ASTV ผู้จัดการรายวัน - สิงหาคม ปัจจัยทั้งภายในและนอกประเทศ มีผลต่อดัชนี คาดแรงขายต่างชาติยังกดดันหุ้นไทยผันผวนต่อ โดยเฉพาะค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลงตามแรงขายของต่างชาติ จับตากระบวนการสรรหานายกรัฐมนตรี และสปช. ส่วนภายนอกต้องติดตามสถานการณ์ในอิรัก และยูเครน
แม้ช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาดำเนินการจัดการปัญหาต่างๆ แรงตอบรับที่กลับมามาหลายอย่างที่ดีขึ้น ซึ่งรวมถึงการปรับตัวของดัชนีตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ที่เรียกได้ว่าเป็นขาขึ้นของดัชนีตลาดหุ้น จากการปรับตัวในขาขึ้นร่วม 19% นับตั้งแต่ต้นปี
แต่ท้ายที่สุดการปรับตัวขึ้นแรงของดัชนีย่อมมีวันปรับตัวลดลง ซึ่งในช่วงที่ผ่าน Set Index ได้เกิดการปรับฐานหลังจากปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้ บล.เอเซียพลัส คาดการณ์แนวโน้มการลงทุนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. ว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา SET Index เคลื่อนไหวผันผวน ตามลักษณะของการปรับฐานราคา โดยที่ปัจจุบันค่า Current P/E ของตลาดอยู่ที่บริเวณ 15.8-15.9 เท่า ยังถือว่ายังอยู่ในระดับที่สูง ดังนั้นหากไม่มีปัจจัยใหม่ๆเข้ามามีอิทธิพล คาดว่า SET Index จะยังอยู่ในช่วงความผันผวนต่อไป
ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจากนี้ จะเน้นไปหุ้นกลุ่มที่คาดหมายว่าจะประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส2/57 เนื่องจากทุกบริษัทจะต้องส่งงบภายใน 15 ส.ค.2557 โดยตัวเลือกการลงทุนที่โดดเด่น ยังมีให้เห็นอยู่หลากหลาย
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าในช่วงที่ผ่านมา SET ลดช่วงบวก จากความกังวลสถานการณ์ในอิรักและยูเครน โดยสัปดาห์ก่อนหน้าดัชนีปิดที่ระดับ 1,520.31 จุด เพิ่มขึ้น 1.34% ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 13.38% มาอยู่ที่ 45,559.51 ล้านบาท
โดยมีแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่จากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี จากนั้น ตลาดหุ้นแกว่งลงในช่วงปลายสัปดาห์ ตามตลาดต่างประเทศ จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครนและการคว่ำบาตรรัสเซียที่เข้มข้นขึ้นจากสหรัฐฯ และอียู รวมทั้ง ข่าวที่ประธานาธิบดีโอบามาอนุมัติปฏิบัติการทางอากาศในการจัดการกลุ่มมุสลิมญีฮัดนิกายสุหนี่
ทั้งนี้ เชื่อว่า จะได้เห็นดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้น หลังจากที่ตลาดย่อตัวลงในช่วงก่อนหน้า โดยปัจจัยภายนอกที่ต้องติดตามคงได้แก่ สถานการณ์ในอิรัก และยูเครน อันจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดต่างประเทศ และสะท้อนมาถึงการปรับตัวของตลาดหุ้นไทย ตามลำดับ
ขณะที่ การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯซึ่งตลาดคงจะจับตาในสัปดาห์หน้า ได้แก่ ยอดค้าปลีก และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ตลอดจน ปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ การรายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2557 ของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งดัชนีคงมีโอกาสปรับตัวตอบรับ หากผลประกอบการออกมาดีกว่าคาด
ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่ควรต้องติดตาม บล.เอเซียพลัส มองว่าหลังจากมีการเปิดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้ประธานสภาฯแล้ว กระบวนการต่อไปที่จะเกิดขึ้น คือ การสรรหาบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ และจากนั้นจะเริ่มมีกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศได้ในช่วงปลายส.ค. หรือต้นก.ย.
