ASTVผู้จัดการรายวัน - กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2%ต่อปี มองผ่อนปรนนโยบายการเงินยังจำเป็นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยและไม่กระทบรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ จึงเป็นการสนับสนุนความพยายามของรัฐในการปฏิรูป ระบุคงดอกเบี้ยไม่มีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย มั่นใจเศรษฐกิจไทยยังไม่มีประเด็นน่าห่วง คาดเศรษฐกิจตั้งแต่ ก.ค.57-มิ.ย.58 จะโตได้เกือบ 5% ถือว่าฟื้นตัวได้ดีกว่าระดับปกติ
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมบอร์ดกนง.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2% ต่อปี เมื่อวานนี้ (6ส.ค.) ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 5 ของปี 57 เนื่องจากกรรมการมองว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในปัจจุบันยังจำเป็นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยไม่กระทบต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความพยายามของภาครัฐในการปฏิรูป เพื่อยกระดับศักยาภาพของเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยครั้งนี้ไม่น่าจะมีผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ และแม้ในประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นผลจากปัจจัยภายในประเทศนั้นๆ เป็นหลักไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อขยับตัวขึ้น หรือการขยายตัวสินเชื่อ รวมถึงการขยายตัวอุปสงค์ในประเทศค่อนข้างแรง จึงดำเนินนโยบายการเงินเหมาะสมกับประเทศตัวเองมากกว่า ต่างกับไทยในขณะนี้ยังไม่มีประเด็นที่น่าเป็นห่วง และปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ยังไม่ได้ส่งผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมและการเคลื่อนย้ายเงินทุนในขณะนี้
“ในการประชุม กนง.รอบนี้ยังมองว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.5% ใกล้เคียงกับมุมมองเดิม โดยมองว่าถ้าครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวได้ปกติจะส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจได้ตามประมาณการเดิม อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่คำนึงถึงช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ที่ติดลบ ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินต้องมองภาวะข้างหน้า เหมือนขับรถอย่ามัวมองกระจกหลัง ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า
นับตั้งแต่เดือนก.ค.57-เดือนมิ.ย.58 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้เกือบ 5% จึงไม่ใช่ว่าเศรษฐกิจซบเซา ถือเป็นระดับดีกว่าปีปกติทั่วไป แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวดี”
ต่อข้อซักถามที่ว่าตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจที่ระดับ 1.5% ของ กนง. ถือว่าต่ำสุดตัวเลขเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้หรือไม่นั้น เลขานุการ กนง.กล่าวว่า แต่ละประเทศจะมีปัจจัยแตกต่างกัน จึงเทียบกันไม่ได้ โดยข้อจำกัดปัจจัยภายนอก ระยะหลังการขยายตัวเศรษฐกิจโลกไม่เพิ่มอัตราการค้าเหมือนในอดีต ขณะที่ข้อจำกัดภายในประเทศของไทย อาทิ ขาดแคลนแรงงาน สินค้าไม่ติดตลาดจากปัจจัยเทคโนโลยี เกิดปัญหาการเมือง ความเชื่อมั่นภาคเอกชน ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินได้ตามปกติในช่วงก่อนหน้า ทำให้เศรษฐกิจไทยชะงัก ขณะที่บางประเทศขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลภาวะเศรษฐกิจภายใน เป็นต้น
บอร์ดกนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สหรัฐปรับตัวดีขึ้นชัดเจน เศรษฐกิจกลุ่มยูโรและญี่ปุ่นมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ และยังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปอีก ขณะที่เศรษฐกิจจีนและเอเชียยังขยายตัวต่อเนื่องแรงส่งสำคัญจากการส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลัก.
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมบอร์ดกนง.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2% ต่อปี เมื่อวานนี้ (6ส.ค.) ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 5 ของปี 57 เนื่องจากกรรมการมองว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในปัจจุบันยังจำเป็นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยไม่กระทบต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความพยายามของภาครัฐในการปฏิรูป เพื่อยกระดับศักยาภาพของเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยครั้งนี้ไม่น่าจะมีผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ และแม้ในประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นผลจากปัจจัยภายในประเทศนั้นๆ เป็นหลักไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อขยับตัวขึ้น หรือการขยายตัวสินเชื่อ รวมถึงการขยายตัวอุปสงค์ในประเทศค่อนข้างแรง จึงดำเนินนโยบายการเงินเหมาะสมกับประเทศตัวเองมากกว่า ต่างกับไทยในขณะนี้ยังไม่มีประเด็นที่น่าเป็นห่วง และปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ยังไม่ได้ส่งผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมและการเคลื่อนย้ายเงินทุนในขณะนี้
“ในการประชุม กนง.รอบนี้ยังมองว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.5% ใกล้เคียงกับมุมมองเดิม โดยมองว่าถ้าครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวได้ปกติจะส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจได้ตามประมาณการเดิม อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่คำนึงถึงช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ที่ติดลบ ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินต้องมองภาวะข้างหน้า เหมือนขับรถอย่ามัวมองกระจกหลัง ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า
นับตั้งแต่เดือนก.ค.57-เดือนมิ.ย.58 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้เกือบ 5% จึงไม่ใช่ว่าเศรษฐกิจซบเซา ถือเป็นระดับดีกว่าปีปกติทั่วไป แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวดี”
ต่อข้อซักถามที่ว่าตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจที่ระดับ 1.5% ของ กนง. ถือว่าต่ำสุดตัวเลขเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้หรือไม่นั้น เลขานุการ กนง.กล่าวว่า แต่ละประเทศจะมีปัจจัยแตกต่างกัน จึงเทียบกันไม่ได้ โดยข้อจำกัดปัจจัยภายนอก ระยะหลังการขยายตัวเศรษฐกิจโลกไม่เพิ่มอัตราการค้าเหมือนในอดีต ขณะที่ข้อจำกัดภายในประเทศของไทย อาทิ ขาดแคลนแรงงาน สินค้าไม่ติดตลาดจากปัจจัยเทคโนโลยี เกิดปัญหาการเมือง ความเชื่อมั่นภาคเอกชน ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินได้ตามปกติในช่วงก่อนหน้า ทำให้เศรษฐกิจไทยชะงัก ขณะที่บางประเทศขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลภาวะเศรษฐกิจภายใน เป็นต้น
บอร์ดกนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สหรัฐปรับตัวดีขึ้นชัดเจน เศรษฐกิจกลุ่มยูโรและญี่ปุ่นมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ และยังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปอีก ขณะที่เศรษฐกิจจีนและเอเชียยังขยายตัวต่อเนื่องแรงส่งสำคัญจากการส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลัก.