรัฐ) ขับร้องโดย "แสง ธรรมดา-จ๊อบ บรรจบ-ตุด นาคอน" พร้อมจัดทำมิวสิกวิดีโอเผยแพร่ด้วย เนื้อหาเน้นภาษาถิ่นปักษ์ใต้ ชื่อเพลงหมายถึงหมู่คนที่ไม่สบาย ในที่นี้หมายถึงประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากการพัฒนาของภาครัฐ ทำให้ต้องรวมตัวกันเดินจากภาคใต้ขึ้นไปกรุงเทพฯ เพื่อบอกให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทบทวนวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องการให้ประชาชนทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศทุกด้านในเวลานี้
***ปตท.ล้มไอเดียสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)คัดค้านข้อเสนอของปตท.ในการปรับเปลี่ยนการเก็บเงินสำรองระหว่างประเทศมาอยู่ในรูปของน้ำมันเพื่อสำรองเชิงยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงานว่า การสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เป็นหน้าที่ภาครัฐ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก หากธปท.ไม่เห็นด้วยกับการที่จะนำเงินสำรองระหว่างประเทศมาอยู่ในรูปสำรองน้ำมัน โดยปตท.เองก็คงไม่นำเงินจากการดำเนินงานมาใช้ในการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เช่นกันเนื่องจากการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการทำคลังน้ำมัน ท่าเทียบเรือและสำรองน้ำมัน แม้ว่าปตท.เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติต้องดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน แต่ก็มีผู้ถือหุ้นที่ปตท.ต้องดูแลทุกฝ่ายด้วยเช่นกัน ซึ่งแต่ละปีปตท.มีการลงทุนโครงการต่างๆ คิดเป็นวงเงินถึงปีละ 6-8 หมื่นล้านบาท
โดยก่อนหน้านี้ ทางปตท.ได้เสนอคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ให้ธปท.ปรับเปลี่ยนเงินสำรองระหว่างประเทศมาอยู่ในรูปน้ำมันยุทธศาสตร์ แต่ผู้ว่าการธปท.ไม่เห็นด้วย เพราะชัดกับกฎระเบียบซึ่งหน้าที่หลักของเงินสำรองระหว่างประเทศจะใช้เพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงิน และเก็บในรูปสินทรัพย์ที่มั่นคงและมีสภาพคล่องสูง
การสำรองในรูปของน้ำมันที่มีความผันผวนสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านความน่าเชื่อถือ ดังนั้นหากปตท.เห็นว่าประเทศควรมีการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานก็ควรใช้เงินบาทของบริษัทมาซื้อดอลลาร์จากธปท.เพื่อไปซื้อน้ำมันสำรองไว้
นายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) กล่าวถึงแผนการลงทุนในต่างประเทศว่า กลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศจะมองหาโอกาสการลงทุนธุรกิจการกลั่นน้ำมันที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ โดยมองโอกาสการลงทุนที่เมียนมาร์และอินโดนีเซีย เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศนี้ยังต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ส่วนการลงทุนในไทยจะเน้นการต่อยอดธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิโครงการผลิต LAB ที่ใช้วัตถุดิบ คือเบนซีนและน้ำมันก๊าด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในเครือไทยออยล์มาผลิต คาดว่าจะแล้วเสร็จในครึ่งปีหลัง 2558
ส่วนการลงทุนในเมียนมาร์นั้น ปตท.กับไทยออยล์จะยื่นข้อเสนอร่วมกันในโครงการปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันเดิมทื่ชื่อ Thanlyin ซึ่งมีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 1.5 หมื่น บาร์เรล/วัน รวมทั้งจะเสนอพัฒนาโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีใหม่เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันประเทศเมียนมาร์ในอนาคต ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้เมียนมาร์ คาดว่าในปลายปีนี้จะรู้ผลว่าจะได้รับเลือกให้เข้ามาปรับปรุงโรงกลั่นหรือไม่
สำหรับอินโดนีเซีย บริษัทได้ลงนามบันทึกช่วยจำ (เอ็มโอยู)กับเปอร์ตามิน่า ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติของอินโดนีเซีย ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำวัตถุดิบจากโรงกลั่น คือ Slack Wax มาเพิ่มมูลค่าผลิตเป็นพาราฟิน Wax ที่ใช้ในการทำผ้าบาติก ยางรถยนต์และเฟอร์นิเจอร์ คาดว่าจะตัดสินใจลงทุนได้ในปลายปี 2557 ส่วนการเข้าไปปรับปรุงโรง กลั่นน้ำมันและขยายกำลังการผลิตเพิ่มในโรงกลั่นบาลองกัน ที่อินโดนีเซียนั้น ไทยออยล์ก็มีความสนใจแต่ขึ้นอยู่กับปตท.ในฐานะบริษัทแม่ที่ต้องศึกษาอย่างละเอียด เนื่องจากโครงการดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่อินโดนีเซีย ซึ่งบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล กับเปอร์ตามิน่าได้ร่วมลงทุนกัน.