ขณะที่กระบวนการสรรหาจะจบในช่วงต้นเดือนต.ค. หลังจากนั้นกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ และน่าจะสามารถร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จได้ และพร้อมนำขึ้นทูลเกล้า ช่วงกลางก.ย. และจะนำไปสู่การเลือกตั้งในช่วงปลายปี 2558 และนำมาซึ่งรัฐบาลใหม่ในลำดับต่อไป แต่ Set Index น่าจะตอบสนองต่อปัจจัยดังกล่าวแล้ว จากนี้ไปเชื่อว่าการปรับตัวของดัชนี จะเป็นการตอบสนองตามผลของการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน ซึ่งหมายถึงดัชนีน่าจะผันผวน
อย่างไรก็ตามอีกองค์กรหนึ่งที่ควรติดตามความคืบหน้า ซึ่งถือมีความสำคัญมากในโรดแมพระยะที่ 2 ของ คสช. คือ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่จะมีจำนนสมาชิก 250 คน และจะเริ่มกระบวนการรับสมัคร 14 ส.ค. ซึ่งประเมินกันว่าจะมีผู้เข้าร่วมรับสมัคร 2,000 คน ภาพรวมแล้วจะเห็นได้ว่ากระบวนการต่างๆ มีความคืบหน้าไปตามลำดับ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเชื่อมั่นเห็นได้จากการวัดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน
สำหรับภาพรวมการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ พบว่า นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิในภูมิภาคอีกครั้ง แต่ยังเบาบางราว 195 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการขายสุทธิในทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ 90 ล้านเหรียญ ตามาด้วยไต้หวัน 49 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับไทยที่ขายสุทธิแล้วราว 32 ล้านเหรียญ ส่วนอินโดนีเซียขายราว 20 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ราว 4 ล้านเหรียญ
ทั้งนี้ แม้ต่างชาติจะเริ่มขายสุทธิ แต่ประมาณขายยังเบาบาง อย่างไรก็ตามแรงขายที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างต่อเนื่องแตะระดับ 32.26 บาทต่อเหรียญ และน่าจะเป็นปัจจัยกดดันเงินทุนไหลเข้าในระยะสั้น
แม้ช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาดำเนินการจัดการปัญหาต่างๆ แรงตอบรับที่กลับมามาหลายอย่างที่ดีขึ้น ซึ่งรวมถึงการปรับตัวของดัชนีตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ที่เรียกได้ว่าเป็นขาขึ้นของดัชนีตลาดหุ้น จากการปรับตัวในขาขึ้นร่วม 19% นับตั้งแต่ต้นปี
แต่ท้ายที่สุดการปรับตัวขึ้นแรงของดัชนีย่อมมีวันปรับตัวลดลง ซึ่งในช่วงที่ผ่าน Set Index ได้เกิดการปรับฐานหลังจากปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้ บล.เอเซียพลัส คาดการณ์แนวโน้มการลงทุนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. ว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา SET Index เคลื่อนไหวผันผวน ตามลักษณะของการปรับฐานราคา โดยที่ปัจจุบันค่า Current P/E ของตลาดอยู่ที่บริเวณ 15.8-15.9 เท่า ยังถือว่ายังอยู่ในระดับที่สูง ดังนั้นหากไม่มีปัจจัยใหม่ๆเข้ามามีอิทธิพล คาดว่า SET Index จะยังอยู่ในช่วงความผันผวนต่อไป
ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจากนี้ จะเน้นไปหุ้นกลุ่มที่คาดหมายว่าจะประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส2/57 เนื่องจากทุกบริษัทจะต้องส่งงบภายใน 15 ส.ค.2557 โดยตัวเลือกการลงทุนที่โดดเด่น ยังมีให้เห็นอยู่หลากหลาย
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าในช่วงที่ผ่านมา SET ลดช่วงบวก จากความกังวลสถานการณ์ในอิรักและยูเครน โดยสัปดาห์ก่อนหน้าดัชนีปิดที่ระดับ 1,520.31 จุด เพิ่มขึ้น 1.34% ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 13.38% มาอยู่ที่ 45,559.51 ล้านบาท
โดยมีแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่จากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี จากนั้น ตลาดหุ้นแกว่งลงในช่วงปลายสัปดาห์ ตามตลาดต่างประเทศ จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครนและการคว่ำบาตรรัสเซียที่เข้มข้นขึ้นจากสหรัฐฯ และอียู รวมทั้ง ข่าวที่ประธานาธิบดีโอบามาอนุมัติปฏิบัติการทางอากาศในการจัดการกลุ่มมุสลิมญีฮัดนิกายสุหนี่
ทั้งนี้ เชื่อว่า จะได้เห็นดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้น หลังจากที่ตลาดย่อตัวลงในช่วงก่อนหน้า โดยปัจจัยภายนอกที่ต้องติดตามคงได้แก่ สถานการณ์ในอิรัก และยูเครน อันจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดต่างประเทศ และสะท้อนมาถึงการปรับตัวของตลาดหุ้นไทย ตามลำดับ
ขณะที่ การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯซึ่งตลาดคงจะจับตาในสัปดาห์หน้า ได้แก่ ยอดค้าปลีก และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ตลอดจน ปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ การรายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2557 ของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งดัชนีคงมีโอกาสปรับตัวตอบรับ หากผลประกอบการออกมาดีกว่าคาด
ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่ควรต้องติดตาม บล.เอเซียพลัส มองว่าหลังจากมีการเปิดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้ประธานสภาฯแล้ว กระบวนการต่อไปที่จะเกิดขึ้น คือ การสรรหาบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ และจากนั้นจะเริ่มมีกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศได้ในช่วงปลายส.ค. หรือต้นก.ย.
ขณะที่กระบวนการสรรหาจะจบในช่วงต้นเดือนต.ค. หลังจากนั้นกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ และน่าจะสามารถร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จได้ และพร้อมนำขึ้นทูลเกล้า ช่วงกลางก.ย. และจะนำไปสู่การเลือกตั้งในช่วงปลายปี 2558 และนำมาซึ่งรัฐบาลใหม่ในลำดับต่อไป แต่ Set Index น่าจะตอบสนองต่อปัจจัยดังกล่าวแล้ว จากนี้ไปเชื่อว่าการปรับตัวของดัชนี จะเป็นการตอบสนองตามผลของการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน ซึ่งหมายถึงดัชนีน่าจะผันผวน
อย่างไรก็ตามอีกองค์กรหนึ่งที่ควรติดตามความคืบหน้า ซึ่งถือมีความสำคัญมากในโรดแมพระยะที่ 2 ของ คสช. คือ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่จะมีจำนนสมาชิก 250 คน และจะเริ่มกระบวนการรับสมัคร 14 ส.ค. ซึ่งประเมินกันว่าจะมีผู้เข้าร่วมรับสมัคร 2,000 คน ภาพรวมแล้วจะเห็นได้ว่ากระบวนการต่างๆ มีความคืบหน้าไปตามลำดับ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเชื่อมั่นเห็นได้จากการวัดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน
สำหรับภาพรวมการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ พบว่า นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิในภูมิภาคอีกครั้ง แต่ยังเบาบางราว 195 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการขายสุทธิในทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ 90 ล้านเหรียญ ตามาด้วยไต้หวัน 49 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับไทยที่ขายสุทธิแล้วราว 32 ล้านเหรียญ ส่วนอินโดนีเซียขายราว 20 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ราว 4 ล้านเหรียญ
ทั้งนี้ แม้ต่างชาติจะเริ่มขายสุทธิ แต่ประมาณขายยังเบาบาง อย่างไรก็ตามแรงขายที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างต่อเนื่องแตะระดับ 32.26 บาทต่อเหรียญ และน่าจะเป็นปัจจัยกดดันเงินทุนไหลเข้าในระยะสั้น